ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Review internship application process PTTEP Chevron + คำถาม

Review internship application process PTTEP Chevron + คำถาม – น้องคนนี้เรียนปี 3 เครื่องกล ทำการบ้านมาดีมากๆจริงๆ รวบรวมขั้นตอน ข้อควรระวังต่างๆ และ คำถามสัมภาษณ์มาฝากพวกเรา เรียกว่าแบบละเอียดยิบเลยจริงๆ

ไม่ว่าจะประสบผลสำเร็จหรือไม่ น้องคนนี้ก็แบ่งปันให้กับพวกเรา ขอขอบคุณดังๆออกสื่อตรงนี้เลยครับ

Review internship application process

PTTEP Chevron + คำถาม

สวัสดีครับพี่นก ผมชื่อ xxx ครับ ปัจจุบันเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 เรียนอยู่ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล (ขออนุญาตเรียกพี่นะครับ ดีใจมากที่ได้มีโอกาสเข้ามาเป็นรุ่นน้องสถาบันเดียวกับพี่ แต่ขอไม่เปิดเผยชื่อ หน้าเว็ปนะครับ)

ขอเกริ่นก่อนนะครับว่า ผมเป็นคนสนใจจะทำงานในวงการนี้มากๆ ซึ่งในตอนแรกๆก็ไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง ( ไม่รู้จะศึกษาอะไร ไม่รู้จะถามข้อมูลสายงานนี้จากใคร ฯลฯ )

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

จนได้มาเจอเวปไซต์ของพี่นก เหมือนได้เปิดโลกในสายงานขุดเจาะฯเลยครับ

ตัวผมเองเริ่มต้นศึกษาความรู้ด้านนี้ จากกระทู้ “ประเภทของบริษัทในวงการฯ” แล้วก็ไล่อ่านไปเรื่อยๆ ตั้งแต่ การสัมปทานฯ, หน้าที่ของน้ำโคลน, Well logging, LWD, MWD, หัวเจาะฯ, ก้านเจาะฯ, ท่อกรุ&ท่อผลิต ไปจนถึง ตำแหน่งงานต่างๆบนแท่นขุดเจาะฯ ขอบอกเลยว่าได้ความรู้มาเพียบเลยครับ (เผลอแป๊บๆมีความรู้เพิ่มอีก 1 เรื่องซะละ ทุกครั้งที่เข้ามาอ่านเลยครับ )

Oil rig jobs งานบนแท่นขุดน้ำมัน อธิบายตำแหน่งงานบนแท่นขุดเจาะ (Oil Rig)

เริ่มกันเลยดีกว่า

หลังจากที่ผมได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทในวงการฯจนถี่ถ้วนดีแล้ว ผมตัดสินใจว่าอยากทำงานกับบริษัทกลุ่ม E&P มากที่สุดครับ ( ซึ่งในอ่าวไทยเรา ก็มีเพียง ปตท.สผ. เชฟรอน มูบาดาลา ส่วนบริษัทร่วมทุน เช่น โททาล ขอไม่พูดถึงนะครับ )

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

ผมก็เริ่มหาข้อมูลเจาะลึกไปว่าแต่ละบริษัท มีความเป็นมายังไง มีวัฒนธรรมองค์กรอย่างไร และความมั่นคงในอนาคต **ที่สำคัญคือ แล้วบริษัทไหนบ้างหละ ? ที่เปิดรับเด็กวิศวะเข้าไปฝึกงาน**

คำตอบที่หาได้ ก็มี ปตท.สผ. กับ เชฟรอน ครับ

ซึ่งนั่นก็คือจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผมยื่นเรซูเม่ไปกับ 2 บริษัทดังกล่าว และก็โชคดีที่ทั้ง 2 บริษัทให้โอกาสผมได้พิสูจน์ตัวเองจนรอบสุดท้ายครับ

ผมจึงขออธิบายขั้นตอนการสมัครฝึกงาน การสอบข้อเขียน ไปจนถึงการสอบสัมภาษณ์ของบริษัทในสาย E&P เพื่อส่งต่อสิ่งดีๆเหล่านี้ให้น้องรุ่นถัดๆไป อย่างที่ผมเคยได้รับจากพี่นก

ขั้นที่ 1) Check วัน/เวลา ที่เปิด/ปิด การรับสมัครให้ชัดเจน ย้ำนะ ว่าต้องชัดเจน !! ( เพื่อนเราพลาดโอกาสสมัคร เพียงเพราะจำวันปิดรับสมัครผิดไป 1 วัน )

ขั้นที่ 2) Check ให้ดีว่าบริษัทต้องการเอกสารอะไร และ กรอกในแบบฟอร์มใดบ้าง ( HR ทั้ง 2 บ. เขาระบุชัดเจนเลยว่า ต้องกรอกข้อมูลส่วนตัว ทั้งใน Google Form และ ในเวปไซต์รับสมัครงาน ) หากลืมแม้แต่อย่างเดียว หมดสิทธิ์ !!

เช่น กรอกข้อมูลในเวปไซต์รับสมัครงานครบถ้วน แต่ไม่ได้ไปกรอกข้อมูลส่วนตัวใน Google Form (ที่ HR เขาเตรียมไว้ให้) ก็เท่ากับ ไม่ได้สมัครฝึกงานนั่นเอง !!

ขั้นที่ 3) ตั้งใจอ่านหนังสือสอบ Final ให้เต็มที่ อย่าพะวักพะวน !! ที่เราต้องบอกไว้แบบนี้ เพราะ HR แต่ละบริษัทชอบโทรมาช่วงที่เรากำลังจะสอบ Final (ปี3 เทอม1) หนะสิ

ขั้นที่ 4) เป็นต้นไป ขอแยกเป็นแต่ละบริษัทนะครับ เนื่องจากขั้นตอนหลังจากนี้ แม้แต่บริษัทเดียวกัน(แต่คนละแผนก) ก็มีขั้นตอนคัดเลือกนักศึกษาฝึกงานที่แตกต่างกัน

*ปล. ขอพูดตรงๆ เกรดเฉลี่ยและกิจกรรมที่เคยทำ โคตรสำคัญ ในเรซูเม่เราต้องมีดีทั้ง 2 ทาง เทไปทางใดทางหนึ่ง โอกาสที่จะติดไปรอบลึกๆของบ.ใหญ่ๆ มีน้อยมาก (อย่าโกรธเรานะ เราพูดความจริงทุกอย่างแน่นอน !!)

Review internship application process

Chevron (เชฟรอนประเทศไทยฯ)

สำหรับเชฟรอนเนี่ย ตอนเรากรอกข้อมูลใน Google Form (หน้าเวปไซต์รับสมัครฝึกงานของเชฟรอน) จะมีให้เราเลือกแผนกที่อยากฝึกงาน ได้ 3 อย่างเลยเด้อ (เราเรียนวิศวะ ก็เลยเลือกแผนก Facilitates Engineer กับ Drilling Engineer ไปนะครับ)

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

1) แผนก Facilities

สำหรับรุ่นเรา (ฝึกงานปี 2563) เชฟรอนใช้วิธีสัมภาษณ์ผ่านมือถือ โดยคนที่สัมภาษณ์เราคือวิศวกร และวิศวกรก็จะส่งผลการคัดเลือกไปให้ HR จากนั้น HR จะคัดกรองผู้สมัครอีก 1 รอบ (อาจจะเรียกสัมภาษณ์ Face to Face หรือเลือกจากเรซูเม่เลยก็ได้ แล้วแต่แผนกย่อยๆในแผนก Facilities อีก)

นั่นแหนะ อ่านไม่ผิดหรอกฮะ วิศวกรสัมภาษณ์ก่อน แล้วจึงไปเจอกับพี่ๆ HR อีกรอบนึง

* สิ่งที่เราโดนสัมภาษณ์โดยวิศวกรคือ.. *

– แนะนำตัวเองเป็นภาษาอังกฤษ
– อธิบายกิจกรรมที่เคยทำแล้วชอบที่สุด (อังกฤษ)
– อธิบายจุดแข็ง และจุดอ่อน ของเราเอง (ไทย)
– ทำไมวิชา… ได้เกรดอย่างงี้มา ไหนลองอธิบายเหตุผลให้พี่ฟังหน่อยสิ (ไทย)
– เห็นในเรซูเม่เราเขียนว่าเคยไปแลกเปลี่ยนที่ต่างประเทศมา ไหนอธิบายหน่อย ทำกิจกรรมอะไรที่นั่นบ้าง (ไทย)
– เรียนเครื่องกลเนี่ย คิดว่าได้ใช้วิชาอะไรกับแผนกนี้บ้าง
– มีอะไรจะสอบถามเพิ่มเติมมั้ย

2) แผนก Drilling

แผนกนี้เรียกสัมภาษณ์แบบ Face to Face (ชนวันสอบไฟนอลเราพอดีเป๊ะ ฮ่าๆ แต่โชคดีที่เรียกสัมฯตอนเช้า เราจึงไปเข้าสอบไฟนอลช่วงบ่ายทันเวลา) โดยมีวิศวกร 3 คน ผลัดกันยิงคำถาม ตู้มๆๆๆ

* สิ่งที่เราโดนสัมภาษณ์โดยวิศวกรคือ.. *

– แนะนำตัวเองเป็นภาษาอังกฤษ
– ทำไมอยากฝึกงานเชฟรอน (อังกฤษ)
– คาดหวังอะไรจากการฝึกงานกับเชฟรอน (ไทย)
– ยกตัวอย่าง กิจกรรมที่เคยเป็นผู้นำมา 1 อย่าง ( อธิบายอย่างละเอียดว่าเราทำอะไรบ้าง )
– ทำไมสนใจอุตสาหกรรม Oil & gas (ไทย)
– ในเรซูเม่ เห็นสนใจงานขุดเจาะฯมาก ทำไม่สนใจฝึกงานกับบริษัทกลุ่ม Oil field services
– มีอะไรจะสอบถามเพิ่มเติมมั้ย

Review internship application process

PTTEP (ปตท.สผ.)

ส่วนทางพี่ใหญ่ ปตท.สผ.ของไทยเราเนี่ย ขั้นตอนทั้งหมดจะเริ่มจาก…

ให้เรากรอกข้อมูลใน Google Form (หน้าเวปไซต์รับสมัครฝึกงานของทาง สผ.) ต่างกับเชฟรอนตรงที่ จะไม่ให้เราเลือกแผนกที่อยากฝึกงาน เพราะกรรมการจะจัดสรรเราไปอยู่แผนกต่างๆเอง ขึ้นกับบุคลิกของเราตอนไปสัมภาษณ์ (อันนี้ผมเดา+ฟังจากรุ่นพี่ปีก่อนๆที่ได้เข้าไปฝึกงาน)

จากนั้น เราต้องส่งCV และ Transcript ในเวปไซต์ PTTEP Career (ย้ำนะ ! เวปไซต์ !! ไม่ใช่ เพจใน Facebook)

ด่านแรก -> คัดจากCV Transcript และ TOEIC (หน้าเวปไซต์ของ สผ. ไม่ได้บอกว่าจำเป็นต้องมีคะแนน TOEIC ครับ แต่จะบอกไว้ว่า ถ้ามีจะพิจารณาเป็นพิเศษ)

ด่านสอง -> สอบข้อเขียน ( ข้อสอบวัดการคิด ตรรกะของตัวบุคคล ซึ่งถ้าน้องๆคนไหนเคยทำข้อสอบความถนัดแพทย์ ในการสอบ กสพท. จะคุ้นเคยกับข้อสอบแนวนี้มาก ส่วนคนที่ไม่เคยทำ แนะนำให้ไปหาซื้อในร้านหนังสือทั่วไป มีเพียบ!! ส่วนอีกพาร์ทของข้อสอบสผ. เป็นการอ่านจับใจความ เชื่อว่าไม่ยากสำหรับคนไทยอย่างเราๆ )

ด่านสาม (รอบสุดท้าย) -> สอบสัมภาษณ์ (1-1)

คำถามคือ..

1. แนะนำตัวเองเป็นภาษาอังกฤษ
2.รู้อะไรเกี่ยวกับ ปตท.สผ. หรือการขุดเจาะฯบ้าง (พอดีผมใส่ในCV ไว้ว่าสนใจงานขุดเจาะฯ) (อังกฤษ)
3. กิจกรรมที่เราทำแล้วชอบที่สุด (อังกฤษ)
4. กิจกรรมที่ทำแล้วเจอปัญหา แก้ไขยังไง (ไทย)
5. ถ้าไม่ติดฝึกงานที่นี้ คุณจะรู้สึกยังไง แล้วจะทำอย่างไรต่อไป (ไทย)
6. ในสายตาเพื่อนๆ มองเราเป็นคนยังไง (ไทย)
7. อยากสอบถามอะไรเพิ่มเติมมั้ย

ข้างล่างนี่แถมเล็กน้อยครับ

สัมภาษณ์ฝึกงานที่ ปตท.สผ. แผนก Maintenance and Inspection (EMI)

ตอนแรกให้แนะนำตัวเองภาษาอังกฤษ ส่วนวิชาการ ให้อธิบายเป็นภาษาไทยครับ

  • 1.ให้อธิบาย TS diagram และก็ถาม แต่ละ state คืออะไร ให้อธิบาย T เท่าไร P เท่าไร ให้ขึ้นกระดาน
  • 2.ถามว่า LMTD คืออะไร
  • 3.Hoop Stress คืออะไร

——————————————–

recta sapere

แรงในโลกนี้มีอยู่ 4 แรงหลักๆ (เท่าที่ผมรู้นะ) มีแรงสนามไฟฟ้า แรงสนามแม่เหล็ก แรงโน้มถ่วง และ แรงนิวเคลียร์ แต่ถ้าแบ่งแบบไม่แคร์ว่ามันแรงอะไร ก็แบ่งได้เป็น 2 แรงใหญ่ๆ คือ แรงผลัก กับ แรงดึง

มีอีกแรงหนึ่งที่ไม่เชิงเป็นแรง เรียกว่าเป็นธรรมชาติของวัตถุที่ไม่อยากเปลี่ยนสถานะการเคลื่อนที่ เรามักเรียกมันว่า แรงเฉื่อย

แรงเฉื่อย มีลักษณะสำคัญอยู่ 2 อย่าง

อย่างแรก คือ แปรผันตามมวล ยิ่งมวลเยอะ ยิ่งเฉื่อยเยอะ เปลี่ยนสถานะยาก และ

อย่างที่สอง คือ มันมีทิศตรงกันข้ามกับแรงผลัก หรือ ดึง

ถ้าจะผลักฉัน ฉันจะทำให้ดูเหมือนฉันถูกดึง – ถ้าจะดึงฉัน ฉันจะทำให้ดูเหมือนฉันถูกผลัก

วัตถุทั้งหลายทั้งปวงในโลก ก็ตกอยู่ภายใต้กฏฟิสิกส์พื้นๆนี้ … ความรัก และ การงานก็เช่นกัน

บางที แรงดึงไม่ได้เยอะ แต่แรงผลักมหาศาล – บางที แรงดึงมหาศาล แต่ไม่มีแรงผลัก

ผลรวมของแรงจะเป็นตัวกำหนดว่าความรักและการงานจะเป็นอย่างไร

มวลของแรงเฉื่อยนั้นก็คือ อีโก้ …

“ตัวกู” นี่แหละ ยิ่งตัวกูใหญ่ ก็จะยิ่งต้านการเปลี่ยนแปลง ตัวกูเล็ก ก็เปลี่ยนแปลงง่าย

ดังนั้นเวลาเกิดอะไรขึ้นกับคนรอบๆข้าง (หรือแม้แต่ตัวเอง) อย่าไปดราม่า โทษแรงดึง โทษแรงผลัก หรือ อีโก้ อย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว … มันก็รวมๆกันนั่นแหละครับ

Life is just like that – ชีวิต(แม่ง)ก็เป็นแบบนี้แหละ 555 🙂

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------