ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Field work lesson learnt ในการทำงานสำรวจและผลิตปิโตรเลียม

Field work lesson learnt ในการทำงานสำรวจและผลิตปิโตรเลียม – สองสามวันก่อนสงกรานต์ (ปี 2016) ผมได้มีโอกาส 2 – 3 หนในการไปสอนเรื่องการขุดเจาะให้กับน้องๆใหม่ในบ. ก็เลยมีการอารัมภบทกันนิดๆหน่อยๆก่อนเข้าเรื่อง

ทำนองว่าเป็นการส่งผ่านประสบการณ์การทำงานจากรุ่นสู่รุ่น ที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาวิชาการทำงานเท่าไร แต่เป็นสิ่งที่เรียกว่า soft skill เสียมากกว่า ก็เลยถือโอกาสนี้เอามาแบ่งปันต่อในบล๊อกด้วย (ตามเคย หากินกันง่ายๆแบบนี้แหละ อิอิ)

Field work lesson learnt

Field work lesson learnt

ในการทำงานสำรวจและผลิตปิโตรเลียม

ก่อนอื่นต้องออกตัวก่อนว่า บริบทการทำงานสมัยผม (28 ปีก่อน – นับจากตอนที่เขียนปี 2016) กับสมัยนี้ต่างกันพอสมควรนะครับ

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

บางเรื่องที่สมัยผมเห็นว่าเป็นทักษะเป็น soft skill ที่สำคัญ สมัยนี้อาจจะเห็นว่าไม่สำคัญก็ได้ มาดูเป็นเรื่องๆกันดีกว่าว่าอะไรที่สมัยผมแตกต่างไปจากสมัยนี้อย่างมีนัยสำคัญ(ในสายตาผม)

คน

อย่างแรกเลย สำคัญมาก อุตสาหกรรมสำรวจ และ ผลิตปิโตรฯ เมื่อราวๆ 60 – 70 ปีก่อนไม่ใช่อุตสาหกรรมที่หรู และ คนแย่งกันเข้ามาทำ

เป็นงานสนามที่ไม่ต่างกับงานเหมืองแร่ งานป่าไม้ ที่เต็มไปด้วยอันตราย ห่างไกล ลำบากลำบน ดังนั้น ช่างฝีมือ วิศวกร ที่หลง หรือ จำใจเข้าไปทำงานสนามประเภทนี้จึงเป็นประเภทที่ ไม่มีที่จะไป หรือ แม้กระทั่งเป็นพวกที่ไม่ใช่วิศวกร ไม่ใช่ช่างอะไรเลย

ไปกวาดๆเอามาจากข้างๆถนนในเท็กซัส ในโอกลาโฮมา แล้วเอามาเป็นกุลี (roustabout) แล้วก็อยู่รอดพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆจนเป็น company man เป็น superintendent เป็นโน้นเป็นนี่ ประสบการณ์โดยแท้

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

ซึ่งต่อมาก็คือพวกที่มาเป็นบิ๊กๆในสนามสมัย 30 ปีก่อน (ช่วงที่ผมเข้าวงการนี่เอง) ลักษณะคนพวกนี้จะมั่นใจในตัวเองสูงมากๆ ประสบการณ์ช่ำชอง ในสภาพแวดล้อมที่เคยชิน เช่น แท่นเดิมๆ เครื่องยนต์ และ วิธีการเจาะเดิมๆ ในถิ่นเดิมๆ แต่พอให้ไปเจาะที่อื่น แท่นตัวอื่น เครื่องรุ่นอื่น ในที่อื่น ก็จะเดี้ยง เพราะไม่มีพื้นฐานวิชาการวิศวกรรม หรือ พื้นฐานช่าง

ในสมัยนี้คนที่เป็นรุ่น superintendent เป็น company man แบบที่ผมเคยเจอ หมดรุ่นหมดอายุขัยไปแล้ว รุ่นที่มาเป็น superintendent เป็น company man ก็จะเริ่มมีการศึกษามีวุฒิ มีปริญญา กันเยอะพอสมควร

การสื่อสาร

อย่างที่สองนี่สำคัญเช่นกัน สมัยผมมีฮ.ลงไปที่แท่นอาทิตย์ล่ะ 1 ลำ ขนคนไป ขนคนกลับ ส่งจม.เป็น air mail (เขียนใส่กระดาษบางๆที่พับแล้วเป็นซองในตัว ลองกูเกิลดู เผื่อจะมีให้เห็นบ้าง เด็กๆสมัยใหม่คงไม่เคยเห็น)

ส่งถึงบ้านได้เดือนล่ะ 4 ฉบับ (7 วันถึง) รับจากบ้าน (ถ้าไม่พลาดเที่ยวฮ.) ก็ได้แค่เดือนล่ะ 4 ฉบับเหมือนกัน ในฮ.มีหนังสือพิมพ์ 2-3 ฉบับ วีดีโอโป๊ 7 ม้วน กับหนังฝรั่ง 7 ม้วน เก็บไว้ห้อง company man มีโค้วต้าเบิกให้ดูวันล่ะเรื่องที่ห้องสันทนาการรวม

มีอะไหล่ที่จำเป็นขนาดเบาๆเช่นแผนวงจรรวมนิดๆหน่อยๆ ทุกวันจะต้องเข้าคิวคุยสื่อสารรายงานทางวิทยุกับคนของบ.ของใครของมัน รายงานความคืบหน้าของงาน ขอความช่วยเหลือที่ต้องการ (มักไม่ได้ ฮ่าๆ)

หมดเวลาสื่อสารแล้วก็ ตัวคนเดียวไป solo รับผิดชอบงานตัวเองไปกับลูกน้อง 4-5 คน (สมัยนั้นผมเป็นวิศวกรสนามให้กับ บ.service ขาใหญ่รายหนึ่ง)

แค่นี้แหละครับที่แตกต่างอย่างมีนัยะสำคัญในสายตาผม แต่ก็เป็นบ่อเกิดของสิ่งที่ผมเรียนรู้และมีค่าต่อการทำงานของผมตลอดมา

กล้าตัดสินใจ

– เป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ อันเนื่องมาจาก 2 ปัจจัยข้างต้น คือ คนที่ผมทำงานด้วยนั้นทั้งลูกค้า (company man, mud eng, นักธรณี, ฯลฯ) และ ลูกน้องตัวเอง แก่คราวพ่อคราวลุง ประสบการณ์ไม่ต้องพูดถึง ผมเป็นแค่เด็กปากยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนมที่ถือปริญญาเข้ามาทำงาน โดนอัด โดนลองของสารพัด

จากเด็กไทยกระจอกๆ ความมั่นใจระดับกลางๆ ต้องพัฒนาระดับความมั่นใจแบบเร่งด่วน แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานทางวิศวกรรมที่ร่ำเรียนมา (ทั้งจากสถาบันฯ และ จาก training school ของบ.) ที่ต้องแน่นปั๊ก เข้าต่อกรกับรุ่นลายครามพวกนั้น

อันเป็นที่มาของความเชื่อส่วนตัวของผมในการทำงานภาคสนามที่ว่า “ราคาของการไม่กล้าตัดสินใจ หรือ ตัดสินใจช้า จะแพงกว่า ราคาของการตัดสินใจที่ผิด”

ใครจะไม่เห็นด้วยกับผม ก็ไม่ว่า แต่ถ้าโตมา และ ทำงานมาในสภาพแวดล้อม 2 อย่าง แบบที่ผมเจอมา ไม่มีตัวช่วยใดๆทั้งสิ้น ต้องตัดสินใน ณ.เวลานั้น และ ต้องเด็ดขาด ไม่ใช่ เออๆ เอ๋อๆ ให้ลูกค้า และ ลูกน้องเห็นว่า เฮ้ย มันไม่ชัวร์นี่หว่า (ถึงจริงๆในใจลึกๆจะไม่ชัวร์ก็ตาม ต้องเก็บอาการครับ)

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

ทำให้เห็นได้ชัดเมื่อเปรียบเทียบกับสมัยนี้ที่การสื่อสารดีมาก มีปัญหานิดๆหน่อยๆ วิศวกรรุ่นหลังๆ วิ่งเข้าหาคอมฯ ต่ออีเมล์ โทรฯมือถือ (ถ้าอยู่แท่นบก) desk top remote control ต่อสายตรง Houston หรือ ต่อ expert network ของบ.ตัวเองได้อย่างทันที ทำให้ไม่กล้าที่จะตัดสินใจ ตัดสินใจช้า

แต่เดี๋ยวก่อน ไม่โทษเด็กนะครับ โทษระบบครับ ถ้าผมเป็นเด็กสมัยนี้ ผมก็ทำแบบนั้น เพราะถ้าไม่ติดต่อตัวช่วย อาจหาญตัดสินใจอะไรไป ถ้าถูกก็โดนว่ากร่างบ้าง over confidence บ้าง ถ้าตัดสินใจผิด ไม่ต้องพูดถึง เละเป็นโจ๊กกกกก

หลายๆครั้งที่ผมรู้สึกว่า ไม่ต้องใช้วิศวกรก็ได้นี่นา เพราะการสื่อสารมันดีขนาดที่คนที่ Houston สามารถเห็นหน้าจอเดียวกัน remote สั่งงานได้ เห็นสภาพแวดล้อมจากกล้องความละเอียดสูง ก็หาเด็กเกรด 12 (ม.6) ที่ใช้เครื่องเคราพวกนี้เป็น พูดฟังภาษาอังกฤษได้ก็ลงมาทำงานได้ มีปัญหาอะไร

จะอธิบายอะไรให้กับลูกค้า ก็ให้วีดีโอคอนฯ (VDO conference) กับ superintendent ในเมืองเอา ลูกค้า นักธรณี ฯลฯ ก็จบตรี จบโทฯ ทั้งนั้น ไม่ต้องไปลุยไปคุยกับโคแนนยอดคนเถื่อนที่ไหน

นี่คือปัญหาหนึ่งในวงการเราที่เด็กเดี๋ยวนี้โตช้า (ไม่ว่าฝั่ง บ.น้ำมัน หรือ บ.service รากของปัญหาไม่ต่างกันเลย)

แต่กลับกัน บ.ต่างๆจะไม่ทำแบบนี้ก็ไม่ได้ จะให้มาลูกทุ่งๆคาวบอยแบบผมสมัย 30 ปีก่อนก็ไม่ได้ เพราะต้นทุนความเสียหายถ้าตัดสินใจผิดมันสูง จะให้มา solo บินเดียวข้ามาคนเดียว ก็คงจะเสี่ยงไป

เหรียญมีสองด้านเสมอครับ ถ้าจะเอาอีกด้าน ก็ต้องรับผลอีกด้านให้ได้

ถ้าไม่เชื่อนะ ลองถามหรือให้วิศวกรเด็กๆเดี๋ยวนี้ให้ทำอะไรที่แตกต่าง หรือ ขัดแย้งนิดๆหน่อยๆจากที่เคยๆทำอยู่อย่างไม่มีสาระสำคัญอะไรเท่าไร คำตอบที่ได้รับ มักจะเป็นทำนองว่า “เดี๋ยวขอโทรฯ หรือ ถามที่ฝั่งก่อน”

กล้าที่จะขอโทษและรับผิด

– อันนี้เป็นผลพวงจากข้อแรกที่ต้องเด็ดขาดในการตัดสินใจ เป็นความงดงามของวัฒนธรรมในงานสนามสมัยผม คล้ายๆ sportsmanship spirit (น้ำใจนักกีฬา) จะเรียกว่า Oil man spirit ก็ไม่น่าเกลียดเท่าไร

เป็นลักษณะที่พูดตรงๆว่า ผมหาได้ยากได้ตัวคนไทยในอาชีพของพวกผม ผมทำงานมา 30+ ปี ได้ยินคนไทยพูดว่า “I am sorry. I was wrong” ไม่กี่คน ไม่ใช่แปลว่าคนไทยเก่ง ไม่เคยทำผิด แต่ผิดแล้วเราแถ อ้างโน้นอ้างนี่ ครับ ส่วนทำไมพวกเราถึงเป็นแบบนี้กันผมไม่ขอวิจารณ์ครับ เรื่องมันยาว เท้าความไปหลายยุคหลายสมัย (ฮ่าๆ)

ผมล่ะคนหนึ่งที่ไม่กลัวและไม่อายที่จะพูดต่อหน้าที่ประชุมว่า “I was wrong” ถ้าผมตัดสินใจในเรื่องงานผิดไปจริงๆ เพราะ …

1. ถ้าผมผิดจริง การรับผิดไม่ได้ทำให้ผมมีความเชื่อถือน้อยลง ลองคิดดีๆนะครับ ระหว่างคนที่ผิดแล้วรับผิด กับ คนที่ผิดแล้วแถ คนส่วนใหญ่ก็พอทราบเลาๆแต่อาจจะไม่ชัดลงไป ผมก็จะเป็นคนสีเทาๆในเรื่องนั้นไป แล้วคุณว่าในระยะยาว ผมยังจะได้รับความเชื่อถือในเรื่องนั้น และ เรื่องอื่นๆอีกไหม

2. ถ้ามีคนคอยจ้องจะโซ้ย หรือ ซักผมให้จนมุม เขาก็ไม่ต้องมาถามโน้นนี่ลงละเอียดให้มันเรื่องยาวปานปลาย ผมก็ไม่ต้องมาตอบอะไรที่ผมไม่อยากจะตอบ เพราะก็บอกไปแล้วนี่นาว่าผิดไปแล้ว

3. ถ้ามีคนกระหน่ำยำผมกลางที่ประชุม คุณคิดว่าใครที่ได้บทพระเอก ใครรับบทผู้ร้าย … จริงไหมครับ … ก็ผมรับไปแล้วว่าผมตัดสินใจผิด แล้วจะแก้ไข ใครมายำผมต่อ คนนั้นก็ได้บทผู้ร้ายไป คนในที่ประชุมเขาก็โตๆกัน ดูออกว่าใครเป็นลูกผู้ชาย ใครไม่เป็นลูกผู้ชาย

เล่ามายืดยาวเพียงเพื่อจะบอกแค่นี้แหละว่านี่เป็นบทเรียนที่ผมได้เรียนรู้อย่างสำคัญมากๆจากชีวิตวิศวกรสนามนอกชายฝั่ง และจะบอกให้ด้วยว่าผมจ่ายค่าบทเรียนเหล่านี้ด้วยราคาแพงมากๆ แต่ผมเอามาบอกพวกคุณฟรีๆเลยนะครับ

ย้ำอีกที …

1. “ราคาของการไม่กล้าตัดสินใจ หรือ ตัดสินใจช้า จะแพงกว่าราคาของการตัดสินใจที่ผิด”
2. เมื่อตัดสินใจผิดไปแล้ว อย่ากลัวที่จะพูดว่า “I was wrong” ให้พูดออกมาอย่างหนักแน่นและจริงใจเสมอ

วันนี้เมื่อ 29 ปีที่แล้ว วิศวกรไฟฟ้าเพิ่งจบใหม่คนหนึ่ง …

https://nongferndaddy.com/%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad-29-%e0%b8%9b%e0%b8%b5%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b9%89%e0%b8%a7/

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------