ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Mud Weight หลุมนี้เราจะใช้เท่าไรดี หลักการคิด (บางส่วน)

Mud Weight หลุมนี้เราจะใช้เท่าไรดี หลักการคิด (บางส่วน) – น้ำหนักน้ำโคลนที่จะใช้ในการขุดแต่ล่ะช่วงเป็นค่าแรกๆที่วิศวกรขุดเจาะต้องดีดลูกคิดออกมาว่าจะใช้เท่าไร เพราะมันมีผลกระทบมหาศาลเป็นลูกโซ่ต่อ อุปกรณ์ เครื่องไม้ เครื่องมือ ต่างๆอีกล้านแปด เช่น สารเคมีที่จะใช้ในการปรุงน้ำโคลนล่ะแน่ๆ

ไหนจะสูตรซีเมนต์อีกล่ะ สเป็คท่อกรุ การเตรียมการควบคุมหลุม (well control) การเลือกใช้อุปกรณ์ MPD MWD LWD PDM Wireline logging Drill bit บลาๆ (ตัวย่อเยอะ ก็ช่างมันไปก่อน ถ้าไม่เข้าใจ เอาว่าผลกระทบมันเยอะก็แล้วกัน)

ถ้าวิศวกรขุดเจาะจะเปลี่ยน นน. น้ำโคลนที ก็ต้องป่าวประกาศให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องรู้ เขาจะได้ขยับปรับส่วนของตัวเองที่รับผิดชอบตามให้ทัน

ในทางกลับกัน การเลือกใช้ของต่างๆที่ว่ามาทั้งหมดนั่นก็มีส่วนกำหนดนน.น้ำโคลนเช่นกันในบางกรณี แต่ส่วนมาก เราให้ความสำคัญน้ำหนักน้ำโคลนกับการควบคุมความดันของชั้นหินที่เราจะเจาะมากกว่า เรื่องอื่นๆต้องปรับเข้าหาเรา 🙂 

น้ำโคลน drilling mud drilling fluid คืออะไร มาทำความรู้จักกันครับ

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

Mud Weight

หลุมนี้เราจะใช้เท่าไรดี หลักการคิด (บางส่วน)

เรามาดูปัจจัยหลักๆ แนวคิดหลักๆ ดีกว่าว่า วิศวกรขุดเจาะเรามีหลักการคิดอย่างไรในการจะบอกว่าหลุมนี้ควรใช้น้ำโคลนหนักเท่าไร

หน้าที่หลักของน้ำหนักน้ำโคลน คือ ควบคุมความดันของชั้นหินที่เราจะขุดในช่วงนั้นๆ

ดังนั้น เราจะต้องเสก หรือ คาดเดา ความดันของชั้นหินที่เราจะขุดในช่วงนั้นๆ ให้ได้เสียก่อน โดยปกติแล้ว เราก็ต้องพึ่งเพื่อนร่วมงานของเราอีก 2 ฝ่ายที่จะมาช่วยเรา พวกเขาคือ นักธรณี (Geologist) และ วิศวกรแหล่งกักเก็บ (Reservoir Engineer)

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

การขุดหลุมฯของเราเนี้ย เราไม่ได้ขุดรวดเดียวจบถึงก้นหลุมที่เราต้องการ เราจำเป็นต้องการแบ่งช่วงการขุดเจาะ แล้วค่อยๆหย่อนท่อกรุลงไปเป็นช่วงๆ

ซึ่ง ความดันของชั้นหินที่เราจะขุดตลอดทั้งหลุมก็เป็นตัวกำหนดช่วงของการขุดเช่นกัน ดังนั้น ช่วงการวางระยะท่อกรุ (แบ่งหลุมทั้งหมดออกเป็นช่วงๆ) กับ น้ำหนักน้ำโคลนที่จะใช้นั้นเกี่ยวข้องกัน ชนิดที่เรียกว่า เป็นคอหอยกับลูกกระเดือกเลยครับ

ออกแบบท่อกรุตอนที่ 1 (Burst) Casing Design I (Burst)

ออกแบบท่อกรุตอนที่ 2 (Collapse) Casing Design II (Collapse)

ออกแบบท่อกรุตอนที่ 3 (Tensile) Casing Design III (Tensile)

ออกแบบท่อกรุตอนที่ 4 (ปัจจัยอื่นๆ) Casing Design VI

ความดันของชั้นหินที่เราจะขุดเนี้ยมี 2 หน่วย ที่เรานิยมใช้ แต่ล่ะหน่วยมีข้อดีข้อด้อยต่างกัน หน่วยแรกคือ psi (pound per square inch) ก็ตรงไปตรงมา หลุมยิ่งลึก ควาดันชั้นหินที่มีหน่วยเป็น psi ก็ยิ่งมาก

อีกหน่วยหนึ่ง เราเรียกว่า EMW (Equivalent Mud Weight) คือ เทียบเท่าน้ำหนักน้ำโคลนเท่าไร

หน่วยจะเป็นความหนาแน่น เช่น SG (specific gravity) หรือ ppg (pound per gallon) เช่น 1.02 SG แปลว่า ความดันชั้นหิน = 1.02 SG คูณ อัตราการเพิ่มของน้ำหนักน้ำโคลนต่อความลึก (mud weight gradient)

เช่น ในหน่วยเมตริก mud weight gradient = 1.42 psi ต่อ 1.0 SG ต่อ ความลึกในแนวดิ่ง 1 เมตร

จากตัวอย่าง … ถ้าชั้นหินมีความดัน1.02 SG ดังนั้นที่ความลึกในแนวดิ่ง 2000 เมตร ชั้นหินจะมีความดัน 1.02 x 1.42 x 2000 = 2896.8 psi เป็นต้น

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

ดังนั้นเวลาพล๊อตกราฟความดันที่คาดว่าจะเจอเวลาขุด จึงพล๊อตได้ 2 แบบ

mud weight

มาถึงตรงนี้พวกเราก็คงสงสัยว่า เมื่อไรจะเข้าเรื่อง อยากรู้คำตอบเต็มที ผมชวนคุยเรื่องหน่วยทำไม

ใจเย็นๆครับ มันมีเหตุต้องอธิบายเรื่องนี้ก่อน เดี๋ยวจะรู้ว่าทำไม

เอาล่ะ สมมุติว่าเรารู้ (คาดเดา) แล้วว่าช่วงที่เราจะขุดนี้ ความดันชั้นหินสูงสุดเป็นเท่าไร สมมุตินะ เช่น 4200 psi ที่ความลึกในแนวดิ่ง 2900 ม. นั่นคือ 4200/2900/1.42 = 1.02 SG EMW

คราวนี้แหละ เราก็ต้องคำนวนล่ะว่า น้ำโคลนที่เราใช้ต้องหนักพอที่จะชนะ 4200 psi ที่ความลึกในแนวดิ่ง 2900 ม. ให้อยู่หมัด

แล้วจะให้เท่าไรดี 4250, 4300, 4325 psi ดีไหม หรือ เอาชัวร์ 4700 psi ไปโลด ชัวร์ดี

น้ำหนักน้ำโคลนมากมันก็ดี ชนะชัวร์ แต่น้ำหนักน้ำโคลนมากก็มีข้อเสียหลักๆอยู่ 2 อย่าง คือ มันทำให้ชั้นหินแข็ง (compressive strength) ทำให้ขุดได้ช้า กับ ถ้าน้ำหนักน้ำโคลนมากไปจนเกินความสามารถชั้นหินที่ทนได้ ก็เสี่ยงทำให้ชั้นหินแตก (fracture) น้ำโคลนก็จะรั่วพลั๊วะออกจากหลุม หลุมพังอีก หรือ บางทีก็ชั้นหินจะรั่วก่อนชั้นหินจะแตก

น้ำหนักน้ำโคลนน้อยไป มันก็เสี่ยง เพราะถ้าความดันที่เพื่อนๆนักธรณีวิศวกรแหล่งกักเก็บเสกมาให้มันดันมากกว่าที่คิดล่ะ ก็เอาไม่อยู่ ของไหลในหลุมก็จะประเดประดังเข้ามา (influx) ซวยอีก ต้องควบคุมหลุมกันให้วุ่นวาย (well control) ไม่สนุกแน่ๆ

ดังนั้น แต่ล่ะบ.จึงมีแนวทาง (guide line) ว่าหลุมแต่ล่ะประเภท จะใช้น้ำโคลนหนักเกินจากความดันของชั้นหินที่คาดไว้สักเท่าไร

แน่นอนว่า หลุมสำรวจ หลุมประเมิน ที่มีความไม่ชัวร์ของความดันชั้นหินสูง ทีมงานก็ต้องเผื่อไว้มากหน่อย เช่น คาดไว้เท่าไร +ไปอีก 500 หรือ 600 psi

ถ้าหลุมพัฒนา ขุดกันจนแหล่งกักเก็บพรุนหมดแล้ว อย่างอ่าวไทยเรา หรือ ลานกระบือ ก็นะ อย่าเผื่อเยอะ หินแข็งขุดยาก ขุดช้าโดยใช่เหตุ

อีกอย่าง แหล่งพัฒนาที่ขุดจนพรุนเนี้ย ความดันชั้นหินที่ผลิตปิโตรเลียมไปแล้วมันมักจะต่ำลง เหมือนลูกโป่งที่ถูกปล่อยลมออกไปแล้วครึ่งหนึ่ง จวนจะแฟบ (depletion) ขืนไปใช้น้ำโคลนหนักมา เดี๋ยวก็รั่วออกไปนอกหลุม ต้องแก้ไขกันหน้างานอีก วุ่นวาย

สำหรับหลุมพัฒนา เราจึงมักเผื่อไว้น้อยหน่อย เช่น คาดเดาความดันชั้นหินไว้เท่าไร +ไปอีก 200 หรือ 300 psi ก็พอ

มาลองคำนวนเล่นๆกัน จากตัวอย่าง ทวนอีกที ความดันชั้นหินสูงสุด 4200 psi ที่ความลึกในแนวดิ่ง 2900 ม.

ถ้ากรณีหลุมสำรวจ เราเผื่อ 500 psi ก็ 4200 + 500 = 4700 psi เราก็ต้องปรุงน้ำโคลนให้หนัก 4700/1.42/2900 = 1.14 SG

ถ้ากรณีหลุมพัฒนา เราเผื่อ 250 psi ก็ 4200 + 250 = 4450 psi เราก็ต้องปรุงน้ำโคลนให้หนัก 4450/1.42/2900 = 1.08 SG

ตัวเลขเผื่อ 500 หรือ 250 นี่ตัวเลขสมมุติเพื่อการคำนวนให้เห็นชัดนะ ในความเป็นจริงก็ไปเปิดคู่มือของแต่ล่ะบ.เอา แต่ล่ะบ.ก็ไม่เท่ากัน

เอาล่ะ สมมุติว่าเราปรุงน้ำโคลนมา 1.08 SG สำหรับหลุมพัฒนา แปลว่าเราได้ค่าเผื่อของเรา 250 psi ที่ความลึก 2900 ม.

ซึ่งความลึก 2900 ม. นี่ ในกรณีปกติ ก็คือ ความลึกที่ก้นหลุมของส่วนที่เราจะขุดพอดี สมมุติว่าช่วงการขุดนี้ 900 ม. ในแนวดิ่ง แปลว่า เราเริ่มขุด (โผล่จากท่อกรุ) ที่ความลึก 2900 – 900 = 2000 ม. ในแนวดิ่ง

ที่ 2000 ม. ในแนวดิ่ง ชั้นหินมีความดันเท่าไรนะ จากตัวอย่าง ชั้นหินมีความดัน 1.02 SG EMW ดังนั้นที่ 2000 ม. ชั้นหินมีความดัน 1.02 x 1.42 x 2000 = 2896.8 กลมๆก็ 2897 psi

ที่ 2000 ม. ในแนวดิ่ง น้ำโคลนที่เราใช้ 1.08 SG มีความดันเท่าไร … 1.08 x 1.42 x 2000 = 3067.2 กลมๆก็ 3067 psi

3067 – 2897 = 170 psi อ้าว แปลว่าถ้าเราใช้น้ำโคลนหนัก 1.08 SG ขุดหลุมช่วงนี้ ตอนเริ่มขุดออกจากท่อกรุ ค่าที่เราเผื่อมันไม่ถึง 250 psi อย่างคู่มือต้องการนี่นา

นี่ไงครับ เหตุผลที่ผมอธิบายเรื่องหน่วยมาเป็นวรรคเป็นเวร

เพราะว่าการกำหนดค่าที่เผื่อนี่แหละ มันไม่สามารถเผื่อให้ได้เท่าๆกันเป็น psi ตลอดช่วงของหลุมที่จะขุด

จากรูปข้างบนจะเห็นชัดเลยว่า น้ำหนักน้ำโคลนเป็น SG EMW เท่าๆกัน ให้ค่า ความดันในหน่วย psi ไม่เท่ากัน ขึ้นกับความลึก

นี่แปลว่าอะไร …

แปลว่าถ้าช่วงการขุดยาวๆนี่ ลำบากมากที่จะเลือกน้ำหนักน้ำโคลนให้ได้กลมกล่อมตลอดช่วงการขุด 555 🙂 เพราะถ้าก้นหลุมเผื่อไว้พอดี ข้างบนมันก็จะน้อยไป ถ้าเผื่อข้างบนพอดีๆ ข้างล่างอาจจะมากไป

ชีวิตมันก็แบบนี้ครับ ทำไงได้ ถ้ามันง่าย พวกผมก็ตกงานดิ 555

ยังไม่จบครับ ไหนๆก็ไหนๆ ขอต่ออีกหน่อย …

Equivalent Circulation Density (ECD)

ข้างบนนั่นที่ว่ามาทั้งหมด เราพูดถึงความดันขณะที่น้ำโคลนไม่ได้ไหล คือ อยู่นิ่งๆ (static mud pressure) ถ้าเราออกแรงปั๊มน้ำโคลนลงก้านเจาะให้น้ำโคลนไปโผล่ที่หัวเจาะ น้ำโคลนจะไหลหอบเอาน้ำหนักเนื่องจากปริมาตรของตัวมันเอง + น้ำหนักเศษหิน (cutting) ที่ได้จากการเจาะ ผ่านช่องว่างระหว่างก้านเจาะกับหลุม ขึ้นมาปากหลุม

ถ้าเราเอามือไปอังที่ปลายหัวเจาะตอนที่กำลังปั๊มน้ำโคลนจะรู้สึกได้ว่ามีแรงกดมากกว่าตอนที่ไม่ปั๊ม (static mud pressure)

ถ้าเอาความดันที่มือเราอังปลายหัวเจาะขณะที่ปั๊มน้ำโคลน หาร 1.42 หาร ความลึกในแนวดิ่ง เราจะได้ น้ำหนักน้ำโคลนเสมือน ที่เราเรียกว่า Equivalent Circulation Density (ECD) ซึ่งมากกว่า น้ำหนักน้ำโคลนที่เราปั๊มลงไปแน่นอนจริงไหม

ส่วนจะมากกว่าแค่ไหนก็ขึ้นกับว่า น้ำโคลนนั่นปกติหนักเท่าไร น้ำโคลนหนืดเท่าไร ปั๊มน้ำโคลนด้วยอัตราเร็วเท่าไร และ แรงเสียดทานที่หอบเอาเศษหินขึ้นมามากแค่ไหน (เศษหินเยอะแค่ไหนนั่นแหละ หรือ อีกนัยหนึ่งขุดเร็วแค่ไหน เพราะขุดเร็ว แปลว่าเศษหินเยอะ)

แล้วเรารู้ ECD ได้ไง คร่าวๆก็มีสองวิธีครับ

1. คำนวนเอา มีสูตรครับ ซับซ้อนเอาเรื่อง คำนวนมือไม่ไหว เราใช้ซอฟแวร์ครับ หุหุ บางบ.น้ำมันก็ซื้อ หรือ พัฒนาเอง บางบ.ก็เช่าใช้ของบ. service … และ

2. เสียเงินเช่าอุปกาณ์ที่ชื่อ PWD (Pressure While Drilling) เอามาติดปลายก้านเจาะใกล้ๆกับหัวเจาะ เจ้านี่มันจะอ่านความดันเป็น psi ที่ปลา่ยก้านเจาะขณะที่เราปั๊มน้ำโคลน วัดได้เท่าไร เราก็เอามาหาร 1.42 หารความลึกในแนวดิ่งเป็นเมตร เราก็ได้ ECD

สมมุติตามโจทย์ล่ะกัน หลุมพัฒนาเรา น้ำโคลนตะกี้เท่าไรนะ อ้อ 1.08 SG

สมมุติว่า ECD วัดโดย PWD หรือ คำนวนด้วยซอฟแวร์ได้ สัก 1.13 SG ที่ก้นหลุม (2900 ม. ในแนวดิ่ง) แปลว่า ความดันที่เกิดจากแรงปั๊มน้ำโคลนเพื่อหอบเศษหินผ่านผ่านช่องว่างระหว่างก้านเจาะกับผนังหลุมไปปากบ่อ = (1.13 – 1.08) x 1.42 x 2900 =  206 psi

หรืออีกนัยหนึ่ง ความดันจริงๆที่เราปรุงน้ำโคลน 1.08 SG เนี้ย ที่ 2900 ม. ในแนวดิ่ง พอปั๊มจริงๆแล้ว ชั้นหินจะรู้สึกว่าโดนกดด้วยความดัน  1.13 x 1.42 x 2900 = 4653.34 psi ไม่ใช่ 1.08 x 1.42 x 2900 = 4447.44 psi

ถ้ามันเป็นอย่างนี้ คือ แรงดันที่ก้นหลุมขณะปั๊มมันมากกว่าตอนที่ไม่ปั๊ม ตอนที่เราขุด เราต้องปั๊มน้ำโคลนใช่ป่ะ แสดงว่าตอนที่เราขุดชั้นหินจะเห็นความดันมากกว่าความดันที่เราคำนวนได้จากน้ำหนักน้ำโคลนปกติๆตอนเราไม่ได้ขุด

แสดงว่า ค่าเผื่อของเรา (เช่น ในกรณีหลุมพัฒนาตามตัวอย่าง 250 psi) ที่เราคำนวนมาได้ทั้งหมด หลุมจะเห็นจริงๆขณะขุด(ปั๊ม) มากกว่าที่เราเผื่อ

งั้นเราต้องคำนวนใหม่ล่ะ เอาผลของ ECD เข้าไปคิดด้วยดีกว่า (ใครคิดว่าพอแล้ว ไม่ไหวๆ ฮาร์คอร์เกินก็หยุดอ่านตรงนี้ก็ไม่ว่ากันนะครับ)

จากตัวอย่าง ทวนอีกที … ความดันที่เกิดจากแรงปั๊มน้ำโคลนเพื่อหอบเศษหินผ่านช่องว่างระหว่างก้านเจาะไปปากบ่อ = (1.13 – 1.08) x 1.42 x 2900 =  206 psi แปลว่า ถ้าคู่มือบอกให้เกินไว้ 250 psi เราปรุงน้ำโคลนให้หนักเกินไว้ แค่ 250 – 206 = 44 psi ก็พอ จริงไหม เพราะเดี๋ยวพอเราปั๊ม ก็จะมีความดันจากการปั๊มโพล่มาอีก 206 psi รวมแล้วก็ได้ 250 psi ตามคู่มือพอดี

สมมุติว่าเราโอเคตามนี้ เผื่อแค่ 44 psi น้ำหนักน้ำโคลนก็จะเป็นเท่าไร

จากของเดิม …. หลุมพัฒนา เราเผื่อ 250 psi ก็ 4200 + 250 = 4450 psi เราก็ต้องปรุงน้ำโคลนให้หนัก 4450/1.42/2900 = 1.08 SG

ถ้าเราเผื่อแค่ 44 psi ก็จะเป็น 4200 + 44 = 4244 psi เราก็ต้องปรุงน้ำโคลนให้หนัก 4244/1.42/2900 = 1.03 SG

พอเราเอาน้ำโคลนหนัก 1.03 SG มาขุด ที่ความลึก 2900 ม. ในแนวดิ่ง เราก็จะได้ ECD เพิ่มขึ้นมาอีก 206 psi ใช่ป่ะ

ดังนั้นความดันที่ชั้นหินเห็นขณะเราปั๊มขุดก็คือ (1.03 x 1.42 x 2900) + 206 = 4450 psi

ซึ่งก็คือ เท่ากับเราเผื่อ 4450 – 4200 = 250 psi ตามคู่มือ

สรปุ แทนที่เราจะใช้น้ำโคลนหนัก 1.08  SG เราก็ใช้แค่ 1.03 SG ก็โอเคแล้ว ประหยัดผงหิน (barite) และ สารเคมีไปเยอะเลย ปั๊มก็ไม่ต้องออกแรงมาก ชั้นหินก็ไม่แข็งเว่อร์เกินความจำเป็น เราก็จะขุดได้เร็วขึ้น ใช้เวลาน้อยลง ค่าเช่าแท่นก็น้อยลง บลาๆ อะไรๆก็ดีไปหมด

Trip margin

โอ้ย … ไม่จบเสียที จะไม่พูดถึงก็ไม่ได้ เดี๋ยวก็มีคนถามแน่ๆ

พอเราขุดเสร็จ เราก็ต้องหยุดปั๊ม ต้องถอนก้าน น้ำโคลนแค่ 1.03 SG เผื่อไว้แค่ 44 psi จะเอาอยู่เหรอพี่นก/อานก/น้านก/ลุงนก (เอามันให้ครบ)

คำตอบคือเอาไม่อยู่หรอกพระเดชพระคุณท่าน เราถึงต้องเพิ่มน้ำหนักน้ำโคลนก่อนถอนก้าน โดยเราเสก เอ๊ย คำนวนได้ว่าควรจะเท่าไร ขึ้นกับแค่ล่ะบ.ว่ามีแนวทางปฏิบัติอย่างไร โดยมีปัจจัยหลักๆประมาณนี้

  1. เผื่อกลับไปที่น้ำหนักน้ำโคลนที่คำนวนได้ตามคู่มือ เช่น กรณีนี้ ตอนขุดใช้ 1.03 SG ก็เผื่ออีก 0.05 SG (ก็ 206 psi ที่ 2900 ม. นั่นแหละ) กลับไปเป็น 1.08 SG
  2. เผื่อ swab ถ้าไม่รู้จักก็ไปอ่านต่อในวงเล็บนี่ (Surge and Swab … เอาก้านขึ้นลงหลุมกันเบาๆมือหน่อยครับ พี่น้อง driller) เช่น เผื่ออีก 0.03 SG ก็แล้วกันตามคู่มือ (จริงๆมันก็คำนวนได้แหละ มีสูตร) น้ำหนักน้ำโคลนก็จะเป็น 1.08 + .03 = 1.11 SG
  3. เผื่อ barite sag (การตกตระกอนของผงหินที่ใช้ทำน้ำหนักน้ำโคลน) คืองี้ ถ้าทิ้งหลุมไว้นานๆเนี้ย ผงหินที่ทำให้น้ำโคลนหนักในน้ำโคลนมันจะตกตระกอนนอนก้นกองอยู่หลุม เมื่อผงหินมันตกตระกอนลงไปที่ก้นหลุมแล้ว น้ำหนักน้ำโคลนมันจะลดลง (ตามกฏของปาสคาล) อัตราการตกตระกอนของผงหิน ขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น ชนิดของน้ำโคลน ความหนืด อุณหภมิ และ เวลา แต่หลักๆก็เวลานั่นแหละ ดังนั้น ปัจจัยเวลาก็จึงเป็นตัวกำหนด เช่น
    1. หลุมสั้นถอนก้านไม่นาน + เผื่อ 0.02 SG. หลุมยาว + เผื่อ 0.04 SG.
    2. มี wireline logging ชุดเล็ก ใช้เวลาไม่นาน + เผื่อ 0.02 SG. ชุดใหญ่ ใช้เวลานานก็ + เผื่อ 0.04 SG
    3. เวลาที่ใช้ทำ completion ถ้ายุ่งยากใช้เวลานาน ก็ + เผื่อเยอะหน่อย ไม่ยุ่ง ใช้เวลาน้อยก็ + เผื่อน้อยหน่อย

สมมุติว่าเบสิกๆ หลุมปกติไม่ยาว (+0.02) wireline ชุดเล็ก (+0.02) completion ธรรมดาๆ (+0.02) น้ำหนักน้ำโคลนก็จะราวๆ 1.11 + 0.02 + 0.02 + 0.02 = 1.17 SG.

สรุป ตอนขุดใช้น้ำโคลน 1.03 SG ขณะขุด ชั้นหินจะเห็นเสมือนน้ำหนักน้ำโคลน 1.08 SG ขุดถึงก้นหลุม ผสมน้ำโคลนหนัก 1.17 SG ปั๊มลงในหลุมไล่น้ำโคลน 1.03 SG ออกมาจากหลุมให้หมด (displace) แล้วก็ทำพิธีถอนก้าน ต่อด้วยหยั่งธรณีด้วยสายเคเบิ้ล (wireline logging) แล้วหย่อนท่อผลิต (tubing) ลงหลุม ทำซีเมนต์ ติดชุดวาวล์ปากหลุม (Christmas tree) หมดหน้าที่ลูกอีช่างขุด ส่งมอบหลุมให้แผนกเพื่อนบ้าน (well service) ยิงระเบิด และ เปิดปากหลุมผลิตปิโตรเลียม

Trip margin – ทำไมเราต้องเพิ่มน้ำหนักน้ำโคลนก่อนถอนก้าน

สรุป …

  1. เราคำนวนน้ำหนักน้ำโคลน (mud weight) ที่ใช้จากความดันสูงสุดของชั้นหินตลอดช่วงที่เราจะขุด โดยคิดถึงผลของแรงดันจากการปั๊มน้ำโคลนเพื่อการไหลเวียนเอาเศษหินที่เกิดจากการเจาะขึ้นมาปากหลุม (ECD – Equivalent Circulation Density)
  2. ขุดเสร็จ ก่อนถอนก้านเจาะขึ้นมาก็เพิ่มน้ำหนักน้ำโคลนเสียหน่อย ชดเชย ECD ที่หายไปเพราะไม่ได้ปั๊ม เผื่อ swab ตอนถอนก้าน เผื่อเวลาที่ต้องทิ้งหลุมไว้ก่อนจะซีเมนต์ท่อผลิต

จบแล้ว …. ยาวเว่อร์โพสต์นี้ …

ปล. ผมข้ามรายละเอียดทางเทคนิคไปเยอะแยะเลย เพราะว่าเอามาพูดถึงหมดมันก็นะ เยอะเว่อร์ไป เอาแค่หลักๆเนื้อๆ พอให้เข้าใจพื้นฐานเนอะ

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------