ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

PTTEP ค้นพบ แหล่งน้ำมันนอกชายฝั่งเม็กซิโก … มีเรื่องต้องขยาย

PTTEP ค้นพบ แหล่งน้ำมันนอกชายฝั่งเม็กซิโก … มีเรื่องต้องขยาย – เหลือบไปเห็นข่าว PR ของพี่ใหญ่ PTTEP ในสื่อ 2 – 3 ฉบับ อ่านแล้ว ก็กังวลเล็กๆว่า พวกเราจะเข้าใจไม่ครบถ้วนในรายละเอียด

คนนอกวงการเขาจะคิดอย่างไร ก็ไม่ว่า (เหมือนเราอ่านข่าววงการอื่น) แต่พวกเราคนในวงการกันเอง ควรจะเข้าใจให้ลึกกว่าข่าวนิดนึง เผื่อจะได้อธิบายต่อได้

#ข่าวเดียวกันอ่านที่นี่ได้มากกว่าข่าว

ประเด็นที่อยากขยายคือ

  • “PTTEP ค้นพบ แหล่งน้ำมันนอกชายฝั่งเม็กซิโก” ประโยคพาดหัวข่าวแบบนี้ ไม่ใคร่ตรงกับความเป็นจริงเท่าไร
  • “ค้นพบชั้นหินกักเก็บน้ำมันความหนาประมาณ 150 เมตร และ 200 เมตร” ต้องขยายความต่อนิด

PTTEP ค้นพบ แหล่งน้ำมันนอกชายฝั่งเม็กซิโก

… มีเรื่องต้องขยาย

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

เอาเรื่องแรกก่อน

“PTTEP ค้นพบ แหล่งน้ำมันนอกชายฝั่งเม็กซิโก”

ประโยคที่ถูกต้อง ควรจะเป็น “กลุ่มบริษัทร่วมทุน ร่วมกับ PTTEP ค้นพบ …” หรือ “PTTEP และ บริษัทร่วมทุนฯ ค้นพบ …” อะไรทำนองนี้มากกว่าที่จะบอกว่า ปตท.สผ. ค้นพบเอง โดยเฉพาะเมื่อไปอ่านรายละเอียดแล้ว เป็นกลุ่มบ.ร่วมทุน และ PTTEP เป็นหุ้นส่วนน้อยในกลุ่มร่วมทุน

ไปดูสัดส่วนลงขันกัน

  • บริษัท พีทีทีอีพี เม็กซิโก อีแอนด์พี จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 16.67
  • บริษัท เรปซอล เอ็กซ์พลอเรชั่น เม็กซิโก (Repsol Exploración México, S.A. de C.V.) ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการ (Operator) ถือสัดส่วนการลงทุน ร้อยละ 30
  • บริษัท พีซี ชาริกาลี เม็กซิโก โอเปอร์เรชั่น (PC Carigali Mexico Operations, S.A. de C.V.) บริษัทย่อยในประเทศเม็กซิโกของปิโตรนาส (PETRONAS) ถือสัดส่วนการลงทุน ร้อยละ 28.33
  • บริษัท วินเทอร์เชลล์ (Wintershall Dea) ถือสัดส่วนการลงทุนร้อยละ 25

PTTEP ค้นพบ

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

ด้วยความเคารพพี่ใหญ่จริงๆครับ ผมคิดว่า สื่อเป็นคนคิดคำพาดหัวข่าว สผ.เองไม่น่าจะพาดหัวข่าวแบบนี้ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผมพยายามรณรงค์ตลอดว่า การพาดหัวข่าวควรต้องตรงกับความเป็นจริง เดี๋ยวจะกลายเป็น ดราม่าหน้าไม่ตรงปก 🙂

โดยปกติ อำนาจการตัดสินใจในบ.ร่วมทุนต่างๆ จะอยู่ในข้อตกลงการร่วมทุน (JA – Joint Agreement) ซึ่งจะระบุชัดว่า อำนาจ และ ขั้นตอนการตัดสินใจในเรื่องต่างๆนั้นเป็นอย่างไร ซึ่งก็มีอยู่ 2 แนวใหญ่ๆ

  • ต้องเห็นร่วมกันหมด (ไม่ว่าลงขันเท่าไร) หรือ
  • ใช้เสียงข้างมากตามสัดส่วนการลงขัน

แบบแรก (ต้องเห็นร่วมกันหมด) ผมไม่ค่อยเจอ เพราะจะกลายเป็นว่า คนลงขันน้อย ก็สามารถค้านเสียงส่วนใหญ่ได้ (Minority rules)

โดยมากก็แบบที่สองอ่ะครับ –  ใช้เสียงข้างมากตามสัดส่วนการลงขัน

จากสัดส่วนการลงทุนก็พอเห็นได้ว่า ใครเป็นใครนะครับ นอกจากนั้น สัดส่วนการลงขันจะสะท้อนสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการทำงาน และ ผลตอบแทนด้วย ซึ่งก็เป็นธรรมดี

“ค้นพบชั้นหินกักเก็บน้ำมันความหนาประมาณ 150 เมตร และ 200 เมตร”

ประเด็นต่อมา ไม่ได้ผิดอะไรครับ เรื่อง 150 เมตร กับ 200 เมตร ตามข่าวข้างล่าง

โดยหลุมสำรวจหลุมแรก “โปล๊อค-1 ” (Polok-1) เจาะถึงระดับความลึกที่ 2,620 เมตร ค้นพบชั้นหินกักเก็บน้ำมันความหนาประมาณ 200 เมตร

ส่วนหลุมสำรวจหลุมที่สอง “ชินวูล-1” (Chinwol-1)เจาะสำรวจถึงระดับความลึกที่ 1,850 เมตร ค้นพบชั้นหินกักเก็บน้ำมันความหนาประมาณ 150 เมตร

แต่ที่ต้องขยายทางเทคนิคคือ จำนวนเมตรที่เห็นนั้น เป็น gross ยังไม่ใช่ net

Gross vs. Net

สงสัยล่ะซิว่า อะไรเป็นอะไร ไปดูรูปง่ายๆเลยดีกว่า

200 เมตร 150 เมตร นะ มันคือ รูปซ้ายสุด

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

ที่มา http://chapter24.one/hciip%20calculator.html

คือ มันมีหินหลายๆแบบปนๆ (หินทราย + หินดินดาน) กันอยู่ใน 150 – 200 เมตร นั่น เหลือเป็นหินมี่มีน้ำมัน (หินทราย) อยู่ (น้อยกว่า 150 – 200 เมตร) เป็น NRV – Net Rock Volume คอลัมภ์ที่ 2 (จากซ้ายมือ)

จากนั้นก็ทอนออกไปอีก เพราะช่องว่างที่เก็บของเหลวได้ก็ไม่เต็ม เอาส่วนเนื้อหินออกไป ก็เหลือแค่ช่องว่าง เป็น NPV – Net Pore Volume คอลัมภ์ที่ 3 (จากซ้ายมือ)

เสร็จแล้ว ในช่องว่าง มันก็มีทั้งน้ำ และ น้ำมันปนอยู่ ก็ทอนเอาน้ำออกไป เหลือแค่ช่องว่างที่มีน้ำมัน HCPV – Hydrocarbon Pore Volume คอลัมภ์ที่ 4 (จากซ้ายมือ)

ซึ่งปริมาตร HCPV นี่ คือ ปริมาตรที่อยู่ใต้ดินภายใต้ความดัน และ อุณหภูมิ นั้นๆ แต่พอเอามันขึ้นมาบนพื้นโลกแล้ว ปริมาตรมันจะเปลี่ยนตามกฏ P1V1/T1 = P2V2/T2

ก็ต้องปรับให้เป็นปริมาตรบนผิวโลกอีก ถ้าเป็น น้ำมัน เราเรียก STOIIP (Stock Tank Oil Initial In Place) ถ้าเป็นก๊าซ เราเรียก GIIP (Gas Initial In Place)

ทั้ง STOIIP และ GIIP นั้น จะบอกว่าน้ำมันหรือก๊าซที่อยู่ใต้ดินมันถ้าเอาขึ้นมาอยู่บนผิวโลกได้หมดตั้งแต่วันแรกจะได้ปริมาตรเท่าไร

ส่วนจะเอาขึ้นมาได้หมดเกลี้ยงไหม นั่นอีกคำถามหนึ่ง ขึ้นกับปัจจัยหลายๆอย่าง คุณสมบัติของไฮโดรคาร์บอนนั้นๆ ปิโตรฟิสิกส์ของชั้นหิน เทคโนโลยี เทคนิคการผลิต ฯลฯ เรารวมๆเรียกว่า Recovery factor (RF) ซึ่งค่านี้น้อยกว่า 1 เสมอ ก็แหม ใครจะไปเอาขึ้นมาได้ทุกหลุดล่ะ จริงไหม

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ความหนาของชั้นหิน 150 และ 200 เมตร ในข่าวนั้นเป็นตัวชี้วัดเบื้องต้นเท่านั้นครับ

ไหนๆก็ไหนๆ ไปดูการคำนวนหาปริมาณน้ำมันในชั้นหินอย่างง่ายๆกันครับ ตามลิงค์ไปล่ะกันถ้าอยากทราบ

สมการหาน้ำมันตัวพ่อ Archie’s Law มาทำความรู้จักกันครับ

สมการหาน้ำมันตัวพ่อ Archie’s Law มาทำความรู้จักกันครับ

 

ในห้วข้อที่แล้ว gross vs. net เราพูดถึงในแนวดิ่ง มิติเดียว แนวเส้นตรง แต่ปริมาตรนั้น จะถ้งเอาเส้นตรงคูณพื้นที่ จริงไหมครับ คราวนี้แหละ จะรู้ได้ไงว่า เส้นขอบพื้นที่มันอยู่ตรงไหน รูปร่างพื้นที่มันเป็นวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม 18 เหลี่ยม หรือ ไร้เหลี่ยมเลื้อยไปเลื้อยมา

ขอบเขตของแหล่ง (reservoir boundary)

นักธรณีเขาเสก เอ้ย สามารถจำลองได้ครับว่าขอบเขตมันอยู่ตรงไหน

คืองี้ครั้บ ก่อนจิ้มเจาะหลุมสำรวจหลุมแรก นักธรณีเขามีแบบจำลองหน้าตาแหล่งอยู่แล้วครับ ว่ารูปร่างมันควรจะเป็นอย่างไร แล้วเขาเลือกจุดจิ้มแรกที่มีความน่าจะเป็นสูงสุดว่าจะเจอ

หลุมแรกจึงเรียกว่าหลุมสำรวจ (Exploration well)

ถ้าเจาะไม่เจอ เราเรียกว่าหลุมแห้ง (Dry well) แปลว่าแบบจำลองผิด หลายร้อย หลายพันล้านที่ลงเงินไป หายวับ เก็บของกลับบ้าน หรือ ปรับแบบจำลองแล้วหาจุดลุ้นเจาะสำรวจใหม่

ถ้าเจาะเจอ คำถามต่อมาคือ แบบจำลองถูกไหม ก็ต้องเจาะหลุมอีกจำนวนหนึ่ง เพื่อพิสูจน์ขอบ ของแบบจำลองว่า ขอบของแหล่งที่จำลองไว้นั้นถูกต้องไหม เราเรียกหลุมประเภทนี้ว่า หลุมประเมิน (Appraisal หรือ Delineation well)

นักธรณีที่เก่งๆจะต้องเลือกตำแหน่งเจาะหลุมประเมินน้อยหลุมที่สุดที่จะบอกได้ว่าขอบแหล่งกักเก็บอยู่ตรงไหน ใครมีกึ๋นไม่มีกึ๋นก็มาวัดกันตรงนี้แหละครับ

ขั้นตอนนี้มักใช้เวลาอีกระยะหนึ่งหลังจากเจาะหลุมสำรวจเสร็จ อย่างต่ำๆก็ปีกว่าๆแหละครับ กว่าจะประมวลผลข้อมูลที่ได้จากหลุมสำรวจเสร็จ

พอได้ขอบของแหล่งแล้ว นั่นคือรู้พื้นที่ เอาไปคูณกับ net ในแนวดิ่ง ก็จะได้เป็นปริมาตร คูณๆหารๆ ออกมาจึงได้ STOIIP แล้วจึงเอามาคูณความสามารถในการจะเอาขึ้นมา (Recovery Factor – RF) แล้วคูณราคาขาย เทียบกับเงินลงทุนที่ต้องลงทุนเพิ่มในการพัฒนาแหล่งฯ จึงจะได้คำตอบว่าจะพัฒนาต่อไหม หรือ เอาไว้รอราคาขายดีๆค่อยเอาขึ้นมา

(แอบคล้ายๆโครงการที่อยู่อาศัยน่ะครับ บางโครงการทุกอย่างดีไปหมด แต่ราคาขายบ้านแถวๆนั้นยังไม่คุ้มจะพัฒนา ก็เก็บที่ดินตรงนั้นไว้ก่อน)

ตอนนี้กลุ่มบ.ร่วมทุนฯ เพิ่งเจาะหลุมสำรวจแล้วพบสำเร็จ ดังนั้น ยังอีกนานครับ กว่าจะขุดหลุมประเมิน ประมวลผลข้อมูลจากหลุมประเมิน

ไปอ่านข่าวกันครับ

ที่มา … https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/432809?utm_source=homepage&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=Macro_econ

ปตท.สผ. – กลุ่มผู้ร่วมทุนในโครงการเม็กซิโกแปลง 29 ประสบความสำเร็จจากการเจาะหลุมสำรวจในแปลง 29 ซึ่งเป็นแปลงสำรวจน้ำลึกนอกชายฝั่งประเทศเม็กซิโก ค้นพบน้ำมันดิบในปริมาณที่น่าพอใจ เตรียมการประเมินศักยภาพของแหล่งต่อไป

นายพงศธร ทวีสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เปิดเผยว่า บริษัท พีทีทีอีพี เม็กซิโก อีแอนด์พี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ ปตท.สผ. พร้อมทั้งกลุ่มผู้ร่วมทุนอีก 3 บริษัท ประสบความสำเร็จในการเจาะหลุมสำรวจ 2 หลุม ในโครงการเม็กซิโกแปลง 29 ซึ่งตั้งอยู่บริเวณน้ำลึก (Deepwater) ของประเทศเม็กซิโก โดยหลุมสำรวจหลุมแรก “โปล๊อค-1 ” (Polok-1) เจาะถึงระดับความลึกที่ 2,620 เมตร ค้นพบชั้นหินกักเก็บน้ำมันความหนาประมาณ 200 เมตร

ส่วนหลุมสำรวจหลุมที่สอง “ชินวูล-1” (Chinwol-1)เจาะสำรวจถึงระดับความลึกที่ 1,850 เมตร ค้นพบชั้นหินกักเก็บน้ำมันความหนาประมาณ 150 เมตร ซึ่งทั้ง 2 หลุมค้นพบศักยภาพน้ำมันดิบในปริมาณที่น่าพอใจ ทั้งนี้กลุ่มผู้ร่วมทุนจะดำเนินการวางแผนการประเมินศักยภาพและแผนการพัฒนาปิโตรเลียม เพื่อเสนอขออนุมัติหน่วยงานกำกับดูแลของประเทศเม็กซิโกต่อไป

ทั้งนี้ หลุมสำรวจทั้งสองหลุมนี้อยู่ในแปลง 29 บริเวณน้ำลึกห่างจากชายฝั่งโทบาสโคของประเทศเม็กซิโก (Mexican coastline of Tabasco) ประมาณ 88 กิโลเมตร

โดยมีผู้ร่วมทุนประกอบด้วยบริษัท พีทีทีอีพี เม็กซิโก อีแอนด์พี จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 16.67 บริษัท เรปซอล เอ็กซ์พลอเรชั่น เม็กซิโก (Repsol Exploración México, S.A. de C.V.) ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการ (Operator) ถือสัดส่วนการลงทุน ร้อยละ 30 บริษัท พีซี ชาริกาลี เม็กซิโก โอเปอร์เรชั่น (PC Carigali Mexico Operations, S.A. de C.V.) บริษัทย่อยในประเทศเม็กซิโกของปิโตรนาส (PETRONAS) ถือสัดส่วนการลงทุน ร้อยละ 28.33 และบริษัท วินเทอร์เชลล์ (Wintershall Dea) ถือสัดส่วนการลงทุนร้อยละ 25

ปตท.สผ. ได้เริ่มลงทุนในประเทศเม็กซิโกตั้งแต่ปี 2561 โดยดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ในการขยายการลงทุนไปในพื้นที่ที่มีศักยภาพปิโตรเลียมสูง โดยในปัจจุบัน ปตท.สผ. มีโครงการสำรวจปิโตรเลียมนอกชายฝั่งในประเทศเม็กซิโก จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการเม็กซิโกแปลง 29 และโครงการเม็กซิโกแปลง 12 ซึ่งอยู่ในช่วงระยะการสำรวจปิโตรเลียมเช่นเดียวกัน

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------