ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Fishing Economic How it works

Fishing Economic How it works – เป็นวิธีการหนึ่งในการบริหารจัดการปัญหาหน้างาน ที่เราขอยืมมาจากการบริหารงานโครงการทั่วๆไป

Fishing คือ อะไร … fishing คือ การกู้เอาของอะไรที่อยู่ในหลุมขึ้นมา ของที่อยู่ในหลุม เราเรียกมันว่า fish คงให้สอดคล้องกับคำว่า well ที่แปลว่า บ่อ อะไรที่อยู่ในบ่อก็ควรจะเป็นปลาเนอะ

จะว่าไปแนวคิดนี้ก็ใช้ได้กับปัญหาหน้างานอย่างอื่น

Fishing Economic How it works

ภาพใหญ่ๆก็คือเวลาทำงาน สมมุติว่าเราทำเป็นขั้นตอน a b c d e โดยที่ เราไม่สามารถทำขั้นตอนต่อไปได้ ถ้ายังทำขั้นตอนปัจจุบันไม่สำเร็จ

ที่นี้ ถ้าขั้นตอน c เกิดปัญหาขึ้นมา หน้างานก็แก้ปัญหาไป rig company, rig superintendent, drilling engineer ฯลฯ ก็โม่กันไปรายวัน ทำให้ดีที่สุด

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

Fishing hand (Field Technician) ไปอยู่บนแท่นขุดเจาะฯทำไม

คำถามของผู้บริหารหน้างานอย่างผมก็คือ จะเสียเวลาแก้ปัญหา c นานเท่าไร จึงะถอดใจ ย้อนกลับไป b ใหม่อีกรอบ

ผมคงลงรายละเอียดไม่ได้มาก เพราะแต่ล่ะงานมันก็แตกต่างกัน

Fishing Economic How it works

เอาหลักการไปก่อน เราใช้หลักการทางเศรษฐาสตร์ง่ายๆ คือ เอามูลค่าเป็นหลัก ทุกอย่างแปลงเป็นเงินให้หมด

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

ก. ค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหารายวัน

ข. ค่าของที่ต้องใช้แน่ๆ ที่ไม่ขึ้นกับจำนวนวัน

ค. มูลค่าที่เกิดขึ้น ถ้าแก้ปัญหาได้

จับ (ค-ข)/ก ก็จะเป็นจำนวนวันที่ควรจะทู่ซี้แก้ปัญหา

สมมุติตัวเลขก่อน ถ้าแก้ปัญหาได้ จะได้ 100 บาท ค่าใช้จ่ายรายวันในการแก้ปัญหา วันล่ะ 10 บาท ค่าของที่ต้องใช้แน่ๆ 20 บาท

เวลาที่ควรจะใช้ในการแก้ปัญหาก็ = (100-20)/10 = 8 วัน

ในกรณี fishing นั้น drilling engineer มีข้อมูล ก ข ค ครบ แค่ต้องระมัดระวังในการประเมิน ก ข ค อย่าให้เข้าข้างตัวเองเกินไปเพื่อตอบสนองอีโก้ เช่น กดค่าใช้จ่ายรายวันให้น้อยๆ ค่าของที่ใช้น้อยๆ มูลค่าที่เกิดขึ้นถ้าทำสำเร็จเยอะๆ เป็นต้น

What is fishing in oil and gas?

How does fishing work?

ข้อสังเกตุที่ควรระวังในการประเมิน

มูลค่าที่เกิดขึ้นถ้าแก้ปัญหาได้ คนเรามักจะประเมินสูง แต่ในความเป็นจริง ของที่กู้ขึ้นมาได้ ต้องเอามาตรวจสอบว่ายังใช้ได้ไหม ใช้ได้ทั้งหมด หรือ บางส่วน ก็ต้องมีค่าตรวจสอบล่ะ

นอกจากนั้น ยังมีค่าความเสื่อมราคาจากการที่จมอยู่ในความร้อนและความดันนานๆ ซึ่งคนล่ะประเด็นกับค่าเสื่อมราคาตามเวลาบัญชีที่มีอยู่แล้ว พูดง่ายๆ คือ 2 เด้ง

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

ตามประสบกการณ์ที่ผมเคยทำงานสนองอีโก้บางคน ของที่กู้ขึ้นมาได้ หักโน้นนี่แล้วแทบไม่เหลืออะไรเลย สรปุว่า เสียเวลาตกปลาเปล่า นั่งตกปลาตั้งนาน ได้ปลาตัวผอมกระจิ๊ดเดียว

ค่าใช้จ่าย เอาง่ายๆกลมๆก็ ค่าเช่าแท่นเจาะ (rig daily cost) + ค่าเช่าเครื่องมือและอุปกรณ์อื่นๆ (drilling services) จับรวมกัน เราเรียก spread cost บางทีเรียก burning rate (เหมือนเผาแบงค์ดอลล่าร์ทิ้งไปวันๆ 555)

ในบางโครงการ ขึ้นกับนโยบายของโครงการว่า จะเอาค่าเสียเวลาที่ผลิตได้ล่าช้าออกไป (defer production) มาคิดไหม

ค่าเสียเวลาที่ผลิตได้ล่าช้าออกไป (defer production) หมายความว่า แทนที่จะผลิตขายได้เงินตามวันที่กำหนด ต้องช้าไปกี่วัน ทุก 1 วันที่ช้าไป เป็นเงินเท่าไร

วิธีคิดทางเศรษศาสตร์ก็ คือ ให้สมมติว่า วันที่ขายน้ำมันช้าไปนั้น เราต้องกู้เงินภายนอก (อาจจะนอกโครงการ หรือ นอก บ.) เอามาใช้ ค่าใช้จ่ายความล่าช้าต่อวันก็คือค่าดอกเบี้ยต่อวันนั่นเอง

แล้วเราไปเอาค่านี้มาจากไหน ไม่ยากครับ อีเมล์ไปถามพี่น้องนักการเงินของโครงการได้ครับ เขามีตัวเลขนี้พร้อมอยู่แล้ว เราก็แค่เอาค่านี้ไปรวมกับ ก. (ค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหารายวัน) ก่อน แล้วค่อยเอาไปหาร

ตรรกะวิบัติ

ความคิดที่ผมไม่เห็นด้วยเท่าไร คือ เอาต้นทุนเวลา ของ และ ค่าใช้จ่ายที่ผ่านมามาคิดด้วย

เราทำงานจาก a b c d e ถ้าเกิดปัญหาที่ c เราต้องย้อนกลับไปทำ b ใหม่ บางคนมักจะคิดว่า การย้อนกับไปทำ b ใหม่นั้น ต้นทุนเวลา ของ และ ค่าใช้จ่าย ที่ทำจาก b -> c เราจะเสียไปโดยเปล่าประโยชน์

พูดง่ายๆคือ เสียดาย (+เสียหน้า) ว่างั้นเถอะ ดังนั้นต้องเอามาใส่ในสมการด้วย … นั่นคือตรรกะวิบัติที่ให้ทู่ซี้ fishinเg ไป เพื่อกู้ หรือ ชดเชยตรงนั้นคืนมา

ต้องให้ไปหัดร้องเพลงพี่เต้อ เรวัต พุทธินัน … “ที่แล้วก็แล้วไป”

ในความเป็นจริง ไม่ว่าเราจะ fish สำเหร็จหรือไม่สำเร็จ ต้นทุนเวลา ของ และ ค่าใช้จ่าย ที่ทำจาก b -> c มันผ่านไปแล้วโยม

ผมไม่รู้จะเรียกว่าอะไร บางคนเรียกว่า sunk cost คือ ต้นทุนที่ไม่อาจจะกู้คืนได้ สิ่งที่เราควรคิดมากกว่าก็คือ มูลค่าเพิ่มที่ fish ได้ เทียบค่าใช้จ่ายในการ fish ซึ่งก็คือ (ค-ข)/ก

อย่างไรก็ตาม มีบางกรณีเป็นภาคบังคับต้องกู้สุดฤทธิ์ เช่น วัตถุระเบิด หรือ กัมตภาพรังสี กรณีนี้ ต้องว่ากันไปตามกฏของเจ้าของสัมปทาน

ซึ่งโดยมากมักจะเขียนกว้างๆว่า บ.น้ำมันต้องแสดงให้เจ้าของสัมปทานเห็นชัดเจนแล้วว่าได้ทำสุดความสามารถ ก่อนที่จะสละหลุมที่ขุดช่วงนั้น (แล้วไปขุดเฉียงออกไปจากหลุมช่วงบน – sidetrack) หรือ สละทั้งหลุม (plug and abandon)

ที่ว่ามาทั้งหมด นั่นคือกรณีที่การแก้ปัญหาเกิดมูลค่าขึ้นมา (เมื่อเทียบกับไม่แก้ปัญหาเลย) แล้วถ้าในกรณีที่การแก้ปัญหา ไม่ทำให้เกิดมูลค่าเป็นชิ้นเป็นอันล่ะ loss circulation หลุมกำลังรั่ว จะใช้เวลาอุดกี่วัน ถึงจะถอดใจสละหลุม ไปขุดหลุมใหม่ นี่ล่ะง่ายกว่าเยอะ

ก่อนเราเริ่มโครงการ เราจะมีตัวเลขในโครงการอยู่แล้วว่า โครงการนี้ (เช่น ขุด 10 หลุม) ให้ล่าช้าได้หลุมล่ะกี่วัน ให้ใช้เงินเกินได้หลุมจะกี่บาท

เช่น ให้ล่าช้าได้ หลุมล่ะ 10 วัน ให้ใช้เงินเกินได้หลุมล่ะ 5 ล้าน ทั้งโครงการก็เกินเวลาได้ 100 วัน เกินเงินได้ 50 ล้าน

สมมุติว่าหลุมที่เป็นปัญหาเป็นหลุมที่ 6 ก็ต้องดูว่า ที่ผ่านมา 5 หลุม ใช้โควต้าขุดนานเงินเกิน หรือ ได้เครดิต เสร็จเร็ว เงินเหลือ
ไปเท่าไร เหลือเท่าไร หักลบจากโค้วต้าของหลุมในอนาคต (7 8 9 10) แล้ว เหลือเท่าไร ก็เท่านั้นแหละ 555

แต่อย่าลืมว่า ใช้เวลาเท่าไรนั้น ต้องคิดรวมเวลาที่ใช้ในการแก้ปัญหา + เวลาที่ย้อนกลับไปทำงานเพื่อให้กลับมาถึงจุดเดิม

เช่น มีโค้วต้าเหลือให้หลุมนี้ 7 วัน ถ้าแก้ปัญหาสำเร็จ ต้องใช้เวลาในการย้อนกลับไปขุดเฉียงเพื่อลงมายังความลึกเดิม 3 วัน แสดงว่า มีเวลาให้ได้แก้ปัญหาแค่ 7 – 3 = 4 วัน เป็นต้น

เพื่อให้ใช้อ้างอิงในการคุยกันต่อ ตัวเลข 4 วัน นี้ ผมขอตั้งชื่อของผมเองว่า ตัวเลขที่ได้จากโค้วต้างบประมาณ

ย้อนกลับมากรณีตกปลาแปลว่า เรามีตัวเลข 2 ตัว ระหว่าง (ค-ข)/ก กับ ตัวเลขที่ได้จากโค้วต้างบประมาณ เอาตัวไหนดี ตัวแรกบอกว่า 8 วัน ตัวหลังบอกว่า 10 วัน โดยมากก็เอาตัวน้อยแหละครับ เสียหายน้อยที่สุด

สรุป

ที่ว่ามาทั้งหมดนั่น คือทางทฤษฎี ในความเป็นจริง เรามีปัจจัยความเป็นมนุษย์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น อีโก้ หน้าตา เดิมพันส่วนตัวบางอย่าง ผลประโยชน์ทับซ้อน เช่น สร้างความน่าเชื่อถือว่าฉันทำได้นะ (แต่ไม่คุ้มเงินของบ.ที่จะทำ) KPI และ อื่นๆ

ถ้าอยากอ่านละเอียดเพิ่มเติม ไปอ่านต่อได้ที่นี่ครับ

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------