ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Green Buoy Microplastics PIG and Nautilus PTIC – 4

Green Buoy Microplastics PIG and Nautilus PTIC – 4 – มาถึงตอนที่ 4 แล้วครับ

PTTEP Technology and  Innovation Center (PTIC) วังจันทร์ ระยอง

Green Buoy Microplastics PIG

วันนี่พี่ใหญ่เราจะอวด 4 เรื่องเลยครั้งนี้

Green Buoy Microplastics PIG and Nautilus

บูธแรกเราจะไปดูเรื่องการนำพลังงานคลื่นมาผลิตไฟฟ้า และ การดักจับไมโครพลาสติก

Green Buoy Microplastics PIG

Green Buoy for blue Ocean

Green Buoy คือ ทุ่นอัจฉริยะ ที่วัดค่าต่างๆทางสมุทรศาสตร์ โดยใช้พลังงานที่เกิดจากคลื่นเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า เก็บข้อมูลแล้วส่งผ่านดาวเทียมกลับมาที่ฝั่ง

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

Green Buoy Microplastics PIG

จะว่าไปก็ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรครับ ทำกันมาแล้วทั่วโลก ก็กลับไปที่ผมเกริ่นเอาไว้ก่อนหน้านี้นั่นแหละครับ

Green Buoy Microplastics PIG

ซื้อเอามันก็เแพง ทั้งๆที่เราก็ทำเองได้ พิมพ์เขียวก็มี ถึงจะไม่ 100% แต่ นักวิจัย มันสมองวิศวกรไทย ก็ไม่ได้น้อยหน้าใคร

แกะๆ แล้วต่อยอดเอาก็ได้ เหมือนแกะคอร์ดกีต้าร์ จากการแสดงสดของศิลปินต้นฉบับนั่นแหละ

Green Buoy Microplastics PIG

อีกอย่างนะ สภาพแวดล้อมของทะเลเรา ก็ไม่ได้เหมือนชาวบ้าน ซื้อมาก็อาจจะใช้งานได้ไม่ดี

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

ตอนนี้พี่ใหญ่เราพัฒนาได้มาแล้ว 2 รุ่น กำลังใช้งานจริงด้วย ผมตั้งชื่อเองว่าเรียกว่ารุ่นแนวดิ่ง (สีเหลือง) กับ รุ่นแนวนอน (สีเขียว)

รุ่นสีเหลือง ไม่มีทำเป็นแบบผ่าครึ่งจำลองการทำงานเอาไว้ให้ดู เลยไม่รู้ว่าข้างในทำงานอย่างไร มีแต่ตัวไส้เหมือนกระสือ แขวนเอามาใส่ตู้ให้ดู ในรูปข้างล่าง

Green Buoy Microplastics PIG
ไส้ในรุ่นสีเหลือง

ถึงจะจับมาขยับๆเขย่าๆไม่ได้ แต่ วิศวกรไฟฟ้า วิศวกรเครื่องกล ดูๆแล้วก็น่าจะพอเดาออกแหละว่ามันทำงานอย่างไร

Green Buoy Microplastics PIG

สำหรับรุ่นแนวนอนสีเขียวนี้ มีของให้เล่นด้วย ผมแอบไปเขย่าๆเล่นมา 2 คลิป อิอิ

มันขยับเขย่าๆได้ทุกทิศทางเลยครับ … ออกแบบมาได้เริ่ดมาก

Green Buoy Microplastics PIG

สังเกตุ หลอดไฟ LED ที่ขอบวงกลมนะครับ พอผมเขย่าๆ (เสมือนทุ่นโดนคลื่นซัด) กลไกจะขยับ ก็หลักการ แม่เหล็ก กับขดลวดดีๆนี่เองครับ

พอหลอดไฟ LED มีแสงออกมา หมายความว่ามีพลังงานไฟฟ้า ให้เครื่องวัดต่างๆทำงานได้นั่นเอง

รายงานการวิจัย

Fact sheet

VDO-1

VOD-2

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

Microplastics

เซนเซอร์ตรวจวัดไมโครพลาสติก

MICROPLASTICS SENSOR

ปัญหาหนึ่งของการดูแล (และ ตรวจ) สุขภาพทะเลของเรา คือ เจ้าเศษพลาสติกขนาดจิ๋วๆ ที่เราเรียกว่า ไมโครพลาสติก

ผมก็เพิ่งรู้ว่า วิธีที่เราใช้ในปัจจุบัน มันกินเวลา และ ซับซ้อนมาก คือ ต้องเอาตัวอย่างน้ำทะเล ไปเข้าห้องแล็ปเป็นวันๆ … ไม่ work ๆๆ

พี่ใหญ่เรามีเทคโนโลยีที่เราใช้ในงานของเราอยู่แล้ว ปรับนิดเดียว ก็ตอบโจทย์นี้ได้ ทำขายซะเลย 555

แทนที่ต้องเก็บตัวอย่างน้ำทะเลมาเข้าห้องแล็ป ก็เอาเครื่องวัดไปลอยในทะเล แล้ววัดมันตรงนั้นเสียเลยซิ … 🙂 เริ่ด

คลิ๊กดูรายละเอียดในลิงค์ข้างล่างนี้ได้ครับ

รายงานวิจัย

Fact Sheet

VDO

PIG

Pig คือ กระสวย ที่เราใส่ลงไปในระบบท่อ เราปั๊มของไหลไล่มันไป ให้มันเคลื่อนที่ไปในท่อ จากจุดหนึ่ง ไปอีกจุดหนึ่ง

จุดประสงค์หลักๆก็เพื่อทำความสะอาดภายในของท่อ และ ตรวจสภาพท่อโดยการวัดเส้นผ่าศูนย์กลางภายในท่อ

รูปร่างหน้าตาของมันก็เป็นทรงกระบอกโลหะ มีแปรง มีครีบ ที่ออกแบบมาหลากหลาย เพื่อใช้กับ ท่อ และ ของไหล ในท่อที่แตกต่างกันออกไป

หุ่นยนต์ตรวจสอบสภาพความสมบูรณ์และเก็บตัวอย่างภายในท่อส่วนต้น

In-Pipe Inspection Robot

ทีนี่ เราก็แค่เอาเทคโนโลยีล้ำๆใส่ลงไปในกระสวยที่ว่า เช่น ในงงานวิจัยนี้

  • เราติดกล้อง ถ่ายรูป ถ่ายคลิป ผนังท่อด้านใน
  • ติดอุปกรณ์ตรวจวัดความหนาของท่อ
  • อุปกรณ์เก็บตัวอย่างของไหลในท่อ

หน้าตามันก็เลยออกจะประหลาดๆเหมือนหุ่นยนต์ในหนังไซไฟ 555

รายงานวิจัย

Fact Sheet

การปรับเปลี่ยนทางสัณฐานวิทยาสำหรับการควบคุมความเร็วของกระสวยตรวจสอบภายในท่อ 

MC-PIG

อย่างที่เกริ่นไปแล้วว่า เจ้ากระสวย pig เนี้ย มันเคลื่อนที่ไปในท่อได้ ก็ด้วยการที่เราปั๊มของไหลไล่ตูดมันไป ดังนั้น ความเร็วที่มันเคลื่อนที่ไปในท่อจึงสัมพันธ์กับความดันของไหลที่ตกคร่อมเจ้ากระสวยนี่

ปัญหาหนึ่งของการวัด และ การทำความสะอาดภายในท่อของกระสวย pig ที่ว่านี้ คือ กระสวยมันเคลื่อนที่ได้ช้าเร็วไม่เท่ากัน ทำให้การวัดต่างๆ และ การทำความสะอาด ไม่สมบูรณ์ ไม่ดี

เอ๊ะ … เราควบคุมอัตราการปั๊มได้นี่ เราก็ควบคุมความเร็วได้ซิ

มันก็จริง แต่ไม่ทั้งหมดครับ เพราะท่อมันยาวเป็นกิโลๆ และ แรงเสียดทานภายในท่อก็ไม่เท่ากันตามสภาพของท่อ

ดังนั้น มโนๆเอาก็ได้ครับว่ากระสวย หรือ เจ้า หมู pig ของเราเนี้ย มันก็วิ่งช้าบ้าง เร็วบ้าง กระชากๆ กระตุกๆ บ้างไรบ้างตลอดทาง ทั้งๆที่เราคงอัตราการปั๊มและความดันต้นทางให้คงที่

พี่ใหญ่เราเลยพัฒนาหุ่นยนต์อัจริยะขึ้นมาติดกับกระสวย เพื่อที่จะปรับขนาด (ความฝืด) อัตโนมัติ เพื่อให้กระสวยมีความเร็วสม่ำเสมอที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งก็จะทำให้ การวัดต่างๆ การทำความสะอาดเป็นไปได้ดีขึ้น

รายงานวิจัย

Fact Sheet

หุ่นยนต์ตรวจการเพื่องานตรวจสอบสภาพท่อและถังความดัน

FREELANDER: AUTONOMOUS INSPECTION ROBOT

ปกติในการตรวจสภาพถังความดันเนี้ย เราต้องใช้คนหิ้วเครื่องมือต่างๆลงไปตรวจในถังความดันนั้นๆ

แน่นอนว่า มีประเด็นเรื่องความปลอดภัยกับคนที่ลงไป อย่างที่เราเห็นข่าวในหน้าสื่อต่างๆเป้นพักๆว่า คนตายอยู่ในท่อระบายน้ำ ในถัง ในโกดังเก็บของต่างๆ ก้เพราะพื้นที่เหล่านั้น เป็นพื้นที่อับอากาศ

พี่ใหญ่เราเลยพัฒนาหุ่นยนต์มาทำงานแทนเสียเลย รููปข้างบน ไม่ได้สื่อเท่าไรว่าหุ่นยนต์หน้าตาเป็นอย่างไร

มันเหมือนหนอนแมลงน่ะครับ มีขาเป็นแม่เหล็ก กระดืบๆไต่ไปตามผิวถัง หรือ ผิวท่อ

คลิ๊กในลิงค์ข้างล่างดีกว่าครับ พอมีภาพที่น่าจะทำให้เข้าใจได้ดีขึ้น

รายงานวิจัย

Fact Sheet

VDO

หุ่นยนต์เปลี่ยนถ่ายตัวเร่งปฏิกิริยา

CATALYST UNLOADING ROBOT

ในกระบวนการผลิตก๊าซนอกชายฝั่งเนี้ย เรามีอุปกรณ์หนึ่งเรียกว่า ถังดักจับปรอท

ในถังนี้มีสารเคมีที่เรียกว่าตัวเร่งปฏิกริยา (catalyst) อยู่ เจ้าตัวเร่งปฏิกริยานี้ เมื่อสัมผัสกับออกซิเจนเยอะๆ มันจะสร้างความร้อนขึ้นมา ซึ่งเราไม่ต้องการให้มันเป็นแบบนั้น (เพราะอะไรผมก็ขี้เกียจถามน้องๆต่อแล้วล่ะ คงเรื่องความปลอดภัย และ ประสิทธิภาพการทำงานของเจ้านั่นมัง ผมเดาล้วนๆ 555)

ดังนั้น ในถังนี้จึงต้องควบคุมปริมาณออกซิเจนเอาไว้ ไม่ให้เกิน 4% … !!

ทีนี้ สารเคมีตัวเร่งปฏิกริยาเนี้ย ใช้ไปนานๆ มันก็เสื่อมสภาพ (น่าจะอารมณ์สารดูดความชื้น ในแง่ที่มันมีอายุการใช้งานของมัน)

เราก็ต้องเอาของเก่าออกมา (unload) แล้วใส่ (load) ของใหม่เข้าไปแทน ซึ่งปัจจุบันเราใช้คนติดถังออกซิเจนลงไปทำงานนี้ … (หาาา !!! ผมก็เพิ่งรู้นะเนี้ย)

คนติดถังออกซิเจน ก็อยู่ในนั้นได้ไม่เกิน 45 นาที ตามกฏความปลอดภัย

ถ้าชุดรั่ว หรือ ถังออกซิเจนรั่ว ออกซิเจนออกมาสัมผัสกับสารเร่งปฏิกริยา ก็จบเห่ เป็นข่าวหน้าหนึ่งสื่อออนไลน์ ออฟไลน์ ทุกฉบับแน่ๆ

พี่ใหญ่เราเลยต้องพัฒนาหุ่นยนต์มาทำงานอันตรายๆแบบนี้แทนคน … PTTEP only เย้ๆ ปรบมือๆซิครับ รออะไร 🙂

รายงานวิจัย

Fact Sheet

VDO

Robotic Solution For Subsea Pipe line system (Nautilus)

การผลิตก๊าซนอกชายฝั่งแล้วเอามาขายบนฝั่งเนี้ย ปวดตับกว่าน้ำมัน ตรงไหนรู้ไหมครับ

ตรงที่น้ำมัน เราดูดลงถังใส่เรือ แจว เอ๊ย แล่น เอาเข้าฝั่งได้

แต่ก๊าซ เราทำไม่ได้ … (ไม่งั้นก็ต้องสร้างโรงงานอัดให้เป็น LNG Liquid Natural Gas ใส่เรือ – LNG plant ลอยตุ๊บป่องๆอยู่กลางทะเล … แพงระยับ)

วิธีที่เราใช้แพร่หลายทั่วโลกในปัจจุบัน คือ เราสร้างท่อใต้ทะเลครับ เอาก๊าซใส่ท่อลอดใต้ทะเลแล้วเอาเข้าฝั่ง

ผลิตก๊าซที่ไหนๆก็ขนกันแบบนี้ เพราะมันคุ้มค่าทางเศรษศาสตร์ที่สุด บนบกก็แบบนี้

รัสเซียที่ผลิตก๊าซจากแหล่งในไซบีเรียป้อนประเทศลูกค้าในยุโรป ก็ปั๊มใส่ท่อลากผ่านไม่รู้กี่ประเทศ กว่าจะถึงยุโรป

ถ้าจำไม่ผิด มีหนังเจมส์บอนด์ 007 ภาคหนึ่ง ที่โซเฟีย แสดง ก็ในธีมท่อส่งก๊าซข้ามหลายประเทศโดนขู่วางระเปิด

ที่ร่ายมายาว ก็เพื่อจะบอกว่า ในอ่าวไทยเราก็มีท่อก๊าซใต้ทะเลพวกนี้ยาวเป็นร้อยๆกิโลเมตร ทั้งลากระหว่างแท่นหลุมผลิตมาแท่นผลิต และ จากแท่นผลิตกลับเข้าฝั่ง

นอติลุส หุ่นยนต์ซ่อมบำรุงท่อใต้น้ำ

NAUTILUS

เวลาเราซ่อมบำรุงท่อส่งก๊าซใต้ทะเล ก็เหมือนถังความดันในโครงการก่อนหน้า ที่ต้องใช้คน (นักประดาน้ำ) หิ้วเครื่องมือลงไปตรวจสอบซ่อมแซม ซึ่งก็นะ ทั้งอันตราย ทั้งใช้เวลา และ แพง

แน่นอน พี่ใหญ่เราไม่ยอมๆ 555 เลยจัดให้ สร้างเจ้า “นอติลุส” … ให้เป็นหุ่นยนต์ ตรวจสอบ ซ่อมบำรุงท่อก๊าซใต้ทะเล

รายละเอียด และ คลิป มีให้ศึกษากันต่อได้เอง (หลังจากฟังผมฝอยมาพักใหญ่ 555) คลิ๊กลิงค์ข้างล่างได้เลยครับ

รายงานวิจัย

Fact Sheet

VDO

เป็นไงบ้างครับ ตอนนี้มีหลายๆโครงการที่น่าสนใจเนอะ ออกจะยาวไปหน่อย แต่ผมเห็นว่ามันอยู่ในหมวดเดียวกัน ก็เลยพยายามยัดๆลงไปในตอนเดียวกัน

ตอนหน้าจะเอาใจน้องๆพี่ๆนักเคมีกันบ้าง เพราะจะเป็นโครงการเคมี๊เคมีเป็นส่วนใหญ่เลยครับ

โปรดติดตาม …

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------