ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

เปิดประมูล เอราวัณ บงกช ก.ย.นี้ รัฐส่ง ปตท.สผ.เข้าชิง (ข่าว)

เปิดประมูล เอราวัณ บงกช ก.ย.นี้ รัฐส่ง ปตท.สผ.เข้าชิง (ข่าว) .. ข่าวนี้ไม่มีอะไรใหม่ แต่อ่านไปแล้วสะดุดอยู่ 2 คำที่อยากจะชวนคุยกัน

  1. Data Room (ห้องข้อมูล)
  2. เงื่อนไขการรื้อถอนแท่นผลิต (Decommission)

เปิดประมูล เอราวัณ บงกช ก.ย.นี้

Data room

ในการเปิดประมูลแปลงปิโตรเลียม ผู้ให้สัมประทาน(รัฐ) หรือ เอกชนผู้ที่จะขายแปลงปิโตรเลียมที่ตัวเองถืออยู่เดิม จะเตรียมห้องข้อมูลเพื่อให้ผู้ที่จะยื่นประมูลเข้าไปเอาข้อมูลออกมาเพื่อประกอบการพิจารณายื่อซองประกวดราคากัน ในห้องข้อมูลนี้ก็จะมีข้อมูลต่างๆมากมาย เช่น ข้อมูลทางธรณี ธรณีฟิสิกส์ ประวัติการขุดเจาะ การก่อสร้างแท่น สัญญาซื้อขายปิโตรฯในปัจจุบัน ข้อมูลประวัติการผลิต ฯลฯ เพื่อให้ผู้ที่จะเข้าร่วมยื่นซองมีข้อมูลในการวิเคราะห์ที่เท่ากัน

ผู้ที่จะประมูลก็จะส่งทีมผู้มีประสบการณ์ในด้านต่างๆเข้าไปในห้องข้อมูลนี้ แล้วจดบันทึก ถ่ายเอกสาร สำเนา ข้อมูลออกมา บางข้อมูลก็ห้ามถ่ายเอกสาร ห้ามก๊อป ต้องจำ และ จด ร่าง สเก็ต มาด้วยมือ

ในช่วงการทำงานหนึ่งของผม ก็ได้มีโอกาสอยู่ในทีมเข้าห้องข้อมูลนี้หลายครั้ง ต่างกรรมต่างวาระ

เวลาเข้าห้องข้อมูลมักจะโดนเก็บมือถือ เครื่องมือสื่อสาร กล้อง โน้ตบุ๊ค ฯลฯ อะไรที่ต้องการสำเนาก็จะจดๆหัวข้อ เลขหน้าเอกสาร ชื่อรูป ตาราง ฯลฯ เอาไว้ แล้วก็กลับบริษัท ผู้ให้สัมประทานหรือผู้ขายก็จะพิจารณารายการเหล่านั้น แล้วสำเนาส่งตามมาทีหลัง ซึ่งก็ได้ครบบ้าง ไม่ครบบ้าง เพราะบางอย่างเขาก็ไม่ยอมให้ เพราะเป็นความลับ

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

ดังนั้นอะไรที่ตามประสบการณ์แล้วเราพบว่าขอไปแล้วไม่ค่อยได้มา เราก็มักจะจดมือ หรือ ร่างสเก๊ตเอาตอนนั้นเลย ไม่ผิดกติกา ดังนั้น เครื่องมือ back to basic ก็จำเป็น เช่น วงเวียน ไม้บรรทัดครึ่งวงกลม กระดาษไขลอกลาย ดินสอ ยางลบ ฯลฯ

การเข้าไปทำงานในห้องข้อมูลก็ต้องรวดเร็ว เพราะข้อมูลเยอะมาก และ เวลาในห้องข้อมูลก็จำกัด โดยมากก็วันเดียว หรือ อย่างเก่งก็ 2 วัน แถมยังจำกัดจำนวนคนที่ให้เข้าอีกด้วย ส่วนมากก็จะแผนกล่ะ 1 คน หลักๆก็จะมี นักธรณี วิศวกรแหล่งผลิต วิศวกรขุดเจาะ(ก็ผมนี่แหละ) วิศวกรก่อสร้างแท่น (facility) และ นักเศรษฐศาสตร์ปิโตรเลียม

ต้องรู้ว่าอะไรจำเป็นในการคำนวนราคายื่นประมูลและอะไรไม่จำเป็น ไม่ต้องไปเสียเวลา อันนี้ก็นะ ประสบการณ์ล้วนๆ ซึ่งประสบการณ์ที่ว่าก็ต้องแลกมาด้วยการโดนตำหนิ งานที่ต้องทำซ้ำ ผลงานที่ไม่เข้าเป้า เงินเดือนไม่ขึ้น ฯลฯ

โดยมากก็จะเปิดห้องข้อมูลให้เป็นรอบๆ รอบแรกให้ข้อมูลกว้างๆ เพื่อให้ผู้สนใจตัดสินใจว่าร่วมประมูลไหม ถ้ารายไหนสนใจ ก็ต้องวางเงินมัดจำ แล้วจึงจะเปิดห้องข้อมูลอีกรอบ โดยมีข้อมูลมากยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถดีดลูกคิดเป็นตัวเลขยื่นประมูลได้

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

ในกรณีแหล่งเอราวัณ และ บงกช ผมเดาเอาว่าคงมีรอบเดียว เพราะทุกเจ้าก็รู้ข้อมูลกันดีอยู่ และอยากร่วมลงแข่งกันทั้งนั้น และ เวลาก็จำกัดจำเขี่ย คงไม่เปิดกันสองรอบให้เมื่อยตุ้ม

เงื่อนไขการรื้อถอนแท่นผลิต

การผลิตปิโตรเลียมนั้นต้องมีการก่อสร้างสิ่งต่างๆไว้ที่ตัวหลุมเอง เช่น ท่อกรุ วาวล์หัวบ่อ และ ที่ปากหลุม (ไม่ว่าจะบนบกหรือทะเล) ที่เราเรียกว่า สถานีผลิต แท่นผลิตย่อย แท่นผลิตกลาง ท่อที่วางต่อๆกันระหว่างแท่น ฯลฯ

เมื่อหมดอายุของแหล่งแล้ว โดยมากในสัญญาจะระบุให้ผู้รับสัมประทานจะต้องทำการรื้อถอน “และกำจัด” สิ่งก่อสร้างเหล่านั้นออกไป และ คืนพื้นที่ให้ใกล้เคียงสภาพเดิม ตามกติกาที่กำหนดไว้

ผมเน้นคำว่า “กำจัด” ด้วย เพราะงานกำจัดก็งานช้างพอๆกับงานรื้อถอน

โดยมากจากกำหนดว่าให้รือถอนและกำจัดตามข้อกำหนดของผู้ให้สัมประทาน หรือ กฏ ระเบียบ วิธีสากล ในเวลารื้อถอนๆ อย่างใดอย่างหนึ่งที่เข้มงวดกว่า

ที่ต้องกำหนดว่า “ในเวลารื้อถอน” ก็เพราะว่า อายุสัมประทานเป็นสิบๆปี เทคโนโลยี กฏระเบียบต่างๆ โดยเฉพาะกฏระเบียบผลกระทบต่อสิ่งเวลาล้อม อาจจะเปลี่ยนไปได้ ก็ต้องเอาหลักการ กฏเกณฑ์ในเวลานั้นๆ

ที่ต้องกำหนดว่า “อย่างใดอย่างหนึ่งที่เข้มงวดกว่า” ก็เพราะว่า อะไรๆมันก็เปลี่ยนได้ ดังนั้น play safe ปลอดภัยไว้ก่อน เอาที่มันเข้มๆไว้ก่อน ทำได้ไม่ได้ เดี๋ยวค่อยมาคุยกัน

ซึ่งค่าใช้จ่ายตรงนี้จะต้องถูกคำนวนรวมเอาไว้ในการประมูลใหม่ หรือ การซื้อสัมประทานต่อ(จากเจ้าเดิม)

โดยปกติหลายๆประเทศใช้วิธีหักค่าใช้จ่ายส่วนนี้เป็นปีๆทุกปีตลอดอายุสัมประทาน เพื่อเป็นหลักประกันว่า เมื่อครบอายุสัมประทานแล้ว ผู้รับสัมประทานไม่เบี้ยว อารมณ์เดียวกับห้องเช่า ที่เราต้องมีมัดจำค่าทิ้งห้องคืนให้เราโดยไม่สะสางทำความสะอาด หรือ ทำห้องเราเสียหาย ทาสี เจาะผนัง แปะโปสเตอร์(เห่ยๆไร้รสนิยม)  มุ้งลวดฉีกขาด ฯลฯ

ทีนี้ล่ะยุ่งขิงทิงนองนอย ตอนจะประมูลรอบถัดไป หรือ จะขายต่อให้เอกชนอีกเจ้า ว่าเงื่อนไขตรงนี้จะเป็นอย่างไร จะรวมไม่รวมค่าใช้จ่ายส่วนนี้ ถ้ารวมจะประเมินกันเท่าไร ตามมาตราฐานอะไร ฯลฯ

ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าเราไปซื้อต่อบ้านมือ 3 หลังนึง โดยมีเงื่อนไขว่า ก่อนส่งคืนให้เจ้าของดั้งเดิม(ผู้ให้สัมประทาน – รัฐ) เราก็ต้องประเมินค่ารื้อถอนและกำจัด แล้วคำนวนเข้าไปกับราคาที่จะประมูลเช่า

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

เราก็ต้องตรวจทั้งเอกสารใน data room ตรวจทั้งตัวบ้านจริงๆ ตรวจทั้งประวัติต่างๆที่หาได้จากสื่อ เพื่อนบ้าน คนขนขยะ พนักงานเก็บค่าไฟ ส่งโดรนขึ้นไปดูหลังคาว่าแตก ร้าว รั่วไหม ฯลฯ จะไปเชื่อข้อมูลใน data room อย่างเดียว ก็นะ โดนย้อมแมว ซิครับ

ในการทำงานจริง ก็คงไม่มีผู้ขายต่อสัมประทาน หรือ ผู้ให้สัมประทาน ให้ขึ้นฮ. หรือ ขับ 4 wheel เข้าไปถ่ายรูป ถ่ายคลิป ปากบ่อ จดมิเตอร์ ดำน้ำลงไปดูท่อ ฯลฯ เราก็ได้แต่ดู data room และ แหล่งข้อมูลอิสระอื่นๆ เช่น สื่อต่างๆที่ออกข่าว วิธีปฏิบัติของแหล่งใกล้เคียง ผู้รับเหมาที่เคยขึ้นไปทำงานบนแท่นของผู้ขาย หน่วยงาน องค์การกลาง องค์กรวิชาชีพ ฯลฯ

ดังนั้น ก็ต้องมีบ้างที่เห็นผมในสนามกอล์ฟ ในผับบาร์แถวสุขุมวิท หรือ นานา ด้วยเหตุว่าไปหาข้อมูลและแหล่งข่าว 555 🙂

ดราม่ามันอยู่ตรงนี้ครับ

ถ้าเป็นผู้ซื้อ หรือ ผู้รับประทาน เอ๊ย รับสัมประทานมือต้นๆ ก็จะ อี๋อ๋อ จ๊ะจ๋า ดิบดี กับผู้ขาย หรือ ผู้ให้สัมประทาน ว่าจะทำตามกฏกติการทุกอย่างๆ แต่ในใจลึกๆรู้ว่า ผลิตไปก่อน 20 ปี อีก 5 ปีหมดอายุสัมประทานค่อยว่ากันว่า จะเหลือให้ผลิตอีกเท่าไร จะเช่าต่อไหม

ดังนั้น ตอนขุดหลุม และ ก่อสร้าง สิ่งต่างๆเอาไว้ ไม่ได้คิดออกแบบ “เผื่อ” รื้อถอนและกำจัด พูดให้เข้าใจง่ายๆ ให้เว่อร์ แทนที่จะใช้ กาวยางน้ำธรรมดาๆ post it หรือ สก๊อตเทป เธอล่อเทกาวตราช้างโป๊ะเลย อะไรแบบนี้

เหตุผลง่ายๆคือ คิดเผื่อ ออกแบบเผื่อรื้อถอนและกำจัดนั้น โดยมากจะ “แพง” ดังนั้นผลักภาระไปในอนาคตดีกว่า คือผลักให้รุ่นลูกหลานของคนในบ.เดียวกัน (ถ้าบ.เดิมยังทำต่อ) ผลักให้ผู้มาเช่าต่อ หรือ ผลักคืนให้ผู้ให้สัมประทาน (รัฐ)

เพราะค่ารื้อถอนและกำจัดนี้สำหรับแหล่งขนาดอ่าวไทยเราที่มีหลุมเป็นพันๆหลุม แท่นผลิตย่อย แท่นผลิตกลาง อีกเท่าไร ท่อใต้น้ำอีกล่ะ มหาศาล เรากำลังพูดถึงเงินระดับเฉียดหลายหมื่นล้านเหรียญเลยทีเดียว (เหรียญนะครับ ไม่ใช่บาท)

สู้ประหยัดเงิน เอาเวลาที่ คิดเผื่อ ออกแบบเผื่อ ไปตั้งหน้าตั้งตาผลิตดีกว่า ได้ KPI (Key Performance Index) รายได้ และ ผลงานเห็นๆ

ผมไม่ได้บอกว่าทุกบ.ทำแบบนี้ บ.ดีๆที่ไม่ทำแบบนี้ก็มี บ.ดีๆก็จะติดตั้ง จะขุด จะผลิต ก็ต้องคิดเผื่อไว้ไรไว้ โดยมากจะเป็นบ.ที่เปิดตูดหนีไปไหนไม่รอด เพราะยังไงๆ รุ่นลูกรุ่นหลานก็ต้องมารื้อถอนและกำจัดอยู่ดี

…. เพราะแหล่งนี้ พื้นที่นี้ “อ่าว”นี้ คือ “บ้านของเขา”

คงไม่ต้องบอกนะว่าบ.แบบนั้นคือ “บ.น้ำมันแห่งชาติ” ไง เพราะเขาไปไหนไม่ได้ ต่อให้บ.ต่างชาติมาเช่า เปลี่ยนไปกี่มือกี่มือ สูบของเขาไปจนเหือดจนแห้ง ถ้าบ.ต่างชาติเหล่านั้น รับผิดชอบรื้อถอนและกำจัดตามที่สัญญิงสัญญาไว้ก็ดีไป แต่ถ้างี่เง่า หรือ รัฐเสียค่าโง่ ไปทำสัญญาหลวมๆโดยเห็นแก่อมิสสินจ้างรางวัล

… ถามว่าใครที่มีความรู้ความสามารถที่จะเช็ดขี้เช็ดเยี่ยวรื้อถอนและกำจัดสิ่งที่บ.ต่างชาติพวกนี้ทำเอาไว้

จบข่าว …

— มีเรื่องชวนคุยแค่นี้แหละ ไปอ่านข่าวกันได้เลย (ชวนคุยยาวกว่าตัวข่าวอีก อิอิ) —-

เปิดประมูล “เอราวัณ-บงกช” ก.ย.นี้ รัฐส่ง ปตท.สผ.เข้าชิง (ข่าว)

ที่มา http://manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9600000066976

กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเผยมีผู้สนใจประมูลแหล่งก๊าซเอราวัณ-บงกช ทั้งรายเก่าและรายใหม่ มีทั้งจีน ตะวันออกกลาง รัฐดัน ปตท.สผ.เข้าชิงทั้ง 2 แหล่ง เตรียมเปิดประมูลกันยายน จ่อชง ครม.เคาะรูปแบบประมูล 5 ภาค

นายวีระศักดิ์ พึ่งรัศมี อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิดเผยในงานจัดสัมมนาสื่อมวลชนสัญจรว่า การเปิดประมูลแหล่งเอราวัณและบงกชที่จะสิ้นสุดอายุสัมปทานในปี 2565-2566 คาดว่าจะดำเนินการได้ในเดือนกันยายนนี้ และคาดว่าจะคัดเลือกผู้ชนะการประมูลได้ภายในไตรมาส 1 ปี 2561 ซึ่งขณะนี้มีทั้งรายเดิม คือ เชฟรอน, บมจ.ปตท.สำรวจและผลิต หรือ ปตท.สผ. แล้วก็มีจีน และตะวันออกกลางมีความสนใจ และในฐานะที่ ปตท.สผ.เป็นบริษัทพลังงานที่รัฐถือหุ้นใหญ่ ก็ควรจะเข้าร่วมประมูลทั้ง 2 แหล่ง

ทั้งนี้ ในส่วนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องเตรียมเสนอหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดพื้นที่ที่จะดำเนินการสำรวจและผลิตปิโตเลียมเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในกลางเดือน ก.ค.นี้ เพื่อกำหนดรูปแบบการเปิดสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทยว่าจะเลือกรูปแบบใดใน 3 ระบบ ได้แก่ ระบบสัมปทาน ระบบแบ่งปันผลผลิต (พีเอสซี) ระบบสัญญาจ้างบริการ (เอสซี) ตาม พ.ร.บ.ปิโตรเลียม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2560 และ พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2560 ซึ่งจะครอบคลุมทั้งการเปิดสำรวจรอบใหม่ และสัมปทานปิโตรเลียมที่จะหมดอายุทั้ง 2 แหล่ง คือแหล่งเอราวัณ และบงกช โดยจะกำหนดครอบคลุม 5 ภาคส่วน ประกอบด้วย ภาคเหนือกลาง อีสาน ภาคตะวันออก อ่าวไทย และอันดามัน รวมถึงจะเสนอกฎหมายรองทั้ง 4 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับระบบพีเอสซี

“ขณะนี้กรมฯ ทำทั้งเรื่องกฎหมายลูกที่เกี่ยวข้องและห้อง DATA ROOM ของแหล่งบงกช-เอราวัณ เพื่อให้ผู้ประมูลเข้ามาใช้ประโยชน์ รวมทั้งเดินหน้าวางแผนเกี่ยวกับแท่นผลิตปิโตรเลียมและแท่นผลิตกลางของปัจจุบัน 436 แปลงว่าจะรื้อถอนหรือไม่อย่างไร และรายใหม่หากไม่ต้องการให้รื้อถอนจะตกลงผลประโยชน์อย่างไรกับรายเดิม ส่วนการประมูลแหล่งบงกช/เอราวัณจะใช้รูปแบบใด ซึ่งคณะกรรมการปิโตรเลียมจะกำหนด หากอ่าวไทยเลือกเปิดแบบสัมปทาน ดังนั้นสองแหล่งนี้ก็จะใช้แนวทางแบบสัมปทานก่อน” นายวีระศักดิ์กล่าว

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------