ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Iran oil well blow out กรณีศึกษาหลุมน้ำมันระเบิดที่อิหร่าน (เมื่อ 9 ปีมาแล้ว)

Iran oil well blow out กรณีศึกษา หลุมน้ำมันระเบิดที่อิหร่าน – มีหลุมน้ำมันหลุมหนึ่งเกิดระเบิดขึ้นเมื่อปลายเดือน พ.ค. 2553  (ปี ค.ศ. 2010) เป็นข่าวดังไปทั่วโลก

ทุกๆอุบัติเหตุมีบทเรียนที่เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับวันนี้ของเราเสมอ

ข้างล่างนี้ผมตัดต่อมาจากแหล่งข่าวสาธารณะแห่งหนึ่งกล่าวถึงสาเหตุของการระเบิด

“It was about 400 m above the cap rock in abnormal (Gachsaran formation) salt water Zone and gas was detected while drilling. Looks like cap rock broken and gas leaked to the salt water zone, they controlled the gas by increasing mud weight since abnormal layer needs heavy mud any way but fractured layers at top of reservoir and broken cap rock lost the integrity and complete losses accrued when abnormal layer connected to low pressure reservoir. Soon after complete lost, gas kicked out, …. (ขอล่ะไว้เพราะเป็นความเห็นของแหล่งข่าวที่อาจจะไม่ถูกต้อง) …  Estimated 20,000 Bbl oil/day burning and disaster team working on well killing and surface conductor deviation, some experience from Kuwait well killing by NIOC(*) but not similar case.”

(*) NIOC = National Iranian Oil Company ( http://en.wikipedia.org/wiki/National_Iranian_Oil_Company )

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

Iran oil well blow out

กรณีศึกษาหลุมน้ำมันระเบิดที่อิหร่าน

ในฐานะที่ผมอยู่ในวงการนี้ก็อยากจะเอามาอธิบายที่มาที่ไปเอาๆไว้เป็นวิทยาทานกัน

ถ้าจะโดดเข้าถึงสาเหตุตรงๆเลยแบบบรรทัดเดียวจบก็คงจะงงเช็ดเม็ดละมุดหยุดไม่อยู่แน่นอน เอาว่าเรามาปูพื้นปูกระเบื้องกันในส่วนที่เกี่ยวข้องเสียก่อนดีไหมครับ …

เรามาดูความลับของการขุดเจาะหลุมปิโตรฯกัน (ขอใช้คำว่าปิโตรฯแทนคำว่าน้ำมันและก๊าซนะครับ เพราะมันสั้นดีและไม่ต่างกันเท่าไรในตัวหลักการ)

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

เรื่องนี้เป็นเรื่องของ Drilling 101 คือ ปฐมก.กา ของวิชาการขุดหลุมเลยครับ เรื่องความดันครับ ความดันของของเหลวนะครับ ไม่ใช่ความดันทุรังถูลู่ถูกังสีข้างแหกอย่างที่วิศวกรขุดเจาะชอบประพฤติกันเป็นวัตรประจำ (ฮ่า)

พื้นๆมีความดันอยู่ 3-4 ตัวที่เราต้องรู้จัก ก่อนจะไปรู้ว่า Iran oil well blow out อย่างไร

อย่างแรกคือ

Formation pore pressure

ความดันของของเหลวที่อยู่ในชั้นหิน (formation pore pressure) ต่อไปนี้ขอเรียกว่า FP “โดยปกติ” (ไม่ใช่การยึดอำนาจปฏิวัติแต่ โปรดฟังอีกครั้ง “โดยปกติ”) ยิ่งลึก FP ยิ่งความดันสูง หน้าตาเป็นไงหรือครับ ก็เป็นแบบนี้ไง

Iran oil well blow out

เส้น FP อาจจะไม่ตรงสวยแบบที่เห็นข้างบน หยักบ้าง โค้งบ้าง ขาดตอนบ้าง เอาว่ามันหน้าตาคล้ายๆอย่างนั้นก็แล้วกัน

เออ … แล้วตูจะรู้ได้ไงว่าเส้น FP หน้าตาเป็นไง ไม่ยากๆ โทรฯ หรือ อีเมล์ไปถามคู่กัด เอ้ย คู่รักตลอดกาลของเรา drilling engineer ซิครับ พี่ๆนักธรณีไง พี่แกเก่งนักเรื่องนี้ เดี๋ยวพี่แกก็โอมเพี้ยงเสกมาให้

ส่วนแกจะเสกมายังไง ช่างพี่แกไปก่อน บอกได้ว่า ไม่ง่าย หลายๆคนเรียนกันจบจบด็อกฯ เรียนกันจนหัวหงอกก็ยังให้พวกเรา(ลูกEช่างขุด)มาได้แค่ “Predicted FP” พูดง่ายๆคือ มันน่าจะเป็น “ประมาณ” นี้แหละ (ที่เหลือก็ไปจุดธูปบนบานเอาเอง … ขอให้แม่นๆ เพี้ยงงงงง)

ไหนๆก็ไหนๆ เอาซะหน่อย (เดี๋ยวไม่ขลัง อิอิ) พูดไปก็เห็นใจเหมือนกัน ผมเคย(โดนใบสั่ง)ไปเรียนมาเหมือนกัน หลับไปครึ่งอาทิตย์ เหล่น้องๆนักธรณีหน้าใสๆ (ที่บินข้ามแปซิฟิคไปเรียนด้วยกัน) ไปอีกค่อนอาทิตย์ ติดกระโหลกทึ่มๆมาได้แค่ว่า

1. เทียบเคียงเอาจากหลุมที่เจาะสำรวจแล้วข้างๆ (analogy – เรียกซะเพราะเชียว จริงๆก็ลอกการบ้านมานั่นแหละ) คือชะโงกไปดูหลุมข้างๆว่างั้นเถอะ แล้วเทียบความลึก กับชั้นหินเอา พูดง่ายครับ ให้ผมไปเทียบบ้างก็เข้าป่าเข้าดงล่ะครับ

2. วิเคาระห์ Seismic คลื่นเสียงสะท้อนสั่นสะเทือนอะไรนั่นแหละ (สูตรยาวเป็น 2 -3 หน้ากระดาษ ผมฉีกไอ้ 2 – 3 หน้าที่ว่านั่นเอาไปห่อมะยมดอง เอ๊ยห่อแฮมเบอร์เกอร์มื้อเที่ยงวันนั้นไปแล้วครับ – แฮ่ๆ)

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

อะ อะ … เอาที่มาไปหน่อย เดี๋ยวจะว่าผมยกเมฆ

เจอคำว่า หลุม wild cat ใช่ไหมครับ แปลว่าอะไรเอ่ย แรกๆผมก็งงเต็กเหมือนกัน “หลุมแมวป่า” เอ มันหลุมอะไรของนางแมวป่าหว่า (อะนะ ทะลึ่ง คิดอะไรน่ะตัวเอง – เค้าเปล่านะ อิอิ)

มันแปลว่าหลุมสำรวจนะครับ เดาๆเอาว่าคนตั้งชื่อ(ใครก็ไม่รู้)คงพยายามสื่อว่า นังแมวป่านี่อารมณ์เธอไม่แน่ไม่นอน ไม่เชื่อง ก็เหมือนธรรมชาติของหลุมสำรวจไงครับ เราไม่รู้อะไรเลย ในเชิงเทคนิคก็เกือบๆจะหลับตาขุดนั่นแหละครับ โดนกัดโดนข่วนเอาง่ายๆ (ไม่เกี่ยวกับนังแมวป่าที่บ้านนะครับ ตัวใครตัวมัน ฮ่าๆ)

ผมชอบประโยคที่ว่า เป็นธุระปะปังของนักธรณีฟิกส์และผู้เชี่ยวชาญจะเสกสรรปั่นปั้นมาให้วิศวกรขุดเจาะใช้งานใช้กัน (ตูไม่เกี่ยว) ถ้าไปดูเวอร์ชั่นเต็มในตำรา จะรู้ว่ามันออกจะเกินกระโหลกทึ่มๆของผมไปโขอยู่แน่ๆ เอิ๊กๆ แล้วนี่ก็ให้เครดิตที่มาเสียหน่อย (ใครอยากได้ฉบับเต็มหลังไมค์ก็แล้วกัน)

อ้อ จริงๆแล้วมีอีกวิธีแฝงในวิธีแรก (analogy) คือขีดเส้นมันดื้อๆว่ามันเท่ากับความดันของน้ำทะเล โดยสมมุติเอาว่าของเหลวที่อยู่ในรูพรุนของชั้นหินต่อเนื่องกันจากพื้นผิวดินลงไปจนถึงความลึกที่ต้องการหา FP และของเหลวนั่นเป็นน้ำเกลือที่ความเข้มข้นเท่ากับน้ำทะเล งงซิ เอางี้ …

จุดแรกสมมุติว่าที่ผิวดินที่แท่นตั้งอยู่ความลึกเท่ากับ 0 เมตร ความดันเท่ากับ 0 psi (ปอนด์ต่อตารางนิ้ว แบบบ้านๆเราเรียกว่า ปอนด์นั่นแหละ) จุดที่สองที่ก้นหลุม สมมุติว่าที่ 2000 เมตร ความดันก็เท่ากับ 1.42 x 2000 x 1 = 2840 psi (สมมติว่าหลุมตรงดิ่ง และ น้ำทะเลหนัก 1 SG ส่วน 1.42 เป็นเลขมหัศจรรย์ อิอิ)

งั้นตอนนี้เราก็มีจุด 2 จุด (0,0) กับ (2840,-2000) ลากเส้นตรงต่อ 2 จุดนี้ออกมาเป็นเส้น FP โห … ยอดๆ แปะๆ (ปรบมือ) บริษัทฯเสียเงินค่าตั๋วเครื่องบิน(ชั้นธุรกิจ) ค่าโรงแรม(ห้าดาว) ค่าคอร์ส ไปหลายแสน ไอ้เบื้อกมันรู้มาแค่นี้แหละ (ได้เลขมหัสจรรย์ 1.42 มาไง … ฮ่า) ถ้าผู้ถือหุ้นบริษัทฯรู้เข้า ไอ้เบื้อกนี่โดนไล่ออกแน่ๆ จุ๊ๆ

อย่าไปบอกผู้ถือหุ้นบริษัทผมนะ อิอิ คิดว่าเห็นแก่ลูกเมีย และ น้องนักศึกษาตาดำๆ (แต่ขาวจั๊วะ) ที่รอค่าเทอม ค่าไอโฟน – ฮ่า

บินกลับมาถึงเมืองไทย 1 อาทิตย์ถัดมา รายงานผลการสอบประเมินผลการอบรมบิน(มาตามสายอินเทอร์เน็ต)ยาวเหยียด หัวหน้าเรียกไปสรุปสั้นๆได้ความว่า ผมควรจะเอาดีในทางวิศวกรขุดเจาะอย่างเดิมเสียเถิด ชาตินี้อย่าหวังว่าจะทำอะไรได้มากกว่านั้นเลย … เอวัง

นี่ครับ ตัวอย่าง … หมูอู๊ดๆ ไหมครับ (อย่ามาแย่งงานผมนะ) อ้อ .. จำให้แม่นนะครับ 1.42 เดี๋ยวเราต้องใช้อีกเยอะ (ไม่ใช่หวยงวดนี้นะ ใครเอาไปแทงแล้วตูดขาดกลับมา ไม่รู้ไม่ชี้ด้วย)

Iran oil well blow out

Lost circulation gradient

ต่อมาที่หมู่เฮากระเหรี่ยงดอยหมึ๋ง(ห้ามผวนเด็ดขาด)อย่างผมต้องรู้ คือ ความดันที่ทำให้ของเหลวรั่วออกจากหลุม เรียกว่า LC (lost circulation) อย่าไปพยายามแปลมันครับ เอาว่า ถ้าความดันในหลุมเกินกว่า LC นี้ ของเหลวในหลุมจะรั่วไหล ซึมหรือทะลักพลั่กๆ ออกไปนอกหลุม แล้วจะออกไปไหน ก็แทรกเข้าไปในชั้นหินผนังหลุมนั่นนะครับ แล้วจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป … ใจเย็นครับ วัยรุ่น เดี๋ยวลุงจะเฉลยตอนหลัง ขอเม็มนิดนึง

แล้วจะรู้อ้ายเส้น LC นี้ได้ไง แฮ่ๆ … ก็จากประสบการณ์หลุมก่อนๆ และ จากเพื่อนซี้เรา นักธรณีอีกตามเคย เห็นม่ะ เรารักกันและทำงานเป็นทีมจะตายไป (แต่อย่าบอก LC ข้าผิดนะ ไม่งั้นหลุมถล่มข้าโบ้ยเอ็งแน่ๆ ฮ่าๆ)

คือจริงๆแล้วผมอยากจะบอกว่า เรา(วิศวกรขุดเจาะ)ไม่ใช่พระเอกหรอกครับ เราก็แค่เฟืองตัวเล็กๆในระบบเครื่องจักรทั้งหมด (โดยมีเงินเดือนเป็นน้ำมันเครื่องหล่อลื่นเฟืองทุกตัว อิอิ)

เอาว่าเส้นความดันที่ว่านั่นก็ประมาณนี้แหละครับ อะไรในหลุมหนักเกินจากเส้น LC นี่เป็นอันรั่วออกผนังหลุมแน่ๆ

Iran oil well blow out

ยังครับ ยังไม่หมด ถ้ายังอยากจะเข้าใจว่าหลุมมันระเบิดได้ไง

Fracture gradient

ชั้นหินมันมีความแข็งของมัน มันทนแรงอัดได้ระดับหนึ่ง เกินกว่านั้นชั้นหินมันจะปริแตก ที่เราเรียกว่า Fracture คล้ายกระดูกแตก (ตอนโดนแม่อีหนูจับได้ว่าไปซื้อไอโฟนให้นักศึกษาสาว) หรือ เอาค้อนไปทุบก้อนหิน (โดยคิดว่าหินเป็นหัวแม่อีหนู ฮ่า) นั่นแหละครับ

มีหลายทฤษฎีที่จะใช้คาดเดาค่าๆนี้ เดาออกไหมครับว่างานใคร ฮ่าๆ ชัวร์ป๊าบนุ่ม ไม่ใช่งานผม งานนักธรณีฟิกส์ครับป้ม

หลักการง่ายๆคือดูว่าชั้นหินนั้นมันรับแรงอยู่เท่าไร ก็คือน้ำหนักเพื่อนหินที่อยู่บนตัวมันรวมแล้วเท่าไร เหมือนมีคนขี่คอคุณอยู่ 8 คนซ้อนๆกันขึ้นไป คนล่างสุดรับนน.ของคนอีก 7 คน ดังนั้น นน.ที่คนล่างสุดรับได้ตามปกติ (คือมันก็อยู่อย่างนั้นของมันมาเป็นล้านๆปีแล้ว) คือนน.ของเจ็ดคน ถ้าเกิน 7 คนไปกรัมเดียวมันก็ทนไม่ไหว มันก็ปริแตก

ดังนั้นงานของนักธรณีฟิสิกส์คือหาว่าไอ้คน 7 คนนั่นมันหนักรวมกันเท่าไร ถ้านักธรณีฟิสิกส์ตัวจริงมาอ่านเจอ อย่าเพิ่งชูจั๊กแร้เถียงนะครับ ผมอธิบายแบบง่ายๆ ให้เห็นภาพ ผมทราบดีว่าจริงๆมันยุ่งขิงทิงนองนอยพิลึก ถึงแม้ว่าตอนไปเรียนมาจะหลับบ้างตื่นบ้างก็เถอะนะ ฮ่าๆ

ง่ายๆเลยครับแบ่งความลึกเป็นชั้นย่อยๆ บวกเลขเอาดื้อๆจากนน.ชั้นดินชั้นหินในแต่ล่ะช่วงย่อยๆ นึกถึงไอ้ถั่วงอกอินทิกัลแล้วใช่ไหมครับ นั่นแหละใช่เลย ประมาณหลวมๆเอาว่า FG (ชั้นที่ m) = rho1 x g x h1 + rho2 x g x h2 + … + rho(n) x g x h(n) … หลุมเราไม่ได้ลึกมาก g เดียวก็พอ เพราะค่าไม่ต่างกันมากระหว่าง g ปากหลุมกับ g ก้นหลุม และ g(สตริง)ก้นพริตตี้สาวมอเตอร์โชว์ – น้าน

rho = ความหนาแน่นของชั้นหินต่างๆที่ถูกซอยแบ่งออกมา
g = แรงโน้มถ่วงโลก ก็ราวๆ 9.8 นั่นแหละครับ
h ก็ความหนาชั้นหินที่แบ่งซอยย่อยๆ

โดยที่ n = m-1 (นน.ที่กดลงบนคนที่ 8 ก็คือนน.ของคน 7 คนที่ขี่คอซ้อนๆกันอยู่นั่นแหละครับ) คือแบ่งกันย่อยๆแล้วบวก(หรือ อินทิเกรด)ไอ้ย่อยๆนั่นไปจนถึงจุดที่ต้องการจะรู้นั้นแหละ

จริงๆนั้นยุ่งยากกว่านี้เยอะ เอาแนวๆไปก็พอ

จริงๆก็จำมาได้แค่นี้แหละ อิอิ คุ้นๆว่าพอด๊อกเตอร์แกเพ้อๆถึงตอนนี้ สมาธิผมก็ไปอยู่กับน้องหน้าใสข้างๆแย้ว แบบว่ากำลังคิดหาข้ออ้างว่าเย็นนั้นจะพาน้องนักธรณีหน้าใสไปกินเท็กซัสสเต็กร้านไหนดี เสร็จแล้วก็ว่าจะชวนไปเคาะสำรวจหินภาคสนามกัน เอิ๊กๆ

g น่ะ ไม่ยาก เด็กม.4 ก็รู้ 9.8 ก่าๆ ที่ยุ่งคือ h เพราะมันเป็นเมตร แล้วยังไม่ขุดจะไปรู้ได้ไง(ว่ะ) ใช้ seismic ก็ได้แต่แกนความลึกเป็นแกนเวลา ก็เสกเอาไงครับ เสกความเร็วเฉลี่ยของชั้นหินเอาดื้อๆว่ามันน่าจะเท่านี้ +/- กี่เมตรต่อวินาที หรือ เท่าไรก็ว่าไป แล้วพวกวิศวกรขุดเจาะก็จะไปหามาตราการรับมือไอ้เจ้า +/- เอาอีกที

พอรู้ความลึกเป็นแกนเวลา รู้ความเร็วชั้นหิน (ที่เสกมา) ก็รู้ความลึกเป็นระยะทางได้ จริงป่ะ ระยะทาง = ความเร็ว x เวลา ไงครับ แยกคิดเป็นชั้นๆแบบขนมชั้น จะกี่ชั้นก็ว่ากันก็เสกกันไป … เนียนไหมครับ ไม่ซับซ้อนเลย

อ้าว … แล้ว rho ล่ะ ไม่ง่ายครับ … เอาว่ามันต้องเปลี่ยนความเร็วในชั้นหินที่ได้จาก seismic มาเป็นความหนาแน่น โดยสมมุติว่ารู้ความพรุน รู้ความหนาแน่นที่แท้จริงของชั้นหิน และ รู้ความหนาแน่นของของเหลวที่อยู่ในช่องว่างที่พรุนๆนั่น งงเช็ด

… ช่างเหอะครับ เกินบริบทกระทู้ไปเยอะแล้ว … (ชวนน้องหน้าใสไปดูหินเท็กซัสภาคสนามกันดีกว่า)

เอาว่าเส้น FG Fracture gradient มันออกมาราวๆนี้ก็แล้วกันครับ

Iran oil well blow out

ชิวๆไหมครับ … มาถึง FG แล้ว … มาพักสายตาชมทะเลชมชายหาดหน่อย …

เอ้า … บอกว่าชมทะเลชมชายหาด ดูอะไรกันน่ะ ..

อะ มาว่าของเราต่อ …

Mud gradient

คำถามคือ เราจะควบคุมความดันพวกนี้ได้ไง วิธีที่มนุษยชาติเราใช้ช่าง “คืนสู่สามัญ” มากๆ ใช้น้ำโคลนครับ ขี้โคลน หรือ clay เราดีๆนี่แหละครับ (ชื่อเคมี bentonite) ผสมน้ำ(หรือน้ำมัน)เติมโน้นเติมนี่อีกนิดหน่อย สูตรใครสูตรมันให้ได้น้ำหนักเหมาะๆ ใส่หลุมลงไป

แต่ปัญหามันคือ เส้นความชันของนน.(pressure gradient) ของน้ำโคลนมันเป็นเส้นตรงแปรกับความลึกอย่างเดียว เพราะนน.น้ำโคลนเราผสมแล้วคงที่ไหลวนตลอดทั้งหลุม เปลี่ยนได้ก็คือเปลี่ยนทั้งหลุม เส้นความชันมันก็ตรงอยู่ดี ลากจาก จุด (0,0) คือที่แท่นขุดไปยันก้นบ่อ ตามสูตรหารัปทานของอึ่งน้อยนี่ไหงครับ

===> ความดัน (psi) = 1.42 x ความถ่วงจำเพาะ (SG) x ความลึก (เมตร)

… กระทู้นี้มีสูตรเดียวนี่แหละครับ มากกว่านี้ก็เกินปัญญาอึ่งน้อยเลี้ยวววว

ภาวะปกติมันก็เป็นอย่างรูปข้างล่างคือ ความดันจากนน.น้ำโคลน อึ่งน้อยจะเรียกว่า MW (mud weight) นะครับ … FP < MW < LC < FG

MW ต้องมากกว่า FP ไม่งั้นกด FP ไม่อยู่ เดี๋ยว FP พุ่งพรวดขึ้นมา แต่ MW ต้องน้อยกว่า LC ไม่งั้น น้ำโคลนรั่วออกนอกหลุม ส่วน LC โดยมากจะน้อยกว่า FG พูดภาษาบ้านๆคือ รั่วก่อนแล้วหินค่อยปริแตก

แต่ก็มีบางกรณีที่มันไม่รั่ว แต่ปริแตกไปเลย คือ เส้น LC มันไปทับกับเส้น FG พูดง่ายๆคือ ชั้นหินไม่เตือนเราเลย ไม่ยอมรั่วหรือซึมๆก่อน อยู่ๆก็ปริแตกโพล๊ะเลย (คุ้นๆเหมือนสติคนข้างๆหรือเปล่า ฮ่าๆ)

Iran oil well blow out

คราวนี้ ธรรมชาติมันไม่ได้ง่ายๆ อย่างรูปข้างบนนี่ครับ อย่างที่ผมเกริ่นไว้ FP LC FG มันไม่ได้ตรงแป๊ะๆลากกันสวยๆนี่ครับ มันแหว่ง ขาดตอน โดดไปมา แถมโค้งได้ตามใจชอบของแม่พระธรณีจะโปรดดลบันดาล ไม่เสมอไปที่ยิ่งลึกความดันยิ่งมากแบบที่ผมย้ำไว้

บางทีเกิดรอยเลื่อน (Fault) ทำให้การเพิ่มความดันขาดความต่อเนื่อง มากๆน้อยๆ ขึ้นๆลงๆ ตามปัจจัยเวลาและกิจกรรมของเปลือกโลกเมื่อหลายล้านปีก่อน

อันนี้ผมก็พล่ามไปตามที่พี่ๆน้องๆนักธรณีเลียหู เอ๊ยเป่าหูมาน่ะครับ เป็นตุเป็นตะเชียว ยังกะเห็นมากับตา ทั้งๆที่มันก็ลึกไปตั้งเป็นกิโลเมตรๆ แถมมันก็หลายล้านๆปีมาแล้ว

Abnormal formation pressure

แต่ความชัน MW เราโค้งตาม เจ้า 3 เส้น นั้นไม่ได้ มันจึงเสียวริดสีดวงแปล๊บๆ หรือ ไมแกรนขึ้น อีกตรงนี้แหละครับ มาดูแบบแรกเป็นน้ำจิ้มหน่อยดีไหม

Iran oil well blow out

เส้นน้ำหนักน้ำโคลน MW สีเขียว คำนวนไว้ให้เกิน FP สีน้ำเงิน และให้พอดีๆโดยน้อยกว่า LC เส้นประแดงที่ก้นหลุม แต่มันดันไปมากกว่า เส้น LC ที่ด้านบน (วงน้ำเงิน) ทำไงดีล่ะ ลดน้ำหนักน้ำโคลนลงมาเป็น MW2 เส้นประเขียวเพื่อหลบ LC ประแดงด้านบน แต่มันดันไปน้อยกว่าเส้น FP สีน้ำเงินที่มันป่องออกมา (วงแดง) … ไงครับ

พูดง่ายๆว่าไม่มี น้ำหนักน้ำโคลน (MW) ไหน ที่จะใช้งานได้โดยปลอดภัยเลย

วิศวกรขุดเจาะอย่างอึ่งน้อยก็ต้องเอาตรีนก่ายหน้าผากเลยซิ และเราไม่รู้ในขั้นวางแผนหรอกครับ ขั้นวางแผนเรารู้แค่คร่าวๆว่ามันน่าจะรอด ต้องไปตัดสินใจกันหน้างานเดี๋ยวนั้น

จริงๆมันมี เทกกะนิ๊ก มีวิธีรับมือ มากมายครับ แต่เกินบริบทกระทู้นี้ แค่อยากให้เห็นความยุ่งยาก และ การคาดเดาไม่ได้ของการระเบิดที่อิหร่านเท่านั้น

ไหนๆก็ไหนๆ มาดูอีกแบบ ตะกี้หลบข้างล่าง มาเจอข้างบน

Iran oil well blow out

คราวนี้ หลบข้างบนพ้น แต่ติดข้างล่าง (วงน้ำเงิน) งานเข้าอีก จะลดน้ำหนัก MW -> MW2 ก็จบเห่ หรือ บางทีเราไม่ได้ตั้งใจลดนน.น้ำโคลน แต่หลุมมันรั่วเพราะ MW เส้นเขียว ดันไปมากกว่า LC แดงประที่ก้นหลุม น้ำโคลนมันก็ไหลเข้าชั้นหิน หมายความว่า h ความสูงของน้ำโคลนในหลุมลดลง (ถ้าเติมน้ำโคลนไม่ทัน) ความดันนน.น้ำโคลน เส้นสีเขียวมันก็ลดอยู่ดี

จำสูตรหากินของอึ่งน้อยได้ป่ะ ความดัน (psi) = 1.42 x ความถ่วงจำเพาะ (SG) x ความลึก (เมตร) ก็ ความลึก (เมตร) หรือ h ลดลง ความดัน (psi) ที่ทุกจุดในหลุมใต้ระดับน้ำโคลนก็ลดลงด้วย

Iran oil well blow out มันเกิดขึ้นได้อย่างไร

ดูกราฟกันเพลิน เวียนหัวมาพอแล้ว มาดูว่าเจ้าหลุมที่อิหร่านในกระทู้นั้นมันเกิดอะไรขึ้น ปกติเขาก็ขุดกันชิวๆแบบนี้ … FP < MW < LC < FG ทุกคนก็นอนเกาสะดือจุ่นเล่นรัมมี่เขกเข่าดีดไข่ เอ๊ย ดีดมะกอกกันไปตามเรื่อง

Iran oil well blow out

ทีนี้ หลุมนั้นนะโชคร้าย ข้อมูลหรือข่าวกรองไม่แม่น หรือ เกิดนอกเหนือความคาดหมายของพี่ๆนักธรณี หรือ อะไรก็แล้วแต่ Cap rock หรือ ชั้นหินที่ปิดแหล่งก๊าซมันดันร้าว(อยู่แล้ว แต่เราไม่รู้) ความดันก๊าซจากแหล่งใต้ cap rock เลยรั่วแทรกขึ้นมาที่ก้นหลุมที่กำลังขุดอยู่ (ตามแนวเส้นหนาสีแดง)

ตามตำรา drilling 101 ชั้นปฐมก.กา วิศวกรก็สั่งเพิ่มน้ำหนักน้ำโคลน ไงครับ คุ้นๆกับกราฟที่ผมปูกระเบื้อง เอ๊ย ปูพื้นมาไหมครับ ..

ไงล่ะ ช่วงหลุมตื้น ชั้นหินมันทนได้น้อยกว่า มันก็รั่วซิครับ ดูตามรูปข้างล่างตามนะครับ ขึ้นกับระดับการรั่ว ถ้าแค่รั่วซึมๆก็เติมปริมาณน้ำโคลน(ที่น้ำหนักเท่ากันที่จะพอกดความดันก้นหลุม)เข้าไปชดเชยผสมกับของเก่าที่ขึ้นมาในขั้นตอนที่บำบัด

แต่ถ้ามันรั่วแบบมโหฬาร เติมแบบนั้นไม่ทันการณ์ พวกเราก็ล่อปั่มปั๊มพรืดๆเติมกันที่ปากบ่อกันเลย

Iran oil well blow out

เติมทันก็ดีไป เติมไม่ทันมันก็จะเกิดแบบรูปข้างล่าง

Iran oil well blow out

… เตรียมนิมนต์หลวงพ่อกันได้แล้วครับ จังหวะนี้ เพราะอะไร เพราะว่า ระดับน้ำโคลนลด จำสูตรหากินเราได้ไหมครับ

ความดัน (psi) = 1.42 x ความถ่วงจำเพาะ (SG) x ความลึก (เมตร)

ความลึกแทนที่จะเป็น h1 ก็เป็น h2 ที่เตี้ยกว่า ความดันน้ำโคลนที่ก้นหลุมก็ไม่พอที่จะกด FP เอาไว้ ….เตรียมนิมนต์หลวงพ่อโกยวัดหน้าตั้งได้แล้วครับ

ก๊าซก็รั่วเข้ามาที่ก้นหลุมซิครับทีนี้ ความดันที่ก้นหลุมยิ่งน้อยไปใหญ่เพราะ h2 หด ลงมาเป็น h3 เพราะโดนก๊าซเข้ามายึดที่ไปส่วนหนึ่ง (hg0) ดังนั้นความดันก้นหลุมเท่ากับ

Iran oil well blow out

ความดัน (psi) = [1.42 x ความถ่วงจำเพาะ (SG น้ำโคลน) x ความลึก (h3)] + [1.42 x ความถ่วงจำเพาะ (SG ก๊าซ) x ความลึก (hg0)]

เนื่องจาก ความถ่วงจำเพาะก๊าซมันน้อยมากๆ แทบจะเป็นศูนย์ ดังนั้น ความดัน (psi) เลยเหลือแค่ราวๆส่วนแรกคือ 1.42 x ความถ่วงจำเพาะ (SG น้ำโคลน) x ความลึก (h3) สถานการณ์ยิ่งแย่ลงๆ

จังหวะนี้ใครมีหลวงพ่อหลวงปู่ และ ที่พึ่งทางใจดีๆก็งัดเอามาปลุกเสกปลุก(ปลอบ)ใจกันได้ ณ. จังหวะนี้ (ก่อนจะไม่ทัน)

นิมนต์รูปต่อไป คราวนี้ เผ่นเถอะโยม …. ทีนี้ก๊าซก็จะเผ่นเข้ามาเป็นพรวน เป็นกระทอกๆ เหมือนวันมามาก (ฮ่า)

h4 เป็นน้ำโคลน hg1 เป็นก๊าซ ส่วน h5 ก็มั่วล่ะครับ ผสมๆกันไป ที่แน่ๆ น้ำหนักไม่มาก โดนก๊าซเข้ามาแย่งที่ไปหมด … เราเรียกว่า kick แปลว่าเตะนั่นแหละครับ จะเตะแรงเตะค่อยก็ว่าไป แต่ถ้าเตะแรงๆเราก็เรียกว่า blow j_b เอ๊ย แฮ่ๆ blow out ครับ (โทษที ไม่ได้ขึ้นฝั่งมาหลายวันแล้ว อิอิ)

Iran oil well blow out

จากรูปประกอบจะเห็นว่าก๊าซขึ้นมาได้ 3 ทาง X กับ Y จะมาโผล่ที่ผิวดินในกรณีแท่นบกหรือ โผล่ที่พื้นทะเลในกรณีนอกชายฝั่ง ส่วน Z จะมาโผล่ที่ปากหลุม คราวนี้ในกรณีแท่นบกปากหลุมกับผิวดินไม่ห่างกันมาก ก็มาม๊ะมาจอยกันๆ ติดไฟกันพรึ๊บๆ

กรณีแท่นทะเล แปลกไปนิด คือปากหลุมอยู่บนแท่น ถ้าทะลุอุปกรณ์ป้องกันขึ้นมา มันก็ย้อยลงผิวน้ำเพราะสารพัดก๊าซและน้ำมันพวกนี้หนักกว่าอากาศ

ส่วน X กับ Y ที่ขึ้นมาที่พื้นทะเลก็จะปุ๊งๆ พื้นทะเลก็จะอ่อนยวบลงไป ฟองก๊าซปุ๊งๆก็ขึ้นมาจอยกันกับที่ย้อยลงมาจากปากหลุม (Z) ในเวลาต่อมา

ถ้าระดับน้ำลึกก็มีโอกาสที่ปุ๊งๆที่ว่านั่นโดนกระแสน้ำทะเลพัดกระจายไปห่างๆ ไม่มาจอยกับเพื่อน (Z) ที่ย้อยลงมาจากปากหลุม อย่างนี้ก็ถือว่าโชคช่วย ลดเชื้อเพลิงออกไปได้บ้างส่วน แต่ถ้าคลื่นลมสงบ X Y Z มันก็มาเฮโลเปิดปาร์ตี้มะรุมมะตุ้มกันอยู่ใต้ถุนแท่น

ถ้าแท่นไม่กลายเป็นหมูย่างเมืองตรังก็เป็นไก่ย่างวิเชียรบุรี … เอวังกันทั้งแท่นล่ะครับพี่น้อง

ดูรูปข้างล่างนี้เป็นตัวอย่าง ไม่ใช่ก็ใกล้เคียงล่ะครับ

ภาพเหตุการณ์จริง

ในกรณีแท่นบนบก มันก็จะดันเอาก้านขุด หรือ ท่อขุดออกมาทั้งยวงแบบนี้ …

Iran oil well blow out

ที่เห็นโด่ๆไม่ใช่เสาอากาศรุ่นใหม่ล่าสุดนะครับ มันคือที่เราเรียกว่า drill collar เอาว่าเป็นท่อเหล็ก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6.75 นิ้ว มีรูตรงกลางราวๆ 2 นิ้ว ท่อนนึงยาวกว่า 10 เมตร หนักท่อนนึงร่วมครึ่งตัน ในชุดท่อขุดหนึ่งๆ (Bottom Hole Assembly – BHA) ปกติเราใช้กันไม่ต่ำกว่า 5-8 ท่อน

เห็นท่อนล่างพาดอยู่บนรถกระบะไหมครับ คงไม่มีบริษัทประกันไหนกล้ารับประกันรถพวกเรา (ฮ่า)

เออ พูดถึงบริษัทประกันชีวิตสมัยนั้นตอนที่ผมทำงานสนามใหม่ๆ ผลิตภัณฑ์การประกันชีวิตในประเทศไทยยังไม่หลากหลายและครอบคลุมแบบทุกวันนี้ ตัวแทนประกันหาอาชีพที่ตรงกับลักษณะงานผมไม่ได้ เลยไปจับกลุ่มความเสี่ยงไปรวมกับอาชีพทหาร เบี้ยประกันอานเลยพี่น้อง

Iran oil well blow out

ท่อนนี้คงหักกลางอากาศ ลงมาปักจึ๊กเข้าให้ ดีไม่โดนหัวใคร อีกท่อเสยตู้เก็บของเข้าให้ งอเป็นคันศรพระรามเลยพะยะค่ะ

Iran oil well blow outมีอะไรจะขอแทรกคั่นโฆษณาตรงนี้ก่อนนิดนึง อดไม่ได้จริงๆ คันยิบๆ เรื่องความไม่แน่นอนในค่าต่างๆของพี่ๆน้องๆนักธรณีคู่หูคู่ฮาของพวกเรา มีโจ๊กจะขอแซวแบบกันเอ๊งกันเองน่ะ (อิอิ) คืองี้ พี่ท่านมักจะบอกว่า FP LC หรือ FG ประมาณเท่านี้ถึงเท่านี้ (อ้าว แล้ว น้ำหนักน้ำโคลน MW ตูจะเท่าไรเนี่ย อีตอนผสม จะผสมแบบเท่านี้ถึงเท่านั้น SG มันก็ไม่ได้ มันต้องเลือกเอาค่าใดค่าหนึ่ง)

ชั้นหินที่จะไปเจอก็อยู่ที่เท่านี้ถึงเท่านี้เมตร(ห่างกันเป็น 10 บางทีเป็น 100 เมตร) รอยเลื่อนมันอยู่แถวๆนี้นะพี่นก (วงกลมมาให้รัศมีเกือบ 100 เมตร – พี่นกจะไปขุดหลบไงฟ่ะ) ชั้นหินนี่อายุประมาณเท่านั้นล้านปีถึงเท่านี้ล้านปี (โอ้โห แม่นมากเฮีย – แซว) ความแข็งชั้นหินประมาณไหน อ้อ ประมาณเท่านั้นถึงเท่านี้ psi (ตูเลือกชนิดหัวเจาะไงฟ่ะเนี่ย)

แล้วมีน้ำมันเท่าไร ก๊าซเท่าไร (อันนี้ของแซวควบวิศวกรแหล่งผลิต – พวกเดียวกัน – เครือเดียวแต่คนล่ะหวี) พี่ท่านจะบอกว่า โอกาสเป็นน้ำมันเท่านั้น ก๊าซเท่านี้ (แปลว่าบวกกันเอาเอง ถ้าไม่เท่ากับ 1 แปลว่าที่เหลือคือโอกาสกินแห้ว)

แล้วมีเยอะไหมเท่าไร ท่านๆก็จะบอกว่า 10-20-15 บาเรล (สมมุตินะครับ) แปลไทยเป็นไทยได้ว่า โอกาสต่ำ low (20%) ที่จะเจอ 10 บาเรล โอกาส กลางๆ medium (50/50) ที่จะเจอ 20 บาเรล โอกาสสูง high (80%) ที่จะเจอ 15 บาเรล

ทำไมไม่บอกตูว่ามี 10×0.2 + 20×0.5 + 15×0.8 = เท่าไรก็ว่าไปฟ่ะ (รู้เหตุผลอยู่ครับ แต่จะแกล้งไม่รู้ ขอแซวหน่อยน่ะ โอ๋ๆ อย่างอนๆ)

ผมยังเคยแซวน้องเขาเล่นๆเลยว่า ยังงี้เวลานัดกิ๊กไปดูหนังจะทำไง เจอกันหน้าโรงหนัง paragon – imporium – esplanade 15-60-25 ยังงี้เหรอ (ฮ่า) แล้วจะไปเจอกี่โมง เก้าครึ่ง – สิบ – สิบครึ่ง 20-70-10

ฮ่าๆ ยังงี้เมียตามไม่เจอแน่ๆ (แต่ก็ไม่เจอกิ๊กด้วยเหมือนกัน – ฮ่าๆ) แล้วยังงี้เมื่อไรจะได้จึ๊กกะดึ๊ยดิงดองกระดื๊บๆกันล่ะเนี่ยน้องเอ๊ย

โจ๊กอยู่นี่ครับ ตะกี้หลอกตีกิน ปูพื้นๆ (พี่ๆน้องๆนักธรณี … โปรดอโหสิ … รักดอกจึงหยอกเล่น) มีทัวร์นักเรียนมัธยมมาที่พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยาแห่งหนึ่ง(ไม่บอกว่าประเทศไหน อุอุ) นักธรณีก็พาชมบรรดาสารพัดหิน และ บรรยายประกอบไปเรื่อยๆ (เป็นที่น่าเบื่อหน่ายแก่วัยกรี๊ดเป็นอย่างยิ่ง)

มาถึงตัวอย่างหินก้อนหนึ่งที่มีฟอสซิลติดอยู่วางโดดเด่นกลางห้อง ปูพื้นเสร็จนักธรณีนำชมบรรยายว่า อายุฟอสซิลนี้คำนวนได้จากอายุของหินก้อนที่มันฝั่งตัวอยู่ ชิ้นนี้มีอายุ 75 ล้านกับ 4ปีครึ่ง

… วัยกรี๊ดเงียบกริบ สงสัยเป็นกำลังว่านักธรณีแม่นขนาดนี้เลยหรือเนี้ย วัยกรี๊ดผู้กล้าแสดงออกไม่เคยเก็บความสงสัยไว้นาน … “ลุงๆ นักธรณีแม่นขนาดนี้เลยหรือค่ะ”

ลุง … “อ๋อ … ตอนลุงมาทำงานที่นี่ คนที่นี่บอกว่ามันอายุ 75 ล้านปี ตอนนี้ลุงอยู่นี่มา 4ปีครึ่ง มันก็ต้อง 75 ล้านกับอีก 4ปีครึ่งซิจ๊ะหนู” ….

วัยกรี๊ด … ” … ”

ปล. ข้างล่างนี่เป็นสัญลักษณ์(ค่อนข้างสากล)ของนักธรณีเขาน่ะ มันคือค้อนที่ใช้เคาะหินครับ คล้ายๆกับเกียร์หรือเฟืองที่เป็นสัญลักษณ์ของวิศวกรนั่นแหละครับ

มาว่ากันต่อ หลังจากนอกเรื่องไปยาว …

นี่ก็ท่อขุดขนาด 5 นิ้ว ลอยเป็นยวงออกมานอนกองเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยวต้มยำเลย

Iran oil well blow out

รถกระบะคันเดิม แต่ถ่ายคนล่ะมุม ถึงคนล่ะมุมมันก็เละเหมือนเดิม

Iran oil well blow out

ไม่ต้องอธิบายเลยครับ ไหม้เป็นตอตะโก … ดีนะยังเหลือซาก บางแท่นผมเห็นแต่เป็นก้อนๆกองๆอยู่

Iran oil well blow out

เท่มาก ปัก เด่เลย ไม่แม่นเอาซะเลย … (ไม่มาลงหัวอึ่งน้อยไงครับ – อิอิ)

Iran oil well blow out

ไงครับ ดูกันจะๆว่า 6.75″ collar หนักครึ่งตัน หน้าตาเป็นไง แจ่มไหมครับ

Iran oil well blow out

พุ่งไปไกลว่าร้อยเมตรทีเดียว พลังงานที่สะสมไว้ในพื้นโลกเรามหาศาลมาก แค่นี้ จิ๊บๆครับ

Iran oil well blow out

Well Control แบบเบื้องต้น ง่ายๆ ชิลๆ ตามผมมาครับ เข้าใจได้ไม่ยาก

เรื่องที่ว่าทำไมอุปกรณ์ควบคุมความดัน(BOP = Blow Out Preventer)ที่ปากหลุมไม่ทำงาน หรือ การควบคุมล้มเหลวนั้น ผมขอไม่วิจารณ์ครับ เนื่องจากไม่ทราบความจริง

Well Control แบบเบื้องต้น ง่ายๆ ชิลๆ ตามผมมาครับ เข้าใจได้ไม่ยาก

ถ้าให้เดาจากข้อมูลที่น้อยนิดก็จะสุ่มเสี่ยง และ ไม่เป็นธรรมกับผู้เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะผู้ที่สูญหายไปขณะพยายามควบคุมอุปกรณ์ที่ปากหลุม (Night tool pusher, driller และ pump man) ชีวิตจริงไม่ใช่หนังฮอลลี่วู้ดครับ …

เพราะพระเอกไม่จำเป็นต้องรอด …ภารกิจไม่จำเป็นต้องสำเร็จ …
ความเป็นพระเอกของพวกเราไม่ได้วัดกันด้วยภารกิจที่สำเร็จ…

หากแต่วัดกันที่การทำหน้าที่ที่เราต้องทำในยามที่ต้องทำมากกว่า
…. A man has to do what a man has to do when a man has to do

Iran oil well blow out

… ดังนั้น ผมขอคาระวะแด่ผู้สาบสูญในการทำหน้าที่ที่ปากหลุมทั้งสาม แม้ว่าจะทำไม่สำเร็จ แต่พวกเขาก็เป็นฮีโร่ในใจผู้เกี่ยวข้องเสมอครับ

… เถ้าของพวกเขาคงจะไปไกล ไกลจากปากบ่อที่พวกเขาได้ทำหน้าที่สุดท้าย(ที่พวกเราภูมิใจ)อย่างดีที่สุด และไปไกลเท่าที่แม่พระพายจะเมตตาโอบอุ้ม …

R.I.P

Iran oil well blow out

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------