ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Field test in the Jungle เอาเฟอรารี่มาขับบนถนนควายเดิน

Field test in the Jungle เอาเฟอรารี่มาขับบนถนนควายเดิน – Field test … คือ การนำ เครื่องมือ หรือ อุปกรณ์ ใหม่ๆ มาใช้งานจริงๆในหลุม ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆมักต้องผ่านขั้นตอนนี้

อุปสรรคอย่างหนึ่งของการทดสอบภาคสนาม คือ ไม่ค่อยมี บ.น้ำมันยอมให้หลุมตัวเองเป็นหลุมทดลอง ต่อให้ฟรีก็เถอะ เพราะ อาจจะเกิดความเสียหายต่อหลุม และ เสียเวลาก็ได้

ปัจจุบัน บ.service และ บ.แท่นเจาะ ใหญ่ๆ จึงมี แท่น หรือ หลุมจริง เอาไว้ให้เจาะ ให้ลองผลิตภัณฑ์ในสภาพการใช้งานจริง ก่อนจะเอาไปให้บ.น้ำมันดูว่า ชัวร์นะเนี้ย ของลองหน่อย ไม่พลาดๆ

แต่ในสมัยก่อน เรายังไม่มีแท่นเจาะจริงเพื่อจะทดสอบผลิตภัณฑ์ ทางเดียวที่ทำได้ คือ ต้องไปง้องอน เทียวไล้เทียวขื่อ บ.น้ำมัน

Field test in the Jungle

อินเดีย … เป็นประเทศหนึ่งที่ผมอาศัยทำมาหากินอยู่หลายปี เป็นประเทศที่ผมชอบ และ ประทับใจหลายๆด้าน ประเทศนี้มีครบทุกรสชาติของชีวิต หรูหราหมาเห่า ไฮเทค ไฮโซ หรือ จะโกโรโส โลว์คลาส … ถูกใจผม ชีวิตมันต้องเลือกได้

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

เช่นกัน แท่นเจาะที่นั่น มีทั้ง High End และ Bottom End (แย่กว่า Low End อีก 555)

RST … ย่อมาจาก Reservoir Satuation Tool เป็นเครื่องมือที่วัดโดยตรงว่าในหลุมเปิด (Open hole) มีปิโตรเลียมอยู่มากน้อยแค่ไหน และ เป็นน้ำมัน หรือ ก๊าซ ที่เด็ดสะระตี่ คือ มันวัดได้แม้แต่หลุมจะมีท่อกรุและซีเมนต์แล้ว

ถ้ายังจำได้ ดั่งเดิมเลย เราต้องใช้ ค่าความต้านทานจำเพาะ ค่าความพรุน ค่าระดับรังสีแกมม่า ฯลฯ จับยัดใส่สูตรของปู่อาร์ชี่ (Archie formula) ถึงจะได้ Sw (Water Satuation – มีน้ำในรูพรุนหินเท่าไร) แล้วถึงจะปรับเป็น So (Oil Saturation) บลาๆ กว่าจะรู้ว่ามีอะไรอยู่เท่าไร

(ใครจำไม่ได้ คลิ๊กลิ้งค์ข้างล่างอ่านเตือนความจำกันเอาเองนะ)

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

แน่นอนว่า เมื่อต้องวัดหลายๆค่า ก็ผิดพลาดคลาดเคลื่อนได้ง่าย แถมใส่สูตร ซึ่งก็ต้องมีสมมติฐาน และ ค่าเหมารวม (ค่าคงที่) เกี่ยวข้องมากมาย ความไม่ชัวร์มันก็มากตาม สู้วัดโดยตรงไม่ได้

มิหนำซ้ำ ถ้าหลุมลงท่อกรุลงซีเมนต์แล้วก็จบข่าว แทบจะทำอะไรไม่ได้เลยในสมัยก่อนนั้น

RST คือ พระเอกในยุค 1989 ที่ผมเริ่มทำงานเป็นวิศวกรฝึกหัด มันใช้วิธียิงอนุภาคอะไรสักอย่างเข้าไปกระตุ้นให้ของไหลในหลุมสะท้อนพลังงานบางอย่างออกในรูปของแถบสเปคตรัม แล้วมันก็เอาแถบสเปคตรัมนั้นมาวิเคราะห์รูปแบบและปริมาณ ก็จะบอกได้ว่า ของไหลนั้นเป็น น้ำ น้ำมัน หรือ ก๊าซ และ มีปริมาณเท่าไร

ยาฮู … จบข่าว … แต่ยังก่อน ต้อง field test 🙂

เอาล่ะ ได้เวลาเอา Field Test + RST + India แล้วทีนี้

หลังจาก วิศวกรขายของบ.ต้นสังกัดผม ตามตื้อตามง้อ บ.น้ำมันแห่งชาติอินเดีย (ONGC – Oil and Natural Gas Commission) ได้สำเร็จ เราก็ได้แท่นเจาะบกคลาส bottom end มาแท่นหนึ่ง เรียกได้ว่า spread cost (ค่าใช้จ่ายรายวัน) ต่ำมาก หลุมตื้นๆ จะพังก็ช่าง อะไรทำนองนั้น 🙂

ตอนนั้นผมเป็นวิศวกรฝึกหัด wireline logging ได้มีโอกาสไปเป็นลูกมือวิศวกรอาวุโสท่านหนึ่ง ที่แจ็คพอร์ตได้ RST ใหม่เอี่ยมถอดด้ามจากห้องทดลองในฮูสตัน เอามาทดสอบภาคสนาม

เนื่องจากเป็นแท่นเจาะบกคลาส bottom end การเดินทางจึงไม่ธรรมดา เราไปกัน 2 คัน wireline logging truck คันหนึ่ง กับ กระบะปิ๊กอัพ อีกคันหนึ่ง ทั้งหมด 5 ชีวิต มีวิศวกรอาวุโส หัวหน้าทีม ผม กับ ผู้ช่วย (operator) อีก 3 คน

ทางชนบทอินเดีย ลัดเลาะไปตามป่า ทุ่งนา หมู่บ้าน ภูเขา ลึกเข้าไปในแหล่งน้ำมันโบราณๆ อยู่บริเวณที่ชื่อ ราชมนตรี เมือง บาโรด้า (Baroda), ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น วาโดดาร่า (Vadodara) นัยว่าปลดเอกทางภาษาจากเจ้าอาณานิคมอังกฤษ, ซึ่งเมืองนี้เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของรัฐกุจราช (Gujarat)

แต่ที่ที่เราไปมันอยู่กลางป่าอ่ะ …

Field test in the Jungle
Vododara อยู่ตรงจุดนั้นนั่นแหละครับ แต่มันจะเป็นป่าๆหน่อย

พอไปถึงแท่นเจาะ ผมไม่สงสัยเลยว่า ทำไมเราถึงได้แท่นเจาะนี้มาทดสอบภาคสนามเจ้าหนู RST ของเรา … ทั้งหลุม ทั้งแท่น มัน dispensable (จำหน่ายจ่ายเป็นศูนย์ – ไม่มีราคาค่างวดอะไร) ได้นี่เอง

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

แท่นเจาะขนาดมินิ โครงและตัวแท่นทำด้วยไม้ทั้งหมด พื้นแท่นเจาะ (rig floor) สูงจากพื้นดินราวๆบ้านไทยที่ยกสูงหนีน้ำท่วม เฟืองที่ใช้หมุนก้านเจาะ(rotary table) และ กว้าน (draw work) ขับด้วยเครื่องยนต์ดีเซลแรงม้าเท่ารถ 10 ล้อ แต่ที่สำคัญ คือ ใช้เครื่องยนต์ดีเซลเครื่องเดียวกัน (แปลว่า backream ไม่ได้ เพราะต้องใช้ดึงก้าน และ หมุน ก้านไปพร้อมๆกัน)

POOH Pump out Back ream out คืออะไร ต่างกันอย่างไร

ก้านเจาะขนาด 4 นิ้ว แน่นอนว่าไม่มี top drive เอาลงทีล่ะก้านด้วย kelly ปั๊มน้ำโคลนย่อมๆ 2 ตัว BOP ขนาดน่ารักๆ และ ท่อน้ำโคลนต่างๆที่รั่วทะเล็ดๆเจิ่งนองเป็นจุดๆ

หลุมที่ได้มามี 3 ตอน (section) ใช้ท่อกรุ 13 3/8 (bit 16″) เป็น conductor, 9 5/8 (bit 12 1/4″) เป็น surface casing ไม่ต้องมี intermediate casing ล่อ 7″ (bit 8 1/2″) เป็น production casing โลด

ลึกแค่ 800 เมตร หินไม่แข็งเท่าไร แต่ขุดกันเป็นเต่า เพราะ ขุดไปซ่อมไป (ฮา)

เรื่องความปลอดภัย ไม่ต้องพูดถึงครับ ขาสั้น รองเท้าแตะ กันทั้งแท่น ทุกอย่างห่างไกลจากแท่นเจาะในฝันของผมในตอนที่แล้วมาก (ฮา)

แท่นแบบนี้ อย่าว่าแต่ขุดช้าเลย จะ NPT (Non Operating Time) สัก 2 – 3 วัน ก็ไม่มีใครสนใจ มิน่า ถึงให้เราเอาเครื่อมมือมาทดสอบ 555

เราเอา RST มาทดสอบ ด้วยเงื่อนไข ฟรี ฟรี และ ฟรี ถ้าเครื่องมือติดก็ตัดเคเบิ้ลทิ้งไว้ในหลุมเลย ไม่พยายามเอาขึ้น (fishing) ไม่จ่ายค่าเครื่องมือที่ทิ้งไว้ก้นหลุม (LIH – Lost In Hole charge) ONGC ไม่เก็บค่าเสียเวลาค่าเสียหลุมเราก็บุญแล้ว 555

RST รุ่นนี้ เป็นเครื่องมือที่ 3 ที่ผมรู้จักที่ต้องวัด หรือ เก็บข้อมูลตอนจอดนิ่งๆ และ ต้องแปะเป็นตุ๊กแกติดผนังหลุม เพราะใช้หลักการแผ่รังสีแบบเครื่องมือวัดความหนาแน่นและรูพรุน (density – neutron)

2 เครื่องมือแรกที่รู้จัก คือ RFT (Repeat Formation Tester ที่ใช้เก็บตัวอย่าง และ วัดความดันของไหล) และ Borehole Seismic ที่ระะเบิดตูมๆปากหลุมแล้วหย่อนไมโครโฟน (เรียกให้ถูกว่าจีโอโฟน) ลงไปแปะผนังหลุมบันทึกคลื่นเสียงสะท้อน

ด้วยเทคโนโลยีของตัวเครื่องมือและคอมพิวเตอร์บันทึกข้อมูลที่ล้ำสมัยขึ้น หลาน-เหลน ของ RST ที่ผมทดสอบภาคสนามสามารถบันทึกข้อมูลขณะเคลื่อนที่ได้แล้ว (สาวเคเบิ้ลขึ้นมาแล้วก็เก็บข้อมูลไปด้วย)

เพื่อให้ความเป็นธรรมกับ RST ของผม ตามสเป็คที่มาจากฮุสตัน มันสามารถเก็บข้อมูลไปด้วยสาวเคเบิ้ลไปด้วยได้นะ แต่ต้องสาวเคเบิ้ลช้ามากๆ ช้าจนกระทั่งกว้านเคเบิ้ล (winch) ไม่สามารถลดความเร็วลงแล้วยังสามารถสาวด้วยความเร็วคงที่ได้ พูดง่ายๆคือ winch มันจะกระตุก ปั๊กๆๆ ถ้าลดความเร็วลงขนาดนั้น

ช้าแค่ไหน ผมเปรียบเทียบแบบนี้ล่ะกัน เอามดตัวนึงไปวางไว้บนสายเคเบิ้ลที่กำลังดึงขึ้นมาจากหลุมตอน RST บันทึกข้อมูล (log up) วางให้มดหันหน้าไปทางหลุม ในมันเดินสวนสายเคเบิ้ล มันจะเดินไปไม่ถึงหลุมเลยครับ

ตอนนั้นผมก็แอบคิดนะว่า ถ้าต้องสาวเคเบิ้ลช้าขนาดนั้น จอดเก็บข้อมูลเถอะ สบายใจกว่า …

สรุปว่าเราต้องจอดเก็บข้อมูลจุดล่ะ 5 – 10 นาที โดยเราจอดทุกๆ 1 ฟุต … เงิบกันไป

รวมเวลาไปหน้างาน เครื่องมือมีปัญหา ต้องสาวขึ้นมาซ่อม หลุมมีปัญหา แท่นต้องเอาก้านเจาะลงไปเคลีย์ บลาๆ เราไปอยู่นั่น 7 วัน 7 คืน

เราต้องกลางเต้นท์กินนอนกันเอง ไม่มีตู้คอนเทนเนอร์ (dog house) ให้ คนงานแท่นเจาะขึ้นรถไปกลับแคมป์ของเขาที่อยู่ใกล้ๆ แต่ไม่มีที่ซุกหัวนอนให้ service hands อย่างพวกเรา แต่มีปิ่นโตอาหารแขกมาส่งให้วันล่ะ 4 มื้อ ไม่ต้องให้เราไปยิงกะรอกจับกบจับเขียดกินก็บุญแล้ว 555

ด้วยความที่เป็นวิศวกรฝึกหัด ผมจึงต้องทำ 2 หน้าที่ คือ เป็นทั้งวิศวกรด้วย และ ทำงานผู้ช่วยวิศวกร (operator) ด้วย นั่นแปลว่า ตอนวิศวกร ผมก็ไม่ได้พัก ต้องไปช่วย operator และ ตอน operator พัก ผมก็ไม่ได้พัก ต้องไปช่วยวิศวกร

7 วัน 7 คืน นั่น ผมได้นอนทีล่ะนิดทีล่ะหน่อย ในปิ๊กอัพบ้าง คลุมโปงใต้รถ logging truck บ้างไรบ้าง รวมๆแล้วได้นอน 24 ชม เฉลี่ยได้นอนวันล่ะ 3 ชม. นิดๆ … เหนื่อยอิ๊บอ๋าย ยังดีที่ตอนนั้นยังหนุ่มยังแน่น เป็นตอนนี้จอดตั้งแต่ 12 ชม. แรกแล้ว หุหุ

อย่างไรก็ตาม 7 วัน 7 คืน นั้น เรา 5 คน ก็ถูลู่ถูกัง ทดสอบภาคสนามเจ้าหนู RST จนสำเร็จ

ชื่อเรา 5 คน อยู่ที่ไหนในประวัติของเจ้า RST นี้ ก็ไม่มีใครสนใจแล้วตอนนี้ เพราะผ่านมาตั้ง 33 ปี แล้ว

จะว่าไปก็ไม่สำคัญหรอกว่าใครจะจำชื่อเราได้ แต่ก็เป็นความภูมิใจของวิศวกรฝึกหัดไทยตัวเล็กๆคนหนึ่ง ที่ได้มีโอกาสร่วมทีมทดสอบเครื่องมือที่นับว่าล้ำโคตรๆในสมัยนั้นกลางดงกลางป่า

สมการหาน้ำมันตัวพ่อ Archie’s Law มาทำความรู้จักกันครับ

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------