ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

ประมูลเอราวัณ บงกช เน้นต้องมีเงินทุน ประสบการณ์สูง และจ้างงานคนไทย

ประมูลเอราวัณ บงกช งวดเข้ามาทุกทีๆ ไปดูกันว่าเงื่อนไขหลักๆมีอะไรบ้าง ใครขี้เกียจอ่านทั้งหมด ก็เอาตรงนี้ไปเลยครับ สรุปสั้นๆ เอาเฉพาะที่เกี่ยวกับรากหญ้ากรรมกรอย่างเราๆท่านๆ

  1. มีเอกชน 3 กลุ่ม คือ เชฟรอน ปตท.สผ. และมูบาดาลา ที่แสดงความพร้อมจะเข้าร่วมประมูลครั้งนี้
  2. ผู้เข้าร่วมประมูลจะต้องเสนอสัดส่วนการจ้างพนักงานไทยไม่ต่ำกว่า 80% ในสิ้นปีที่ 1 และไม่ต่ำกว่า 90% ในสิ้นปีที่ 5 ของการดำเนินงาน

เท่าที่ผมเห็นก็เกี่ยวโดยตรงกับพวกเราก็เพราะ ข้อแรกบอกเป็นนัยๆว่า ถ้าทำงานอยู่ 3 บ.นี้ หรือ เป็น service company ที่ทำงานให้ 3 บ. นีั้ ก็นะ มีสิทธิลุ้น ส่วนเรื่องการจ้างงานนั้นก็นะ รู้ๆอยู่ อย่างที่ได้เม้าส์มอยไปแล้วในตอนที่ผ่านมา —> จ้างคนไทย

ที่เหลือไม่ค่อยเกี่ยวกับพวกเรารากหญ้าเท่าไร เพราะเป็นเรื่องของประเทศกับบริษัทต่างๆว่า ใครได้เท่าไร เงื่อนไขอย่างไร ยกเว้นแต่คุณกำเงินมาพร้อมประมูลกับ 3 เจ้านั่น 555 🙂 หรือ เป็นสมาชิกสภากาแฟ ต้องการมีรายละเอียดไปวิเคราะห์กันต่อ …

———————————————

ที่มา http://www.energynewscenter.com/index.php/news/detail/1248

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

กพช.รับทราบ TOR ประมูลเอราวัณ บงกช เน้นต้องมีเงินทุน ประสบการณ์สูง และจ้างงานคนไทย

คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีมติรับทราบ แผนการเปิดประมูลแหล่งปิโตรเลียมเอราวัณ บงกช โดย เริ่มประกาศเชิญชวนยื่นเอกสารเพื่อเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบคุณสมบัติ ตั้งแต่วันที่ 24 เม.ย. 2561 นี้ ผู้ที่ผ่านคุณสมบัติ จึงจะมีสิทธิเข้ามาศึกษาข้อมูลแหล่งผลิตและยื่นประมูล คาดรู้ผล ธ.ค. 2561

เผยเงื่อนไขการประมูล(TOR) เบื้องต้น 4 ข้อ และต้องมีความพร้อมเรื่องเงินทุนหมุนเวียน มีประสบการณ์ผลิตปิโตรเลียมในทะเล และต้องจ้างงานคนไทยที่ทำงานอยู่บนแท่นผลิตทุกระดับ ซึ่งมีอยู่กว่าหมื่นคน ไม่น้อยกว่า 80% เมื่อสิ้นปีที่1 ในขณะที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติระบุ มีเอกชน 3 กลุ่ม คือ เชฟรอน ปตท.สผ. และมูบาดาลา ที่แสดงความพร้อมจะเข้าร่วมประมูลครั้งนี้

นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้มีมติรับทราบการดำเนินงานของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ในการเปิดประมูลแหล่งก๊าซธรรมชาติ ที่กำลังจะสิ้นอายุสัมปทาน ในปี 2565-2566 (แหล่งเอราวัณและแหล่งบงกช)

โดยให้ออกประกาศเชิญชวนผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมประมูลยื่นเอกสารเพื่อเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบคุณสมบัติ ได้ตั้งแต่ ในวันที่ 24เมษายน2561 ตามที TOR การเปิดประมูลระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing Contract : PSC) โดยสามารถขอเอกสารได้ที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ซึ่งกรมฯจะใช้เวลาตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้นให้เสร็จในเดือนพ.ค. 2561

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

โดยขั้นตอนหลังจากนั้น ผู้ที่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่กำหนด สามารถเข้ามาศึกษาข้อมูลแหล่งผลิต (Data room) ภายในเวลา 4 เดือน หลังจากนั้นจึงให้ทำข้อเสนอการประมูลยื่นมายังกรมฯประมาณเดือน ก.ย. 2561 และกรมฯจะใช้เวลาพิจารณาข้อเสนอประมาณ 2 เดือนครึ่ง และจะพิจารณาคัดเลือกให้เสร็จภายในสิ้นเดือนธ.ค. 2561 ก่อนที่จะจัดให้มีการลงนามสัญญาภายในเดือนก.พ. 2562

ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การประมูลเบื้องต้น ประกอบด้วย

1.ผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิต ต้องผลิตก๊าซฯ ปริมาณขั้นต่ำ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ต่อเนื่องเป็นเวลา 10 ปี ในแปลงสำรวจเลขที่ G1/61 (แหล่งเอราวัณ) ส่วนในแปลงสำรวจหมายเลข G2/61 (แหล่งบงกช) ต้องผลิตก๊าซฯในประมาณการผลิตขั้นต่ำ 700 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ต่อเนื่องเป็นเวลา 10 ปี เช่นเดียวกัน

2.ผู้เข้าร่วมประมูลจะต้องเสนอราคาก๊าซฯที่ไม่สูงไปกว่าราคาเฉลี่ยของราคาก๊าซฯ ในปัจจุบัน ตามสูตรราคาที่กำหนดในเงื่อนไขการประมูล (ราคาซื้อขายก๊าซฯ ณ เดือนก.พ. 2561 ในแหล่งเอราวัณอยู่ที่ 165 บาทต่อล้านบีทียู และในแหล่งบงกชอยู่ที่ประมาณ 200 บาทต่อล้านบีทียู โดยการที่กำหนดราคาก๊าซแตกต่างกัน เนื่องจากแหล่งบงกชมีขนาดที่เล็กกว่า และการเจาะหลุมผลิตทำได้ยากจึงมีต้นทุนที่สูงกว่า )

3.ให้ผู้เข้าร่วมประมูลเสนอสัดส่วนการแบ่งกำไรให้รัฐ ซึ่งจะต้องไม่ต่ำกว่า 50% และเสนอผลประโยชน์พิเศษต่างๆ เช่น โบนัสการลงนาม โบนัสการผลิต และผลประโยชน์พิเศษอื่นๆ

4.ผู้เข้าร่วมประมูลจะต้องเสนอสัดส่วนการจ้างพนักงานไทยไม่ต่ำกว่า 80% ในสิ้นปีที่ 1 และไม่ต่ำกว่า 90% ในสิ้นปีที่ 5 ของการดำเนินงาน

โดย นายกรัฐมนตรี ได้เน้นย้ำในที่ประชุม ว่าในการประมูลแหล่งเอราวัณและบงกช ในครั้งนี้จะต้องให้ความสำคัญกับการจ้างพนักงานคนไทยที่ปฏิบัติงานอยู่บนแท่นผลิตในทุกระดับ เช่น ผู้บริหาร วิศวกร ช่าง และแรงงาน โดยให้ว่าจ้างพนักงานที่ดำเนินงานอยู่ในปัจจุบันเป็นอันดับแรก ซึ่งให้ความเชื่อมั่นว่าการประมูลครั้งนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ปฏิบัติงานใน 2 แหล่งดังกล่าว ที่มีการจ้างงานตรงกว่า 2,000 คน และแรงงานสืบเนื่อง 4-5 เท่าของแรงงานโดยตรง รวมพนักงานในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมกว่า 1 หมื่นคน

สำหรับปริมาณก๊าซฯ สำรองในแหล่งเอราวัณและบงกช ปัจจุบันมีอัตราการผลิตรวม 2,110 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งดำเนินการผลิตไปแล้ว 75% ของปริมาณสำรองก๊าซฯ และคาดว่ายังคงเหลือปริมาณก๊าซฯประมาณอีก 25-30% เพียงพอต่อความต้องการใช้ก๊าซฯที่กำหนดปริมาณการผลิตขั้นต่ำจากทั้งสองแหล่งดังกล่าวอยู่ไม่ต่ำกว่า 1,500 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ไปได้ไม่ต่ำกว่า 10 ปีข้างหน้า

อย่างไรก็ตาม นายศิริ กล่าวว่า ความต้องการใช้ของภาคปิโตรเคมี (ผ่านโรงแยกก๊าซฯ) อยู่ที่ 1,700 ล้านลูกบาศ์ฟุตต่อวัน ซึ่งหากคำนวณอัตราการผลิตก๊าซฯขั้นต่ำที่ 1,500 ล้านลูกบาศก์ฟุต จะยังเหลือก๊าซฯที่ขาดไปอีก 200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน แต่ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่มีมูลค่าหลายแสนล้าน เนื่องจากโรงแยกก๊าซฯต้องปรับตัวและมีแผนปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว ขณะเดียวกัน ปตท.มีแผนหยุดผลิตโรงแยกก๊าซฯ แห่งที่ 1 ที่ จ.ระยอง กำลังการผลิต 1 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เนื่องจากเป็นโรงเก่าที่เดินเครื่องมานานกว่า 34 ปีแล้ว

นายศิริ กล่าวด้วยว่า การประมูลในครั้งนี้ กระทรวงพลังงานเห็นว่าบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ควรจะต้องเข้าร่วมประมูลทั้งแหล่งบงกชและเอราวัณ เพื่อความมั่นคงด้านพลังงาน ส่วนบริษัท เชฟรอน ประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานแหล่งเอราวัณในปัจจุบัน นั้น แสดงความสนใจเข้าร่วมประมูลในแหล่งเอราวัณ อย่างแน่นอน

ด้าน นายวีระศักดิ์ พึ่งรัศมี อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวว่า สำหรับคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้เข้าร่วมประมูลประกอบด้วย

1.ผู้ร่วมประมูลในแหล่งเอราวัณ กำหนดให้ต้องมีเงินทุนหมุนเวียนของบริษัทในรอบ 2 ปีย้อนหลังไม่ต่ำกว่า 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนแหล่งบงกชต้องมีเงินหมุนเวียนในรอบ 2 ปีย้อนหลังไม่ต่ำกว่า 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

กรณีที่บริษัทผู้ร่วมประมูลมีเงินหมุนเวียนไม่ครบตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว สามารถให้บริษัทแม่เป็นผู้รับรองเงินหมุนเวียนแทนได้และคุณสมบัติที่ 2. คือ ต้องมีประสบการณ์การผลิตทางทะเลไม่ต่ำกว่า 100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน

สำหรับผู้ร่วมประมูลเบื้องต้นคาดว่าจะมีไม่ต่ำกว่า 3 ราย ได้แก่

1.บริษัท ปตท.สผ. ที่จับมือบริษัทโททาล อีแอนด์พี ไทยแลนด์ จะเข้าร่วมประมูลทั้งแหล่งเอราวัณและบงกช

2.บริษัท เชฟรอน จะจับมือกับบริษัท มิตซุย ออยล์ เอ็กซโพลเรชั่น จำกัด (MOECO) ร่วมประมูลในแหล่งเอราวัณ และบงกช เช่นกัน เนื่องจากการลงทุนทั้งสองแหล่งจะช่วยทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง และ

3.บริษัท มูบาดาลา ปิโตรเลียม ประเทศไทย สนใจเข้าร่วมประมูล แต่ยังไม่ชัดเจนว่าจะประมูลในแหล่งใดบ้าง ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะยื่นประมูลแหล่งเอราวัณ

ด้าน นายสมพร ว่องวุฒิพรชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เปิดเผยภายหลังจากที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2561 ได้รับทราบการดำเนินงานของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ในการเปิดประมูลแหล่งก๊าซธรรมชาติบงกชและเอราวัณว่า ปตท.สผ. จะเข้าร่วมในการประมูลครั้งนี้ โดยมั่นใจว่าประสบการณ์และความชำนาญในการสำรวจ พัฒนาและผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแหล่งบงกชซึ่ง ปตท.สผ. เป็นผู้ดำเนินการมาถึง 20 ปี ทำให้บริษัทมีความเข้าใจลักษณะทางธรณีวิทยาของแหล่งเป็นอย่างดี รวมถึงมีการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและลดต้นทุนมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีต้นทุนที่แข่งขันได้ และหาก ปตท.สผ. ได้รับเลือกให้เป็นผู้ดำเนินการต่อ จะสามารถสร้างความต่อเนื่องในการผลิตก๊าซธรรมชาติให้กับประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่มีการหยุดชะงักในการผลิต รวมทั้งสามารถสร้างผลประโยชน์ให้กับภาครัฐได้มากกว่า

โดยในการประมูลในแหล่งบงกช บริษัทมีแผนจะเข้าประมูลร่วมกับผู้ร่วมทุนรายเดิม (บริษัท โททาล อีแอนด์ พี ไทยแลนด์) เนื่องจากเป็นพันธมิตรในการลงทุนที่ดี สามารถใช้ความรู้และเทคโนโลยีที่มีร่วมกันในการพัฒนาแหล่งบงกชได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนแหล่งเอราวัณ ปตท.สผ. มีเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนการลงทุนจากเดิม โดยอยู่ระหว่างการเจรจากับผู้ดำเนินการปัจจุบัน (เชฟรอน) และเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าร่วมประมูลในกรณีที่ไม่สามารถหาข้อตกลงร่วมกันได้

ส่วนหลักเกณฑ์ TOR ที่ภาครัฐเตรียมจะออกประกาศเชิญชวนประมูลนั้น ปตท.สผ. ขอดูในรายละเอียดต่อไป โดยเชื่อมั่นว่าภาครัฐจะพิจารณาจากการสร้างผลประโยชน์ที่ดีที่สุดแก่ประเทศเป็นหลัก และเชื่อว่าภาครัฐสามารถรักษาสมดุลโดยพิจารณาองค์ประกอบหลาย ๆ ด้าน เพื่อดึงดูดให้บริษัทน้ำมันเข้าร่วมการประมูล และสามารถคัดเลือกผู้ชนะการประมูลที่มีศักยภาพ เพื่อสร้างความต่อเนื่องทางพลังงานให้แก่ประเทศ

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------