ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

บทเรียนการเปลี่ยนแปลง ดิจิทัล (Digital Transformation lesson learnt)

บทเรียนการเปลี่ยนแปลง ดิจิทัล (Digital Transformation lesson learnt) – สวัสดีครับ ช่วงนี้ผมเงียบหายไปนานเลย งานราษฎร์งานหลวงรัดตัวน่ะครับ ด้วยความบังเอิญหรืออะไรก็ไม่ทราบ ช่วงนี้มีงานพบป่ะกันกับเพื่อนรุ่นเก่าๆมากเป็นพิเศษ พูดภาษาบ้านๆก็เลี้ยงรุ่นน่ะครับ ทั้งรุ่น ม.1 (ไม่ได้สะกดผิดครับ ม.1 จริงๆ) รุ่น ม. 6 และ มหาวิทยาลัย

แน่นอนว่า ก็ต้องเม้าส์มอยกันไปตามเรื่อง และ ตามปริมาณ ตามดีกรีของไวน์ …

Digital Transformation Star Trek The Ultimate Computer ดูละครย้อนดูตัว

บทเรียนการเปลี่ยนแปลง ดิจิทัล

หัวข้อสนทนายอดนิยมในวัยผมนี้ก็เรื่องสุขภาพมาอันดับแรก เรื่องการเมืองก็ตามมา แล้วก็เรื่องการงาน

มาสักพักใหญ่ๆล่ะ ที่กระแสการทำ Digital Transformation กำลังมาแรงเว่อร์ๆ บ.ไหนไม่ทำเรื่องนี้ก็จะตกเทรน โดยเฉพาะบ.ใหญ่ๆ ถ้าใครจำได้ 25 ปีก่อน มีกระแสอะไรทำนองนี้เกิดขึ้นในวงการธุรกิจ และ อุตสาหกรรมทั่วโลก บ.ไหนๆก็จะทำ หรือ ต้องทำ ไม่งั้นตกเทรน มีใครจำ re engineering ได้บ้างครับ ประมาณนั้นเลย

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

ขนาดองค์กรรัฐ กระทรวงต่างๆยังคิดจะ re engineering กันเลย ทั้งๆที่รู้ว่า มันยากยิ่งกว่า MI1 + MI2 + MI3 ให้สามภาค ให้ 3 x ลุง ทอม ครุยส์ รวมกันเลย 555

วันนี้แทบจะไม่มีใครรู้จักคำนี้กันแล้ว …

วันนี้จะขอรวบรวมบทเรียนต่างๆที่เพื่อนๆผมและตัวผมเองเม้าส์มอยกันว่า พวกเรา (และ บ.พวกเรา) ได้บทเรียนอะไรมากันบ้าง มองในแง่บวกก็คือ ถ้าบ.ไหนจะทำเรื่อง Digital Transformation นี้ ควรจะแก้ ควรจะจัดการกับสิ่งนี้เสียก่อน พลีพลามทำไปก็นะ เสียเวลาเสียเงินไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพแน่นอน

ถ้าไปกูเกิลดูจะเห็นว่ามีกูรูเขียนบทความเล่านี้ไว้แล้วเยอะแยะ

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

แต่วันนี้ผมจะมาชวนคุยแบบยกตัวอย่างจริงๆ ตรงไปตรงมา ฟัดฉัวะๆฉับๆด้วยภาษาบ้านๆเลยว่า ทำไมถึงล้มเหลว ถ้าแก้ประเด็นเหล่านี้ได้ รับรอง ไปได้ฉลุยโลด

Digital Twin Rig ฝันให้ไกล แล้ว(จะ)ไปให้ถึง(ไหมน่ะ)

Digital Transformation คืออะไร

ก่อนเราจะไปเรียนรู้บทเรียนของการเปลี่ยนแปลงสู่โลก digital ขอปูพื้นง่ายๆ แบบบ้านๆ สำหรับเพื่อนพี่น้องที่ยังไม่คุ้นเคยว่า digital transformation คืออะไร

ถ้าเราอ่านหนังสือกระดาษแล้วพิมพ์ลงไปในคอมพิวเตอร์ เราเรียกว่า digitization ยังไม่ใช่ Transformation ครับ นั่นคือ เป็นแค่การเปลี่ยนรูปข้อมูลจาก analog (ข้อมูลต่อเนื่อง พิมพ์บนกระดาษ อ่านด้วยสายตา โดยใช้แสงตกกระทบตัวหนังสือแล้วสะท้อนเข้าตา) ให้เป็น digital หรือ อีกตัวอย่าง เช่น อัดเสียง(ข้อมูลต่อเนื่อง การสั่นของโมเลกุลอากาศ) ลงแผ่นซีดี (ข้อมูลเป็น 0 กับ 1)

ถ้าเราอยู่ต่างจังหวัด เขียนจดหมาย แนบรายการค่าหน่วยกิต ไปขอตังค์พ่อมาลงทะเบียนเรียน แล้วพ่อส่งธนาณัติใส่ซอง เราเอาธนาณัติไปขึ้นเงินที่ไปรษณีย์แล้ว กำเงินไปฝ่ายการเงิน จ่ายเงิน เอาใบเสร็จค่าลงทะเบียนใส่ซอง ส่งกลับไปให้พ่อ

เราเปลี่ยนขบวนการทำงานเดิมๆโดยใช้ข้อมูลที่ เปลี่ยนมาเป็น digital แล้ว เช่น แสกนแนบรายการค่าหน่วยกิต (หรือโหลดจากเว็บไซด์มหาวิทยาลัย) อีเมล์หาพ่อ พ่อก็โอนเงินเข้าบัญชีเรา เราก็โอนต่อให้มหาวิทยาลัย (หรือพ่ออาจจะโอนตรงเข้าบัญชีมหาวิทยาลัยในชื่อเราเลย)

แบบนี้เขยิบขึ้นมาอีกนิด ก็ยังเป็นแค่ Digitalization คือ เปลี่ยนวิธีชีวิตปกติๆแบบ analog มาเป็นชีวิตที่ใช้ข้อมูลที่อยู่ในรูป 0 1 (digital) ทำให้ชีวิตง่ายขึ้น เร็วขึ้น

ตัวอย่างง่ายๆ เช่น แทนที่จะใช้เทปคาสเซ็ท (analog) ฟังเพลง การจะเลื่อนไปเลือกหาเพลงที่ต้องการก็กดปุ่ม fwd กรอเทป ครืดๆ แล้วรอ กว่าจะได้ฟัง เปลี่ยนเป็นฟังแผ่นซีดี กดปุ่มเอาเลยจากเมนูว่าจะฟังเพลงไหน

เห็นไหมครับ ขบวนการเดิม ความต้องการเดิม (ฟังเพลง) แต่ถ้าข้อมูลเป็น 0 1 (digital) ชีวิตมันก็ง่ายขึ้น เร็วขึ้น สะดวกขึ้น

แล้วแบบไหนถึงจะเรียกว่า digital transformation

digital transformation มันคือการเปลี่ยนแปลงวิธีคิด วิธีการทำธุรกิจ(หรือการดำเนินชีวิตในแง่ของเราๆท่านๆ) ไปโดยสิ้นเชิง ทำให้ธุรกิจ การทำงาน เดิมๆ (หรือพฤติกรรม นิสัย) สาบสูญไป ก่อให้เกิด ธุรกิจ การทำงาน (หรือพฤติกรรม นิสัย) ใหม่ๆขึ้นมาแทนที่

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

ตัวอย่างง่ายๆคือ การซื้อของออนไลน์นี่แหละครับ พฤติกรรม นิสัย ในการซื้อของรุ่นผมเด็กๆเปลี่ยนไปจากหน้ามือเป็นหลังเท้าเลย คงไม่ต้องอธิบาลล่ะว่า พฤติกรรม นิสัย ในการซื้อของยุคนี้ ต่างกับยุคก่อนอย่างไร

คำสำคัญ หรือ keyword คือ “transformation” ทำให้เกิดการ “เปลี่ยน” -“เกิดใหม่” – “สาบสูญไป” ของ ธุรกิจ ขบวนการ นิสัย พฤติกรรม ประสบการณ์ ฯลฯ ไม่ใช่แค่ทำเรื่องเดิมๆให้สะดวกขึ้น เร็วขึ้น แค่ digitalization อย่างในตัวอย่างของ คาสเซ็ท-ซีดี ไปรษณีย์-อีเมล์

บทเรียนการเปลี่ยนแปลง ดิจิทัล

ต้องเริ่มจากข้างบนลงข้างล่าง (top down)

leadership ต้องมาก่อน ทำนองหัวไม่ส่ายหางก็ไม่กระดิก ถ้าเบอร์หนึ่งเบอร์สองเบอร์สามขององค์กร ยังไม่รู้จักใช้ mobile device เปิดดู dashboard ข้อมูลล่าสุดต่างๆด้วยตัวเองในระบบ ใน dashboard (ที่ลูกน้องอุตส่าห์เสียเวลา และ เงินเป็นล้านๆบาท ทำเอาไว้) แล้วต้องสั่งให้เลขา ให้ลูกน้อง ทำ powerpoint หรือ เขียนสรุปย่อ แล้วเมล์มาให้อ่าน หรือ พิมพ์เป็นกระดาษออกมา แล้วล่ะก็ ชาติหน้าบ่ายๆเถอะครับ ผู้นำแบบนี้จะเปลี่ยนองค์กรได้

อย่าขำไปนะครับ เรื่องจริง เอ่ยชื่อบ.ซื่อ ซีอีโอ ไปแล้วจะหัวเราะกัน (ผมก็โดนฟ้อง ให้เพื่อนๆไปส่งข้าวผัดโอเลี้ยงในคุก แน่ๆ 555)

จ้างคนนอกมาสั่งคนใน (consultant)

บทเรียนการเปลี่ยนแปลง ดิจิทัล … กรณีคลาสิกเลยครับ คนในไม่ฟังกันเอง ต้องเอาคนนอก (บ.ที่ปรึกษา) มาบอกให้ทำ ซึ่งก็ไม่ผิดหรอกครับ คนนอก มีมุมมองที่กว้างไกลกว่า เห็นตัวอย่างบ.อื่นๆในอุตสาหกรรมอื่นๆที่มากกว่าคนใน ก็อาจจะใช้ประโยชน์จากคนนอกในแง่มุมนั้นได้

จากประสบการณ์เพื่อนๆในวงร่ำไวน์ (ซึ่งก็มีเพื่อนๆ 2 – 3 คน ทำงานเป็นคนนอกเช่นกัน) สรุปว่า ตอนแรกๆคนนอกก็เข้ามาด้วยไอเดียดีๆบรรเจิดๆนั่นแหละ แต่พอคุยกับคนในแล้วก็พบว่า 100% ของเรื่องที่จะทำนั้น คนในรู้หมดแล้ว และ 80 – 90% คนในก็ทำไปหมดแล้ว หรือ กำลังทำอยู่ เหลือ 10 – 20% เท่านั้นที่ติด “ตอ” อยู่ก็ต้องเอาคนนอกนี่แหละมาเป็นข้ออ้างเพื่อที่จะขุด “ตอ” 555

ส่วนมากเงื่อนไขการจ้างคนนอกก็คือ มาเริ่มช่วยคนในขุดตอขึ้นมาในช่วงแรก ระยะหนึ่ง แล้วก็ชิ่ง ส่งใบแจ้งหนี้เก็บเงิน กลับบ้านไป ปล่อยให้คนในขุดตอกันต่อไป ถ้าผู้นำเข็มแข็งและเชื่อมั่นในแนวทางที่จะเดินไป ในที่สุดตอก็จะถูกขุดขึ้นมา แต่ถ้าทำแบบแฟชั่น พอให้ได้คุยกับตลาดฯ ออกสื่อ คุยกับ บ.หลักทรัพย์ที่มาเยี่ยม (company visit) ก็ไม่สามารถขุดตอขึ้นมาได้ มิหน่ำซ้ำ ตอนั้นดันงอกราก แตกหน่อ แตกกิ่งก้านออกมาเสียอีก (หุหุ)

Digital transformation นี้ก็เช่นกัน คนนอกก็มักจะเอาตัวอย่าง กรณีศึกษา จากภายนอก (ที่เรียกหรูๆว่า use case มันก็คือตัวอย่าง หรือ กรณีศึกษา ดีๆนี่แหละ) เอามาให้ช็อปปิ้งกันว่า ทำอะไรแบบไหนดี จะก๊อปมาทั้งดุ้น หรือ เอาบางประยุกต์บางส่วนก็ว่าไป

ส่วนมากในวงไวน์บอกว่า คนในมักจะถูกเร่งรัดรวมรัดให้คนในเลือก ให้ลองทำ เพราะต้องการเห็นผลเร็วๆ จะได้วางบิลเก็บตังค์ บางซีอีโอก็ฉลาด ทำสัญญากับคนนอกว่า นอกจากเริ่มทำแล้ว ต้องอยู่เป็นพี่เลี้ยงด้วยสัก 1 – 2 โครงการ จนแน่ใจว่าไปรอด แล้วค่อยวางบิลเก็บตังค์(นะจ๊ะ)

ผมไม่ได้บอกว่า จ้างคนนอกมาช่วยนั้นไม่ดีไม่ถูกต้อง แต่ต้องทำอย่าง ฉลาด เปิดใจรับอะไรใหม่ๆ และ รู้เท่าทัน

Agile and MVP คืออะไร

เป็นสูตรเลยครับในการทำ Digital transformation ที่จะต้องมีการะดมสมอง คัดสรรกลั่นกรองโปรเจคต่างๆ และ จัดทีมงานย่อยๆทำงานโปรเจคต่างๆนั้นโดยทำงานในรูปแบบ Agile (คล่องตัวปราดเปรียว) โดยตั้งเป้าเป็น MVP (Minimum Viable Product)

การทำงานแบบ Agile

กูเกิลเอาก็ได้ แต่จะสรุปย่อแบบบ้านๆให้ว่าคือ การทำงานแบบตั้งเป้าเล็กๆ เน้นผลเป็นหลัก ทำให้ได้ผลลัพท์เบื้องต้นที่ใช้งานได้ออกมาใช้กันก่อน แล้ว ค่อยขยายผลไปเรื่อยๆในขั้นต่อไป ซึ่งต่างจากขั้นตอนการทำงานแบบเดิมๆ (waterfall) ที่เราคุ้นชินกัน (หาไอเดีย – ออกแบบ – พัฒนา – ทดสอบ บลาๆ)

บทเรียนการเปลี่ยนแปลง

ก็ตามรูปนั่นแหละครับ อารมณ์นั้น ทำเป็นขั้นย่อยๆ ให้ได้ผลลัพท์ออกมาก่อน แล้วค่อย ปรับกันต่อไป ไม่ได้ทำแบบที่เดียวให้ออกมา เริ่ด เป๊ะปัง อลังการ ตอบโจทย์เลย

MVP (Minimum Viable Product)

ผลลัพท์จากการทำงานแบบ agile ในแต่ล่ะขั้น เราเรียกว่า MVP คือ ผลลัพท์ที่พอใช้ได้ไปก่อน ทำไปใช้ไป แก้ไป อารมณ์นั้นเลยครับ

บทเรียนการเปลี่ยนแปลง

แน่นอนว่า Agile และ MVP ไม่เหมาะกับงานทุกประเภท (เช่น ไม่เหมาะกับงาน ตรวจสอบ งานบัญชี งานการเงิน เป็นต้น) แต่สำหรับงาน Digital transformation นี้ Agile และ MVP เป็น ณเดชญ์ เป็น ญาญ่า (พระเอก นางเอก) คู่ขวัญ เลยครับ

กองหนุนไม่พร้อม (มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ)

บทเรียนการเปลี่ยนแปลง ดิจิทัล … แน่นอนว่าผู้บริหารอยากเห็นผลไวๆ ก็มักจากให้นโยบายว่าให้ทำไปเลย สนับสนุนทุกอย่าง อยากได้เงิน ให้เงิน อยากได้คน ให้คน เสี่ยสั่งลุยว่างั้น ขอ MVP เดือนหน้า เอามาลองใช้ก่อนเลยนะครับพี่น้อง บลาๆ …

ทหารเวลาจะไปรบน่ะ กองหนุนต้องพร้อม พลาธิการต้องมี ทหารช่างต้องมา หน่วยแพทย์ต้องพร้อม ปืนใหญ่หนุนต้องเข้าประจำที่เตรียมยิงสนับสนุน ทหารราบกองหน้าถึงจะลุยเข้าไปขอคืน(เอ๊ย ยึด)พื้นที่ได้

งานนี้ก็เช่นกันครับ …

HR (อีกแล้ว) จัดซื้อ ระบบงบประมาณการเงิน และ ไอที ต้องพร้อมสนับสนุน

ต่อให้เบอร์หนึ่งออกตัวแรงแค่ไหน กฏเกณฑ์ ขั้นตอน ต่างๆของบ.เกี่ยวกับงาน 4 อย่างนี้ ไม่เอื้อนะ อย่าหวังว่าจะได้ MVP ออกมาเลยครับ

จะขอคนที่มีความสามารถเฉพาะทางมาร่วมทีม ก็ต้องผ่านขั้นตอนต่างๆมากมาย ติดขัดโน้นนี่นั่น กว่าจะได้คนได้ผู้เชียวชาญก็อีก 4 – 6 เดือน หุหุ

… เช่นเดียวกับจะขอจัดซื้อจัดจ้าง อุปกรณ์ ซอฟแวร์ ที่ปรึกษางานเฉพาะทาง (consultant) ก็ติดระบบจัดซื้อจัดจ้างที่ใช้เวลา และ ขั้นตอนมหาศาล แถมฝ่ายการเงินบอกว่าไม่ได้เตรียมงบฯไว้ ไม่มีงบประจำปี งบฯเฉพาะกิจก็ต้องทำเรื่อง(พร้อมด้วยเหตุผลยาว 3 หน้ากระดาษ) และต้องเข้าไปชี้แจงตอบข้อซักถาม เข้าคณะกรรมการโน้นนี่

ไม่งั้น อยากชิลๆ ก็ทำแผนมา รองบฯปีหน้า (ฮ่วย แล้วจะเอา MVP เดือนหน้า)

ฟาดฟันกันกับจัดซื้อและการเงินมาแทบตาย ได้เงิน ได้งบ จะใช้ซอฟแวร์ ฮาร์แวร์ ก็ต้องรอ นโยบายไอทีอีกว่า ต้องดูความต้องการของทั้งบ.เพื่อจะกำหนดแนวทางการใช้ทรัพยากรไอทีให้เป็นไปในทางเดียวกันเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดโดยรวมขององค์กร รอ(หรือกำลัง)สำรวจความต้องการของทุกโครงการ ทุกหน่วยงานในองค์กร (user requirement) แล้วเอาเข้าคณะกรรมการไอทีก่อนนะ … ปีหน้านะน้อง ถึงจะรู้ว่าจะให้ใช้ visualization tool, analytic tool, อุปกรณ์โน้นนี่นั่น ยี่ห้อไหน รุ่นไหน

… หุหุ … งั้นช่วยโทรฯไปบอก ซีอีโอให้ผมหน่อยว่า MVP ที่จะเอานั่นนะ ปลายปีหน้านะครับ 555

ผมกำลังจะบอกว่า ถ้าต้องการทำการเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่างในรูปแบบนี้ กระบวนการทำงาน ทัศนคติ นโยบาย และ กฏเกณฑ์ ต่างๆกองหนุน ทัพเสริม ทั้ง 4 แผนก นี่แหละครับ ที่ควรจะทำการเปลี่ยนแปลง (transform) ก่อนเพื่อนเลย ไม่งั้นนะก็หัวมังกุดท้ายมังกร แน่ๆ แล้วในที่สุด คนทำงานก็จะหมดไฟที่จะทำ

ทัศนคติ

ไม่รู้ได้ยินมาจากไหนว่า ทัศนคติ คือ ทุกอย่าง (Attitude is everything) ซึ่งจริงมากๆ โดยเฉพาะในกรณีที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น

ขึ้นชื่อว่า “เปลี่ยนแปลง” มันก็ต้องตรงข้ามกับ “ไม่เปลี่ยนแปลง” ซึ่งไปสอดคล้องกับ “บริเวณสะดวกสบาย” (ฟังแล้วจั๊กกะจี้เนอะ ทับศัพท์ว่า comfort zone ก็แล้วกัน)

คนเราโดยปรกติแล้วจะมีแรงเฉื่อย ต้านการเปลี่ยนแปลง เหมือนกฏของที่ 1 ของนิวตัน ที่บอกว่า วัตถุจะคงสภาพความเร็วคงที่ จนกว่าจะมีแรงภายนอกมากระทำ หรือ ที่เรียกว่า กฏของความเฉื่อย (Law of inertia) นั่นแหละครับ

Comfort zone ก็คือ สภาพความเร็วคงที่ ของนิวตันนั่นเอง

แต่คนต่างจากวัตถุตรงที่ คนสามารถเคลื่อนออกจาก comfort zone ได้เอง โดยที่ไม่ต้องมีแรงภายนอกมากระทำ ถ้าทัศนคติ ถูกเปลี่ยน … งานหินของเบอร์หนึ่งของทุกองค์กรครับ ….

ผมไม่เชี่ยวชาญในการล้างสมอง เอ๊ย เปลี่ยนทัศคติใคร แต่ผมรู้ว่าเรื่องทัศนคตินี้เป็นเรื่องใหญ่มากๆที่ต้านการเปลี่ยนแปลงใดๆที่องค์กรจะผลักดัน โดยเฉพาะกับ “ไม้แก่” ที่ไม่ได้หมายถึง “แก่” ในเชิงอายุปฏิทินอย่างเดียว อาจจะ แก่ประสบการณ์ แก่ตัวต้น แก่ความมั่นหน้า และ มั่นใจ

ดังนั้น ผมอยากจะฝากเบอร์หนึ่งขององค์กรที่จะทำเรื่อง Digital Transformation ว่า ต้องจัดการเรื่องนี้ล่วงหน้าแต่เนิ่นๆ ก่อนที่จะมุ่งหวัง MVP จากทีมงาน

ส่งท้าย

จะเรียกว่า HR จัดซื้อ ระบบงบประมาณการเงิน และ ไอที + ทัศนคติ เป็น prerequisite (สิ่งที่ต้องมีต้องพร้อมมาก่อน) ของการทำ digital transformation ก็ไม่ผิดนัก

ท่านซีอีโออาจจะบอกว่า ก็ทำไปพร้อมๆกันก็ได้นี่ ไม่ต้องทำ prerequisite แล้วค่อย digital transformation ซึ่งผมเห็นด้วยครับ เป็นผม ผมก็ไม่รอหรอก ทำมันไปพร้อมๆกันแหละ

แต่ถ้าทำไปพร้อมๆกัน ก็ต้อง 1. อย่าหวังผลเริ่ด 2. สื่อสารกับทีมงานอย่างตรงไปตรงมาถึงอุปสรรคต่างๆอย่างเป็นรูปธรรม เหมือนผมบอกในบทความนี้

อย่าสื่อสารแบบนามธรรมกว้างๆทำนองว่า ทุกการเปลี่ยนแปลง เราต้องเจออุปสรรค ของให้เราพยายาม เราจะฝ่าฟันมันไปได้ … ฟังหรูดูดีครับ แต่ไม่ได้บอกอะไรคนทำงานเลย

บอกไปเลยครับ คุณเจอปัญหาแน่ๆ HR Procurement Budget IT จะเป็นแบบนี้แบบนั้น เจอแน่ๆ เตรียมตัวเตรียมใจไว้เลย ระบบ HR Procurement Budget IT บ.เรายังไม่รองรับ digital transformation เช่น 1 2 3 4 5 อะไรก็ว่าไป เอาให้ชัดๆจะๆ แต่เรากำลังแก้ประเด็นเหล่านั้น บลาๆ อะไรก็ว่าไป จริงจัง และ จริงใจ กับคนทำงาน

อีกอย่างที่ผมอยากแนะนำอย่างแรงคือ เบอร์หนึ่ง ควรไปกินข้าวเที่ยง ข้าวเย็น (ไวน์ได้ก็ดี) กับคนทำงานสักเดือนล่ะครั้ง ฟังข้อมูลดิบจริงๆจากภาคสนามเสียหน่อย รับรอง ตาสว่าง แล้วงานจะเดิน …

ประมาณนี้แหละครับ อาจจะฟังดูตรงไปหน่อย แต่ก็ฟังเสียงจากแก้วไวน์มาหลายๆแก้ว ผู้บริหารระดับสูง และ คนทำงาน ที่เป็นเพื่อนๆกัน รวมทั้งคนนอกที่ไปตั้งบ.ที่ปรึกษามาทำงาน digital transformation (มันก็เถียงตลอด เถียงไปก็โดนเพื่อนด่าไป 555)

ก็ทราบดีว่าบางเรื่องทำได้ง่าย บางเรื่องทำได้ยาก แต่ล่ะบ.ก็มีบริบท พื้นฐาน และ กฏกติกามารยาท ที่แตกต่างกัน เป็นหน้าที่ของเบอร์หนึ่งขององค์กรครับที่ต้องแก้ปัญหาเหล่านี้ ก็ท่านรับเงินเดือน มีรถประจำตำแหน่ง มีเลขาฯ ได้ขึ้นเครื่องบินชั้นหนึ่ง ก็เพื่อแก้ปัญหาพวกนี้ไม่ใช่เหรอครับ … 555 🙂

สำหรับพวกเรา รากหญ้า กรรมกร และ ควายทะเล (ก็รวมผมด้วยแหละ) การเปลี่ยนแปลงคือสิ่งที่แน่นอนที่สุด ไม่ว่าจะในโลกของชีวิตส่วนตัว หรือ การทำงาน คนที่อยู่รอด ไม่ใช่คนที่เก่งที่สุด หรือ ฉลาดที่สุด แต่เป็นคนที่ปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้ดีที่สุดครับ


recta_sapere

คุ้นไหมครับกับบทสนทนาถามคำตอบคำทำนองนี้

ก. หยุดยาวนี้ไปไหน
ข. ไปต่างจังหวัด
ก. ไปเที่ยวกับแฟนอะดิ
ข. เปล่า ไปเยี่ยมญาติ
ก. ที่เชียงใหม่เหรอ
ข. ไม่ใช่ ญาติที่ขอนแก่น
….

จากประสบการณ์ที่อยู่มาจนแก่ พบว่า การที่ใครสักคน (ไม่ว่าความสัมพันธ์เขากับเราจะเป็นแบบไหน) ไม่บอกจนหมดในเรื่องที่โดนถาม ไม่ว่าเรื่องนั้นจะเรื่องอะไร ไม่ได้แปลว่า เขากำลังโกหก เสมอไป แต่เขาอาจจะไม่อยากบอกจริงๆก็ได้ เพราะอะไร มีหลายเหตุผลครับ

ไม่มีประโยชน์อะไรกับใครทั้งนั้น ที่คุณจะรู้

ไม่ใช่เวลาที่จะบอก กำลังยุ่งอยู่ เร็วเกินไป ที่จะบอก เพราะอาจจะทำให้เกิดผลอันไม่พึงประสงค์ตามมา หรือ ช้าเกินไปที่จะบอก เพราะบอกไปก็เปลี่ยนอะไรไม่ได้แล้ว รังแต่จะก่อให้เกิดผลหรือนำไปสู่อะไรต่อมิอะไรที่แย่ลง

ไม่ใช่สถานที่ที่จะบอก เช่น คนเยอะแยะ คนที่ไม่อยากให้รู้อยู่ใกล้ๆ อยู่ที่ทำงาน กำลังเดินทางโดยสารสาธารณะ ไม่ใช่เรื่องที่จะบอกจะคุยทาง ไลน์ ทางโทรศัพท์ หรือ vedio call บลาๆ

คือ กาลละเทศะ นั่นแหละ

ดังนั้น ควรจะเป็นตัวคนถามมากกว่า ที่ควรหยุดถาม หยุดเซ้าซี้ หยุดมโน ไปว่า เขากำลังจะโกหกหรือไม่ ถึงกำลังจะโกหกจริง ก็ไม่จำเป็นต้องไปคาดคั้น เก็บความสงสัยไว้ ไปหาความจริงเอาด้วยวิธีอื่นดีกว่า หลายๆอย่าง หลายๆเรื่อง ไม่จำเป็นต้องรู้ต้องทำเดี๋ยวนั้นตอนนั้นหรอกครับ ส่วนมากแล้วนะ เอามาคิดเอามาทำทีหลัง ได้ผลดีกว่าเยอะ ความใจร้อน พูด-ถาม-ทำ ไปเพื่อตอบสนองความอยากรู้อยากเอาชนะนั้น ไม่เคยให้ผลดีกับใครเลย

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------