ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Grid Drilling – GOT only – Why we drill so fast

Grid Drilling – GOT only – Why we drill so fast – ตอนที่แล้วผมชวนคุยไปแล้วว่า เราขุดหลุมในอ่าวไทยเราให้เร็วและราคาถูกได้อย่างไรในมุมของ …

  1. ด้านการทำงาน (operation) เราทำแบบโรงงานผลิต งานเหมือนกันทำพร้อมกัน
  2. ด้านการออกแบบวิศวกรรม (well engineering) เราลดสเป็กวัสดุลงให้อายุใช้งานเท่าอายุแหล่งกักเก็บ และ เราตัดท่อกรุตัวสุดท้ายออก ใช้ท่อผลิตนั่นแหละเป็นท่อกรุ ซีเมนต์ติดชั้นหินไปเลย

อ่านรายละเอียดในลิงค์นี้ได้ครับ

Factory Drilling & Slim hole – GOT Only – Why we drill so fast

วันนี้จะมาชวนเจาะลึกลงไปอีกขั้น เรียกว่าเป็นขั้นกว่าของตอนที่แล้ว

เรามาทำความเข้าใจแนวคิดในการวางแท่นหลุมผลิตกันก่อน

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

conventional well position

ในการวางแท่นหลุมผลิตนอกชายฝั่งอ่าวไทย (offshore wellhead platform) แบบดั่งเดิมนั้น นักธรณี วิศวกรขุดเจาะ และ วิศวกรแหล่งกักเก็บ จะมองหาแหล่งกักเก็บใต้ดิน แล้วประเมินเบื้องต้นว่า

  1. ปิโตรเลียมที่ได้มาคุ้มค่าหลุมไหม
  2. ขุดได้ไหม (drill-ability) เพราะ 1 หลุม อาจจะร้อยหลายๆแหล่งย่อยๆ(กระเปาะ)
  3. เอาปากหลุมทุกหลุมที่ต้องการมารวมกระจุกกันที่ wellhead platform เดียวได้ไหม เพราะระยะยืดก้นหลุมปากหลุมอาจจะยาวเกิ้น
  4. ผลผลิตทุกหลุม รวมแล้ว คุ้มค่าสร้าง wellhead platform ไหม

เมื่อติ้กทุกข้อว่า yes yes yes yes แล้ว ถึงจะไปลงรายละเอียดอีกที

ดังนั้น ด้วยแนวคิดแบบนี้ หลุมผลิตในอ่าวไทยแล้วรุ่นแรกๆจึงหน้าตาประมาณนี้

มโนว่ามองจากบนฟ้าลงมานะครับ … สมมุติว่า กลมๆแดงๆต่างขนาดกันเป็นแหล่งกักเก็บก๊าซ เส้นที่เห็นเป็นแนวหลุม และ สี่เหลี่ยมดำตรงกลางเป็น wellhead platform

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

Grid Drilling

จะเห็นว่ามีแหล่งก๊าซที่ไม่ได้โดนเจาะเหลืออยู่ประมาณหนึ่ง เพราะว่าเจาะไปก็ไม่คุ้มค่าหลุม หรือ ร้อยยากเกินไป ผมขุดไม่ได้

ทีนี้พอผลิตๆไปจาก 7 หลุม ที่มีจนก๊าซเหลือน้อย ก็จะหยิบ wellhead platform นี้มาทบทวนกันใหม่ เพื่อขุดเพิ่ม โดยที่ …

  1. ขุดไปที่แหล่งกักเก็บเดิมที่ไม่ได้ขุดตอนแรกเพราะไม่คุ้ม แต่ตอนนี้เริ่มคุ้ม เพราะราคาขายอาจจะดีขึ้น หรือ จนตรอก something is better the nothing ได้มาน้อย ก็ยังดี เอามาช่วยจ่ายค่าก่อนสร้าง wellhead platform ที่ลงเงินไปแล้ว พูดง่ายๆภาษาการเงิน คือ เพื่ม asset utilization สร้างไปแล้วก็ต้องใช้ให้คุ้ม ว่างั้นเถอะ ต้องมาเพิ่ม slot บน platform อีก (modification) เสียเงินเสียเวลาเพิ่ม ฯลฯ
  2. ขุดไปที่แหล่งกักเก็บใหม่ คืองี้ครับ พอเราขุดไปจริงๆในครั้งแรก (7 หลุม) แล้วเราทำการหยั่งธรณี (logging) เราก็จะได้ข้อมูลทางธรณีของจริงใหม่ขึ้นมา นักธรณีก็จะเอาไปปรับตัวแบบธรณี (geo-model) ซึ่งจะทำให้เราเห็นว่า แหล่งกลมๆแดงๆที่เราคิดว่ามีเดิม อาจจะไม่มี และ ตรงที่เราคิดว่าไม่มี อาจจะมี สรุป เราก็จะได้แผนที่การกระจายของแหล่งใหม่ที่หน้าตาคล้ายเดิมแต่ไม่เหมือนเสียทีเดียว

แล้วเราก็เอาแท่นเจาะเข้าไปเจาะ wellhead platform นี้ใหม่อีกรอบ เรียกว่า platform re-entry พูดง่ายๆ เข้าไปเจาะรอบสองนั่นแหละ

เห็นไหมครับว่าการคิดและทำแบบนี้ ก่อให้เกิดความไม่มีประสิทธิภาพหลายอย่าง

  1. ประเมินความคุ้มหลุมต่อหลุม ทำให้หลุมที่เจาะไม่ได้เพราะเอื้อมไม่ถึง ขดเคี้ยวมากไป ท่าพิศดาร ฯลฯ นั่นทำให้เสียโอกาสที่บางแหล่งกักเก็บไม่โดนเจาะ
  2. จำนวนหลุมต่อ 1 wellhead platform ก็จะน้อย ทำให้ไม่คุ้มจะตั้ง platform ในบางกรณี หรือ ตั้งได้ แต่ผลผลิตก๊าซต่ำ
  3. เมื่อหลุมผลิตน้อย การประหยัดเนื่องจากขนาดก็จะไม่มี (economy of scale) ภาษาบ้านๆซื้อของน้อยแพงกว่าว่างนั้นเถอะ
  4. บรรจงเลือกขุดร้อยทีล่ะกระเปาะ 2 – 3 หลุมคดไปมา ขุดยาก ช้า เสี่ยงหลุมพัง พอช้า มีปัญหา หลุมก็แพงกว่าที่คิด
  5. ไหนๆลงทุนสร้างอสังหาฯ (wellhead platform) ไปแล้ว ก็ต้องเอาให้คุ้ม ดังนั้น จึงต้อง re-entry platform อยู่เรื่อยๆ ซ้ำซากๆ
  6. เนื่องจากพิจารณาคำนวนกันเป็น wellhead platform จำนวนหลุมต่อ 1 wellhead platform ไม่เท่ากัน platform ก็จะหน้าตาต่างกัน การสร้างก็ไม่มีประสิทธิภาพ ราคาก็แพง เหมือนราคาเสื้อสั่งตัดกับราคาเสื้อโหล

Grid well positioning

พอเราวางหลุมขุดแบบที่ว่าข้างบนนั้นนานเข้าๆ ก็คิดว่า เฮ้ย ตำราฝรั่งมันใช้ไม่ได้กับอ่าวไทยมั่ง ดูรวมๆแล้วหลุมก็แพงอยู่ดี

ตำราฝรั่งอยู่บนสมมุติฐานว่า แหล่งใหญ่ เชื่อมติดกัน อยู่เป็นหลักแหล่งเป็นที่เป็นทาง กำหนดขนาดตำแหน่งแหล่งกักเก็บได้แม่นยำแน่นอน … แต่อ่าวไทยเรา มันกระเปาะ เล็กๆ กระจัดกระจาย ไม่ต่อเชื่อมกัน เอาแน่อนกับขนาดและตำแหน่งแหล่งกักเก็บไม่ได้ … คือ ผิดทุกอย่างที่ตำราฝรั่งว่าไว้

ดังนั้นตัวแบบทางธรณี (geo-model) แบบตำราฝั่ง ไม่สามารถใช้ได้กับอ่าวไทยอย่างมีประสิทธิภาพ

เอาแท่นเจาะเข้าไปรอบสองทีไร เราก็เห็นกระเปาะใหม่ๆโผล่มาทุกที ไม่ใช่จู่ๆมันโผล่มา แต่มันอยู่นั่นมาก่อนแล้ว แต่ตอนเจาะรอบแรกเราไม่เห็นไง

งั้นทำงี้ดีไหม ตีกริดเจาะมันเลย

(ผมวาดรูปให้เห็นแนวคิดเฉยๆนะครับ จริงๆเราไม่เว่อร์ขนาดนี้)

ดูเหมือนโง่ๆเนอะ ตรงกระเปาะเล็กทำไมไปเจาะ ตรงไม่มีเลย ก็ยังไปเจาะ เหมือนสุ่มเจาะอย่างไรก็ไม่รู้ แต่อย่าลืมนะ ว่าหลายกระเปาะเราก็มองไม่เห็น กลับไป re-entry แล้วจึงเห็น สถิตและประวัติศาสตร์มันบอก แถมบางกระเปาะที่เห็นเห็นว่าใหญ่ เอาจริงๆมันอาจจะไม่ใหญ่อย่างที่เห็น มิหน่ำซ้ำ มันอาจจะไม่อยู่ตรงนั้นเลยก็ได้

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

กว่าจะมาสรุปได้แบบนี้ ไม่ใช่นอนตื่นขึ้นมาแล้วคิดเร็วทำเลยนะครับ เราใช้ข้อมูลหลุมเก่าๆเป็นพันหลุม ใช้วิชาสถิติขั้นสูง ทำงานกันเป็นปีๆ ถึงจะขายแนวคิดให้ฝ่ายจัดการแล้วออกมาแบบนี้ได้

งั้นวางหลุมกันแบบนี้ ไม่ต้องใช้นักธรณี ไม่ต้องใช้วิศวกรแหล่งกักเก็บ ไม่ต้องใช้ซอฟแวร์ราคาแพงก็ได้ อย่างงั้นเหรอ

ตอบแบบใจร้ายใจดำ ก็คือ ใช่ครับ ตามนั้น แต่เอาจริงๆ เราก็ต้องใช้นักธรณี วิศวกรแหล่งกักเก็บอยู่ครับ แต่เราไม่ได้ใช้มากมายอะไร เหมือนการวางหลุมแบบแรก

เวลาประเมินความคุ้มทางการลงทุน เราไม่ดูหลุมต่อหลุม เราดูเหมาไปเลยทั้ง platform จำนวนหลุมจึงเยอะกว่าแบบแรกอย่างเห็นได้ชั้ด

การวางหลุมแบบนี้ แก้ไขข้อด้วยทั้งหมดของการวางหลุมแบบดั่งเดิม

  1. แนวหลุม (simple well trajectory) ง่ายกว่าเจาะแบบเดิมๆ คดไปมา เอี้ยวไปมา ปัญหาน้อย เจาะเร็ว หลุมถูก
  2. จำนวนหลุมเยอะ จะจัดซื้อจัดจ้างของและบริการต่างๆแบบเหมาโหลถูกกว่า
  3. ไม่ต้อง platform re-entry เพราะเราล่อเรียบไปแล้วตั้งแต่รอบแรก
  4. พอจำนวนหลุมเยอะและเท่าๆกันทุก platform ก็สร้างง่าย พิมพ์เขียวเดียว เหมือนสร้างบ้านโหลทีล่ะหลายหลัง ก็ราคาถูก พอเอาราคา platform มาร่วมในสมการความคุ้มทุนร่วมกับราคาหลุมแล้ว ได้กำไรมากกว่าบรรจงขุดหลุมหน้าตาแปลกๆยากๆจำนวนน้อยหลุม
  5. มั่นใจว่าจำนวนกระเปาะโดนสอยมากที่สุดในการระดมเจาะหนเดียว

พูดให้เห็นภาพ คือ ในทางอุดมคติ การยิงแบบสไนป์เปอร์ มันดีกว่าอยู่แล้ว คือ one shot one kill แต่ ถ้าเป้าเล็กๆ กระจัดกระจาย แถมหมอกลงจัด มองเห็นไม่ชัด กรณีแบบนี้ เราเอาปืนกล หรือ ลูกปราย ใช้คนเดียวซัดเลยเลยดีกว่า โดยรวมได้ผลกว่า ใช้สไนป์เปอร์ 4 – 5 คน สอยทีล่ะคน ซึ่งอัตราความสำเร็จต่ำ

คำถามหลักตอนนี้ คือ จะวางหลุมถี่ห่างแค่ไหน หรือที่เรียกว่า well spacing นั่นแหละ

ถ้าวางหลุมถี่ไป หลุมเยอะเกิ้น ไม่เจอกระเปาะใหม่ แย่งดูดกระเปาะเดียว (เหมือนน้ำแก้วเดียว ใส่หลอด 2 หลอด แย่งกันดูด)

ถ้าวางหลุมห่างไป ก็พลาดบางกระเปาะ หรือ พลาดกระเปาะที่มองไม่เห็น แต่มันอยู่ตรงนั้น

ไม่ยากครับ ข้อมูลมีเป็นพัน กระเปาะมียิ่งมากกว่าหลายพัน ก็ใช้วิชาสถิติ แล้ว จำลองตัวแบบจากข้อมูลเก่าไงครับ (simulation)

กราฟจริงหน้าตาไม่สวยแบบนี้นะครับ ผมเอาของจริงมาให้ดูไม่ได้ เอาแนวคิดคร่าวๆไปล่ะกัน

มุมซ้ายล่าง คือ ระยะห่างระหว่างหลุมน้อยมาก เจาะเจอของใหม่หรือเจาะได้ของเดิม มันก็น้อย แต่พอห่างไประดับหนึ่ง มันก็ไม่เจอเยอะไปกว่านั้นแล้ว แถมเสียโอกาสพลาดเจอกะเปาะที่มองไม่เห็น

แน่นอนว่า ระยะดีที่สุดระหว่างหลุมก็ไม่ได้เท่ากันทั่วอ่าวไทย บงกชก็ค่าหนึ่ง เอราวัณก็ค่าหนึ่ง อาทิตย์ก็ค่าหนึ่ง กราฟใครกราฟมัน ค่าใครค่ามันครับ

ปิดท้ายด้วยขั้นกว่าไปอีกว่าปัจจุบันเราจะวางแท่นหลุมผลิตอย่างไร

นักธรณี วิศวกรแหล่งกักเก็บ จะร่วมมือกันทำตัวแบบธรณีภาพใหญ่ เช่น 50 ตารางกิโลเมตร วิศวกรขุดเจาะอย่างผมก็จะบอกว่า หลุมที่สามารถเจาะได้จะยืดออกจากปากหลุมไปได้ไกลสุดเท่าไร สมมติ ยืดไปได้ไกลสุด 1 กม.

สมมุติวงกลมเส้นประในรูปจำลองข้างล่าง คือ 1 wellhead platform ดังนั้นในรูปข้างล่างวงกลมเส้นประก็จะรัศมี 2 กม.

ที่นี่เราก็ใช้ชอฟแวร์สถิติธรรมดา กับ สมมุติฐานว่า ระยะห่างระหว่างหลุมเท่าไร มีกี่หลุม แต่ล่ะกระเปาะ มีก๊าซเท่าไร เอาขึ้นมาได้เท่าไร ละติจูดลองติจูด

แล้วเราก็เคลื่อนรูปวงกลมไปเรื่อยๆ เพื่อให้ซอฟแวร์คำนวนว่าที่ตำแหน่งที่เราต้องการ เราได้ก๊าซเท่าไร หรือ สั่ง auto ก็ได้ มันก็จะเอาวงกลมไปวางลงบนจุดที่ให้ผลผลิตมากที่สุดต่อ platform ให้เรา

จะให้เหนือไปอีก ก็ใส่ราคา wellhead platform ราคาหลุม ราคาก๊าซ ฯลฯ ลงไปในซอฟแวร์ แล้วสั่งให้มันคำนวนว่า ใช้กี่วงกลม (wellhead platform) ใน 50 ตร.ก.ม นี้ และ วางแต่ลงวงกลมตรงไหน จึงจะได้กำไรรวมสูงสุด

สรุป

บอกก่อนว่า จริงๆเราไม่ได้ทำง่ายดายแบบนี้ แต่บทความนี้แค่จะชี้ให้เห็น

  1. การพัฒนาแนวคิดในการทำงานที่ไม่หยุดนิ่ง
  2. ตำราฝรั่งนั้น ก่อนที่เราจะเอามาใช้ เราจะต้องศึกษาให้ดีว่า สมมุติฐานเขาคืออะไร หน้างานเราเหมือนสมมติฐานเขาไหม ไม่ใช่ตำราฝรั่งว่าอะไรก็เชื่อไปหมด
  3. วิชาสถิติสำคัญมากในการทำงานที่มีข้อมูลมากๆ บางครั้งการทำงานตามหลักวิชาตามสายงาน (หมอ สร้างบ้าน ทำอาหาร ฯลฯ) ไปดุ้ยๆ แบบรักษาคนไข้ทีล่ะคน สร้างบ้านทีล่ะหลัง ทำข้าวผัดทีล่ะจาน อาจจะไม่เห็นภาพชัด แต่ถ้าเอาข้อมูลการทำงานและผลลัพท์มากองรวมกันแล้วมองในมุมสถิติ อาจจะให้มุมมองเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงเลย
  4. ผู้มีส่วนเสีย ต้องใจกว้าง การเปลี่ยนแปลงการทำงาน เพิ่มความสำคัญของบางงาน และ ลดความสำคัญของบางงานเสมอ
  5. ฝ่ายจัดการต้องหามาตราการรองรับตำแหน่งงานที่ถูกลดความสำคัญลง เช่น หางานสำคัญๆเพิ่มให้ทดแทน ย้ายเปลี่ยนตำแหน่งไปทำงานที่มีความสำคัญทัดเทียมงานเดิมที่ถูกลดความสำคัญไป

ตีกริดเจาะ (EP2)

คำถามนี้ดีครับ มาจากความเห็นข้างล่าง (คุณ Tom Ct) ขอก๊อบมาตอบบนนี้ล่ะกัน

“ถ้าเป็น oil well จะยังใช้หลักการนี้ได้ไหมครับ”

ตอบ – หลักการนี้ไม่ได้ขึ้นกับชนิดปิโตรเลียมครับ แต่มันขึ้นกับ

  1. การกระจายตัวของแหล่งกักเก็บ
  2. ขนาดของแหล่งกักเก็บ
  3. ความสามารถในการคาดเดาได้ว่าแหล่งกักเก็บเหล่านั้นอยู่ที่ไหนกันแน่
  4. จำนวนของแหล่งกักเก็บ อย่างที่ผมเทียบระหว่างเด็ดทีล่ะหัวด้วยสไนปเปอร์ กับ กราดยิงแบบปืนกล หรือ ลูกซองลูกปราย

ถ้าใช้สไนปเปอร์

  1. เป้าต้องใหญ่พอ
  2. ต้องรู้ว่าเป้าอยู่ที่ไหนแน่ๆ
  3. เป้าไม่เยอะ 1 – 2 เป้า
  4. เป้าอยู่ใกล้ๆกัน แต่ถ้าเป้าเล็ก หลายเป้า เป้าอยู่กระจายตัวกัน หมอกควันลงเยอะ มองไม่ชัด(ไม่รู้ว่าอยู่ไหนแน่ๆ) ปืนกลดีกว่าครับ เหนี่ยวกราดทีเดียวจบ โดยไม่ต้องสนใจว่าเป้าเป็นใคร นายกฯ หรือ คนขับสามล้อ (หลุมก๊าซ หรือ หลุมน้ำมัน) มันอยู่ที่ จำนวนเป้า ขนาดของเป้า การกระจายของเป้า และ ความสามารถในการระบุตำแหน่งเป้า

“มีผลต่อแนวทางพัฒนาในระยะ enhance oil recovery มากไหมคับ”

ตอบ – มีครับ คือ ไม่ต้อง enhance อะไรกันแล้ว เพราะเราตีกริดเจาะไปแล้ว คือ ล่อซะเรียบไปแล้วนิ นึกถึงแรมโบ้ หรือ the terminator ภาคแรก ที่พระเอกสะพายปืนกลล่อป่ากล้วยหมดไปไร่นึง จะแมวหรือช้างถ้าอยู่ในป่ากล้วยมันก็ตายหมดแหละ แมว(กระเปาะเล็ก) อาจจะโดน 2 นัด ช้าง(กระเปาะใหญ่) อาจจะโดน 5 – 6 นัด

enhance oil recovery ใช้กับตรรกะที่ยังพอมีปิโตรเลียมเหลือ พูดง่ายๆ คือ เรายิงแบบสไนปเปอร์แล้วยังเก็บเป้าไม่หมด เหลือเป้าขนาดกลางๆอยู่ พอคุ้มที่จะเข้าไปเก็บใหม่ เราก็เล็งใหม่ยิงต่อ (Enhance) หรือ อีกกรณี เป้าเก่า ยิงโดนแล้ว(ผลิตแล้ว) แต่ยังไม่ตายสนิท ก็ส่งสไนปเปอร์ไปสอยอีกรอบ (enhance recovery) เอาให้หมดจด

แต่ถ้าเรายิงกราด แล้วยิงกราดแบบคำนวนแล้วว่าไม่น่าเหลือซากแล้ว ก็ไม่ต้องกลับมายิงใหม่ หรือ อาจจะเหลือซาก แต่เป็นพวกแหล่งจิ๋วๆ (แมลงหวี่ในป่ากล้วย) ที่รอดตายจากการโดนยิงกราด (ตีกริดเจาะ)รอบแรก ดังนั้น จะสอยอีก ไม่ว่าจะลากปืนกลไปสอยหรือจ้างสไนปเปอร์ไปสอยมันก็ไม่คุ้มที่จะกลับไป enhance ถูกไหมครับ

สรุป

การตีกริดเจาะ เราไม่ได้เจาะมั่วเจาะสุ่ม เราเจาะ(ยิงกราด)โดยใช้วิชาสถิติ เอาให้ไม่น่าจะเหลือให้ต้องกลับไปเอาอะไรอีกแล้ว

ดังนั้น ขออีกที – เป้าต้องเล็ก เป้าต้องกระจาย จำนวนเป้าต้องไม่มาก ความสามารถในการระบุตำแหน่งเป้าต่ำ(ตำราฝรั่งไม่เวิร์ค) ถ้าเข้าเกณฑ์ หลุมอะไรก็ช่าง

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------