ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

ความสามารถ ทางด้านวิศวกรรมของวิศวกร สาขาวิศวกรรมปิโตรเลียม

ความสามารถ ทางด้านวิศวกรรมของวิศวกร สาขาวิศวกรรมปิโตรเลียม ในที่นี้มี 3 กลุ่มใหญ่ การขุดเจาะ แหล่งผลิต และ การผลิต ไม่ได้หมายความว่าวิศวกรปิโตรเลียม 1 คน จะต้องรู้ต้องเป็นทั้ง 3 อย่างนะครับ หมายถึงว่า ในแต่ล่ะ สาขาหลักจะต้องมีความสามารถนั้นๆ เช่น ผมเป็นวิศวกรขุดเจาะ ผมก็ต้องมีความสามารถของวิศวกรขุดเจาะที่กำหนดไว้ (แอบๆอ่านๆไป เอ … ตูมีครบไหมเนี่ย 555)

นอกจากนี้ ในบทความจะกล่าวถึง กรอบความรู้สาขาวิศวกรรมปิโตรเลียมขั้นพื้นฐานทั่วไป และ การดำเนินการวิชาชีพตามมาตรฐานประพฤติปฏิบัติ ซึ่งเป็นอะไรที่กว้างๆของทั้งสามกลุ่ม

คุณสมบัติทั้หมดนี้ถูกกำหนดไว้โดยสภาวิศวกรรมฯ เป็นฉบับร่างน่ะครับ เข้าใจว่า ยังจะต้องมีการปรับแต่งอีกพักหนึ่ง

———————————

ความสามารถ ทางด้านวิศวกรรมของวิศวกร สาขาวิศวกรรมปิโตรเลียม

1 การเจาะ

1.1) มีความรู้ในงานด้านการควบคุมหลุมเจาะ โดย

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

ก) สามารถคำนวณน้ำหนัก และปริมาณน้ำโคลนที่ใส่เข้าไปในหลุมเจาะ ให้ได้ระดับที่เหมาะสมเพื่อช่วยในการควบคุมมิให้เกิดการพลุ่งในขณะดำเนินการเจาะหลุมปิโตรเลียม

ข) สามารถระบุประเภทของของเหลวหรือก๊าซที่ทะลักเข้ามาระหว่างการเจาะหลุมปิโตรเลียม รวมถึงเลือกวิธีการ และดำเนินการในการหมุนเวียนน้ำโคลนเพื่อดึงเอาของเหลวหรือก๊าซดังกล่าวขึ้นสู่ผิวดินโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย

1.2) ออกแบบ และเขียนแผนงานการลงท่อกรุในหลุมปิโตรเลียมอย่างเป็นระบบ

ก) เลือกระดับความลึกในการเจาะหลุม โดยพิจารณาจากข้อมูลทางธรณีวิทยาใต้พื้นดินในระดับที่มีการสะสมตัวของปิโตรเลียม

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

ข) ออกแบบระดับการลงท่อกรุในแต่ละช่วง เพื่อให้เกิดความแข็งแรง และป้องกันแรงดันรอบผนังหลุมเจาะในระดับความลึกที่ต่างกัน และแรงดันจากชั้นของเหลวใต้ดินที่หลุมเจาะผ่าน

ค) มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการไหลของปิโตรเลียม และการควบคุมการไหลของปิโตรเลียมเพื่อให้ได้อัตราการไหลที่ต้องการผ่านท่อกรุ และท่อผลิต

ง) เลือกใช้ประเภทท่อกรุที่เหมาะสม โดยพิจารณาภายใต้หลักการพื้นฐานเรื่องที่โลหะสามารถทนแรงบีบอัดแรงดัน อุณหภูมิ และของเหลวหรือสารประกอบใต้ดินที่อาจทำให้โลหะสึกกร่อน เช่นก๊าซไข่เน่า น้ำเค็มใต้ดิน โดยเฉพาะเมื่อท่อกรุอยู่ใต้พื้นดินในระดับความลึกมากๆ

1.3) ออกแบบ แนวหลุมปิโตรเลียมทั้งประเภทที่เป็นหลุมเอียง และหลุมแนวนอน

ก) สามารถเลือกระดับที่เหมาะสมที่จะเริ่มเจาะหลุมเอียงออกจากแนวดิ่ง และสามารถกำหนดมุมเอียง และ ทิศทางของหลุม เพื่อเข้าสู่บริเวณเป้าหมายที่คาดว่าจะพบเจอปิโตรเลียมที่ได้กำหนดไว้ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

ข) กำหนดอุปกรณ์ก้นหลุม และอุปกรณ์ที่ติดไว้กับก้านเจาะที่เหมาะสม เพื่องานด้านการกำหนดมุม และ ทิศทางของหลุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ค) ควบคุมทิศทางของหลุมเจาะในระหว่างการเจาะให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในแผนการเจาะหลุมปิโตรเลียม

1.4) เลือกแผนการใช้น้ำโคลนเพื่อการเจาะหลุมปิโตรเลียม

ก) เลือกแนวทางการกำหนดส่วนผสมกำหนดระดับน้ำหนักและความหนาแน่น และปริมาณของน้ำโคลนที่จะช่วยในการควบคุมแรงดันใต้พื้นดินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเพียงพอ

ข) คำนวณน้ำหนักน้ำโคลนขั้นต่ำที่จะมีน้ำหนักกดเพียงพอในหลุมที่จะควบคุมแรงดันในแต่ละช่วงของชั้นหินที่เจาะผ่านลงไป

ค) เข้าใจและป้องกันไม่ให้มีการรั่วไหลและปนเปื้อนของปิโตรเลียมจากในหลุมเจาะขึ้นมาสู่ผิวดินในระหว่างการเจาะ

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

1.5) รักษาและปฏิบัติตามกฎระเบียบการขุดเจาะอย่างเคร่งครัด

ก) ออกแบบหลุมปิโตรเลียม โดยให้หลุมเจาะมีความแข็งแรงทนทานไม่เกิดการรั่วซึมของของเหลวใต้ผิวดินไม่ว่าจะเป็น ปิโตรเลียม น้ำเค็มใต้ดิน หรือสารปนเปื้อนอื่นที่ใช้ในการเจาะหลุมปิโตรเลียม ขึ้นสู่พื้นดิน และ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวม

ข) แนะนำการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันการพลุ่ง เพื่อให้หลุมเจาะมีความปลอดภัยเมื่ออยู่ในขั้นตอนการเจาะ และ มีความเข้าใจในคุณสมบัติ และความสามารถของก้านเจาะและอุปกรณ์รูปแบบต่างๆ ที่ติดอยู่ที่ก้นหลุมเพื่อใช้งาน

ค) ออกแบบฐานรับและติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันการพลุ่ง และกำหนดวิธีการทดสอบอุปกรณ์ และคำนวณน้ำหนักเพื่อการตัดก้านเจาะและปิดผนึกหลุมใต้ดินเมื่อเกิดปัญหาการพลุ่งที่ไม่สามารถควบคุมด้วยกระบวนการทางการใช้น้ำหนักน้ำโคลนได้

ง) ออกแบบอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ในแท่นเจาะ เพื่อดำเนินงานและควบคุมการเจาะหลุมปิโตรเลียม และ บำรุงรักษาหลุมปิโตรเลียมให้สมบูรณ์เพื่อการใช้งานปิโตรเลียม

1.6) ออกแบบกระบวนการในการทำงานเพื่องานการวิเคราะห์ลำดับชั้นหินใต้ดิน

ก) เข้าใจสภาพและเงื่อนไขภายในหลุมเพื่อการใช้งานอุปกรณ์หยั่งธรณีหลุมเจาะได้สำเร็จ

ข) เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างน้ำโคลนในหลุมและอุปกรณ์หยั่งธรณี เพื่อจะทำให้กระบวนการหยั่งธรณีเป็นไปได้อย่างราบลื่นและประสบความสำเร็จ

ค) ออกแบบกระบวนการทดสอบหลุมเพื่องานในสภาพสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันไป

1.7) ออกแบบกระบวนการในการทำงานผ่านระบบไฮโดรลิก

ก) เข้าใจพื้นฐานของกลไก และคุณสมบัติของของไหลเพื่อการใช้งานไฮโดรลิก

ข) คำนวณแรงดันที่ลดลงหรือเพิ่มขึ้นในระบบเมื่อปรับของไหลหรือของเหลวที่อัดผ่านหัวเจาะในระหว่างการเจาะ และเข้าใจระบบพื้นฐานของการปรับเปลี่ยนความหนาแน่นและน้ำหนักกดในระหว่างการไหลเวียนของไหลภายในหลุม

ค) ประสานงานไฮโดรลิกกับงานพื้นฐานทางธรณีวิทยา และแผนการใช้น้ำโคลนได้อย่างถูกต้อง

1.8) ออกแบบ และดูแลการควบคุมเศษหินในชั้นหินใต้ดินที่ขึ้นมาระหว่างการเจาะ

ก) เข้าใจสภาพและเงื่อนไขของเศษหินใต้ดินที่ขึ้นมาระหว่างการเจาะ

ข) คัดแยกขนาดของเศษหินที่ขึ้นมาระหว่างการเจาะผ่านกระบวนการการใช้ตะแกรงคัดแยกที่เหมาะสมสำหรับแผนการใช้น้ำโคลน และระบบไฮโดรลิก

ค) ดูแลกระบวนการจัดเก็บตัวอย่างเศษหินเพื่อการประเมินและวิเคราะห์และเก็บไว้เป็นหลักฐานตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และดูแลกระบวนการจัดการเศษหินส่วนที่ไม่ได้ใช้งานเพื่อนำไปทิ้งหรือกำจัดอย่างเหมาะสมตามกฎเกณฑ์ และข้อกำหนดที่ถูกต้อง

1.9) ออกแบบโปรแกรมการใช้ซีเมนต์เพื่อการยึดผนังหลุมกับท่อกรุ

ก) เข้าใจกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องในการใช้ซีเมนต์ยึดท่อกรุ และเข้าใจพื้นฐานการใช้สารเคมีที่ใช้เติมในซีเมนต์พื้นฐานเพื่อให้เกิดความเหมาะสมในแต่ละสภาพสิ่งแวดล้อมในการเจาะหลุมนั้นๆ

ข) ออกแบบสูตรการผสมซีเมนต์ และกระบวนการและแนวทางปฏิบัติอื่นในการใช้ปั๊มอัดซีเมนต์เข้าไปเพื่อยึดผนังหลุมเจาะกับผนังท่อกรุเพื่อให้การยึดตัวแข็งแรงและไม่เกิดการรั่วซึมของของไหล หรือก๊าซในชั้นใต้ดินผ่านขึ้นมาตามแนวซีเมนต์ที่ยึดไม่สมบูรณ์ได้

ค) สามารถออกแบบงานซีเมนต์ในการยึดผนังหลุมเจาะกับท่อกรุในหลุมลักษณะพิเศษ เช่นหลุมที่มีแรงดันใต้ดินสูงมาก หลุมที่มีการไหลของชั้นน้ำใต้ดิน หรือมีการทรุดตัวของชั้นหินใต้ดิน เป็นต้น

2 แหล่งกักเก็บ

2.1) มีความรู้พื้นฐานในงานการวิเคราะห์ชั้นหินตัวอย่างจากการเก็บในระหว่างการเจาะ

ก) เข้าใจวิธีการพื้นฐานในห้องปฏิบัติการเพื่อการวิเคราะห์ ความพรุน การซึมผ่าน และความอิ่มตัวของของไหล ในชั้นหิน และรู้วิธี และเข้าใจการแปลผล และนำข้อมูลต่างๆ ไปใช้ประโยชน์ในงานวิศวกรรมแหล่งผลิตได้

ข) เข้าใจหลักการในการนำผลวิเคราะห์ชั้นหินตัวอย่างอื่นๆ ไปใช้เพื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลอื่น เช่น ผลการหยั่งธรณี เพื่อช่วยในการกำหนดการกระจายของตัวแปรที่เป็นประโยชน์ในงานวิศวกรรมแหล่งกักเก็บ

2.2) เข้าใจคุณสมบัติของแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมอย่างเป็นระบบ

ก) เข้าใจหลักทั่วไปในการใช้ผลการวิเคราะห์ชั้นหินตัวอย่างเพื่อการกำหนดความหนาของชั้นปิโตรเลียมและช่วงระดับใต้ดินที่แยกระหว่างน้ำกับน้ำมันดิบ

ข) เข้าใจวิธีการนำผลการวิเคราะห์ชั้นหินตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความดันเฉพาะจุดในชั้นหิน การประเมินสภาพแหล่งกักเก็บ และผลการทำการทดสอบหลุม เพื่อการวิเคราะห์หาชั้นย่อยในแหล่งกักเก็บและความต่อเชื่อมกันระหว่างช่องว่างในชั้นหินในแหล่งกักเก็บ

2.3) วิเคราะห์ และผลข้อมูลการหยั่งธรณี

ก) เข้าใจถึงความสำคัญของผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางธรณีในแต่ละประเภทการหยั่งธรณีเพื่องานหลักในการเชื่อมโยงข้อมูลของชั้นหินในแต่ละหลุมเข้าด้วยกัน

ข) นำผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางธรณีไปประยุกต์ใช้ร่วมกับการวิเคราะห์ชั้นหินตัวอย่าง การวิเคราะห์ผลการหยั่งธรณีระหว่างการผลิต ในการเชื่อมโยงข้อมูลความพรุนของชั้นหินและความต่อเนื่องของรูพรุนในชั้นหินใต้ดิน

2.4) ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล ความดัน ปริมาตร และอุณหภูมิ

ก) เข้าใจถึงความสำคัญของข้อมูลความดัน ปริมาตร และอุณหภูมิ และการนำไปประยุกต์ใช้ในงานวิศวกรรมแหล่งกักเก็บน้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติใต้พื้นดิน

ข) ประเมินความถูกต้องคร่าวๆ ของข้อมูลความดัน ปริมาตร และอุณหภูมิ และปรับแก้ข้อมูลให้ถูกต้องและเหมาะสมในกรณีที่ข้อมูลมีความผิดปกติเกิดขึ้น ประมาณข้อมูลความดัน ปริมาตร และอุณหภูมิ จากการหาความสัมพันธ์ของคุณสมบัติของน้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติใต้พื้นดิน

ค) สามารถคำนวณค่าความดัน ปริมาตร และอุณหภูมิ จากการวิเคราะห์องค์ประกอบของน้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติ

2.5) เข้าใจ และสามารถหาข้อมูลพฤติกรรมของปิโตรเลียมในสถานะที่แตกต่างกัน

ก) เข้าใจถึงพื้นฐานในเรื่องพฤติกรรมของปิโตรเลียมในสถานะที่แตกต่างกัน ทั้งนี้เพื่อช่วยในการแยกแยะพฤติกรรมและคุณสมบัติในแต่ละประเภทของปิโตรเลียมได้ไม่ว่าจะเป็นปิโตรเลียมที่อยู่ในแหล่งกักเก็บชนิดที่เป็นน้ำมันดิบ น้ำมันดิบชนิดเบา ก๊าซธรรมชาติเหลว และก๊าซธรรมชาติ

ข) เข้าใจหลักการของสมการการคำนวณพื้นฐานคุณสมบัติปิโตรเลียมในแต่ละสถานะ และสามารถนำไปใช้ในการจำแนกคุณสมบัติของปิโตรเลียมในแหล่งกักเก็บได้

2.6) กำหนดค่าและตัวแปรภายใต้สภาพของแหล่งกักเก็บในระยะเริ่มต้น รวมถึงกำหนดระดับการแยกชั้นของปิโตรเลียมที่อยู่ใต้พื้นดินได้อย่างแม่นยำ

ก) สามารถคำนวณค่าอัตราการขยายหรือหดปริมาตรของปิโตรเลียมประเภทต่างๆ ที่อยู่ในแหล่งกักเก็บ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงความดัน และอุณหภูมิเนื่องจากถูกนำขึ้นสู่ผิวดิน

ข) สามารถประมาณการค่าแรงดันในแหล่งกักเก็บจากการแปรผลการสำรวจความดันเฉพาะจุดในชั้นหินหรือลักษณะของไหลเฉพาะจุดในชั้นหิน

2.7) สามารถวิเคราะห์กระบวนการไหลของปิโตรเลียมหลายประเภทภายใต้สภาพในแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมใต้พื้นดินแหล่งเดียวกัน

ก) สามารถประเมินค่าการไหลผ่านสัมพัทธ์ การดูดซึม วิวิธพันธ์แรงโน้มถ่วง แรงหนืด แรงดึงตามรูเล็กการคำนวณอัตราการไหลของของไหลในแหล่งกักเก็บ

2.8) สามารถประมาณค่าปริมาณน้ำมันดิบหรือก๊าซธรรมชาติที่สะสมอยู่ในแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมที่อยู่ใต้พื้นดินได้

ก) สามารถประมาณค่าปริมาณน้ำมันดิบหรือก๊าซธรรมชาติที่สะสมอยู่ในแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมที่อยู่ใต้พื้นดินได้ ด้วยวิธีคำนวณปริมาตรโดยใช้ข้อมูลจากคุณสมบัติของชั้นหิน และปิโตรเลียมที่เก็บตัวอย่างขึ้นมาและแผนที่ธรณีวิทยาใต้ดินมาประกอบกัน

ข) สามารถใช้หลักการสมดุลมวลมาใช้ในการประมาณค่าปริมาณน้ำมันดิบหรือก๊าซธรรมชาติที่สะสมอยู่ในแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมที่อยู่ใต้พื้นดินได้

2.9) สามารถใช้ผลการวิเคราะห์จากการทดสอบหลุมเจาะแบบปกติ เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์คุณภาพและประสิทธิภาพแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมใต้พื้นดิน

ก) เข้าใจหลักการการออกแบบการทดสอบหลุมเจาะ และการวิเคราะห์ และประเมินคุณภาพของหลุม และ คุณสมบัติของแหล่งกักเก็บ

ข) สามารถนำผลการทดสอบหลุม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงความดันเพื่อการวิเคราะห์ และประเมินคุณภาพของหลุม และคุณสมบัติของแหล่งกักเก็บ และสามารถคำนวณค่าดัชนีการผลิต ทั้งค่าในแบบแนวดิ่งและแนวนอน

2.10) เข้าใจ และสามารถคำนวณปริมาณสำรองน้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติได้อย่างถูกต้อง

ก) เข้าใจคำนิยาม และความแตกต่างกันของประเภทของปริมาณสำรอง ซึ่งแบ่งแยกออกเป็นแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว ปริมาณสำรองที่คาดว่าจะพบและปริมาณสำรองที่อาจจะพบ

ข) สามารถนำกระบวนการทางสถิติศาสตร์มาใช้เพื่อการปริมาณสำรองในแต่ละประเภทได้อย่างเหมาะสม และ ถูกต้องตามทฤษฎีความไม่แน่นอนและความน่าจะเป็น

2.11) เข้าใจกลไกของการขับเคลื่อนปิโตรเลียมโดยธรรมชาติในแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมใต้พื้นดิน

ก) เข้าใจหลักการในเรื่องประสิทธิภาพการผลิตในชั้นหินประเภทต่างๆ คุณสมบัติของของไหล และกลไกการขับเคลื่อนปิโตรเลียมโดยธรรมชาติการออกแบบการทดสอบหลุมเจาะ และการวิเคราะห์ และประเมินคุณภาพของหลุม และคุณสมบัติของแหล่งกักเก็บในแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมใต้พื้นดิน

ข) สามารถคำนวณค่าประสิทธิภาพการผลิตได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม สำหรับในแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมใต้พื้นดิน ที่มีคุณสมบัติชั้นหิน และกลไกของการขับเคลื่อนปิโตรเลียมโดยธรรมชาติที่แตกต่างกันไป

ค) สามารถเข้าใจ และเลือกใช้วิธีการทางเทคนิคเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมสำหรับแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมใต้พื้นดิน ที่มีคุณสมบัติชั้นหิน และกลไกของการขับเคลื่อนปิโตรเลียมโดยธรรมชาติที่แตกต่างกันไป

2.12) เข้าใจหลักการและคุณสมบัติในการไหลของของไหลในแหล่งปิโตรเลียมที่เป็นปิโตรเลียม รวมทั้งสามารถประเมินคุณภาพของแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมใต้พื้นดินได้

ก) เข้าใจหลักการในการประเมินคุณภาพของแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมใต้พื้นดินจากข้อมูลการผลิต

ข) นำหลักการของการขับเคลื่อนปิโตรเลียมโดยธรรมชาติสมดุลมวลการควบคุมแรงดัน การประเมินค่าประสิทธิภาพการผลิตการวิเคราะห์การลดลงของการผลิตการคำนวณปริมาณสำรองด้วยวิธีคำนวณปริมาตรเพื่อการประเมินคุณภาพของแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมใต้พื้นดิน

2.13) สามารถวิเคราะห์ และหาค่าประสิทธิภาพการผลิต ของแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมใต้พื้นดินได้ เมื่อมีการใช้วิธีการและกระบวนการทุติยภูมิหรือการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในรูปแบต่างๆ

ก) เข้าใจหลักการในการประเมินคุณภาพของแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมใต้พื้นดินจากข้อมูลการผลิต

ข) นำหลักการของการขับเคลื่อนปิโตรเลียมโดยธรรมชาติสมดุลมวลการควบคุมแรงดัน การประเมินค่าประสิทธิภาพการผลิต การวิเคราะห์การลดลงของการผลิต การคำนวณปริมาณสำรองด้วยวิธีคำนวณปริมาตรเพื่อการประเมินคุณภาพของแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมใต้พื้นดิน

2.14) สามารถประเมินคุณภาพของแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมใต้พื้นดินโดยการใช้ แบบจำลองแหล่งกักเก็บ

ก) เข้าใจในหลักการของแบบจำลองแหล่งกักเก็บ และสามารถนำไปใช้ในการประเมินคุณภาพของแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมใต้พื้นดิน และการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพของแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมใต้พื้นดิน

ข) ใช้หลักการพื้นฐานของวิศวกรรมแหล่งกักเก็บ รวมถึงกระบวนการไหลของปิโตรเลียมผ่านชั้นหินที่มีความพรุน ค่า การซึมผ่านการวิเคราะห์จุดที่ไหลเข้าและออกและกระบวนการไหลของปิโตรเลียมหลายประเภทภายใต้สภาพในแหล่งกักเก็บเดียวกัน เพื่อการประเมินแหล่งกักเก็บทั้งที่เป็นน้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติ ที่มีหลุมเจาะเพียงหลุมเดียว

3 การผลิต

3.1) มีความรู้พื้นฐานในงานการออกแบบท่อผลิตเพื่อใช้ในการผลิต และการกระตุ้นหลุมผลิต

ก) เข้าใจพื้นฐานของท่อผลิต ในเรื่องของความสั้น ยาว และการทนต่อแรงดัน และอุณหภูมิของท่อผลิต เพื่อให้มีอายุการผลิตที่เหมาะสม และทนทานต่อกระบวนการในการกระตุ้นหลุมผลิต

ข) สามารถกำหนดช่วงบริเวณในการติดตั้งแพคเกอร์ที่เหมาะสม

ค) สามารถออกแบบท่อผลิต ในภาวะที่ท่อผลิตอาจเกิดความเสียหายจากอุณหภูมิ หรือความดันในหลุมที่สูงกว่าป กติ และการสึกกร่อนเนื่องจากภาวะแวดล้อมภายในหลุม เช่น มีไฮโดรเจนซัลไฟด์ คาร์บอนไดออกไซด์ เป็นต้น

3.2) มีความรู้พื้นฐานในกระบวนการปิด และสละหลุม

ก) สามารถคำนวณน้ำหนัก และความหนาแน่นของของเหลวที่จะใช้ในกระบวนการปิดหลุม

ข) เข้าใจกระบวนการในการปิด และสละหลุม ที่ปลอดภัย เป็นไปตามมาตรฐานกฎเกณฑ์ของบริษัท และ/หรือมาตรฐานของหน่วยงานกำกับที่ได้กำหนดไว้

ค) เข้าใจขั้นตอนการสละหลุม โดยต้องมีความรู้ด้านการควบคุมหลุมเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างปลอดภัย การถอนดึงอุปกรณ์ในหลุมขึ้นมา และการปิดกั้นบริเวณชั้นหินที่มีปิโตรเลียมไม่ให้เกิดการเชื่อมต่อกัน

3.3) มีความรู้พื้นฐานในงานอัดชั้นหินให้เกิดรอยแตกและการใช้กรดกัดกร่อนชั้นหิน

ก) เข้าใจพื้นฐานการอัดชั้นหินด้วยของเหลวให้เกิดรอยแตก และตัวแปรที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการเช่นความดันลดลงอันเกิดจากแรงเสียดทาน การรักษาระดับแรงดันที่ก้นหลุม เป็นต้น

ข) คำนวณอัตราการไหลของปิโตรเลียมที่ต้องการในภาวะที่ดำเนินการอัดชั้นหินให้เกิดรอยแตก โดยคำนึงถึงแรงดันที่ลดลง และข้อจำกัดในเรื่องความเร็วในการไหล

ค) สามารถกำหนดสารเคมีที่ใช้เติมของเหลวที่ใช้ในการอัดชั้นหิน ในชั้นหินที่มีแรงดัน อุณหภูมิสูง

3.4) มีความรู้พื้นฐานการซ่อมหลุมโดยการฉีดอัดซีเมนต์ และการเตรียมหลุมผลิตใหม่

ก) มีความเข้าใจและสามารถใช้ผลของการหยั่งธรณีเพื่อดูการยึดของซีเมนต์ระหว่างหลุมเจาะและท่อ เพื่อตรวจหาบริเวณที่มีปัญหาการยึดของซีเมนต์ไม่ดีพอ

ข) มีความเข้าใจในการซ่อมหลุม และการเตรียมหลุมผลิตใหม่ อย่างปลอดภัยตามมาตรฐานกฎเกณฑ์ของบริษัท และ/หรือมาตรฐานของหน่วยงานกำกับที่ได้กำหนดหรือแนะนำไว้

ค) มีความรู้ในรายละเอียดเพื่อการกำหนดตารางใช้ปั๊มซีเมนต์เพื่องานการฉีดอัดซีเมนต์ และสามารถส่งตัวปิดกั้นให้อยู่ในตำแหน่งสมดุลและเหมาะสม ภายใต้สภาพการณ์ที่ได้วางแผนไว้

3.5) มีความรู้พื้นฐานเรื่องการวิเคราะห์จุดที่ไหลเข้าและออก

ก) มีความเข้าใจพื้นฐานการทำการผลิตที่เหมาะสมกับสภาพทั่วไปของหลุม และตัวแปรของคุณภาพการไหลภายในแหล่งกักเก็บเบื้องต้น ความดันที่ลดลงตามแนวหลุมอันเกิดจาการผลิต สภาพแวดล้อมบนพื้นดินที่แตกต่างกับใต้ดิน เพื่อทำให้แหล่งกักเก็บสามารถผลิตปิโตรเลียมได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดช่วงอายุการผลิตของหลุม

ข) สามารถออกแบบขนาดท่อผลิตและ/หรืออุปกรณ์ปากหลุมที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถผลิตปิโตรเลียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.6) มีความรู้พื้นฐานเรื่องอุปกรณ์การผลิตบนพื้นดิน

ก) มีความเข้าใจในเรื่องการเปลี่ยนแปลงแรงดัน และอุณหภูมิ ต่ออุปกรณ์ในการแยกสถานะของปิโตรเลียม และ น้ำ

ข) สามารถระบุอุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดตั้งบนพื้นดิน เพื่อแยกปิโตรเลียมที่ผลิตให้ได้สถานะที่เหมาะสม เก็บรักษาและส่งต่อไปขายยังจุดซื้อขายได้อย่างเป็นระบบ ปลอดภัย และเหมาะสม

3.7) มีความรู้พื้นฐานเรื่องการช่วยการผลิต

ก) มีความเข้าใจพื้นฐานเรื่องการไหลของปิโตรเลียมภายในหลุมขึ้นสู่ผิวดินด้วยวิธีการช่วยการผลิตในรูปแบบต่างๆ

ข) สามารถเลือก และออกแบบระบบการช่วยการไหลของปิโตรเลียมภายในหลุมได้อย่างเหมาะสม โดยพิจารณาจากวิธีการปรับแรงดันภายในหลุมเพื่อให้ได้ปริมาตรการผลิตเพิ่มขึ้น การใช้ปั๊มติดตั้งไว้ภายในหลุมผลิต หรือบนพื้นดินเพื่อช่วยการไหลของปิโตรเลียมภายในหลุม

3.8) มีความรู้พื้นฐานเรื่องการหยั่งธรณีเพื่อการผลิต

ก) มีความเข้าใจพื้นฐานในการหยั่งธรณีเพื่อการผลิตในหลุมเจาะที่ลงท่อกรุแล้ว สามารถวัดค่าและประเมินสภาพใต้ดินในระดับที่มีการผลิตได้อย่างถูกต้อง เพื่อเป็นข้อมูลในการเตรียมหลุมผลิต การซ่อมแซมหลุมรวมถึงการปิดและสละหลุมสามารถแปลผลการหยั่งธรณีเพื่อการผลิต เพื่อการเตรียมหลุมผลิต การซ่อมแซมหลุม รวมถึงการปิดและสละหลุมสำหรับหลุมที่มีการผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ

กรอบความรู้สาขาวิศวกรรมปิโตรเลียมขั้นพื้นฐานทั่วไป

1. สามารถเข้าใจ ใช้คำศัพท์และคำนิยาม สำหรับงานด้านวิศวกรรมปิโตรเลียมได้อย่างถูกต้องในทุกประเภทของงานที่เกี่ยวข้อง โดยต้องครอบคลุมทั้งในส่วนงานทั่วไป และงานที่ต้องการความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ

2. สามารถเข้าใจที่มาที่ไป และเลือกใช้งานมาตรฐานกำกับทั้งในการออกแบบการดำเนินการ และควบคุมในระดับบริษัทน้ำมันชั้นนำ ระดับมาตรฐานอุตสาหกรรม และระดับที่มีหน่วยงานกำกับและออกใบอนุญาตทั้งจากหน่วยงานรัฐในประเทศไทย และหน่วยงานกำกับในต่างประเทศได้อย่างถูกต้อง

3. สามารถเข้าใจ และรับทราบในเรื่องหน่วยงานกำกับและการออกใบอนุญาต รวมถึงรู้รายละเอียดของเอกสารหลักฐาน กฎเกณฑ์ และกฎระเบียบต่างๆ รวมถึงรักษาระดับการทำงานให้อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ ข้อกำหนด และ มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

4. เข้าใจและสามารถนำหลักการเบื้องต้นทางธรณีศาสตร์ ธรณีวิทยา และธรณีฟิสิกส์ มาประยุกต์ใช้ในงานวิศวกรรมปิโตรเลียมได้

5. สามารถเข้าใจตัวแบบ วิธีการคำนวณ วิเคราะห์ และการตัดสินใจผ่านตัวแบบทางการเงิน และเศรษฐศาสตร์ปิโตรเลียมของโครงการ เพื่อใช้ในการตัดสินใจก่อนการลงทุนในโครงการ

6. มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาอาชีพวิศวกรรมปิโตรเลียม หรือเป็นสมาชิกในองค์กรหรือสมาคมที่ดำเนินงานด้านงานเทคนิค หรืองานสายอาชีพในงานสาขาวิศวกรรมปิโตรเลียม

การดำเนินการวิชาชีพตามมาตรฐานประพฤติปฏิบัติ

1. ให้บริการทางวิชาชีพในแนวทางที่ตนเองมีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ อย่างเต็มความรู้ และสามารถ

2. ทำงานโดยจะต้องพิจารณาในเรื่องผลลัพธ์ที่จะตามมาในภายหลังต่องาน และภาคสังคม รวมถึงต้องสามารถตอบคำถามต่อสาธารณชนในการประพฤติ ปฏิบัติ ได้อย่างเหมาะสม มีเหตุผล

3. มีความซื่อสัตย์ จริงใจ และมีจริยธรรมต่อวิชาชีพ และนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นธรรมต่อสาธารณชนทั้งในประเด็นของวิชาชีพเทคนิค และบทบาทของวิศวกร

4. ยึดมั่นในความสัมพันธ์อันดีต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพ โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติในเรื่อง ชาติพันธุ์ ศาสนา เพศ อายุ ความเชื่อ ความยากจน สถานะทางสังคม หรือความทุพพลภาพ เป็นต้น

5. ดำเนินการเป็นมืออาชีพอย่างแท้จริง ต่อผู้จ้าง หรือลูกค้า โดยไม่เปิดเผยข้อมูลอันเป็นความลับ หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของงานที่จะก่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบในทางธุรกิจ หรือเปิดเผยงานที่ทำ หรือข้อมูลที่เป็นความลับให้แก่ผู้จ้างรายเก่าที่ตนเคยทำงาน หรือขายข้อมูลให้แก่ผู้จ้างอื่น

6. รับผิดชอบ และช่วยในการพัฒนาองค์ความรู้ และความสามารถทางวิชาชีพ ให้แก่สายงานในวิชาชีพ ด้วยความตั้งใจ และสุจริต

7. ดำเนินการในสายงานวิชาชีพด้วยความซื่อสัตย์ โดยไม่พึงรับผลประโยชน์ หรือเกียรติยศใดๆ ในงานทางวิชาชีพที่เป็นของเพื่อนร่วมวิชาชีพท่านอื่น หรืองานที่ตนเองมิได้เป็นผู้กระทำ

8. พิจารณา และคำนึงถึงหลักการทางเทคนิค และหลักเศรษฐศาสตร์ที่เหมาะสมควบคู่กับงานสายวิชาชีพ เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม ของสาธารณชน ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นได้

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

One comment

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------