ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Offshore Oil drilling history เมื่อเราขยับมาขุดหาน้ำมันในทะเล

Offshore Oil drilling history เมื่อเราขยับมาขุดหาน้ำมันในทะเล – กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว … เมื่อมนุษย์เราขยับจากขุดน้ำมันบนบกมาขุดในทะเล

… มาย้อนเวลาหาอดีตกันครับ

หลายวันก่อนได้ไฟล์นึงที่พรรคพวกในวงการฯส่งต่อๆกันมา ดูแล้วนึกถึงเพื่อนๆที่นี่ทันที เพราะเป็นรูปหาดูยากในวงการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมต้นน้ำนอกชายฝั่ง

หลายๆรูปผมเองก็ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน เป็นเรื่องราวประวัติความเป็นมา ประมาณว่าเล่าด้วยรูปว่าเราเริ่มขยับมาสำรวจขุดเจาะและผลิตปิโตรฯนอกชายฝั่งกัน เมื่อไร และ อย่างไร

งั้นให้เครดิตไว้ตรงนี้เลยว่าเป็นของคุณ Mike Utt ซึ่งก็ไม่รู้จะไปตามขออนุญาตตะแกได้ยังไง เอาว่าขอบคุณและให้เครดิตคุณ Mike Utt ไว้ตรงนี้ก็แล้วกันครับ

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

มาว่าของเราต่อ …

เพราะต้นฉบับเล่าด้วยภาพล้วนๆ ไม่มีบทบรรยาย ผมขอเอามาพากษ์ตามสไตล์แสบๆ(+เสียวๆ) ใส่ไข่ แกล้มเหน็บและสอด(ประสบการ์ฮาๆ) ไปตามประสาก็แล้วกันนะครับ และตามเคย ผิดพลาดขาดตกเฉิ่มเบ๊อะเลอะเทอะอย่างไรก็ขอรับไว้แต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวกับนาย Mike Utt หรือ บ.ต้นสังกัดของผมทั้งในอดีตและปัจจุบัน

Offshore Oil drilling history

เมื่อเราขยับมาขุดหาน้ำมันในทะเล

เจอรูปแรกก็เสียวสะดือแล้วไหมครับเพื่อนๆ ไม่ใช่ Long beach อันลือลั่นของ California นะครับ แต่เป็น Huntington beach ครับ เสียดายไม่ระบุปีไว้ รับรองว่าไม่ตัดต่อครับเพราะอึ่งน้อยก็ได้ยินคำบอกเล่าจากคนน้ำมันแก่ๆเก่าๆว่าตะก่อนเป็นแบบนี้ เพิ่งเคยเห็นรูปก็คราวนี้แหละครับ

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

… หาดแบบนี้ ถ้าเป็นพ.ศ.นี้ ใครจะกล้าลงไปว่ายเนี่ย ….

Offshore Oil drilling history

แล้วเราก็หาญกล้าเขยิบๆลงไปในทะเล ทีละนิดๆ

Offshore Oil drilling history

เอาล่ะพี่น้อง … น้ำลงแล้ว ถกขากุงเกงเล ขมวดเหน็บไว้ดีๆ ลงไปดูใกล้ๆกัน … อี้ … ไปงมหอยหลอดขายดีก่า

Offshore Oil drilling history

นี่เลย บรรพชนดินแดนสาวสวย (นางงามจักรวาลเวเนฯ) ลุยไปก่อนเลย แต่ลงทะเลสาบนะครับ ชิวๆ เอาแบบน้ำนิ่งๆ แหม … คนเรามันก็ต้องพลิก คืบ คลาน ตั้งไข่ เดิน วิ่ง กระโดด จริงป่ะ ค่อยเป็นค่อยไป ….

Offshore Oil drilling history

ตามมาด้วยพี่โซ(เวียต)เคยได้ยินจากคนเก่าคนแก่ในวงการฯว่าเลื้อยกันยาวเป็นสิบๆกิโลฯ แต่ไม่นึกว่ามันจะถึง 100 กิโลฯ

Offshore Oil drilling history

แล้วจริงๆพวกเราลงทะเลกันตั้งแต่เมื่อไร … อยากรู้ล่ะซิ (เคยได้ยินแต่สัตว์วิวัฒนาการจากทะเลขึ้นบก แต่พวกเราวิวัฒนาการออกทะเล เอ๊ย ลงทะเล)

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

Offshore Oil drilling history

นี่ครับ ก่อนผมเกิด 20 ปีพอดี … ปี 1947 … เฮียเล่นสร้างแท่นลงกลางทะเลแล้วเอาเรือแบกปั่นจั่นไปวางแหมะเอาดื้อๆเลยครับพี่น้อง

Offshore Oil drilling history

อะ ให้ดูอีกมุม

มาเอาเรื่องเอาราว วิชากาม เอ๊ย วิชาการกันหน่อยดีไหมครับ …

แล้วทีนี้จะแปลยังไงเนี่ย .. fixed platform นี่เลย ตามพจนานุกรมละมุนภัณฑ์(ของฟรี)ที่ติดมากับโน๊ตบุ๊ค(ที่ก็ของฟรีอีก)

platform (พแลท-ฟอม) n.

1. ยกพื้น, แท่น, ฐานปืน
2. ชานชาลาสถานี
3. เวทีสำหรับพูด, การแสดงสุนทรพจน์บนเวที
4. นโยบายของพรรคการเมืองที่แถลงต่อประชาชน

ที่แน่ๆไม่ใช่ข้อ 4 (อิอิ) เอาว่าจิ้มข้อ 1 ก็แล้วกัน ส่วน fixed ไม่ต้องพึ่งพจนานุกรม แปลว่าอยู่กับที่ ..
ใช่ครับแบบแรกคือ “แท่นแบบอยู่กับที่”

นี่ครับ ขั้นตอนการติดตั้ง … ไม่ต้องถามนะครับว่าติดตั้งยังไง ดูรูปเอาไล่ๆไป เดาๆเอาก็แล้วกัน ผมถนัดแต่ขุด งานติดตั้งอะไรแบบนี้ให้เป็นธุระของพวกที่เราเรียกว่า surface facility ผมขอเป็นธุระเรื่อง subsurface well construction อย่างเดียว (ก็จะแย่อยู่แล้วพี่น้อง)

โอ้ … แม่เจ้า … ใครรับจ้างมั่งงานนี้ … เล่นเกมหาคนดีกว่า เจอคนในภาพนี้กี่คนครับ ผมหาเจอ 3 คนครับ

ขอแทรกเกร็ดหน่อยนึง – เห็นรอกตัวเท่าจ๊าง(ช้าง)นั่นไหมครับ ตอนผมทำงานใหม่ๆงงมากๆเพราะเขาบอกว่ามันหนัก 50 – 70 กิ๊บ ตูก็ว่าตูไม่เคยหลับตอนเรียนวิศวะนะ หน่วยบ้าอะไร รู้จักแต่กิ๊บติดผม กับ น้องกิ๊บที่ส่งค่าเทอมกับค่าหอให้ (อุ้ย … ซวย … ความลับทะเล็ด)

เสร็จแล้ว หน้าตาก็จะประมาณนี้มัง

งงๆอยู่ได้ไม่นาน ผมถือภาษิต ด้านได้อายอด เอ๊ย อายครูบ่ฮู้วิชา (อายภรรยาบ่มีลูก อิอิ) เขา(ใครก็ช่าง)เลยเขียนให้ดู 50 – 70 klb … เออ ว่ะ 50 – 70 กิ๊บจริงๆพี่น้อง คือมัน Kilo lb กิโลปอนด์ (1000 ปอนด์) นั่นเอง ย่อกันซ้าาา เล่นเอากระเหรี่ยงสารขัณฑ์งงเช็ดดดดด

อย่าถามผมนะว่าจะเอามันปักฉึกลงก้นทะเลยังไง … (ไม่รู้ว่ะ)

เอาไปออกรายการ Mega Structure ของพี่กรอบเหลือง (National Geographic) ได้เลย โค-ตะ-ระ จะสร้างกันเลย

ดิ้นรน + พยายามจังเลย มนุษยชาติเรา … พอขุดน้ำมันจนแหล่งตรงนั้นแห้งหมดแล้ว ผมว่าจะไปเช่าต่อทำภัตราคารดีไหม ท่าทางวิวจะสวย ได้อารมณ์โรแมนติกดีพิลึก หรือ เอามาใช้เป็นที่จัดงานแต่งงานก็ไม่เลวนะ ใต้นำ บนฟ้า ในบอลลูน บนหน้าผา ก็แต่งกันมาแล้ว ยังไม่แต่งงานบนแท่นแบบนี้ แหม… คงเท่ห์ชมัด

นี่แค่ปี 1994 นะครับ ผ่านมาแล้ว 22 ปี ปีนี้ 2016 รับรองพวกเราลงไปลึก(และเสียว)กว่านี้

อืม เพื่อให้เห็นภาพว่ามันเสียวยังไง จุดธูปสักดอกอัญเชิญ เฮียปาสคาลมาจับไข่ เอ๊ยจับเข่าคุยหน่อย เฮียแกว่าไว้ยาวย้วยแต่รวบๆไปเลยก็แล้วกัน ตะแกบอกว่า ความดันที่จุดใดๆของของเหลวเป็นสัดส่วนตรงกับความลึกของจุดๆนั้น และ ความหนาแน่นของของเหลวนั้นๆ และ แรงนมถ่วง เอ๊ย โน้มถ่วงในบริเวณที่ของเหลวนั้นอยู่ โดยสมมุติฐานสำมะคัญคือ แรงโน้ม(แล้ว)ถ่าง เอ๊ย โน้มถ่วง ในของเหลวนั้นต้องเท่ากันทุกจุดนะครับ (มีต่อ – ไม่ใช่ “เป็นต่อ” นะครับ เป็นต่อนั่นนะหล่อน้อยกว่าผมหน่อยเดียว … ฮ่า)

ปาสคาลไม่ว่าง ส่งน้องชายมาแทน … อิอิ

นี่ก็แค่ปี 1998 นะครับ ป่านนี้ไปถึงไหนๆแล้ว

(ต่อ) ซึ่งในกรณีของเรา ถือว่าหยวนๆ เพราะก้นทะเลเรายังไม่ลึกไปถึงสะดือโลก ถ้าเป็นงั้นจริง แรงโน้มถ่วงที่ผิวทะเลกับก้นทะเลมันจะไม่เท่ากัน ที่เฮียแกสรุปไว้มันก็ไม่จริงเสียทีเดียว เพราะมันจะไม่ใช่สัดส่วนตรง แต่จะต้อง แบ่งคิดเป็นช่วงย่อยๆแล้วเอามารวมกัน ที่ป๋านิวตันแกว่าไว้ในเรื่องแคลคูลลัสว่าด้วยการอินทิกัล (integral) ใครจำไอ้ถั่วงอกยาขมหม้อใหญ่นี้ได้มั่งยกมือขึ้น

อ้าว … ออกทะเลเลี้ยว …

สรุป … เฮียปาสคาล บอกว่า P = Rho x g x h

เหลือบดูรูปข้างล่าง เอาแท่นของ Chevron Texaco ก็แล้วกัน ก้นทะเลอยู่ที่ 534.6 ม. ปัดๆเอาเป็น 550 ก็แล้วกัน ความหนานุ่ม เอ๊ยหนาแน่นของน้ำทะเลก็ราวๆ 1.0 SG (เอาน่าพี่น้อง … อย่าชูจั๊กแร้แยง เอ๊ยแย้งว่า 1.0 ก่าๆ … ช่างมันไปก่อน) ค่า g ก็ 9.8 ตามป๋านิวตันว่าไว้ตอนโดนยัยแอ๊บแป๊ว เอ๊ย เอ๊ปเปิ้ลหล่นลงกลางกระบาล

ดีดลูกคิดแล้วได้ความดันก้นทะเลตรงนั้น 780 psi ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ถ้ายังนึกไม่ออก ก็คิดถึงยางลมรถเก๋งเราธรรมดาๆล้อล่ะ 30 psi พระเดชพระคุณ เวลายางแตกระเบิดตูม ยังขนาดนั้นแล้ว 780 psi ก็ 26 เท่า … ขนลุก …

ป๋านิวตันแวะมาเยี่ยม …

พอแล้ว เวียนหัวกับเฮียกับป๋า เรียกแกมาเล่นผีถ้วยแก้วกันพอแล้ว ส่งแกกลับไปก่อน ถ้ามีตัญหา เอ๊ย มีปัญหาแล้วค่อยจุดธูปเรียกแกมาเข้าทรงใหม่ … ใครอาสาไปส่งเฮียกะป๋ามั่งครับ ว่าแต่ไปส่งแล้วกลับมาอ่านต่อล่ะ อย่าติดใจไปอยู่ในสมัยป๋าสมัยเฮียจนลืมกลับมาล่ะครับ

ต่อมาก็เป็นที่เห็นข้างล่างนี่แหละ … ขี้เกียจเปิดพจนานุกาม เอ๊ย นุกรม แล้ว ขอมั่วนิ่มแปลเอาดื้อๆเลยว่า “แท่นขุดแบบเคลื่อนย้ายได้”

ไงครับ อึ้งทึ่งเสียวเข็ดเขี้ยวเยี่ยวเล็ดไหมครับ

ปี 1947 พวกเราเขียนพิมพ์เขียวไว้ล่วงหน้ากว่า 60 ปี เหมือนน้าดาวินชี่แกวาดรูปเฮลิคอปเตอร์ไว้ แล้วเราเพิ่งมาหาวิธีสร้างได้ในอีกหลายร้อยปีถัดมา …

น้าดาวินชี่ก็มากับเขาด้วย กว่าจะจบกระทู้สงสัยอึ่งน้อยจุดธูปเชิญมาหมดทั้งเล้าแน่ๆ เอิ๊กๆ …

เอ๊า … เชิญน้าดาวินชี่มาตั้งกะเมื่อไร … อะ อะ ไหนๆมาแล้ว อยู่กับพวกเราต่อสักพัก อย่าเพิ่งกลับนะน้า

มาถึงแบบที่สองใน (5 แบบ) ยังไม่ถึงครึ่งทางเลยพี่น้อง … ใครปวดฉี่ปวดอึ อึ่งฯอนุญาตให้ไปทำจัดการให้เรียบร้อยก่อนได้ครับ

… แปลตรงๆเลยว่า “แท่นขุดแบบจมน้ำ” ไงครับ ฟังแล้วจั๊กกะเดียมดีไหม เอาน่าไม่ได้จบอักษรศาสตร์

นี่ไงครับ จอดขุดกันอยู่ในคูเอาดื้อๆอย่างนี้แหละ ท่าทางแถวนั้นคงจะยุงเยอะเนอะ อึ่งน้อยเอายากันยุงตะไคร้หอมโอท๊อปของหมู่เฮาไปขายหรือแลกน้ำมันดิบก็คงจะดีเนอะ

แหม … เสียดาย ไม่บอกปี และ ภูมิลำเนา เนอะ …

อดไม่ได้ขออีกเกร็ดนึง – ติดลมจาก “กิ๊บ” ตะกี้ มีอีกหน่วยที่เล่นเอางงตึ๊บ จำได้ว่าตอนไปทำงานที่แท่นบกในประเทศนึงสมัยยังละอ่อน จะขับรถไปแท่นใช่ป่ะ ก็ถามฝรั่งเพื่อนกันว่าไกลแค่ไหน มันตอบว่า ราวๆ เกือบ 100 คลิ๊ก ตูก็ว่าระยะทางอะไรวัดเป็นคลิ๊ก (เคยได้ยินแต่กิโลแม้ว) มารู้จากลูกน้องทีหลังว่า มันคือกิโลเมตร อันนี้ก็จนด้วยเกล้าว่ามันมามันเชื่อมโยงกันอย่างไร ใครรู้ช่วยสงเคราะห์ทีว่ามันย่อหรือเชื่อมโยงกันอย่างไร ไอ้ “คลิ๊ก” กับ “กิโลเมตร” เนี้ย

ต่อมาก็มาดูวิวัฒนาการตั้งแต่ปี 1950 ถึง 1954 (ตูยังไม่เกิดเลย) อย่าถามๆ ว่ามันคืออะไร (มีให้ดูก็ดูไปเหอะ)

ไล่ต่อมาถึงปี 1963 (ตูก็ยังเป็นวุ้นอยู่ดี) ใครอย่ารู้ว่าไอ้พวกนี้มันสร้างยังไง แนะนำครับที่ AIT (Asian Ins of Tech) บ้านเฮามีสอนครับ หลักสูตร ป.โทฯ คุ้นๆว่าชื่อหลักสูตร Offshore tech

(เอ้า … ใครก็ได้คนนึงนั่ง time machine เป็นเพื่อนไปส่งน้าดาวินชี่หน่อย แกจะกลับไปลงสีน้องโมฯต่อ)

นี่ก็แท่นอีกแบบที่แปลแล้วคันสะดือพิก๊นพิกล … “แบบกึ่งจม” เออ เอากะมันซิ

ว่ากันง่ายๆมันก็คือแท่นที่อยู่บนลูกโป่งอัดลมที่จมอยู่ในน้ำนั้นแหละครับ เหมือนแพริมเขื่อนเมืองกาญฯที่หนีเมียพากิ๊กไปเที่ยวเดือนที่แล้ว เอ๊ยที่เอาไม้ไผ่ต่อกันแล้ววางบนถังน้ำมันเปล่าๆ ยังไงอย่างนั้น หรือขี้เกียจไปเมืองกาญก็ไปดูโป๊ะที่ท่าพระจันทร์ก็ได้ครับ ใกล้เคียงแต่ใหญ่กว่านั้นหลายพันเท่า

เกร็ดต่ออีกหน่อย – ไม่พ้นเรื่องหน่วยอีก คราวนี้เรื่องเงินๆทองๆ ตอนนั้นไปทำงานที่แดนโรตี ก็ต้องหาที่พัก หาอพาร์ทเม้นต์อยู่ใช่ป่ะ ไปใหม่ๆก็ไม่ค่อยคุ้น ไปดูที่นึงเจ้าของบอกว่า เดือนล่ะ 5 เลค เอาล่ะซิแม่เจ้าประคุณรุนช่อง แล้วตูจะเอาอัตราแลกเปลี่ยนไหนคูณให้เป็นเหรียญอเมริกาแล้วไปขออนุมัติจากบริษัทตูว่ะ เจือกไปคนเดียวด้วย หอบความงงกลับมาที่บริษัทฯ

ได้คำตอบมาว่า เลค คือ lakh หมายถึง หนึ่งแสน ดังนั้น 5 lakh ก็คือ 5 แสนรูปี (ส่วนจะไปเท่ากับกี่รูเดือน และ กี่รูวัน ก็ไปคูณกันเอาเอง … อิอิ) แถมตอนเขียน ดันเขียน 5,00,000 ไม่เขียน 500,000 แบบชาวบ้านชาวช่อง

… สักพักก็ได้รู้จักอีกตัวที่ใช่บ่อย เพราะไปถามบังคนนึงว่าเมืองนี้มีคนกี่คน อีนี่บังตอบกระเหรี่ยงว่ามีคนอยู่ “โครกว่าๆ” เอาล่ะซิ ไอ้โครกว่าๆของมันเนี้ย มันน้อยหรือมากกว่ากระเหรี่ยงบนดอยเอ้งแม้งของตู(ว่ะ) … ปล. ชื่อดอยนี้ไม่มีจริงกั๊บ (โคร ออกเสียงว่า ค-โร ออกเสียง ค สั้นๆ)

ซักไปซักมาถึงได้รู้ว่า โคร คือ Crore หมายถึง 10 ล้าน แสดงว่าที่บังตอบว่าโครก่าๆก็คือมีคนอยู่เมืองนี้ 10 ล้านกว่าๆ แถมดันเขียน 1,00,00,000 อาบังไม่ยอมไม่เขียน 10,000,000 โอ้ยม่ายหวาย … อีนี่กระเหรี่ยงอยากกลับ(ไป)ดอย(หมึ๋ง)

คืองี้ครับ … อาบังจะแบ่งหลักสุดท้าย 3 หลัก ที่เหลือบังแกแบ่ง 2 หลักหมด เอากับบังแกซิ … เฮ้อ …

(หาอ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Indian_numbering_system )

แบบกึ่งจมนี่มี 2 แบบย่อยนะครับ แบบที่มีระบบขับเคลื่อนเอง กับแบบที่ต้องโดนลาก แบบข้างล่างนี่ดูก็รู้ว่าเป็นแบบต้องโดนลาก

โอ้ แม่เจ้า … ถึงแบบที่ 4 จนได้ … เกินครึ่งทางแล้วครับพี่น้อง ไชโยยยยย …  ให้ตายซิโรบิ้นให้ดิ้นซิมนุษย์ค้างคาว ตูจะแปลยังไง อืม … แท่นขุดแบบมีขาหยั่ง ว้าว … นึกถึงหมอสูติฯยังไงก็ไม่รู้ … ม่ายอาวๆ … ชักหวิวๆต้นขาด้านในยังไงชอบกลๆ (เอิ๊กๆ)

เจอ drawing อีกแล้ว ผมเป็นโรคแพ้ drawing ดูแล้วเวียนหัว … เอาว่ามันคือแท่นที่มีขา ตัวแท่นยึดติดกับขา (โดยมากจะมีสามขา) ตรงที่ขายึดกับตัวแท่นจะมีมอเตอร์ตัวเท่าควายติดอยู่กับรอยหยักที่ขา ฮ่วย ยิ่งอธิบายยิ่งงงงงง

เอ้า … ดูรูปดีก่า เห็นชุดเฟืองตัวน้องๆควายไหมครับ มอเตอร์อยู่ข้างหลังตัวเท่าควาย (มองไม่เห็นจากรูป) บางขาก็ 3 เหลี่ยม แต่ในรูปเป็นขาแบบ 4 เหลี่ยม มีมอเตอร์และชุดเฟื่อง 3 ชุดต่อ 1 เหลี่ยม ก็เป็น 12 ชุดต่อ 1 ขา แท่นมี 3 ขาก็ 36 ชุดเฟือง+มอเตอร์ … ใช้ไฟฟ้าขนาดไหน คิดดูเอาพี่น้องที่เป็นวิศวกรไฟฟ้า … (ปล.อย่ามาถามผม ผมจบไฟฟ้ากำลังก็จริงแต่คืนครูไปนานแล้วจ้า)

แล้วมันทำงานไงฟ่ะ … ก็ง่ายๆครับพี่น้อง สมมุติตอนนี้ขามันตั้งลงบนพื้นทะเล ยกตัวมันลอยขึ้น เหมือนเอาเอาเก้าอี้ไปวางไว้ในแอ่งที่มีน้ำขังนั่นแหละครับ ถ้าจะเอาตัวแท่นลงก็ให้มอเตอร์หมุนขับเฟืองเลื่อนแท่นลงมาจนท้องแท่นติดน้ำ (จริงๆต้องจมไปหน่อยนึง เหมือนเรือนั่นแหละ) แล้วก็หมุนเฟืองต่อไป คราวนี้แทนที่ตัวแท่นจะต่ำลง มันต่ำลงไม่ได้อีกแล้ว (ตัวแท่นมันถูกออกแบบมาให้ลอยน้ำ) แล้วไงล่ะทีนี้ ขาแท่นก็จะถูกเลื่อน(ยก)ลอยขึ้นมาจากพื้นทะเล คราวนี้จะลากไปไหนก็ได้แล้ว แท่นก็จะกลายเป็นแพดีๆนี่เอง

อีตอนจะเอาขาลงก็หมุนมอเตอร์กลับด้าน ขามันก็เลื่อน(หย่อน)ลงจนแตะพื้นทะเล แล้วคราวนี้ตัวแท่นก็จะถูกเลื่อน(ยก)ลอยขึ้นเหนือน้ำ หมูๆเนอะ …

แท่นตัวนี้ดูเก๊าเก่าเนอะ …

Offshore Oil drilling history

ตัวนี้ดูใหม่ขึ้นมาหน่อยสังเกตุป่ะว่าถ้าเป็นพวกกึ่งจม หรือพวกลอยไปลอยมาเราจะเรียกว่า “ลำ” แต่ถ้าเป็นแบบ Jack up เราจะเรียกว่า “ตัว” … อย่าถามผมว่าทำไมผมก็เรียกๆตามคนเก่าๆเขาไปนั่นแหละครับ … ถือคติเดินตามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด … เอิ๊กๆ

Offshore Oil drilling history

นี่ไงครับ พอเอาขาขึ้นสุด หน้าตามันจะตลกๆแบบนี้ แล้วก็ใช้เรือลากเอา ไปไหนไปกันละทีนี้

Offshore Oil drilling history

แบบสุดท้ายแล้วครับ แบบนี้เราเรียกมันว่าเป็นเรือขุด เรียกว่าเป็น “ลำ”

Offshore Oil drilling history

ลำแรกของโลก …. ไม่น่าไปทำเลย(ว่ะ) ไม่มีอินเทอร์เน็ทให้เล่นแน่ๆ … ดีที่เกิดไม่ทัน อิอิ

Offshore Oil drilling history

ดูซะ กว่าจะวิวัฒนาการมาจนหน้าตาอย่างทุกวันนี้ เราผ่าตัด ทำเฟซลิฟ (face lift) ฉีดโบท๊อก กันมาแล้วกี่หน ถึงได้เช้งกะเด๊ะน่าอยู่น่าไปทำมาหากิน

Offshore Oil drilling history

คิดอะไรไม่ออกก็ยกเอาไปวางดื้อๆงั้นแหละ เท่ห์ป่ะพี่น้อง

Offshore Oil drilling history

น่าจะเป็นลำเดียวกันนะ แต่มองคนล่ะมุม

Offshore Oil drilling history

ตูยังเป็นวุ้นอยู่เลยวุ้ย …

Offshore Oil drilling history

ไม่อยากโม้ … ลำนี้ผมไปมาแย้ว ….

Offshore Oil drilling history

นี่ข้อมูลปี 2004 นะ ถ้านับตอนนี้ ต้องคูณ 3 หรือ คูณ 4 ครับ

Offshore Oil drilling history

จบเรื่องแท่น … ต่อจากนี้เป็นของแถม …. มาว่าเรื่อง “แท่นผลิตแบบลอยตุ๊บป่องๆ” กันดีมั่งดีก่า

ก็ขุดได้แล้วนี้ เจอแล้ว มันก็ต้องผลิตซิจริงป่ะ จะได้ขายเอารายได้ไปจ่ายค่าขุด จ่ายดอกเงินกู้ จ่ายค่าต่ง (สัมประทาน) แล้วก็เอากำไรมาแบ่งปันกัน

Offshore Oil drilling history

เอ็งไปขุดได้ ข้าก็ตามไปผลิตได้ …

Offshore Oil drilling history

อะจ๊าก … เกือบ 2200 เม็ด เอ๊ย เมตร …

เดี๋ยวๆ ดีดลูกคิดก่อน … อืม … 3000 psi ก่าๆ นี่แค่ความดันน้ำที่พื้นทะเลนะเนี่ย แล้วอีตอนขุดล่ะ บรื้อส์ ..

Offshore Oil drilling history

อยากรู้ล่ะซิในอ่าวสารขัณฑ์ประเทศเฮาเป็นแบบไหนเป็นแบบตัวซ้ายสุดครับพี่น้อง อ่าวของหมู่เฮาน้ำตื้นครับ แค่ 70-90 เมตรเองครับ

เฉลยดีก่า ว่าคำนวนความดันพื้นทะเลได้ไง อิอิ มันมีสูตรสำมะเร็จน่ะครับ เอา 1.42 คูณกับความลึกเป็นเมตร แล้วคูณกับความหนาแน่นเป็น SG ได้ผลลัพธ์เป็นความดันหน่วยเป็น psi ครับ

อย่างก้นอ่าวไทยเราก็ 1.42 x 70 x 1.00 (สมมุติว่าน้ำธรรมดาๆก็แล้วกัน) ก็ราวๆ 100 psi จิ๊บๆ แค่ความดันหม้อ(ถัง)ลมอู่ซ่อมรถหรืออู่ปะผุพ่นสีแถวปากซอยเอง

Offshore Oil drilling history

นี่ก็แท่นผลิตแบบ Tension leg แปลไงดีหว่า เอาว่ามันใช้เคเบิลเส้นบักเอ้บ(ภาษาอีสานน่ะ แปลว่าใหญ่อิ๊บอ๊าย) ขึงขึดไว้กับพื้นทะเล คือเชือกถ้าขึงให้ตึงๆมันก็แข็งได้เหมือนกัน คล้ายๆพระเอกหนังจีนกำลังภายในที่เอาแส้ หรือ กิ่งไม้ (แบบว่าอัดกำลังภายในเข้าไปด้วย) แล้วเอามาสู้กับกระบี่ผู้ร้ายนั่นแหละครับ เรียกว่ากระบี่อยู่ที่ใจ (จริงๆแล้วมีฟิสิกส์เล็กๆแฝงอยู่หน่อยนึง)

Offshore Oil drilling history

ขนมันไปไงล่ะ …

ก็ไปกันแบบนี้ไง …

Offshore Oil drilling history

นี่ก็แท่นอีกแบบหนึ่ง ไม่รู้ให้ดูทำไม นึกไม่ออก เอาว่าดูสวยๆ เป็นแพขุดแบบที่เรียกว่า Tender barge น่ะครับ ก็แพดีๆนี่เอง ขนปั้นจั่นขนอะไรต่อมิอะไรแล้วก็เอาเครนยกไปวางแปะบนแท่นผลิต(ที่สร้างรอไว้ล่วงหน้าแล้ว) ในกรณีนี้คือต้องรู้แล้วว่าตรงนั้นมีปิโตรฯที่คุ้มการลงทุน เราเรียกการขุดในตอนนี้ว่า development คือ พัฒนาแหล่งขึ้นมา พูดง่ายๆก็ดูดจ๊วบๆขึ้นมาขายนั่นแหละครับ ไม่ใช่แบบไปขุดสำรวจ (คือขุดๆเอาข้อมูลแล้วก็กลบ)

Offshore Oil drilling history

นี่ก็เป็นแท่นผลิตที่มองจากข้างล่าง เดาว่ารูปนี้ถ่ายจากเรือ ไม่ใช่ลอยคอถ่ายมา อิอิ เพราะยังไม่เห็นที่แท่นมีไฟไหม้ (ฮ่า)

Offshore Oil drilling history

รูปนี้ … อืม … ไม่รู้(ว่ะ) … ดูๆไปก็แล้วกัน หมดภูมิแล้ว

Offshore Oil drilling history

อ้อ .. เดาออกแล้ว ไอ้ Deep draft floater รูปตะกี้ (ข้างบน)นี่เอง มันเป็นแท่นแบบแกนเดียว เห็นแกนที่เขาขนลงเรือในรูปข้างล่างไหมครับ จับมันปักลงดูดเอาน้ำทะเลออก มันก็จะเป็นทุ่นลอยน้ำแนวตั้ง เอาเคเบิลขึงกับพื้นทะเล แล้วก็เอาแท่นผลิตไปวางข้างบน

พูดเหมือนรู้เลย เดาเอาน่ะครับ … (ฮ่า)

ปล. ระยะของทุ่นส่วนที่จมลงใต้ผิวน้ำเขาเรียกว่า draft ถ้ามันลอยพ้นผิวน้ำขึ้นมา (อย่างใต้ท้อง jack up) ระยะจากท้องมันถึงผิวน้ำเขาเรียกแอร์แก๊บ (air gap) ไม่ใช่ “อีแก่” นะครับ กรุณาออกเสียงด้วยความระมัดระวัง (ฮ่า) ดังนั้นถ้าดูตามรูป มันก็ deep draft จริงๆ เพราะมันจมลงในแนวตั้ง (เหลือส่วนลอยน้อยกว่าส่วนจม)

Offshore Oil drilling history

ชื่อนั้นสำคัญไฉน อืม … ชื่อแปลกดี แท่นนี้ชื่อ “หมาบ้า”

เป็น deep draft อีกแบบนึง สังเกตุว่าที่พื้นทะเล(ในแนวตั้งดิ่งจากแท่นลงไป) มีเส้นๆสีดำๆลากลงไป นั่นเป็นหลุมนะครับ มีหลายหลุมเลย ติดตั้งทีเดียวเอาให้คุ้ม หลุมที่เห็นเกือบๆดิ่งนั้น พอลงไปใต้พื้นทะเลแล้วจะสยายไปคนล่ะทิศละทางเพื่อไปแยงทะลุแหล่งน้ำมันที่อยู่กระจัดกระจายกันไป

ส่วนสายดำๆระโยงระยางกันกระจายไปในแนวเฉียงๆนั้นก็เคเบิ้ลที่ยึดแท่นไว้ไม่ให้ลอยไปมา

Offshore Oil drilling history

นี่ก็อีกแท่นนึง deep draft เหมือนกัน

Offshore Oil drilling history

อะ อีกแท่น … ประเภทเดียวกัน

FPSO = Floating Production Storage and Offloading

ก็แบบว่า ผลิตเอาขึ้นมาเก็บไว้แล้วก็เอาเรือบรรทุก (Oil Tanker) มารับดูดเอาออกไปอีกที มันถูกออกแบบมาให้เคลื่อนที่ไปได้ ไม่ใช่แบบ deep draft ที่ต้องอยู่กับที่

Offshore Oil drilling history

แบบว่าอายุแหล่งสั้น ผลิตไม่นาน (แต่ก็มากพอคุ้มทุน) ลงทุนแบบแท่นถาวรท่าจะไม่คุ้ม ดีดลูกคิดแล้วเช่า FPSO มาดีกว่า หมดแล้วก็เลิกกัน ไม่ต้องมีเก็บไว้เป็นทรัพย์สิน(asset)ทางบัญชี

สำหรับบ.ใหญ่ๆที่มีแหล่งสำรวจและผลิตเยอะๆก็ไม่จ้างแต่ซื้อมาเลย เพราะหมดงานนี้ก็ไปที่อื่นต่อ ปัจจัยที่ใช้ตัดสินใจว่าจะซื้อหรือเช่าก็เหมือนเราจะซื้อรถหรือเช่ารถนั่นแหละครับ ซึ่งเป็นคนล่ะเรื่องกับแต่งงาน (ซื้อใช้ถาวร เก็บเป็นทรัพย์สินแล้วตัดค่าเสื่อมราคาเอา อิอิ) หรือ มีกิ๊ก (ลงบัญชีเป็นค่าใช่จ่าย เปิดงบปิดงบเป็นงวดๆ ว่ากันเป็นเดือนๆปีๆไป … ฮ่าๆ … วอนแล้วไหมล่ะตู)

Offshore Oil drilling history

อะ ฮ่า … อะ ฮ่า … ไม่แปลดีก่า …

Offshore Oil drilling history

น้าน … ขบกัดแทะเล็มนักข่าวซะหน่อย … ตะแกคงหมั่นใส้ หรือเมียเก่า(ที่ยังต้องจ่ายค่าเลี้ยงดู)เป็นนักข่าวสายพลังงาน หว่า … อิอิ

มาทบทวนกัน … แท่นขุดเจาะแบบต่างๆ

แท่นผลิตแบบต่างๆ …

เราก็ยังคงเรียนรู้ (ลองผิดลองถูก ฮ่า) ต่อไป และ ต่อไป …

Offshore Oil drilling history

Offshore Oil drilling history

มีความรู้เพิ่มเติมจากคุณ R2D2 art.subsea@yahoo.com มาเพิ่มเติมครับ

Fixed Structure จะมีแบ่งออกไปเป็น 3 แบบ

Jacket – คือแบบที่บ้านเรามีนั่นแหละครับเป็นเหมือนหอแท็งค์น้ำ ขนาดมหึมา ซึ่งต้องตอกเสาเข็ม

Gravity Based Structure- ตามชื่อเลยครับ ใช้ความหนักทำให้อยู่กับที่ ส่วนใหญ่จะใช้ที่ North Sea ใช้คอนกรีตเป็นโครงสร้างแล้วใส่แร่เหล็กหนักๆลงไปเพื่อถ่วงให้อยู่กับที่ ไอ่เจ้าGBS นี้ตอนออกแบบมานี้ไม่ได้คำนึงถึงว่าจะ Decommissioning ยังไงเลย

Compliant Tower – คล้ายๆ Jacket ครับแต่ใช้ในน้ำลึก ให้นึกถึงเสาสัญญาณโทรศัพท์ ที่ต้องมีสายสลิงขึงไว้

มาถึงเรื่อง SPAR

เห็นในรูปว่าทำไมมีอะไรเป็นเกลียวๆอยู่ตรงท่อนกลมๆ เกลียวนั้นเรียกว่า Helical Strake ซึ่งมีไว้เพื่อไม่ให้แท่นน้ำมันส่ายไปส่ายมา มันส่ายได้ยัง ไง ดูนี้ครับ (https://www.youtube.com/watch?v=_Hbbkd2d3H8) ซึ่งเรียกว่า VIV ( Vortex Induced Vibration ) เป็นสิ่งที่น่ากลัวมากในงาน นอกชายฝั่งครับเพราะสามารถทำให้เกิดการล้าของโครงสร้างได้ ซึ่งคงไม่ดีแน่นอนครับ VIV นี้เกิดขึ้นกับอุปกรณ์หลายๆอย่างที่เป็นทรงกระบอกในสายงานนอกชายฝั่ง เช่น Riser, ท่อ สายไฟ, ก้านเจาะด้วย (http://web.mit.edu/13.42/www/handouts/reading-VIV.pdf) ฝากไว้เผื่อไว้ศึกษาเพิ่มเติม

(ขอบคุณมากๆเลยครับ สมเป็นสังุคมของการแบ่งปันความรู้ … พี่นก)

keyword – Offshore Oil drilling history

Offshore Vessels ลอยกันเกลื่อนอ่าวไทยเยอะแยะ มันคืออะไรกันบ้าง

Offshore Vessels ลอยกันเกลื่อนอ่าวไทยเยอะแยะ มันคืออะไรกันบ้าง

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

2 comments

  1. Fixed Structure จะมีแบ่งออกไปเป็น 3 แบบ
    Jacket – คือแบบที่บ้านเรามีนั่นแหละครับเป็นเหมือนหอแท็งค์น้ำ ขนาดมหึมา ซึ่งต้องตอกเสาเข็ม
    Gravity Based Structure- ตามชื่อเลยครับ ใช้ความหนักทำให้อยู่กับที่ ส่วนใหญ่จะใช้ที่ North Sea ใช้คอนกรีตเป็นโครงสร้างแล้วใส่แร่เหล็กหนักๆลงไปเพื่อถ่วงให้อยู่กับที่ ไอ่เจ้าGBS นี้ตอนออกแบบมานี้ไม่ได้คำนึงถึงว่าจะ Decommissioning ยังไงเลย
    Compliant Tower – คล้ายๆ Jacket ครับแต่ใช้ในน้ำลึก ให้นึกถึงเสาสัญญาณโทรศัพท์ ที่ต้องมีสายสลิงขึงไว้

    มาถึงเรื่อง SPAR
    เห็นในรูปว่าทำไมมีอะไรเป็นเกลียวๆอยู่ตรงท่อนกลมๆ เกลียวนั้นเรียกว่า Helical Strake ซึ่งมีไว้เพื่อไม่ให้แท่นน้ำมันส่ายไปส่ายมา มันส่ายได้ยัง ไง ดูนี้ครับ (https://www.youtube.com/watch?v=_Hbbkd2d3H8) ซึ่งเรียกว่า VIV ( Vortex Induced Vibration ) เป็นสิ่งที่น่ากลัวมากในงาน นอกชายฝั่งครับเพราะสามารถทำให้เกิดการล้าของโครงสร้างได้ ซึ่งคงไม่ดีแน่นอนครับ VIV นี้เกิดขึ้นกับอุปกรณ์หลายๆอย่างที่เป็นทรงกระบอกในสายงานนอกชายฝั่ง เช่น Riser, ท่อ สายไฟ, ก้านเจาะด้วย (http://web.mit.edu/13.42/www/handouts/reading-VIV.pdf) ฝากไว้เผื่อไว้ศึกษาเพิ่มเติม

    1. ขอบคุถมากๆเลยครับ ขอเอาไปไว้ที่เนื้อบทความเลยนะครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------