ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Radioactive source ติดค้างในหลุม ต้องทำไงดีครับ กฏหมายว่าไง ?

Radioactive source ติดค้างในหลุม ต้องทำไงดีครับ กฏหมายว่าไง ? เราใช้สารกัมตภาพรังสี (เรามักเรียกย่อๆ RA sourec) ในงานขุดเจาะสำรวจและผลิตปิโตรเลียมหลายด้าน หลักๆคือ การใช้ในงานหยั่งธรณี ไม่ว่าโดยใช้ติดตั้งกับเครื่องมือ แล้วหย่อนลงไปในหลุมด้วยสายเคเบิ้ล (wirelien logging) หรือ ติดตั้งกับเครื่องมือที่ปลายก้านเจาะ (LWD- Logging Whiel Drilling)

ลิงค์ … เครื่องมือการหยั่งธรณี

ลิงค์ … LWD- Logging Whiel Drilling

BHA Bottom Hole Assemble LWD (Logging While Drilling)

ปัญหาปวดตับมันอยู่ตรงนี้ครับ คือ ตอนเอาลงไปนะ ไม่ยาก แต่ถ้าอีตอนจะลากมันขึ้นมา (กรณี wireline) หรือ ถอนก้านเจาะขึ้นมา (กรณี LWD) ถ้าหลุมมันไม่ดี ถล่มลงมาทับ หรือ อะไรก็แล้วแต่ เกิดทำให้เราต้องจำใจทิ้งเครื่องมือพร้อม สารกัมตภาพรังสี นั้นไว้ ก้นหลุม จะทำไงครับ

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

Radioactive source

ติดค้างในหลุม ต้องทำไงดีครับ กฏหมายว่าไง ?

ไม่ใช่ว่า อยากทำไงก็ไทำได้นะครับ มันมีกฏกติกากำกับอยู่นะครับ ทั้ง 1. กฏของอุตสาหกรรมที่เป็นสากล 2. กฏของบริษัทน้ำมันนั้นๆ กับ 3. กฏของเจ้าของสัมประทาน ซึ่งโดยมากก็คือประเทศที่เราไปทำมาหากินอยู่นั่แหละ

กฏไหนเข้มกว่า เราก็เอากฏนั้นมาใช้ ปลอดภัยสุด

วันนี้เรามาดูว่า กฏหมายของประเทศไทยว่าไง ไม่ใช่เรื่องล้อเล่นกันนะครับ เป็นกฏหมาย มีบทลงโทษ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเลยทีเดียว

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

ที่มา … http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/190/T_0032.PDF

ลิงค์ข้างบนคือแบบฟอร์มที่ต้องกรอก และ นำส่ง เป็น PDF มี 4 หน้า โหลดพิมพ์เอาไปศึกษาอ้างอิงได้ครับ ผมตัดมาให้ดูเป็นส่วนๆ ตามนี้ครับ

Radioactive source Radioactive source Radioactive source Radioactive source

มีเกร็ดเล็กๆมาบอกกัน

ในกรณีที่ต้องฝังกลบสารกัมมันตภาพรังสีไว้ก้นหลุม เราจะเอาซีเมนต์ผสมสีแดงถมมันเอาไว้ (ปกติซีเมนต์หลุมจะไม่ผสมสี เป็นสีธรรมชาติ ก็สีเทาๆนะ) เพื่อที่ว่าในอนาคต ถ้าใครมาขุดหลุมหลุมมาจ๊ะเอ๋ชนหลุมที่มีสารกัมตภาพรังสีถูกกลบอยู่ก้นหลุมก็จะได้รู้ว่า เจอของดีเข้าให้แล้ว 555

(ปล. ชนแล้วรู้ได้ไง ก็ตอนขุดมาชน เศษซีเมนต์ที่โดนเจาะสีแดงๆก็จะขึ้นไปปนกับเศษหินติดไปกับน้ำโคลน โผล่ไปที่ shale shaker ให้ได้ mud logger เห็นกัน)

https://nongferndaddy.com/mud-logger-2/

ส่วนตัวกฏหมายที่เป็นตัวหนังสือก็ตามลิงค์นี้เลยครับ เป็น PDF มี 4 หน้า คลิ๊กที่รูปครุฑเลยครับ มีลิงค์ให้แล้ว

อาศัยอานาจตามความในมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง มาตรา ๘ (๑๕) และมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. ๒๕๕๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยคาแนะนาของคณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติออกกฎกระทรวงไว้

ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ในกฎกระทรวงนี้

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

“ผู้รับใบอนุญาต” หมายความว่า ผู้รับใบอนุญาตผลิต มีไว้ในครอบครอง หรือใช้วัสดุกัมมันตรังสีตามมาตรา ๑๙

“ผู้ได้รับสิทธิสารวจและผลิตปิโตรเลียม” หมายความว่า ผู้ได้รับสัมปทานปิโตรเลียม สัญญาแบ่งปันผลผลิต หรือสัญญาจ้างบริการตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม

“หลุมสารวจปิโตรเลียม” หมายความว่า หลุมที่มีการดาเนินการตามมาตรฐานในการค้นหา ปิโตรเลียมโดยใช้วิธีการทางธรณีวิทยา ธรณีฟิสิกส์ และอื่น ๆ และให้หมายความรวมถึงหลุมที่มีการเจาะเพื่อทดสอบชั้นหินเพื่อให้ทราบว่ามีปิโตรเลียมอยู่หรือไม่เพียงใด เพื่อกาหนดวงเขตแหล่งสะสมปิโตรเลียม หรือเพื่อให้ได้ข้อมูลอย่างอื่นอันเป็นสาระสาคัญที่จาเป็นแก่การผลิตปิโตรเลียม และหลุมที่มีการดาเนินการใด ๆเพื่อนาปิโตรเลียมขึ้นจากแหล่งสะสม ทั้งนี้ ไม่ว่าหลุมดังกล่าวจะอยู่บนบกหรือในทะเล

“การสละวัสดุกัมมันตรังสี” หมายความว่า การสละวัสดุกัมมันตรังสีที่ตกค้างอยู่ในหลุมสารวจ ปิโตรเลียมอย่างถาวร ด้วยเหตุที่ไม่สามารถนาวัสดุกัมมันตรังสีนั้นขึ้นมาจากหลุมสารวจปิโตรเลียมได้ หรือการพยายามกู้ต่อไปอาจทาให้วัสดุกัมมันตรังสีเกิดการรั่วไหล

“การปิดหลุมสารวจปิโตรเลียม” หมายความว่า การสละหลุมสารวจปิโตรเลียมที่มีอุปกรณ์พร้อมวัสดุกัมมันตรังสีตกค้างอยู่อย่างถาวรตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม

ข้อ ๒ ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตใช้วัสดุกัมมันตรังสีเพื่อประโยชน์ในการสารวจปิโตรเลียมและวัสดุกัมมันตรังสีนั้นตกค้างอยู่ในหลุมสารวจปิโตรเลียม ให้ผู้รับใบอนุญาตดาเนินการตามขั้นตอน และวิธีการ ดังต่อไปนี้

(๑) แจ้งข้อมูลการตกค้างของวัสดุกัมมันตรังสีให้เลขาธิการทราบทางโทรศัพท์หรือวิธีอื่นใดที่เหมาะสมโดยทันที
(๒) นาวัสดุกัมมันตรังสีนั้นขึ้นมาจากหลุมสารวจปิโตรเลียมโดยเร็ว ทั้งนี้ โดยอาจดาเนินการร่วมกับผู้ได้รับสิทธิสารวจและผลิตปิโตรเลียมก็ได้

(๓) ดาเนินการเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการนาวัสดุกัมมันตรังสีขึ้นมาจากหลุมสารวจปิโตรเลียม อย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้

(ก) ตรวจสอบการรั่วไหลหรือการปนเปื้อนของวัสดุกัมมันตรังสี โดยใช้เครื่องสารวจรังสีตรวจสอบเศษดิน หิน โคลน หรือของเหลวที่นาขึ้นมาจากหลุมสารวจปิโตรเลียม

(ข) แก้ไขหรือขจัดการปนเปื้อนที่เกิดขึ้นกับบุคคล สิ่งแวดล้อม หรือเครื่องมือและอุปกรณ์จากการรั่วไหลของวัสดุกัมมันตรังสี

(๔) ตรวจสอบสภาพความสมบูรณ์ของวัสดุกัมมันตรังสีที่นาขึ้นมาได้ ค่าอัตราปริมาณรังสีและตรวจสอบการรั่วไหลหรือการปนเปื้อนของวัสดุกัมมันตรังสีนั้นทั้งภายในและภายนอกแคปซูล

ข้อ ๓ เมื่อมีการนาวัสดุกัมมันตรังสีขึ้นมาจากหลุมสารวจปิโตรเลียมเสร็จสิ้นแล้วให้ผู้รับใบอนุญาตแจ้งต่อเลขาธิการตามแบบที่เลขาธิการประกาศกาหนดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ดาเนินการเสร็จสิ้น

ข้อ ๔ ในกรณีที่ไม่สามารถนาวัสดุกัมมันตรังสีขึ้นมาจากหลุมสารวจปิโตรเลียมได้ เป็นเหตุให้ต้องทาการสละวัสดุกัมมันตรังสีและทาการปิดหลุมสารวจปิโตรเลียม ให้ผู้รับใบอนุญาตดาเนินการดังต่อไปนี้

(๑) แจ้งสาเหตุและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการที่ไม่สามารถนาวัสดุกัมมันตรังสีขึ้นมาจากหลุมสารวจปิโตรเลียม และความจาเป็นในการสละวัสดุกัมมันตรังสี ให้เลขาธิการทราบทางโทรศัพท์หรือวิธีอื่นใดที่เหมาะสมโดยทันที

(๒) ตรวจสอบการรั่วไหลหรือการปนเปื้อนของวัสดุกัมมันตรังสี โดยใช้เครื่องสารวจรังสีตรวจสอบเศษดิน หิน โคลน หรือของเหลวที่นาขึ้นมาจากหลุมสารวจปิโตรเลียม

(๓) แก้ไขหรือขจัดการปนเปื้อนที่เกิดขึ้นกับบุคคล สิ่งแวดล้อม หรือเครื่องมือและอุปกรณ์จากการรั่วไหลของวัสดุกัมมันตรังสี

(๔) การสละวัสดุกัมมันตรังสีและการปิดหลุมสารวจปิโตรเลียม โดยดาเนินการ ดังต่อไปนี้

(ก) กระทาด้วยวิธีการใด ๆ ให้วัสดุกัมมันตรังสีที่ตกค้างอยู่ในหลุมสารวจปิโตรเลียมยึดติดอยู่กับที่และอัดปิดทับหลุมด้วยซีเมนต์ชนิดผสมสีที่ได้มาตรฐาน

(ข) ติดตั้งอุปกรณ์หรือดาเนินการใด ๆ เพื่อป้องกันมิให้มีการกระทบกระเทือนหลุมสารวจปิโตรเลียมที่มีวัสดุกัมมันตรังสีตกค้างอยู่จากการเจาะหลุมอื่น … (ตัดมาให้ดูเป็นน้ำจิ้ม ทีเหรือ คลิ๊กที่รูปครุฑนะครับ ฉบับเต็ม)

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------