ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Driller Method Well Control ตอน Driller Method เราทำกันอย่างไร

Driller Method จู่ๆใครมาอ่านตอนนี้อาจจะงงๆก่งก๊งกันไปว่า อะไรมาจากไหน ยังไงกัน …

อะ อะ ไปอ่านตอนนี้มาก่อน —> Well Control เบื้องต้น

รื้อฟื้นกันนิดว่า อะไรยังไง … ตอนนี้เรามี influx เข้ามาอยู่ที่ก้นหลุม หัวเจาะเราก็อยู่ก้นหลุม สถานการณ์เป็นอย่างรูปข้างล่างนี้

Driller Method
influx มาจ่อที่ก้นหลุม

Driller Method

จุดหมายสุดท้ายคือ เราต้องการเปลี่ยนน้ำโคลนในหลุม(สีส้ม)ตอนนี้ ให้เป็นน้ำโคลนที่หนักขึ้นอีก เพราะว่า ถ้าใช้น้ำโคลนเดิมแล้วเปิดปากหลุม influx ก็จะแห่เข้ามาบานตะโก้

เออ … แล้วๆ น้ำโคลนใหม่ที่กดความดันชั้นหินก้นหลุมได้พอดี (เราเรียกว่า kill mud จะขอเรียกทับศัพท์นะครับ สั้นๆ เข้าใจง่ายกว่า) ต้องมีความหนาแน่นเท่าไรล่ะ

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

… ความหนาแน่นของ kill mud ก็น่าจะหนัก = ความหนาแน่นของน้ำโคลนเดิม + กับค่าความหนาแน่นน้ำโคลนส่วนเพิ่มค่าๆหนึ่งซึ่งน่าจะสัมพัธ์กับ SIDPP

(มาถึงตรงนี้ ทวนหน่อย SIDPP คือความดันที่ก้านเจาะที่ปากหลุม = ความดัน influx ที่ก้นหลุม ลบด้วยความดันเนื่องจากน้ำหนักน้ำโคลนความสูง TD ดูรูปประกอบ)

จะเห็นว่า SIDPP นี่แหละ คือความดันส่วนต่างที่เกินมาเนื่องจาก influx โผล่เข้ามาในหลุม เพราะถ้าไม่มี influx เข้ามา น้ำโคลนเดิมก็เอาอยู่ SIDPP ก็ไม่มีโผล่มาให้เห็น พอมี influx เข้ามา ก็มี SIDPP โผล่ขึ้นมาที่ปากหลุม

งั้นถ้าเราแปลง SIDPP ให้เป็นความหนาแน่นซะ แล้วเอาไป + กับความหนาแน่นน้ำโคลนเดิม ก็น่าจะได้ความหนาแน่นของ kill mud จริงป่ะ

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

แปลงไงดี … สูตรหากินเราครับ

ความดันหน่วยเป็น psi = 0.052 x ความหนาแน่นของเหลวหน่วยเป็น ppg x ความลึกหน่วยเป็นฟุต

จับย้ายข้างซะ ปรับสมการให้่ดูเข้าทางเรา

ความหนาแน่นของเหลวหน่วยเป็น ppg = ความดันหน่วยเป็น psi / (0.052 x ความลึกหน่วยเป็นฟุต)

เท่านี้ก็เสร็จเรา

ความหนาแน่นของ kill mud (psi) ก็น่าจะ = ความหนาแน่นของน้ำโคลนเดิม (psi) + SIDPP/(0.052 x ความลึกหน่วยเป็นฟุต)

เอาล่ะ เราได้ความหนาแน่นของ kill mud

ขั้นต่อไปทำไงดี ผสม kill mud แล้วปั๊มมันผ่านก้านเจาะลงหลุมไปเลยดีป่ะ แหมๆ … มันไม่ง่ายปานนั้น เพราะทั้งขบวนการเนี้ย เราต้องรักษาความดันที่ก้นหลุมให้คงที่เท่าเดิมเท่าตอนที่ influx เข้ามา

เพราะถ้าความดันน้อยกว่านั้น influx ชุดใหม่ก็จะเข้ามา ถ้าความดันเกิดมากกว่านั้น ชั้นหินรับไม่ไหว น้ำโคลนรั่วออกนอกหลุมไปอีก ระดับน้ำโคลนก็จะลดลง จนถึงจุดที่ความดันก้นหลุมต่ำกว่าความดันชั้นหิน influx ชุดใหม่ก็จะเข้ามา … วนๆไป

ดังนั้นจะสุ่มสี่สุ่มห้าสักแต่ว่าปั๊ม kill mud ลงไปไม่ได้ ต้องมีพิธีรีตรอง ไหว้เจ้าที่เจ้าทาง เอ๊ย คำนวนอะไรกันสักหน่อย

เราเรียกวิธีแรกนี้ว่า driller method เพราะมันง่าย ไม่ต้องคิดอะไรมาก คำนวนตัวเลขนิดๆหน่อยๆ driller ก็ทำเองไง มาดูกันว่าเราทำไงกัน

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

  1. เราก็ปั๊มน้ำโคลนเดิมแหละไล่ influx ออกไปก่อน ขณะที่เราปั๊มน้ำโคลนเดิม วิศวกรน้ำโคลน ก็จะไปเตรียมผสม kill mud เคล็ดลับคือค่อยๆปั๊มช้าๆ ปั๊มแค่ชนะแรงเสียดทานในระบบก็พอ

มาดูรูปสวยๆกันจะได้เข้าใจง่ายๆ

Driller Method
ช้าๆชัดๆ ดูกันจะจะ

(ที่มาของรูปและเนื้อหา Well Control School IDT ONGC http://www.ongcindia.com)

พอ influx ออกนอกหลุมไปแล้ว ยังเปิดหลุมไม่ได้ เพราะว่าน้ำหนักน้ำโคลนเดิมกดความดันชั้นหินก้นหลุมไม่ได้แล้ว ยังต้องปิดปากหลุมอยู่

ความดันที่อ่านได้ที่ก้านเจาะก็จะเท่ากับ SIDPP ความดันที่อ่านได้ที่ท่อกรุ(SICP)ก็จะเท่ากับ SIDPP เช่นกัน เพราะตอนนี้ influx ออกไปหมดแล้ว น้ำโคลนเดิมได้เข้าไปแทนที่ทั่วทั้งหลุมแล้ว พูดง่ายๆ SIDPP = SICP

2. ปั๊ม kill mud ลงหลุมผ่านทางก้านเจาะ ตามรูปข้างล่างนี่

Driller Method
ตอนปั๊ม kill mud

(ที่มาของรูปและเนื้อหา Well Control School IDT ONGC http://www.ongcindia.com)

ไม่ต้องไปสนใจกราฟครับ ดูรูปให้เข้าใจแนวคิดก็พอ

ส่วนใครอยากเข้าใจเรื่องกราฟนั่นจริงๆ ถ้าไม่เข้าใจแล้วมันคาใจ กินข้าวไม่ลง นอนไม่หลับ ยินดีครับ หลังไมค์มา จะจับเข่าอธิบายให้เป็นฉากๆเลย 🙂

มีคลิปง่ายๆให้ดู ประกอบด้วยครับ 12 นาที 51 วินาที ภาษาอังกฤษนะครับ

พอเสร็จพิธีแล้ว เราก็จะได้ kill mud ทั่วทั้งหลุม …. Happy ending … ทำการขุดต่อไปได้

ยังมีอีก 2 วิธีครับ …. ง่ายกว่านี้ เร็วกว่านี้ …

โปรดติดตามตอนต่อไป 🙂

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------