ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Drill cuttings disposal เรากำจัดเศษหินจากหลุมอย่างไรได้บ้าง

Drill cuttings disposal เรากำจัดเศษหินจากหลุมอย่างไรได้บ้าง – ก่อนไปเข้าเรื่องนี้ อยากให้ไปอ่านเรื่องนี้ก่อนครับ เพราะจะปูพื้นว่า ของเสียที่ได้จากการขุดเจาะนั้นมีอะไรบ้าง และ เราบริหารจัดการอย่างไรกันบ้าง เพราะการกำจัดเศษหินที่เราจะพูดถึงในบทความตอนนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น

Drilling Waste Management การบริหารจัดการของเสียจากการขุดเจาะ

นอกจากนั้น อยากให้ไปอ่านกฏกติกาของผู้ควบคุมงานของเราคือ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ด้วย เพราะถ้าเราไม่รู้และเข้าใจกฏเกณฑ์ต่างๆแล้ว การมโน หรือ ดราม่า เพราะความไม่รู้ เป็นอันตรายต่อการพัฒนาสติปัญญา และ ความงามของหนังหน้า เป็นยิ่ง

Waste management การกำจัดกากของเสียอันตรายจากการเจาะหลุมฯ

เอาล่ะ เมื่อปูพื้น รู้ที่มาที่ไปกันแล้ว ก็ไปกันต่อว่า เรากำจัดเศษหินพวกนี้อย่างไร

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

Drill cuttings disposal
cutting (เศษหิน)

ที่มา (ส่วนหนึ่ง) – https://en.wikipedia.org/wiki/Drill_cuttings

Drill cuttings disposal

เรากำจัดเศษหินจากหลุมอย่างไรได้บ้าง

ฝังกลบ (Burial)

ตามชื่อเลยครับ วิธีนี้ก็ฝังกลบที่หน้างานกันเลย แต่ก็ไม่ได้ทำกันชุ่ยๆนะครับ เพราะต้องสำรวจพื้นที่ตรงที่จะขุดบ่อฝั่งกลบ และ ความลึกของบ่อก็ต้องมีการคำนวน และ พิจารณาตามหลักวิชาการ ไม่ให้กระทบกับแหล่งน้ำใต้ดิน

เศษหินจะต้องถูกตากไว้ให้น้ำโคลนที่ของเหลวระเหยไปจนเหลือเปอร์เซ็นต์ความชื้นที่หน่วยงานควบคุมกำหนด แล้วจึงฝังกลบปิดหลุม ที่ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนก็คือ ประเภทสารเคมีในน้ำโคลนที่ปนเปื้นเศษหินขึ้นมา จะต้องเป็นสารเคมีที่หน่วยงานอนุญาติให้ฝังกลบได้

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

เมื่อดูจากข้อกำหนดต่างๆแล้ว การกำจัดเศษหินวิธีนี้ส่วนมากจะใช้ได้กับเศษหินที่ขึ้นมาจากการขุดในชั้นผิวดิน (surface drilling) เพราะเรามักจะขุดด้วยน้ำเปล่า หรือ อาจจะใส่เกลือธรรมชาตินิดหน่อย (โซเดียมคลอไรด์ โซเดียมซัลเฟต แคลเซียมคลอไรด์ โปเตสเซียมซัลเฟต) เพื่อป้องกันไม่ให้ชั้นหินดินดานบวมน้ำ (Shale swell / Gumbo)

เกลือธรรมชาตินี้โดยมากเกษตรกรมักใช้กันอยู่แล้วในรูปของปุ๋ยเคมีประเภทต่างๆ

ส่งเผาโรงปูน

ถ้าเป็นน้ำโคลนที่เป็นน้ำมัน และ สารเคมีแปลกๆ มีโลหะหนัก เป็นอันตราย เราก็มักจะส่งไปเผาที่โรงปูน เพราะการเผาที่ความร้อนสูงๆนั้นจะทำให้สารพิษโลหะหนักต่างๆเปลี่ยนรูปไปเป็นสารประกอบที่ไม่เป็นอันตราย (neutralization) ส่วนเศษหินก็จะป่นและปนไปกับหินปูนที่เอามาเผากลายเป็นผงปูนซีเมนต์

แน่นอนว่า การเผามีค่าใช้จ่ายที่เราต้องจ่ายให้โรงปูน ค่าใช้จ่ายนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆเช่น ปริมาณความชื้นที่ติดมากับเศษหิน ถ้าชื้นมากก็แพงหน่อย เพราะโรงปูนต้องใช้พลังงานในการเผาเพิ่มขึ้น ปริมาณน้ำมันที่ติดมากับน้ำโคลน ถ้าติดน้ำมันมามากก็จะราคาถูกหน่อย เพราะน้ำมันที่ติดมาจะช่วยให้โรงปูนใช้พลังงานน้อยลงในการเผา เป็นต้น

ในทางปฏิบัติเรามักปั่นรีดเอาน้ำมันออกจากเศษหินพวกนี้ให้ได้มากที่สุดก่อนนำไปเผา เพราะน้ำมันพวกนี้ราคาแพง เราเอาไปใช้ผสมเป็นน้ำโคลนใช้ได้อีก น้ำมันพวกนี้มีมูลค่ามากกว่าเอาไปประหยัดค่าจ้างโรงปูนเผา

เทกอง

วิธีนี้แบ่งออกเป็น 2 วิธีย่อยๆ

Land farming

ไม่รู้จะแปลเป็นไทยว่าอย่างไร เอาว่าทับศัพท์ไปก็แล้วกัน สรุปง่ายๆว่า เป็นการเอาเศษหินไปเทกองเกลี่ยๆให้กระจายให้ทั่วไปทั้งพื้นที่ และ ปล่อยให้แบคทีเรียที่มีอยู่ตามธรรมชาติในดินย่อยสลายไฮโดรคาร์บอนที่ติดมากับเศษหินให้สลายไป

เมื่อไฮโดรคาร์บอนที่ติดมากับเศษหินให้สลายไปจนถึงระดับหนึ่งที่รับได้ ก็จะเอาเศษหินใหม่ลงมาเทผสมแล้วเกลี่ยเพิ่มเติมได้เรื่อยๆตามอัตราการสลายไปของไฮโดรคาร์บอน พูดง่ายๆคือ เติมไปได้เรื่อยๆเท่าที่ระบบยังรับได้ (แบบมีวิชาการรองรับ)

แน่นอนว่าต้องมีการกำหนดองค์ประกอบต่างๆของสารเคมีและของเหลวที่ติดปนมากับเศษหินก่อนจะนำมากำจัดด้วยวิธีนี้ เช่น ปริมาณไฮโดรคอร์บอน ประเภทและปริมาณของสารเคมีต่างๆ โดยเฉพาะเกลือ (salt) เพราะแบคทีเรีย ย่อยน้ำมันและสารโพลิเมอร์ต่างๆได้ แต่ไม่สามารถย่อยเกลือได้ มีทางเดียวที่จะสลายเกลือได้ คือการทำให้เจือจางโดยน้ำ (dilution) ดังนั้น ถ้ามีเกลือสะสมมากเกินไป จะทำให้ดินบริเวณนั้นเสีย

นอกจากนี้วิธียังต้องทำตามข้อกำหนดต่างๆของหน่วยงานรัฐและท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง

แม้จะมีค่าใช้จ่ายลงทุน (capex) ไม่สูง แต่มีค่าใช้ปฏิบัติงาน (opex) สูงทีเดียว เพราะต้องมีการผลิตหน้าดิน เติมแบคทีเรียที่จำเป็น รดน้ำเพื่อรักษาความชุ่มชื้น การตรวจวัดและรายงาน ซึ่งในบางกรณ๊อาจจะต้องมีการขุดหลุมน้ำเพื่อตรวจสอบคุณภาพน้ำใต้ดินตามจุดต่างๆที่สำคัญๆในบริเวญใกล้เคียงอีกด้วย

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

เท่าที่ทราบบ้านเรายังไม่มีใครใช้วิธีนี้ครับ

Land treatment

นี่ก็เหมือนกัน ทับศัพท์ไป วิธีนี้เท่าที่ศึกษาจากเอกสารเทียบเคียง พบว่าเหมือนวิธีที่แล้ว (land farming) ต่างกันนิดเดียวคือ ไม่มีการเติมเศษหินซ้ำลงไป คือ เทกองแล้วครั้งเดียวจบ ที่เหลือเหมือนกันเดี๊ยะ และ เท่าที่ทราบบ้านเรายังไม่มีใครใช้วิธีนี้เช่นกันครับ

ผมเดาว่าปัจจัยหนึ่งที่ไม่มีใครใช้วิธีนี้คือ แนวทางกำกับดูแลของภาครัฐไม่ชัดเจน ค่าใช้ปฏิบัติงาน (opex) ต่อเนื่องยาวนาน ไม่สามารถคาดเดาได้ว่ามีค่าใช้จ่ายเท่าไร ไม่อาจจะสรุปได้ในรอบบัญชีลงไปในต้นทุนค่าขุดเจาะหลุม และ ผลผูกพันธ์รับผิดชอบในระยะยาว (long term liability)

โดยเฉพาะประเด็นหลังนี่ อ่อนไหวมาก เพราะวันหนึ่งเราทำตามกฏกติกาหนึ่ง แต่เนื่องจากผลกระทบกว่าจะให้เห็น บางทีมันอีกนาน และ ไม่ใช่ขาวหรือดำ แถมกฏกติกาอาจจะเปลี่ยนไปเป็นเข้มงวดขึ้น จากที่เคยทำถูกต้อง กลับเป็นทำผิดซะงั้น (หลายๆธุรกิจ อุตสาหกรรมก็เผชิญกับความปวดหมองข้อนี้) และ เนื่องจากความเทาๆของผลกระทบที่ไม่อาจจะฟันธงลงไปได้ ทำให้ขึ้นกับการตีความ และ กระแสสังคม

ดังนั้นเพื่อการบริหารจัดการความเสี่ยงทั้งทางการเงิน ความเสี่ยงชื่อเสียงภาพพจน์ของผู้ประกอบการ และ ความเสี่ยงสิ่งแวดล้อม จึงไม่ค่อยมีผู้ประกอบการใช้สองวิธีนี้เท่าไรนัก

Recycle Reused (นำกลับมาใช่ใหม่)

ตามชื่อเลยครับ แต่ก่อนจะนำมาใช้ใหม่ ต้องปั่นรีดเอาไฮโดรคาร์บอน และ สารเคมีอื่นๆออกให้ต่ำกว่าระดับที่หน่วยงานควบคุมของรัฐและท้องถิ่นกำหนด

ปัญหาในทางปฏิบัติมันอยู่ตรงนี้แหละครับ โดยเฉพาะบ้านเมืองเราที่เรื่องเดียวกันมีหน่วยงานรับผิดชอบหลายหน่วยงานที่มีกฏเกณฑ์ที่ไม่เหมือนกัน และ ไม่ยอมคุยกันเสียด้วย

เช่น เรื่องนี้บ้านเราก็จะมี 3 กระทรวงหลัก คือ อุตสาหกรรม สาธารณสุข และ พลังงาน อีกทั้ง มีหน่วยงานเกี่ยวข้องรองๆลงไปเช่น มหาไทย และ อบต. เพราะถึงแม้เขาไม่ได้ควบคุมเรื่องเทคนิคโดยตรงแต่เขาต้องดูแลความเป็นอยู่โดยรวมของประชาชนในพื้นที่ปกครอง แค่คิดก็ปวดหมองแล้วครับ

เอาว่าเราไปดูเรื่องทางเทคนิคกันดีกว่าว่า เอาไปใช้ใหม่นั้น เอาไปทำอะไรได้บ้าง

ที่แน่ๆคือ เอาไปถมที่ ทำถนน นี่แหละ ใช้ได้แน่ๆ อีกอย่างก็เอาไปทำเป็นวัสดุก่อสร้าง อิฐบล๊อก หรือ พื้นสำเร็จอัดแข็ง เป็นสนามกีฬา ลานเอนกประสงค์ประเภทต่างๆ บางที่ก็เอาเศษหินพวกนี้ไปทำความสะอาดเพิ่มเติมแล้วใช้แทนทรายผสมกับปูนซีเมนต์เอาไปใช้งานที่อยู่ใต้ดิน เช่น รากฐานเขื่อน โครงสร้างใต้ดินของสะพาน หรือ ถนน เป็นต้น

การประยุกต์ใช้ในประเทศไทย

แว่วๆมาว่าพี่ใหญ่ ปตท.สผ. กำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการเอาเศษหินที่ได้จากการเจาะหลุมผลิตทั้งที่มาจากลานกระบือและอ่าวไทย โดยนำเศษหินเหล่านั้นเอามาทำถนน ความเห็นส่วนตัวนั้น ผมเชื่อว่าคุณสมบัติและขบวนการทางเทคนิคนั้นมีความเป็นไปได้สูงมาก แต่อุปสรรคสำคัญอยู่ที่ ความเป็นเอกภาพ และ การสนับสนุนจากหน่วยงานกำกับภาครัฐฯ

นอกจากอุปสรรคจากหน่วยงานรัฐฯดังกล่าว ยังมีเรื่องของผลประโยชน์ของกลุ่มทุนรับเหมาก่อสร้างถนนเดิมที่มีส่วนรับประโยชน์จากการก่อสร้างถนนด้วยวิธีเดิม เพราะการนำเอาวัตถุดิบใหม่(เศษหินจากหลุมปิโตรเลียม)มาแทนที่วัตถุดิบปัจจัน ถือเป็นภัยคุกคาม (threat) ทางธุรกิจอย่างหนึ่ง แน่นอนว่ากลุ่มทุนฯเหล่านี้มีสายสัมพันธ์แนบแน่นกับภาครัฐโดยเฉพาะหน่วยงานกำกับควบคุมระดับท้องถิ่น ซึ่งจะทำให้อุปสรรคจากภาครัฐ(ที่มีอยู่เดิมแล้ว)เพิ่มขนาดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

ดังนั้นการขับเคลื่อนสนับสนุนของหน่วยงานรัฐจากส่วนกลางในระดับนโยบายจะเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้การเพิ่มมูลค่าของเสียที่เป็๋นเศษหินโดยเอาไปทำถนนนี้มีความเป็นไปได้ และ ประสบผลสำเร็จ

พวกเราทำอะไรได้บ้าง

ที่เราทำได้คือ ทำความเข้าใจเรื่องนี้ให้ถ่องแท้ อย่าเชื่อผม หรือ อ่านจากเว็บไซด์ผม เพียงแหล่งเดียว จงอ่าน ศึกษา ฟัง และ คิด เยอะๆ เมื่อรู้เมื่อเข้าใจอย่างไร (ถึงแม้จะได้ข้อสรุปไม่เหมือนผม) ก็ช่วยส่งเสริมความเข้าใจที่คุณคิอว่าถูกต้องนั้นแก่คนรอบๆตัว เริ่มจาก ภรรยา สามี ลูก พ่อ แม่ นี่แหละ

อย่างที่ผมเกริ่นไว้ ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องจะกำจัดความกลัว (ที่ไร้เหตุผล) อวิชชา มโน ดราม่า ออกไปได้

อ่านเสริม …

ที่มา – https://en.wikipedia.org/wiki/Drill_cuttings

Drill cuttings are the broken bits of solid material removed from a borehole drilled by rotary, percussion, or auger methods and brought to the surface in the drilling mud. Boreholes drilled in this way include oil or gas wells, water wells, and holes drilled for geotechnical investigations or mineral exploration.

The drill cuttings are commonly examined to make a record (a well log) of the subsurface materials penetrated at various depths. In the oil industry, this is often called a mud log.

Drill cuttings are produced as the rock is broken by the drill bit advancing through the rock or soil; the cuttings are usually carried to the surface by drilling fluid circulating up from the drill bit.

Drill cuttings can be separated from liquid drilling fluid by shale shakers, by centrifuges, or by cyclone separators, the latter also being effective for air drilling. In cable-tool drilling, the drill cuttings are periodically bailed out of the bottom of the hole. In auger drilling, cuttings are carried to the surface on the auger flights.

One drilling method that does not produce drill cuttings is core drilling, which instead produces solid cylinders of rock or soil.

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------