Forum

Please or Register to create posts and topics.

Monetary vs. Fiscal

การเงิน vs. การคลัง

ในวงมื้อเที่ยงวันก่อน คุยกันเรื่องแบงค์ชาติไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย โดยคงไว้ 2.5% เท่าเดิม

จากการแลกเปลี่ยนในวง พบว่าหลายคนยังเข้าใจบทบาทของแบงค์ชาติ และ กระทรวงการคลัง คลาดเคลื่อน เหมือนหลักการพื้นฐานไม่แน่ ทำให้เวลาบริโภคข่าวแล้วดูดซับความเห็นที่อาจจะจงใจให้บิดเบี้ยว

ในทางวิทยาศาสตร์ เหมือนเราแม่น เรื่องกฏทรงพลังงาน กฏทรงมวล เวลามีข่าวสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมวิทยาศาสตร์งี่เง่าๆที่ดูเหมือนจะฝืนกฏนี้ เราก็จะรู้ทัน เพราะฐานเราแน่น

วันนี้เลยขอออกตัว เล่าเบาๆเวอร์ชั่นง่ายๆให้เด็กช่างอย่างเราๆเข้าใจ

ความราบรื่นของเศรษฐกิจ ภาษาเศรษฐศาสตร์เขาใช้คำว่า เสถียรภาพ (stability)

ราบรื่น (smoothness) ไม่ได้แปลว่าคงที่ ราบรื่นแปลว่า ไม่เปลี่ยนแปลงกระทันหัน เพิ่มก็ค่อยๆเพิ่ม ลดก็ค่อยๆลด

ในการทำให้ราบรื่นเนี้ยเราใช้ 2 กลไก ที่เป็นอิสระต่อกัน

กลไก(มาตราการ)การเงิน - จุดประสงค์ คือ เพิ่มหรือ ลดปริมาณเงินในประเทศ โดย 1. เพิ่ม/ลด อัตราดอกเบี้ย 2. ซื้อ/ขาย พันธบัตรรัฐบาล และ 3. ลด/เพิ่ม เงินสดสำรองธ.พาณิชย์

- อยากให้ปริมาณเงินในประเทศเพิ่มทำไงดี

1. ลดดอกเบี้ย คนในประเทศก็เอาเงินออกมาใช้จ่ายหมุนเวียน มาลงทุน (ฝากธ.ไว้ดอกนิดเดียว)

2. เสนอซื้อพันธบัตรรัฐบาลที่คนถืออยู่คืนโดยให้ราคาสูงๆ เงินก็มาอยู่ในมือคนในประเทศ เหมือนราคาทองดี คนก็เอาทองที่เก็บไว้ไปขาย เอาเงินไปกินไปเที่ยว

3. สั่งลดเงินสดสำรอง ธ.พาณิชย์ ... พอ ธ.ต่างๆโดนบังคับให้เก็บเงินสำรองน้อยลง ก็เอาเงินสำรอง(ที่ไม่จำเป็นต้องเก็บตามกม.แล้ว) ออกมาปล่อยกู้ (เพื่อหารายได้) ให้คนเอาไปใช้จ่าย หรือ ลงทุน เงินก็มาอยู่ในมือคนในประเทศ

เห็นไหมครับ พอทำอย่างที่ว่าข้างบน เงินในมือคนในประเทศก็มากขึ้น ถ้าทำกลับกัน เพิ่มดอกเบี้ย ขายพันธบัตรฯ เพิ่มเงินสำรองธ.พาณิชย์ เงินในมือคนทั้งประเทศมันก็ลดลง

ในระบบการเงินปัจจุบัน ผู้ที่มีอำนาจทำ 3 อย่างที่ว่า คือ ธ.ชาติของประเทศนั้นๆ

กลไก(มาตราการ)การคลัง - จุดประสงค์ของแบงค์ชาติ คือ คุมปริมาณเงินในประเทศ แต่จุดประสงค์ของการคลัง คือ ทำไงก็ได้ให้รายได้เพียงพอกับการใช้จ่าย

... เป็นป่ะ คนล่ะเรื่องกัน คุมคนล่ะกลไก แต่รักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจประเทศเหมือนกัน แต่คนล่ะด้าน

คลังทำไง ... ง่ายๆเลย

1. เพิ่ม/ลด ภาษี (คุมรายได้)

2. เพิ่ม/ลด งบประมาณใช้จ่าย (คุมรายจ่าย)

3. กู้ (คุมหนี้)

สมการง่ายๆ รายได้ + กู้ = รายจ่าย

สมการการเงินเบสิกๆ ไม่ว่าจะระดับครอบครัว บริษัท หรือ ประเทศ บริหารด้วยสมการเดียวกัน

ผู้ที่ทำหน้าที่นี้ คือ กระทรวงการคลัง

ข้อสังเกตุ

ถ้าเทียบกับครัวเรือน ถ้าแม่เป็นคนคุมปริมาณเงินสดหมุนเวียนประจำวัน โดยกำหนดจำนวนถอนเงินออกจากธนาคารของบ้านในแต่ล่ะเดือน เพื่อเอาไปจ่าย ค่ากับข้าว ค่าขนมไปโรงเรียนลูก จ่ายค่าเช่าบ้าน ฯลฯ แม่ก็จะเป็นแบงค์ชาติ

ถ้าพ่อเป็นคนหารายได้ ตัดสินใจค่าใช้จ่ายว่าอะไรควรจ่าย ไม่ควรจ่าย ควรจ่ายเท่าไร ควรจ่ายเมื่อไร และ ถ้าบ้านจำเป็นต้องกู้ พ่อเป็นคนตัดสินใจกู้ กู้เมื่อไร กู้ใคร กู้เท่าไร ฯลฯ พ่อก็จะเป็น รมว.คลัง

จะเห็นได้ว่า จำนวนเงินหมุนเวียนในบ้าน จะเพิ่มจะลด มีผลฉับพลันต่อปากท้องคนในบ้าน เพราะถ้าแม่ถอนเงินมาน้อย ใช้จ่ายผิดประเภท เงินค่าโน้นนี่ก็ไม่พอ

แต่การตัดสินใจของพ่อ เรื่องรายได้ รายจ่าย เรื่องกู้ ก็ผลต่อปากท้อง แต่ไม่ฉับพลันทันที

ถ้าพ่อหาเงิน + กู้ ได้ไม่พอค่าใช้จ่าย แม่บริหารเงินเก่งไงก็ไม่รอด จริงไหม มันเอื้อๆกันอยู่ ตรงข้าม ถ้าพ่อหาเงิน+กู้ได้พอ แต่แม่บริหารเงินสดหมุนเวียนในบ้านไม่เก่ง ใช้จ่ายผิดประเภท คาดการณ์รายเดือนผิด ถอนเงินมาน้อย คนในบ้านก็หน้าเขียวหน้าเหลือ แล้วก็เริ่มบ่นเริ่มด่ากัน

ปัญหา คือ คนในบ้านด่าถูกคนไหมเท่านั้นแหละ ถ้าคนในบ้านไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ก็จะด่าผิดคน หรือ ด่ากราด ที่เรียกว่า ด่าพ่อล่อแม่ 555

ถ้านโยบายการเงิน คือ การกินยาเมื่อป่วยไข้ นโยบายการคลังก็เหมือนการปรับพฤติกรรมโภชนาการ ทั้งสองแบบมุ่งไปที่การรักษาสุขภาพเหมือนกัน

นโยาบการเงินให้ผลระยะสั้น ก็ควรนำมาใช้กับปัญหาระยะสั้น เช่น ไม่สบายก็ต้องกินยา จะมามัวปรับโภชนาการ มันก็ไม่ทันป่ะ เผลอๆไข้ขึ้นตายก่อน 555

แต่จะกินยามันร่ำไปโดยไม่ปรับนิสัยพฤติกรรมการกินอยู่ (ขี้เกียจทำงานหาเงิน ใช้ฟุ่มเฟือย กู้ดะ) มันก็ไม่ได้ ตับไตพังพอดี

ประเด็นสุดท้าย ... ทำไมคนคุมเงิน กับ คุมคลัง ต้องอิสระต่อกัน

เป็นไปตามหลักการ ตรวจสอบ และ สมดุล (check and balance) ไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งครอบคลุมชี้นำเศรษรฐกิจประเทศได้อย่างสิ้นเชิง หรือ ให้นโยบายการเงินการคลังเพื่อประโยชน์แฝงส่วนตัว

ลองมโนก็ได้ ถ้าผู้ว่าแบงค์ชาติ และ รมว.คลังเป็นคนๆเดียวกัน จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าได้คนดีมันก็ดีไป แต่ถ้าได้คนเฮงซวยประเทศก็ล่มจม เราจะเสี่ยงไหม

ดังนั้น เราจึงเห็น 2 หน่วยงานนี้ โซ้ยกันตลอด บางคนมองว่า ไม่ดี เพราะขัดแย้งกันเอง เศรษรฐกิจไม่ไปไหนเสียที ไม่ก้าวหน้า

ผมกลับมองว่า นี่แหละดี ถ่วงดุลกันเอาไว้ เพราะเรื่องใหญ่ของประเทศแบบนี้ ไม่ควรเสี่ยง ก้าวช้าหน่อย แต่ปลอดภัย ดีกว่า ไม่เหมือนแผงข้าวแกง หรือ ร้านหมูกะทะ ไม่ต้องตรวจสอบสมดุลอะไรมาก one man shows เสี่ยสั่งลุย เจ๊จัดเอง เสี่ยงได้ไรได้ อย่างเก่งก็เจ๊งแล้วไปเช่าที่ใหม่ เปิดแผงใหม่ แต่ประเทศไม่ใช่ร้านแผงข้าวแกงนะ

เอาล่ะ บางคนอาจจะไม่ชอบบทความอะไรทำนองนี้ แต่ผมเห็นว่า เนื้อหาสาระเรื่องในวงการมันเยอะแล้ว อยู่ในเว็บทั้งนั้น เรื่องราวอื่นๆรอบตัวเหล่านี้ก็สำคัญเหมือนกัน

ไม่ว่าเราชอบหรือไม่ชอบ เราก็ต้องรู้ และ เข้าใจ เวลาอ่านข่าวแล้วเห็นว่า แบงค์ชาติ หรือ คลัง ทำอย่างนั้น ทำอย่างนี้ ก็จะได้รู้ว่า ในภาพใหญ่เกิดอะไรขึ้น แล้วจะกระทบอย่างไรกับภาพเล็กอย่างกระเป๋าตังค์ของเรา

(log in แล้ว comment กันได้เลยครับ ถ้ายังไม่ลงทะเบียนก็ลงทะเบียนกันน้าาา แป๊บเดียว ใช้แค่ชื่อเล่น กับ password จะได้เม้าส์มอยกันได้)

log in

registration

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------