ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Big Oil Big Gas ขอแจง ดร.มหิดลแนะขุดอ่าวฯ ชี้น้ำมัน-ก๊าซมหาศาล

Big Oil Big Gas ขอแจง ดร.มหิดลแนะขุดอ่าวฯ ชี้น้ำมัน-ก๊าซมหาศาล – ผมกำลังรื้อๆบทความเก่าๆ เห็นบทความนี้ เป็นส่วนของข่าวก็จริง แต่ก็ได้ชวนคุยเรื่องวิชาการธรณีเอาไว้ด้วย

ก็เลยคิดว่า ไม่ลบทิ้งดีกว่า ยังทันสมัย และ จริงอยู่

Big Oil Big Gas

ขอแจง ดร.มหิดลแนะขุดอ่าวฯ ชี้น้ำมัน-ก๊าซมหาศาล

ดร.มหิดลแนะขุดอ่าวไทย ชี้ขุมน้ำมัน-ก๊าซมหาศาล ( นสพ.เดลินิวส์ อังคารที่ 16 สิงหาคม 2559 เวลา 21.18 น.)

ฮือฮาด็อกเตอร์ ม.มหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี เผยเรื่องราวอันน่าทึ่ง หลังพานักศึกษาลงพื้นที่สำรวจพบตั้งแต่ชายฝั่ง จ.ชุมพร ลงไปทั้งอ่าวไทย เป็นขุมน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติจำนวนมหาศาล ชี้ควรขุดให้ลึกกว่านี้ก็จะเจอ

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

เมื่อวันที่ 16 ส.ค. ที่อาคารปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ห้องพิพิธภัณฑ์ธรณีศาสตร์ ชั้น 1 มหาวิทยาลัยมหิดลวิทยาเขตกาญจนบุรี อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี ดร.ปริญญา พุทธาภิบาล ประธานสาขาวิชาธรณีศาสตร์ ม.มหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี เปิดเผยว่า จากการนำนักศึกษาธรณีศาสตร์เดินทางไปสำรวจค้นคว้าตั้งแต่ปี 56 จนถึงปัจจุบันได้พบหินปิโตรเลียมและฟอสซิลหอยโบราณทะเลลึก บริเวณ อ.ศรีสวัสดิ์ ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญ จนได้ข้อมูลชี้ชัดว่า จ.กาญจนบุรี ในอดีต เมื่อ 250 ล้านปีก่อนยุคไดโนเสาร์เคยเป็นพื้นที่ก้นทะเลลึกกว่า 1,000 เมตรจากพื้นผิวน้ำ ซึ่งประกอบด้วยหินปูน ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ และพืชทะเลน้ำตื้น ที่สำคัญเป็นแหล่งรวมของหินต้นกำเนิดปิโตรเลียม*

อาจารย์ปริญญา กล่าวเพิ่มเติมว่า  เรื่องที่พบหินต้นกำเนิดปิโตรเลียม* สรุปแบบง่าย ๆ ว่า บริเวณพื้นที่ตั้งแต่ จ.ชุมพร ในอดีตเคยเป็นชายฝั่งทะเล และพื้นดินกว้างยาวไปตลอด ส่วนทางเหนือของ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ขึ้นมาจนถึงพื้นที่ จ.กาญจนบุรี จะเป็นก้นทะเลลึก ดังนั้นพื้นที่ชายฝั่งตั้งแต่ จ.ชุมพร ลงไปทั้งอ่าวไทย จึงเป็นแหล่งรวมสะสมของหินต้นกำเนิดปิโตรเลียม* และซากสัตว์ เชื่อว่าหากมีการสำรวจขุดเจาะให้ลึกกว่าเดิมลงไปน่าจะพบน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติจำนวนมหาศาล โดยขณะนี้แหล่งขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในประเทศไทยยังสำรวจขุดเจาะไม่ถึงชั้นหินต้นกำเนิดปิโตรเลียมแต่อย่างใด *

ที่มา http://www.dailynews.co.th/regional/516391

*ขอให้สังเกตุประโยคหรือคำที่ผมขีดเส้นใต้ไว้นะครับ ผมจะกล่าวถึงภายหลัง

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

ผมอ่านข่าวนี้แล้วอยากจะขยายความสักเล็กน้อยตามประสาที่พอรู้มาบ้าง แม้ไม่ใช่นักธรณีเต็มตัว แต่ก็อยากจะแบ่งปันความรู้หางอึ่งเล็กๆ เกี่ยวกับความเข้าใจเรื่องระบบปิโตรเลียม เพื่อไม่ให้แฟนคลับของผมเข้าใจคลาดเคลื่อน

เพื่อไม่ให้เสียเวลา มีผู้รู้หลายๆท่านได้เขียนเรื่องการกำเนิดปิโตรเลียมเอาไว้แล้ว จะขอยกมาเลยก็แล้วกันครับ มีมากมายในโลกไซเบอร์ ผมเลือกเอาแบบเข้าใจง่ายๆมาให้

Big Oil Big Gas Big Oil Big Gas

ขอสรุปอีกทีแบบบ้านๆ คือ

1. มีสารอินทรีย์ทับถมอยู่ในชั้นหินแหล่งกำเนิด (source rock) ภายใต้อุณหภูมิและความดันที่เหมาะสม มันจะกลายเป็นปิโตรเลียม

2. พอเป็นปิโตรเลียมแล้ว มันก็ไม่ได้อยู่ใน ชั้นหินแหล่งกำเนิดอีกต่อไป มันจะไหล (migrate) ผ่านขึ้นมา

3. สะสมอยู่ที่ชั้นหินกักเก็บ (reservoir rock) โดยมี

4. ชั้นหินปิดกั้น (cap rock) ไว้ไม่ให้มันไหลต่อขึ้นมาจนถึงผิวดิน

โดยปกติในการขุดสำรวจและผลิตปิโตรเลียม เราจะมุ่งไปที่ชั้นหินกักเก็บ (reservoir rock) ครับ เราไม่ลงไปถึง หินต้นกำเนิด (source rock) เพราะในหินต้นกำเนิดจะมีซากสารอินทรีย์ Kerogen (อ่านว่าเคโรเจน สรุปสั้นๆมันคือผลพวงจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ มันคือสารตั้งต้นที่จะเปลี่ยนเป็นปิโตรเลียมในเวลาต่อมา) และ ก็จะมี “เศษ” ปิโตรเลียมที่จะหลงเหลืออยู่ ที่ไหล (migrate) ไปสู่หินกักเก็บไม่หมด …

นอกจากนี้หินต้นกำเนิด (source rock) โดยมากจะมีความพรุน (porosity) และ มีความสามารถให้ของไหล ไหลผ่าน (permeability) น้อยมาก เนื่องจากหินต้นกำเนิดจะอยู่ลึกที่สุด (ดูรูปข้างบน) ถูกกดทับด้วยน้ำหนักหินมหาศาลอยู่เป็นเวลานานที่สุด

หินต้นกำเนิด (source rock) นี้เราเรียกอีกอย่างว่า kitchen (ที่แปลว่า ห้องครัว นั่นแหละครับ ไม่ผิดหรอก) ห้องครัวจะผลิตอาหารที่ปรุงเสร็จแล้ว (ปิโตรเลียม) ออกมา เอามาเสริฟเก็บไว้ที่ห้องอาหาร (reservoir rock)

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

ดังนั้น ถ้าจะเอาอาหารที่ปรุงเสร็จแล้ว เราก็ต้องไปเอาจากห้องอาหาร (reservoir rock) ใช่ไหมครับ ถ้าเราเข้าไปในห้องครัว เราจะเจออะไรครับ เราก็จะเจอ อาหารที่ยังปรุงไม่สำเร็จ (Kerogen) วัตถุดิบต่างๆ เช่น ผัก ข้าวดิบๆ น้ำตาล น้ำปลา ฯลฯ  (อินทรีย์สาร) และ ขยะ (ซากอินทรีย์สาร)

แน่นอนครับ จะมีอาหารที่ปรุงสำเร็จแล้ว (ปิโตรเลียม) อยู่บ้างในห้องครัว (source rock หินแหล่งกำเนิด) ที่ยังไม่ได้เอามาเสริฟ (migrate) ที่ห้องอาหาร (reservoir rock) แต่ก็มีปริมาณไม่มาก

อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่ตอนนี้เราขุดเอาปิโตรเลียมจากชั้นหินกักเก็บกันจนพรุนไปหมดแล้ว เสมือนเราไปเอาอาหารมาจากห้องอาหารกันจนหมด หรือ จนหายากกันแล้ว เราก็เลยต้องเขยิบเข้าไปหาอาหารที่ปรุงเสร็จแล้วที่ยังค้างอยู่ในครัว (kitchen หรือ หินต้นกำเนิด source rock)

กลับมาที่การให้สัมภาษณ์ของท่านอาจารย์ข้างต้น ที่ผมขีดเส้นใต้เอาไว้

ด้วยความเคารพ ผมไม่คิดว่าท่านพูดผิด เพราะท่านเป็นถึงดร.ทางด้านธรณีวิทยา แต่ผมอยากจะขยายความบทสัมภาษณ์ท่านนิดนึงว่า ปกติเราไม่ขุดกันจนถึงหินต้นกำเนิดครับ ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาแล้ว ยกเว้นแต่ว่าเราเข้าตาจนจริงๆ คือ เราขุดเอาจากหินกักเก็บ (reservior rock) จนเกลี้ยง หรือ เกือบเกลี้ยง จนต้นทุนในการเอาขึ้นมาสูง หายากขึ้น ฯลฯ เราจึงขุดลึกลง (แปลว่ายากขึ้น แพงขึ้น) ไปเอาปิโตรเลียมที่ยังเหลืออยู่ใน ชั้นหินต้นกำเนิด (source rock หรือ kitchen)

และถ้าเราจำเป็นต้องไปเอาจากหินต้นกำเนิดจริงๆ เราจะต้องสร้าง ความพรุน (porosity) และ ความสามารถให้ของไหล ไหลผ่าน (permeability) ให้เกิดขึ้นมาให้ได้ เพราะโดยธรรมชาติชั้นหินต้นกำเนิดจะมีสองอย่างนี้น้อย

แล้วเราจะทำอย่างไรล่ะครับ เราทำสิ่งที่เรียกว่า hydraulic fracturing ไงครับ เอาน้ำอัดลงไปแรงๆ ทำให้ชั้นหินต้นกำเนิดปริแตก แล้วปิโตรเลียมที่เหลือก็จะมีทางไหลเข้ามาในหลุมที่เราเจาะได้ ซึ่งการทำ hydraulic fracturing นี่ก็ยังเป็นประเด็นใหญ่ที่ยังมีหลายฝ่ายที่ไม่เข้าใจและต่อต้านกันมากมาย

วันนี้คุยกันพอหอมปากหอมคอแค่นี้ก่อนก็แล้วกัน ใครมีคำถารมอะไรก็หลังไมค์มาคุยกันต่อได้นะครับบบบ

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

5 comments

    1. ถูกต้องครับ ทุกวันนี้เราใช้เชื้อเพลิงกันแบบเมามันมากๆเลย … เฮ้อ … หวังว่าเราจะมีพลังงานทดแทนมาไวๆนะครับ

  1. ขอบคุณที่อธิบายให้เห็นภาพและเข้าใจง่ายๆครับ

    แต่มีการพบเจอปิโตรเลียมในชั้นหินกักเก็บด้วยไหมครับ เพราะตามที่อ่านเห็นพูดแต่หินต้นกำเนิด(หรือผมเข้าใจอะไรผิดไป)

    1. ใช่ครับ ทุกวันนี้ที่เราขุดอยู่ก็ขุดลงไปในชั้นหินกักเก็บนี่แหละครับ ไม่ได้ขุดลึกลงไปถึงหินต้นกำเนิด ก็เพราะเหตุผลที่อธิบายไปแล้ว พอเห็น อ.พูดถึงแต่หินต้นกำเนิด ผมก็เลยอยากอธิบายเพิ่ม แค่ไม่อยากให้พวกเราเข้าใจผิดกันว่า ปิโตรเลียมหลักอยู่ในหินต้นกำเนิด และที่จะให้ขุดลึกลงไปถึงหินต้นกำเนิดนั้นไม่ได้เป็นเป้าหลักของการหาปิโตรเลียม ยกเว้นในบางแหล่งที่มีปริมาณหินต้นกำเนิดมหาศาลในชั้นหินต้นกำเนิดที่เป็นหินดินดานที่เรียกว่า oil shale gas shale เช่น อเมริกา รัสเซีย จีน กรณีนี้ เป้าหลักจะอยู่ที่หินต้นกำเนิดเลยครับ แต่ก็ต้องทำ fracturing ด้วยเหตุผลที่กล่าวไว้แล้ว อย่างที่อมเริกานี่ก็ทำกันมานาน (fracturing) เป็นล่ำเป็นสัน แต่ก็มีความท้าทายเรื่องความเข้าใจของหลายๆฝ่าย อย่างที่ทราบๆกันอยู่

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------