Forum

Please or Register to create posts and topics.

Success model

ตัวแบบความสำเร็จ ฟังแล้วจั๊กจี้ ขอใช้ทับศัพท์ไปก็แล้วกัน

คำนี้หมายความว่า วิธีที่ทำแล้วประสบความสำเร็จ

สำหรับรุ่น baby boomer ตอนต้น (ตอนนี้น่าจะตายไปจะหมดแล้ว) Success model คือ ขยัน อดทน อดออม เสี่ยงน้อย มั่นคง นึกถึงหนังเก่าๆที่เป็น success model ของพ่อค้ารุ่น "ลอดลายมังกร" หรือ อาจจะเรียกว่า รุ่น "เสี่ย" หรือ รุ่นก่อร่างสร้างตัว

เสี่ยทำงานตั้งแต่วัยรุ่น ปัจจัยการผลิต คือ แรงงาน และ ที่ดิน เมื่อเสี่ยเริ่มมีเงิน 2 สิ่งที่เสี่ยมักจะหามาให้ได้โดยเร็ว คือ เมีย และ ที่ดิน แน่นอนว่า เมียมาก่อน มาอย่างไวด้วย คือ เลี้ยงลูกไปทำงานไป

โดยมากเสี่ยจะมีเมียหลายคน ไม่ว่าจะโดยไม่ตั้งใจหรือตั้งใจ พอเมียหลายคน ก็ลูกหลายคน แรงงานทั้งนั้น ตามประสาเลือดย่อมข้นกว่าน้ำ ก็ไว้ใจให้ลูกเมียทำธุกริจ ดูแลธุรกิจกันไป แต่ภายหลังทะเลาะกันเพราะศึกสายเลือดก็มีให้เห็นเยอะ 555

ส่วนมากเสี่ยไม่ได้เรียนหนังสือ พอมีลูก ก็ส่งไปเรียนหนังสือสูงๆ เพื่อกลับมารับช่วงต่อกิจการของเสี่ย

รุ่นลูกของเสี่ย เราจะเรียกว่า รุ่น "เตี่ย" ... ซึ่งมักเป็นเป็นรุ่น baby boomer ตอนปลาย ที่พอทันปลายสงครามโลกครั้งที่ 2

ตอนนี้รุ่นเตี่ยน่าจะเหลือไม่ถึงครึ่งแล้ว

Success model ของเตี่ย ไม่ค่อยต่างกับเสี่ยเท่าไร เรียกว่าเดินตามรอยตีนกันมา แต่ติดปีกด้วยวิชาการเมืองนอกเมืองนา อดทน ทำงานหนัก ลงทุนอย่างรอบคอบ (conservative) แต่รับความเสี่ยงได้มากกว่ารุ่นเสี่ย เพราะมีฐานที่มั่นคง (more risk appreciation)

ที่สำคัญ คือ ยังมีเมียเยอะอยู่ดี เพราะปัจจัยการผลิตรุ่นเตี่ยก็ยังคงต้องเป็นแรงงาน(ที่ไว้ใจได้)

รุ่นเสี่ยเป็นรุ่นที่มั่งคั่งในประเทศ แต่รุ่นเตี่ยเป็นรุ่นที่การค้าไทยโกอินเตอร์มากๆ หลายๆบ.ที่สยายปีกไปต่างประเทศก็ยิ่งใหญ่กันก็รุ่นนี้แหละ

แน่นอนว่า เตี่ยก็ต้องส่งลูกไปเรียนเมืองนอก โดยเฉพาะหลักสูตรการบริหารยอดฮิตอย่าง MBA ที่ผมแปลว่า Marriage By Accident หรือ Marriage But Available 🙂

รุ่นลูกเตี่ยนี้ เราจะเรียกว่า รุ่น "ตี๋" ซึ่งก็ คือ รุ่นที่นักประชากรศาสตร์เรียกว่า รุ่น X หรือ Generation X หรือ Gen X ซึ่ง

ผมเองนี่แหละ คือ Gen X รุ่นต้นๆ ผมคือ ไอ้ตี๋ 555

ผมเคยสงสัยว่าทำไมเรียกพวกผมว่า รุ่น X อ.ท่านผู้รู้นท่านหนึ่งบอกว่า เวลาเราไม่รู้อะไร อธิบายอะไรไม่ได้ เราจะแทนด้วย X เอาไว้ แปลว่า สิ่งที่ไม่รู้ไม่ทราบค่า เช่น x ในสมการ ที่เรารู้จักกันดี

อีก x หนึ่งที่ใกล้ตัวจนเราลืม คือ เอ็กซ์เรย์ X-ray หรือ รังสีเอ็กซ์ ray แปลว่ารังสี ตอนที่ค้นพบรังสีนี้ คนค้นพบไม่ได้ตั้งชื่อมัน พราะไม่รู้ว่ามันเป็นอะไร ก็เรียกรังสีเอ็กซ์ แล้วก็เรียกต่อๆกันมาจนทุกวันนี้

ที่คนรุ่นผมถูกเรียกว่า รุ่น X เพราะว่าไม่รู้จะจำกัดความมันว่าอะไร มันมั่ว จะอนุรักษ์ก็ไม่ใช่ จะเสรีก็ไม่เชิง ไม่เหมือนช่วงเตี่ยที่ต่อจากเสี่ย ที่มีพัฒนาการที่ค่อนข้างชัดเจน อธิบายได้ และ มีลักษณะคล้ายคลึงกันในกลุ่มประชากรสูง

เจนเอ็กซ์ชอบความเสี่ยงก็บ้าง แต่ก็ไม่สุดขั้ว นิสัยใจคอเอาแน่นอนไม่ได้ มั่วๆ พูดง่ายๆภาษานักประชากรศาสตร์ คือ ไม่มีเอกลักษณ์ ยังหาตัวตนไม่เจอ ตั้งชื่อไม่ได้ เลยเรียกไอ้พวกนี้ว่า X มันไว้ก่อน (ฮา)

เจนเอ็กซ์ คือ รุ่นที่ได้รับโอกาสการศึกษาทั้งกว้างและลึกกว่ารุ่นเตี่ย วิสัยทัศน์ไกลกว่า เรียนสูงกว่า แต่ไม่ค่อยกลับมาต่อยอดธุรกิจเตี่ย ชอบไปเป็นลูกจ้างฝรั่ง ญี่ปุ่นเสียเยอะมาก ทำให้หลายๆธุรกิจของเตี่ยล้มหลายตายจากไปอย่างน่าเสียดาย

แต่เอ็กซ์เพื่อนผมหลายคนก็กลับหลังหันได้ทันมากู้ธุรกิจของตระกูลจนเป็นมหาเศรษฐีในบั้นปลายเหมือนกัน

Success model ของ เจนเอ็กซ์ ไม่ใช่ work hard อีกต่อไป แต่เป็น work smart เพราะปัจจัยการผลิตไม่ได้ผูกกับ แรงงาน และ ที่ดิน อีกแล้ว แต่มีเทคโนโลยีเข้ามาด้วย โดยเฉพาะ การสื่อสารที่ไม่ต้องลากสายไฟฟ้ามาต่อกันแล้วขันน๊อต และ คอมพิวเตอร์คุยกันได้ ที่เข้ามาตอนต้นของรุ่นนี้

อาจจะเป็นเหตุผลหนึ่งด้วยไหมก็ไม่รู้ที่ เจนเอ็กซ์มักจะผัวเดียวเมียเดียว (เมื่อเทียบกับเตี่ยและเสี่ย) เพราะไม่ต้องการแรงงานมากมาช่วยดูแลกิจการ ... และ เจนเอ็กซ์บางส่วนก็เริ่มมองว่า ที่ดินเป็นภาระ (ถ้าไม่ใช่ทำเลที่ดีจริงๆ) หรือ ให้ผลตอบแทนไม่ทันใจ เจนเอ็กซ์ที่คิดแบบนี้ ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และ นิยมเปลี่ยนจากการถือครองที่ดินมาเป็นถือครอง องค์ความรู้ หรือ know how มากขึ้น

ถ้าเป็นลูกจ้าง เจนเอ็กซ์จะเริ่มไม่ยึดติดกับองค์กรเหมือนลูกจ้างรุ่นเตี่ย(ที่มักตายคาองค์กร) life time employment ไม่ใช่สิ่งที่ปราถนาอีกต่อไป ความมั่นคง ถูกแลกด้วยความมั่งคั่ง

เราจะเห็นว่า success model ของรุ่น เสี่ย - เตี่ย - ตี๋ ไม่เหมือนกัน

หลังจากเจนเอ็กซ์ นักประชากรศาสตร์ ก็พยายามหาคำจำกัดความและตั้งชื่อเจนต่อๆมา เป็น Y เป็น Z แต่พบว่า มันมั่ว และ ไร้รูปแบบเข้าไปทุกที จนเลิกตั้งชื่อตามช่วงอายุวัยไปดีกว่า โดยแถเป็นตามพฤติกรรมแทน เช่น อายุไหนไม่สำคัญ แต่ถ้าทำตัวเข้านิยามรุ่นเสี่ย ก็เป็นรุ่นเสี่ย เป็นต้น

ที่เล่ามาทั้งหมดนี้ แค่อยากจะให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของสูตรความสำเร็จในแต่ล่ะรุ่นว่ามันเปลี่ยนไป เราต้องเปิดใจกว้างยอมรับความเปลี่ยนแปลง

ตัวอย่างเร็วๆนี้ ก็เช่น การอภิปรายในรัฐสภา ในสมัยรุ่นเสี่ย สส. ก็ใช้รูปแบบหนึ่งแล้วประสบความสำเร็จ เน้น วาทะ เน้นบั่นทอนความน่าเชื่อถือ ใช้ศิลปะการโต้วาที เป็นหลัก

ต่อมารุ่นเตี่ย ก็เริ่มเน้นข้อมูล ตัวเลข (ลงละเอียดระดับทศนิยมก็สมัยนี้แหละ) การนำแผนภาพ-กราฟ-รูป หรือ จะเรียกว่า infographic รุ่นกระดาษ ยกป้ายชู ก็เกิดในสมัยนี้ แต่ก็โดนต่อว่า ไม่เหมาะสม ไม่สมควร ผิดแผกแบบแผนการอภิปรายในรัฐสภา บางท่านใช้คำว่าอุบาท์เลยด้วยซ้ำ

แต่เมื่อเวลาผ่านไป วิธีการนำเสนอแบบนี้ในรัฐสภาก็เป็นที่ยอมรับว่าเป็นมาตราฐานไป ใครพูดแล้วไม่ยกภาพ ไม่ชูกราฟ หรือ ไม่เม่นตัวเลข ก็จะไม่ได้รับการชื่นชอบ ...

ยุคสมัยเปลี่ยนไปไรไป สมัยนี้ที่ผมเห็นล่าสุด นำเสนอกันเหมือนนำเสนองานในบริษัท หรือ สอนหนังสือในชั้นเรียน แล้วก้มหน้าอ่านแท็บเล็ท อาจจะลงละเอียดไปในความคิดผม ขาดอารมณ์ร่วม (คือแห้งๆ) ไปนิด การขมวดปมตบตูดไม่เห็นภาพเท่าไร (ต้องปรับปรุงการ analogy - เทียบเคียงภาพให้โดนใจผู้ฟัง)

แต่ผมก็เอาใจช่วยครับ มันคือความเปลี่ยนแปลง ติชมกันไป เพราะมัน คือ อนาคตของพวกเขาเอง

(log in แล้ว comment กันได้เลยครับ ถ้ายังไม่ลงทะเบียนก็ลงทะเบียนกันน้าาา แป๊บเดียว ใช้แค่ชื่อเล่น กับ password จะได้เม้าส์มอยกันได้)

log in

registration

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------