ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Hydrostatic pressure – back to basic Drilling Engineer 101

Hydrostatic pressure – back to basic Drilling Engineer 101 – ได้คลิปดีๆมาซีรี่ย์หนึ่ง คิดว่าน่าจะมีประโยชน์มากๆสำหรับพวกเรา

ก็จะทะยอยเอามาลงให้ดูเป็นตอนๆ พร้อมคำอธิบายเสริมในจุดที่ที่คิดว่าคลิปอาจจะอธิบายได้ไม่ชัดเจนนะครับ

Hydrostatic pressure

back to basic Drilling Engineer 101

ในตอนนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องที่เรียกว่าพื้นฐานสุดๆของคนจะมาเป็นวิศวกรขุดหลุมเจาะ นั่นคือ เรื่องความดันอันเนื่องจากน้ำหนักของของเหลว ณ.จุดใดจุดหนึ่งใต้ผิวของเหลวนั้นๆ

เริ่มต้นด้วยสูตรหากินของชาวเรา

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

ความดัน (psi) = 1.42 x ความหนาแน่นของของเหลว (SG) x ระยะในแนวดิ่งจากผิวของเหลวนั้นๆ (m)

นั่นใช้หน่วยเมตริก แต่ในโลกนี้ก็มีอีกข่ายหนึ่งที่นำโดยอเมริกันชน บอกว่าม่ายอาวๆ ชั้นจะเอาหน่ยวที่คนบ้านชั้นคุ้นเคย แล้วก็ตั้งชื่อให้เป็น หน่วย API (American Petroleum Institute)

(แม้ว่าอเมริกันนั่นแหละที่เป็นคนตั้งมาตราฐานหน่วยเมตริกนี้ขึ้นมา … ฮ่วย …)

หน้าตาหน่วยของเขาจึงเป็น

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

ความดัน (psi) = 0.052 x ความหนาแน่นของของเหลว (ppg) x ระยะในแนวดิ่งจากผิวของเหลวนั้นๆ (ft)

เดือนร้อนวิศวกรเอเชียหน้าเหลืองอย่างพวกเราตาดำๆต้องจำมันทััง 2 หน่วย

พูดง่ายๆ psi = 0.052 x ppg x ft

สมการมี 3 ตัวแปร รู้ค่า 2 ใน 3 ก็แก้ผ้า เอ๊ย แก้สมการหาตัวแปรที่ไม่ทราบค่าได้

ทีนี้ มีอีกคำที่คลิปไม่ได้พูดถึงที่มาจากสมการหากินนี้คือ pressure gradient

เจ้านี่มีหน่วยเป็น psi/ft พูดง่ายๆ คือ ลึกลงไปจากผิวของเหลว 1 ฟุต ความดันจากน้ำหนักของเหลวนั้นเพิ่มกี่ psi

กลับไปที่สูตรหากินเรา … psi = 0.052 x ppg x ft

มันก็แค่ย้ายเอา ft มาหาร psi ข้างซ้ายนั่นแหละ

psi/ft = 0.052 x ppg = pressure gradient

นอกจากนี้แล้ว ในคลิปพูดถึง leak off test (LOT) ผมเคยเขียนไว้แบบละเอียดยิบ ตามลิงค์ข้างล่างนี้ไปได้เลยครับ

SBT FIT LOT มันคืออะไร ต่างกันอย่างไร รู้ไปทำไม ช่วยอะไรเราได้

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

การคำนวนหลายๆอย่าง เรามีกฏพื้นฐาน กันเหนียว เผื่อเหลือเผื่อขาด ในการปัดเศษอยู่ด้วยว่า กรณีไหน เราจะปัดขึ้น หรือ ปัดลง เพราะอะไร ถ้าคิดดีๆ มันก็ เออ เนอะ ใช่ๆ ควารปัดแบบนั้น … ในคลิปนี้ก็พูดถึงไว้ด้วย

นอกจากนี้แล้ว ในคลิปยังพูดถึง u-tube effect ซึ่งก็ไม่มีอะไร ถ้าพวกเราไม่หลับตอนเรียนฟิสิกส์ ม. 5 (มัง) ก็คงจำกฏของปู่ปาสคาลได้ ที่ปู่บอกว่า ความดันเนื่องจากน้ำหนักของของเหลวจะกระจายไปทั่วเนื้อของเหลวเท่าๆกันทุกๆจุดในของเหลวนั้น

ดังนั้น ถ้าเอาของเหลวหลายๆน้ำหนัก ในท่อรูปตัว u แล้วปล่อยให้มันขยับกันไปเอง มันจะสมดุลของมันเองจนได้

Hydrostatic pressure
ตัวอย่าง u tube effect ในงานของเรา

อ้อ ในคลิปพูดถึง slug ด้วย …

slug คือ น้ำโคลนที่เราผสมให้มี นน. มากเป็นพิเศษ ที่เราใช้ปั๊มลงไปในก้านเจาะปริมาณหนึ่ง ให้มันไปดันน้ำโคลน นน. เบากว่าที่อยู่ในก้านเจาะ ทำให้ในก้านเจาะที่อยู่เหนือ slug ว่าง (แห้งนั่นแหละ)

เวลาถอนก้านเจาะขึ้นมา ตอนคลายเกลียวก้านเจาะ ถ้าเราใจร้อน ดึงก้านเจาะพรวดขึ้นมา น้ำโคลนในก้านเจาะมันไหลลงไม่ทัน แล้วเราใจร้อน(อีก)คลายเกลียวก้านเจาะ (disconnect) น้ำโคลนที่ค้างอยู่ในก้านเจาะ(เหนือเกลียวที่เราคลายมันออก)มันก็จะพลั่วทะลักลงมาเลอะเทอะพื้นที่ทำงาน (rig floor)

ดังนั้นก่อนจาะถอนก้านถ้าเราปั๊ม slug สักปริมาตรหนึ่ง slug มันหนัก มันก็จะกดไล่น้ำโคลนลงไป ทำให้ภายในก้านเจาะตอนบนๆจะแห้ง เราก็ดึงก้านเจาะขึ้นมาคลายเกลียวได้เร็วขึ้น

คำถาม คือ เราต้องผสม slug หนัก เท่าไร แล้ว เราต้องการให้ในก้านเจาะแห้งกี่ฟุต … ในคลิปมีเฉลยวิธีคำนวน ด้วยหลักการ hydrostatic pressure + utube effect

ไปชมคลิปกันเลยครับ

7.5 นาทีนะครับ เป็นภาษาอังกฤษ

hydrostatic pressure, basic well control course

ดูจบแล้ว สงสัยตรงไหนไม่เข้าใจตรงไหน ถามไว้ที่ comment ข้างล่างโพสต์ หรือ เมล์ไปที่ nongferndaddy@hotmail.com ก็ได้ครับ ยินดีตอบให้กระจ่าง (หรือ ยิ่งงงขึ้นไปอีก … ฮ่า) … 🙂

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------