ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

เรียกร้องรัฐประมูล บงกช เอราวัณ ให้ได้ตามแผน เพื่อเรียกศรัทธานักลงทุน

เรียกร้องรัฐประมูล บงกช เอราวัณ ให้ได้ตามแผน เพื่อเรียกศรัทธานักลงทุน …. ข่าวก็ส่วนข่าว ว่ากันไปครับ ผมก็แค่ก๊อปมาแปะให้อ่าน

อ่านข่าวนี้แล้วมีประเด็นชวนคุยอยู่ประเด็นหนึ่ง ที่เป็น talk of the town สำหรับผู้ไม่รู้ไม่เข้าใจ แต่เป็นประเด็นที่ผู้รู้และเข้าใจ ไม่ค่อยเอามาคุยกัน เพราะรู้และเข้าใจดีว่า มันเป็นอย่างนั้นของมันจริงๆ

ส่วนที่(แกล้ง)ไม่รู้ไม่เข้าใจ ก็มักจะเอามาเป็นประเด็น ถ้าใครปักธงไว้แล้วว่าอยู่ในกลุ่มดังกล่าวก็ไม่ต้องอ่านต่อนะครับ เพราะเดี๋ยวจะหาว่าผมเลือกข้าง

ประเด็นที่ว่าคือ “ความต่อเนื่อง” … ทำไมเป็นห่วงเป็นไยกันเหลือเกินว่า ถ้าไม่รีบทำแล้วจะขาดความต่อเนื่อง ผมแค่จะเล่าให้ฟังว่า ธรรมชาติการทำงาน การลงทุนไหนๆ มันก็เป็นแบบนี้

ว่าด้วย “ความต่อเนื่อง”

ธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมต้นน้ำเรานี้มีลักษณะเฉพาะอยู่อย่างหนึ่งที่คล้ายกับอุตสาหกรรมหนัก หรือ การเกษตร ทั่วไป คือ ลงทุนเยอะ ระยะคืนทุนนาน เงิน และ กิจกกรมต่างๆที่ลงทุนไปวันนี้ กว่าจะได้ผลตอบแทน ก็ไม่ต่ำกว่า 1 ปี หรือ 2 ปี ซึ่งไม่เหมือนธุรกิจซื้อมาขายไป ธุรกิจนายหน้า หรือ ขายของออนไลน์

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

ยิ่งถ้าเป็นการสำรวจหาอะไรใหม่ๆ ยิ่งไม่ต้องพูดถึง โน้น 5 – 10 ปี ดังนั้น ถ้าไม่แน่ใจว่า(บริษัทฯ)จะอยู่ไม่ถึงวันที่ได้ผลลงทุนกลับคืนมา เรื่องอะไรจะลงเงินลงแรงวันนี้

อุปมาเหมือนปลูกพืชชนิดหนึ่งที่ได้ผลได้หลังจากปลูกแล้ว x ปี ดังนั้น ถ้าสัญญาเช่าสวนจะหมดก่อน x ปี ผมก็จะไม่ปลูกเพิ่ม เพราะ คนที่เก็บผลไปไม่ใช่ผม (ยกเว้นว่าสัญญาเช่าสวนจะเขียนไว้เป็นอย่างอื่น)

การสำรวจแหล่งใหม่ๆ (ที่ยิ่งยากขึ้นทุกวัน เพราะเราก็ขุดกันจนพรุนไปทั้งอ่าวแล้ว) การสร้างแท่นผลิต ใช้เวลาเป็นปีๆครับ กว่าจะมาถึงมือขุดอย่างพวกผม และ กว่าจะผลิตได้ลงท่อ ขายได้ เก็บเงินได้

สมมติว่า อีก 5 ปี ผมจะหมดสัญญาทำมาหากิน แล้วมีความไม่แน่นอนว่า ผมอาจจะไม่ได้ทำมาหากินต่อ ผมก็จะนับถอยหลังเลยครับว่า กิจกรรมอะไร การลงทุนอะไรที่ให้ผลตอบแทนหลัง 5 ปี ผมจะไม่ทำไม่ลงทุน เป็นการตัดสินใจการลงทุนที่เบสิกมากๆ ใครๆก็คิดแบบนี้ครับ

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

นั่นแปลว่าอะไร แปลว่า หลัง 5 ปีไปแล้ว จะไม่มีผลผลิตอะไรงอกเงยขึ้นมา ก็ได้แต่กินบุญเก่าจากหลุมผลิตที่ขุดไว้จากแท่นผลิตเมื่อ 5 ปีก่อน ซึ่งจะร่อยหรอลงทุกวันๆ ก็เหมือนเก็บผลไม้จากต้นที่หมดอายุ นับวันแต่ต้นจะตายไป ผลที่เก็บได้ก็น้อยลงๆตามอายุของต้น

ถ้าความต่อเนื่องที่ว่า ไม่ได้ส่งผลกระทบใครอื่นในวงกว้าง แค่กระทบกระเป๋าตังค์เจ้าของสวน กับ คนเช่าสวน ก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่ ก็ไปว่ากันเอาเอง แต่คราวนี้ ผลไม้ที่ได้จากสวนนี่ซิมันดันไปกระทบคนทั้งประเทศ มันเลยเป็นประเด็นขึ้นมา

ดังนั้น ยิ่งรู้ผลการประมูลเร็วเท่าไร ก็จะมีการลงทุนล่วงหน้าเตรียมไว้เร็วเท่านั้น (ในกรณีที่ผู้ชนะการประมูลเป็นเจ้าเดิมที่ทำอยู่ก่อนแล้ว) ช่วงที่กินบุญเก่าก็จะสั้นลง หรือไม่มีเลย

แต่ถ้าผู้ชนะไม่ใช่เจ้าเดิม การรู้ก่อนเนิ่นๆก็เป็นประโยชน์อยู่ดี เพราะคนใหม่จะได้เตรียมตัวควักตังค์ ศึกาษา วางแผน เข้าพื้นที่ได้ทันที พอกรรมการเป่านกหวีด คนเก่าออกนอกสนามไป คนใหม่ลงสนาม ก็เขี่ยบอลได้เลย ไม่ใช่พอคนใหม่ลงสนามแล้วยังต้องไปเดินรอบสนาม หาว่าลูกบอลตูอยู่ไหน(ว่ะ) 🙂

เรากำลังพูดถึงการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมต้นน้ำ ไม่ใช่พูดถึงการเซ้งแผงขายผักตามตลาดนัด ที่เปลี่ยนเจ้าเซ้งเย็นนี้ พรุ่งนี้เช้าเจ้าของแผงใหม่ลงผักวางขายได้เลย

พอล่ะ เดี๋ยวโดนปูนกาหัว 555 … ไปอ่านข่าวกันเลยครับ

————————

เรียกร้องรัฐประมูล

เรียกร้องรัฐเดินหน้าประมูลบงกช เอราวัณ ให้ได้ตามแผน เพื่อเรียกศรัทธานักลงทุน

ที่มา http://www.energynewscenter.com/index.php/news/detail/1266

นักวิชาการด้านปิโตรเลียม และนักอุตสาหกรรม เรียกร้องรัฐบาล เดินหน้าประมูลแหล่งปิโตรเลียมบงกช และเอราวัณ ให้ได้ตามเป้าหมายที่รัฐกำหนด จนมีการลงนามในสัญญากับผู้ชนะการประมูลในเดือน ก.พ.2562 เพื่อเรียกศรัทธานักลงทุนให้กลับมา

โดยยกกรณีเลวร้ายสุด หากการประมูลล่าช้าจนทำให้การผลิตก๊าซฯจากทั้งสองแหล่งใหญ่ขาดความต่อเนื่องนั้นจะทำให้ประเทศเสียประโยชน์เป็นมูลค่าประมาณ 4.5 แสนล้านบาทต่อปี หวั่นโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(EEC)ไม่เกิด เพราะขาดก๊าซเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

วันที่ 30 เม.ย.2561 ชมรมรวมพลฅนน้ำมันซึ่งเป็นการรวมตัวกันของผู้ประกอบการในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมและอดีตข้าราชการกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ จัดเสวนา “บงกช เอราวัณ ล่าช้าตัดโอกาส ลดศักยภาพเศรษฐกิจไทย”

โดยมีวิทยากรร่วมเสวนา คือ

นายบวร วงศ์สินอุดม รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.),

ผศ.ดร.ฐิติศักดิ์ บุญปราโมทย์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ

นายภูวดล สุนทรวิภาต ตัวแทนผู้ประกอบการด้านการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทย

ดำเนินรายการโดยนายเชิงชาย หว่างอุ่น จากรายการตู้ปณ.3

นายบวร วงศ์สินอุดม

นายบวร กล่าวว่า โดยส่วนตัวยังไม่มั่นใจว่าภาครัฐ สามารถเปิดประมูลสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแหล่งบงกชและเอราวัณได้เสร็จตามกำหนดเป้าหมายในเดือนก.พ. 2562 เนื่องจากจะมีขบวนการคัดค้านต่อต้าน เป็นวงจรเหมือนอดีตที่ผ่านมา

โดยก่อนหน้านี้ก็เคยประกาศว่าจะดำเนินการประมูลให้เสร็จสิ้นตั้งแต่ปี 2559 แต่การดำเนินการก็ล่าช้ามากว่า 2 ปี ทำให้ภาครัฐขาดความน่าเชื่อถือ ดังนั้น ภาครัฐจึงต้องเรียกศรัทธาให้กลับมาโดยเร็ว และ เรียกร้องให้ทุกฝ่ายช่วยกันทำให้การประมูลครั้งนี้ผ่านพ้นไปให้ได้เพราะถือว่ามีความสำคัญต่อความมั่นคงทางพลังงานและระบบเศรษฐกิจของประเทศ

โดยในกรณีเลวร้ายที่สุดหากการผลิตก๊าซฯจากแหล่งบงกชและเอราวัณไม่สามารถผลิตได้ต่อเนื่อง โดยก๊าซฯหายไปจากทั้งสองแหล่งดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่ธุรกิจทั้งระบบ อาทิ การผลิตไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซฯเป็นเชื้อเพลิง ธุรกิจปิโตรเคมี เม็ดพลาสติก จนถึงผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(SME) และ แรงงานในระบบ

คิดเป็นมูลค่าความเสียหายประมาณ 4.5 แสนล้านบาทต่อปี และ ที่สำคัญจะทำให้โรงไฟฟ้าจะขาดก๊าซฯ มาผลิตไฟฟ้ารวมกว่า 2,100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน (ปัจจุบันแหล่งเอราวัณผลิตก๊าซฯอยู่ 1,240 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และแหล่งบงกชผลิตอยู่ 870 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน รวม 2,100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน คิดเป็นสัดส่วน 50% ของการผลิตก๊าซฯทั้งประเทศ) ซึ่งจะกระทบการผลิตไฟฟ้าประมาณ 10 โรง ขนาดโรงละ 1,200 เมกะวัตต์

ดังนั้นสิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ นโยบายผลักดันระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(EEC)จะประสบปัญหาไม่มีไฟฟ้าใช้ นอกจากนี้ EEC ยังใช้ธุรกิจปิโตรเลียม ปิโตรเคมีและดิจิทัลเป็นฐานการเติบโตของ EEC ด้วย ซึ่งหากไม่มีวัตถุดิบจากก๊าซฯและไม่มีไฟฟ้าใช้ โครงการ EEC ตามนโยบายของรัฐบาลก็จะกลายเป็นโครงการที่เป็นเพียงความฝันเท่านั้น

“โดยความเห็นส่วนตัว อยากจะให้ผู้ประกอบการรายเดิมเป็นผู้ชนะการประมูล โดยเฉพาะแหล่งที่มี ปตท.สผ.เข้าร่วมประมูล เพราะปตท.สผ. นั้นมีหุ้นของรัฐถือหุ้นเป็นส่วนใหญ่ และมีคนไทยทำงานอยู่ถึง99% “ นายบวร กล่าว

ผศ.ดร.ฐิติศักดิ์ บุญปราโมทย์

ด้าน ผศ.ดร.ฐิติศักดิ์ กล่าวว่า ผู้ประกอบการในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมได้รับผลกระทบจากความล่าช้าของการเปิดสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแหล่งบงกชและเอราวัณตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา อีกทั้งยังประสบปัญหากับราคาน้ำมันดิบที่ลดลงจาก 150 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เหลือเพียง 50 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล

ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องชะลอการลงทุน และมีการปลดคนงานออก ซึ่งในส่วนของมหาวิทยาลัย ที่ผลิตวิศวกรด้านปิโตรเลียม ออกสู่ตลาดแรงงาน ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยต้องปรับลดจำนวนนักศึกษาในภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียมลงจากปีละ 20คน เหลือ ปีละ 10 คน ซึ่งหากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมปิโตรเลียมต้นน้ำและทำให้ไทยเสียศักยภาพด้านการแข่งขันในตลาดอาเซียนไป

ผศ.ดร.ฐิติศักดิ์ กล่าวว่า ในความเห็นทางวิชาการมองว่า ระบบสัมปทานปิโตรเลียม ไทยแลนด์ทรี มีความเหมาะสมกับศักยภาพปิโตรเลียมของอ่าวไทยแล้ว และ เห็นว่า การคัดค้านในช่วงที่ผ่านมาที่ให้เปลี่ยนจากระบบสัมปทานเป็นระบบ แบ่งปันผลผลิต เพราะรัฐมีจุดอ่อนในเรื่องของข้อมูลข่าวสารที่เปิดเผยสู่สาธารณะ ที่ทำให้ประชาชนส่วนหนึ่งคล้อยตามกลุ่มที่คัดค้าน ที่เสนอให้ใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตซึ่งมีจุดเด่นข้อเดียวคือ รัฐเป็นเจ้าของ และไม่เห็นถึงข้อดีของระบบสัมปทานเดิม ทั้งๆที่ทำให้รัฐได้ประโยชน์เป็นสัดส่วนสูงถึง 70% ในขณะที่ระบบแบ่งปันผลผลิตแบบไทยๆ รัฐได้ประโยชน์ลดลงเหลือ 60%

นายภูวดล สุนทรวิภาต

ด้าน นายภูวดล กล่าวว่า จากราคาน้ำมันดิบที่ต่ำลงช่วงที่ผ่านมาประกอบกับรัฐไม่มีนโยบายเปิดสำรวจและผลิตรอบใหม่ส่งผลให้แท่นขุดเจาะใหม่ลดการลงทุนไป 50% ธุรกิจผลิตแท่นก็มีการปลดพนักงานไปแล้ว 2,000 คน เป็นต้น ยังไม่รวมกับโรงแรม ร้านอาหาร ฯลฯที่เป็นธุรกิจต่อเนื่อง

ซึ่งรัฐต้องเข้าใจว่าธุรกิจนี้มีห่วงโซ่ธุรกิจที่ยาว ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ส่วนใหญ่ใช้แรงงานคนไทย และ มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าอุตสาหกรรมยานยนต์

นายภูวดล กล่าวด้วยว่า ระบบแบ่งปันผลผลิตที่รัฐนำมาใช้ ต้องปิดจุดอ่อนในเรื่องของความล่าช้าในขั้นตอนการอนุมัติ และต้องทำให้มีความโปร่งใสในการดำเนินการ โดยในหลายประเทศที่นำระบบแบ่งปันผลผลิตมาใช้ ส่วนใหญ่มักจะเกิดปัญหาการคอร์รัปชั่น

ข่าวข้างเคียง ประมูล เอราวัณ บงกช “มูบาดาลา-เชฟรอน-มิตซุย-โททาล-ปตท.สผ.”

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------