ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

ยึดปิโตรเลียม 3 แสนล้าน! PTTEP-มูบาดาลา-มิตซุยฯ แย่งซื้อ ‘เชฟรอน’

ยึดปิโตรเลียม 3 แสนล้าน! PTTEP-มูบาดาลา-มิตซุยฯ แย่งซื้อ ‘เชฟรอน’ … เล่นไม่เลิกนะครับ พี่ฐานฯ หรือ พี่มีข้อมูลเชิงลึก บอกป้มด้วยดิ ป้มจะได้คุ้ย CV Resume มาปัดฝุ่น … 555 🙂

ตามข้อมูลสาธารณะนะครับ อาเชฟยังไม่ได้กระโต๊กกระตากเลยครับ ยังเงียบๆซุ่มๆอยู่ แต่เข้าใจว่าคงกำลังดีดลูกคิดล่ะ

ส่วนพี่อ้าย สผ. นั่นก็ไม่มีเม้มครับงานนี้ ปล่อยข่าวออกมาขนาดนี้ พี่อ้ายเรา เป้า เอ๊ย เป๋าตุง แน่นอนครับ กะจะกวาดเรียบกินรอบโต๊ะ

น้ามู ลุงมิต ก็รอลงขันอยู่เหมือนกัน มองข้ามกันไม่ได้เด็ดขาด โดยเฉพาะน้านั้นได้ข่าวว่า ทั้งเป๋าทั้งเป้าน้าก็ตุงเหมือนกัน น้าสะใภ้เขาปึ๊ก ถ้าสัญญาณหลังบ้านน้าให้ลุย พี่อ้ายเราก็อาจจะมีหนาวๆได้

ส่วนลุงนั้นตาม resume ของลุงแล้ว ลุงเป็นขาแจมเท่านั้น ป้าหลังบ้านให้นโยบายลุงไว้ก่อนลุงออกจากบ้านว่าอย่าไปลุย ให้ลุงแจมอย่างเดียว ได้ข่าวว่าลุงขึ้นทางด่วนยังต้องเก็บใบเสร็จค่าทางด่วนไปเบิกป้าเลยครับ 🙂

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

ข่าวทั้งหมดในภาค 2 นี้แทบจะเป็นข่าวเก่าหมด มีประเด็นใหม่ประเด็นเดียวที่ผมอยากชวนคุย คือ ประเด็นเรื่องความต่อเนื่อง

“นอกจากนี้ ทาง ปตท.สผ. ออกมายอมรับต้องการซื้อหุ้นของเชฟรอน ที่ถืออยู่ในแหล่งเอราวัณ 71.25% ก่อนที่สัญญาจะสิ้นสุดในปี 2565 หลังจากที่เชฟรอนพ่ายแพ้การประมูล ด้วยเหตุผลหนึ่ง เพื่อให้การเข้าไปดำเนินงานในช่วงรอยต่อไม่เกิดสะดุด และสามารถผลิตก๊าซธรรมชาติได้ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้อย่างต่ำ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จากปัจจุบัน ผลิตอยู่ที่ราว 1,261 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เนื่องจากขณะนี้เองมีสัญญาณมาแล้วว่า ทางเชฟรอนไม่ยอมให้เข้าพื้นที่ เพราะยังไม่สิ้นสุดสัญญาสัมปทาน

ประเด็นมันแบบนี้ครับ …

อุตสาหกรรมสำรวจและผลิตปิโตรเลียมนี้มันเหมือนกับ ปลูกพืชไร่พืชสวน หลังจากลงทุนหว่านไถและปลูก มันต้องใช้ระยะเวลาหนึ่งถึงจะเก็บเกี่ยวได้ ไม่เหมือนปลูกถั่วงอก ที่ใส่ถังวันนี้รดน้ำ พรุ่งนี้เย็นเอามาผัดเต้าหู้ได้เลย

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

ต้องขุดหลุม ต้องวางท่อ ต้องสร้างแท่นผลิต บลาๆ …

อาเชฟนั่นก็บอกว่ายังได้สิทธิ์ทำมาหากินอยู่ในสัญญาปัจจุบัน พอใกล้ๆสัญญาเดิม สัญญามักจะเอื้อให้ลดกำลังการผลิตลงได้ เพราะไม่งั้น ก็ต้องลงทุนต่อเนื่อง แล้วใครจะลงทุนปลูกแล้วให้คนอื่นมาเก็บเกี่ยวล่ะ

พอถึงวันเปลี่ยนมือ พี่อ้ายเข้ามาก็ต้อง ระดมไถหว่านปลูกกันมือเป็นระวิงเพื่อที่ให้ได้ผลผลิตส่งให้เจ้าของที่(รัฐ)ตามสัญญา แน่นอนว่าพี่อ้ายก็ต้องอยากเข้าพื้นที่ไปสำรวจฮวงจุ้ยก่อนว่าจะไถจะหว่านตรงไหน ถึงจะได้ผลผลิตเร็วและดีที่สุด เพราะสัญญาเจ้าของที่จ่อคอหอยอยู่

ทางที่ดีที่สุดพี่อ้ายถึงอยากขอซื้ออาเชฟมาเป็นเจ้าของซะเลยก่อนวันที่จะเปลี่ยนมือ จะได้ไถหว่านรอไว้ ผลผลิตที่ส่งให้เจ้าของที่จะได้ไม่ขาดช่วง แต่ถ้าซื้อไม่ได้ อาเชฟไม่ขายแม้ว่าจะมีเงินสดมากองมากอง อย่างน้อยก็ขอเข้าไปดูพื้นที่ก็ยังดี เพื่อเหตุผลข้างต้นที่ว่าจะได้วางแผนการเพาะปลูกได้ถนัดถนี่ เปลี่ยนมือปุ๊บ ไถหว่านกันเลย ช่วงรอยต่อที่ผลผลิตตกลงจะได้น้อยที่สุด

เรื่องนี้เถียงกันไม่จบครับถ้าไม่มีเจ้าของที่(รัฐ) ลงมาช่วยเป็นกรรมการกลาง โดยยึดเอาผลประโยชน์ของบ้านเมืองเป็นหลัก นั่นคือความต่อเนื่องของผลผลิตและรายได้ที่เข้ารัฐ

อาเชฟจะขายหรือไม่ขายนั่น เจ้าที่คงไปบังคับอาเชฟลำบาก เพราะมันก็นะ อาเขาก็มีสิทธิ์โดยชอบธรรมตามสัญญา

แต่ที่เจ้าที่พอทำได้คือขอความร่วมมือให้พี่อ้ายเข้าพื้นที่ หรือ ถ้าไม่ให้เข้าพื้นที่ก็ขอดูข้อมูลที่พอจะให้ได้บ้าง ที่ผมพูดนี่ ไม่ได้เข้าข้างอาหรือพี่นะครับ สมองโง่ๆของผมคิดง่ายๆโดยเอาผลประโยชน์ประเทศเป็นหลักล้วนๆ

อีกอย่างก่อนจบตบท้าย สมองโง่ๆของผมอยากฝากไปถึงอาด้วยว่า อาก็ทำมาหารัปทานบนที่ดินผืนนี้มาช้านาน ช่วงก่อนประมูลได้ยินว่าอาบอกว่ารักและพูกพันกับแผ่นดินผืนนี้มากมาย เมื่ออาไม่ได้ทำมาหารัปทานต่อแล้วก็อยากให้อาทำอะไรที่เป็นรูปธรรมให้กรรมกรในไร่ในสวนอย่างพวกผมเห็นสักนิดเถอะครับ …

_____________________

ภาคแรกที่ฐานฯเล่นข่าวนี้ครับ ผมเคยเม้าส์เอาไว้แล้ว … อ่านภาคแรกก่อน ค่อยไปอ่านภาคสองที่อยู่ถัดไปนะครับ (ถ้ายังไม่เคยอ่าน) …

จ่อซื้อ เชฟรอนไทย ยกพวง – ปตท.สผ. กำ 1.2 แสนล้าน

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

จ่อซื้อ เชฟรอนไทย ยกพวง – ปตท.สผ. กำ 1.2 แสนล้าน

_____________________

ยึดปิโตรเลียม

ยึดปิโตรเลียม 3 แสนล้าน! PTTEP-มูบาดาลา-มิตซุยฯ แย่งซื้อ ‘เชฟรอน’

ที่มา http://www.thansettakij.com/content/396755

พลังงานเปิดขุมทรัพย์ปิโตรเลียมกลางอ่าวไทย เผย แต่ละปีมีมูลค่าซื้อขายไม่ต่ำกว่า 3 แสนล้าน ชี้! เหตุ ปตท.สผ. เร่งเจรจาขอซื้อหุ้นเชฟรอน หวังเป็นยักษ์ใหญ่กินรวบผลิตก๊าซของประเทศ ยันหากเชฟรอนขายทิ้งกิจการ เอกชนรายอื่นโดดร่วมแข่งขันแน่

ความพยายามของกลุ่มบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ที่ต้องการชนะการประมูลแหล่งปิโตรเลียมเอราวัณและบงกช ที่จะหมดอายุสัมปทานในช่วงปี 2565-2566 โดยการเสนอราคาขายก๊าซธรรมชาติคงที่ในราคาค่อนข้างต่ำ 116 บาทต่อล้านบีทียู ทั้ง 2 แหล่ง เพื่อเอาชนะกลุ่มบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ที่เสนอราคาขายก๊าซค่อนข้างสูงแตกต่างกันมาก ทำให้หลายฝ่ายตั้งข้อสงสัยว่า การเสนอขายราคาก๊าซที่ต่ำนั้น จะคุ้มกับต้นทุนหรือมีกำไรจากการดำเนินงานได้หรือไม่

หวั่นเข้าพื้นที่ ‘เอราวัณ’ ไม่ได้

นอกจากนี้ ทาง ปตท.สผ. ออกมายอมรับต้องการซื้อหุ้นของเชฟรอน ที่ถืออยู่ในแหล่งเอราวัณ 71.25% ก่อนที่สัญญาจะสิ้นสุดในปี 2565 หลังจากที่เชฟรอนพ่ายแพ้การประมูล ด้วยเหตุผลหนึ่ง เพื่อให้การเข้าไปดำเนินงานในช่วงรอยต่อไม่เกิดสะดุด และสามารถผลิตก๊าซธรรมชาติได้ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้อย่างต่ำ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จากปัจจุบัน ผลิตอยู่ที่ราว 1,261 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เนื่องจากขณะนี้เองมีสัญญาณมาแล้วว่า ทางเชฟรอนไม่ยอมให้เข้าพื้นที่ เพราะยังไม่สิ้นสุดสัญญาสัมปทาน

อีกทั้งต้องการซื้อหุ้นที่เชฟรอนถืออยู่ในแหล่งก๊าซอีก 7 แปลง ไม่ว่าจะเป็น แหล่งไพลิน ถือหุ้นในสัดส่วน 35% ผลิตก๊าซอยู่ที่ 395.7 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน กลุ่มแหล่งทานตะวันและเบญจมาศ ถือหุ้นในสัดส่วน 51.66% ผลิตก๊าซอยู่ที่ 74.5 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน แหล่งยูงทอง ถือหุ้นในสัดส่วน 71.25% ผลิตก๊าซอยู่ที่ 3.44 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และแหล่งลันตาและสุรินทร์ ถือหุ้นในสัดส่วน 51% ผลิตก๊าซอยู่ที่ 1.55 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน แหล่ง G8/50 ถือหุ้นในสัดส่วน 16% ผลิตก๊าซอยู่ที่ 0.75 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน แหล่งอาทิตย์ ถือหุ้น 16% ผลิตก๊าซที่ 295 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน แหล่งราชพฤกษ์ ถือหุ้น 7.32% (ม.ค. 62 หยุดผลิตก๊าซ)

กินรวบปิโตรเลียมอ่าวไทย

ดังนั้น หากเชฟรอนยินดีที่จะขายหุ้นทั้งหมด จะส่งผลให้กลุ่ม ปตท.สผ. กลายเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติ คอนเดนเสต และน้ำมันดิบรายใหญ่สุดในอ่าวไทย โดยเฉพาะปริมาณการผลิตก๊าซฯ ที่จะมีมากกว่า 2,500 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน คอนเดนเสตไม่ต่ำกว่า 8 หมื่นบาร์เรลต่อวัน และน้ำมันดิบราว 8-9 หมื่นบาร์เรลต่อวัน ในขณะที่ บริษัทอื่น ๆ จะเป็นเพียงผู้ประกอบการรายเล็กที่เข้าไปถือหุ้นในแหล่งต่าง ๆ และผลิตปิโตรเลียมในปริมาณที่ไม่มาก ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มมูบาดาลา, บริษัท ออเร้นจ์ เอ็นเนอร์ยี่, บริษัท พลังโสภณฯ, บริษัท โมเอโกะ ไทยแลนด์ฯ, บริษัท มิตซุย ออยล์ เอ็กซโปฯ, บริษัท เพิร์ล ออย (ประเทศไทย) เป็นต้น ซึ่งจะสร้างรายได้ให้กับ ปตท.สผ. อย่างมหาศาล ตามกลยุทธ์หรือนโยบายของ ปตท.สผ. อยู่แล้วที่ต้องการเติบโตในอนาคต

ทั้งนี้ หากมาพิจารณาขุมทรัพย์ที่เกิดขึ้นในอ่าวไทย ในช่วงเดือน ธ.ค. 2561 ที่ผ่านมา พบว่า จำนวนแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติ 48 แหล่ง ปริมาณการขายก๊าซธรรมชาติ 82,361.35 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อเดือน มีมูลค่าการขาย 16,185 ล้านบาทต่อเดือน มีแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ คอนเดนเสต 33 แหล่ง มีปริมาณการผลิต 2,601,794 บาร์เรลต่อเดือน มีมูลค่าการขาย 4,638 ล้านบาทต่อเดือน แหล่งผลิตน้ำมันดิบ 31 แหล่ง ปริมาณการขาย 2.89 ล้านบาร์เรลต่อเดือน มีมูลค่าการขาย 5,571 ล้านบาท ซึ่งหากรวมมูลค่าจากยอดขายปิโตรเลียมทั้งหมดจะตกอยู่ที่ราวปีละกว่า 3.16 แสนล้านบาท ดังนั้น จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมกลุ่ม ปตท.สผ. ถึงอยากได้หุ้นของเชฟรอนมาครอบครองทั้งหมด

จ่อซื้อ เชฟรอนไทย ยกพวง

หลายรายสนใจหุ้นเชฟรอน

แหล่งข่าวจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับสัญญาณจาก บริษัท เชฟรอน คอร์ปอเรชั่นฯ บริษัทแม่จากสหรัฐอเมริกา ว่า จะขายหุ้นในแหล่งสัมปทานต่าง ๆ ซึ่งเข้าใจว่าอยู่ระหว่างการพิจารณาตัดสินใจ หลังจากแพ้การประมูลแหล่งเอราวัณให้กับกลุ่ม ปตท.สผ. แต่หากเชฟรอนตัดสินใจขายหุ้นทิ้งจริง น่าจะได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการหลายรายที่อยู่ในวงการธุรกิจขุดเจาะสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ที่ดำเนินการอยู่แล้วในอ่าวไทย เพราะนอกเหนือจาก ปตท.สผ. ให้ความสนใจซื้อหุ้นเชฟรอนแล้ว ที่น่าจับตายังมีอีก 2-3 บริษัท ไม่ว่าจะเป็น มูบาดาลา จากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่ปัจจุบันได้จับมือกับกลุ่ม ปตท.สผ. เข้าประมูลแหล่งเอราวัณ ในสัดส่วนถือหุ้น 40% และต้องการขยายฐานธุรกิจปิโตรเลียมในไทยมากขึ้น

นอกจากนี้ ยังมี บริษัท มิตซุย ออยล์ เอ็กซ์โปลเรชั่นฯ จากญี่ปุ่น ที่เป็นพันธมิตรกับเชฟรอน ถือหุ้นในการเข้าประมูลแหล่งเอราวัณและบงกชในสัดส่วน 24% ทั้ง 2 แหล่ง ได้ผิดหวังกับการประมูลครั้งนี้ หากเชฟรอนประกาศขายหุ้น ก็เป็นโอกาสที่จะตัดสินใจเข้าเจรจาซื้อหุ้นได้ เพราะปัจจุบัน มิตซุยฯ ถือหุ้นในแหล่งเอราวัณสัดส่วน 23.75% อยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม หากเชฟรอนประกาศขายหุ้นในแหล่งสัมปทานต่าง ๆ และ ปตท.สผ. ชนะในการเข้าซื้อหุ้น จะทำให้กลุ่ม ปตท.สผ. มีสัดส่วนในการผลิตปิโตรเลียมมากที่สุด โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่ปัจจุบันผลิตอยู่ราว 2,600 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน

ขุมทรัพย์ปีละกว่า 3 แสนล้าน

จากข้อมูลของกรมฯ พบว่า ในเดือน ธ.ค. 2561 ที่ผ่านมา มีปริมาณการขายก๊าซธรรมชาติทั้งประเทศ ประมาณ 86,065 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อเดือน คิดเป็นมูลค่าราว 16,897 ล้านบาทต่อเดือน มีปริมาณการขายก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ คอนเดนเสต 2.61 ล้านบาร์เรลต่อเดือน มูลค่า 4,652 ล้านบาทต่อเดือน และน้ำมันดิบมียอดขาย 3.77 ล้านบาร์เรลต่อเดือน มีมูลค่า 7,063 ล้านบาทต่อเดือน คิดเป็นมูลค่ารวมที่ 2.53 หมื่นล้านบาทต่อเดือน หรือราว 3.43 แสนล้านบาทต่อปี

ขณะที่ ปริมาณการขายก๊าซธรรมชาติในเดือน ม.ค. 2562 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 78,199 ล้านบาร์เรลต่อเดือน คิดเป็นมูลค่า 15,103 ล้านบาทต่อเดือน มีปริมาณการขายคอนเดนเสต 2.456 ล้านบาร์เรลต่อเดือน คิดเป็นมูลค่า 4,359 ล้านบาทต่อเดือน ส่วนน้ำมันดิบมียอดขาย 4.46 ล้านบาร์เรลต่อเดือน คิดเป็นมูลค่า 8,369 ล้านบาทต่อเดือน รวมมูลค่าทั้งหมด 27,831 ล้านบาทต่อเดือน หรือราว 3.3 แสนล้านบาทต่อปี

ทั้งนี้ แม้รายได้จากการขายปิโตรเลียมทั้งประเทศจะอยู่ในปริมาณที่สูง แต่หากพิจารณาด้านการลงทุนในแต่ละปีแล้วจะมีไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาท เพื่อรักษาอัตรากำลังการผลิตและการขุดเจาะหาปริมาณปิโตรเลียมเพิ่ม

เปิดประมูลรอบใหม่กลางปีนี้

ส่วนการเปิดประมูลแหล่งปิโตรเลียมรอบใหม่นั้น ขณะนี้ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติกำลังเร่งดำเนินการศึกษาเปิดประมูลแปลงปิโตรเลียมในอ่าวไทยเป็นรูปแบบระบบแบ่งปันผลผลิต (พีเอสซี) คาดว่าจะสามารถออกประกาศเชิญชวนผู้เสนอรับสิทธิ์และสำรวจปิโตรเลียมรอบใหม่ได้ภายในเดือน มิ.ย. นี้ ประมาณ 6 แปลง พื้นที่ 1.18 หมื่นตารางกิโลเมตร เนื่องจากมีความจำเป็นต้องผลิตก๊าซจากแหล่งในประเทศ เพื่อลดการนำเข้าแอลเอ็นจี

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------