wireline logging charge อยากหยั่งธรณีต้องจ่ายอะไรบ้าง

wireline logging charge อยากหยั่งธรณีต้องจ่ายอะไรบ้าง – ครั้งก่อนคุยเรื่องค่าเช่าแท่นเจาะ วันนี้จะมาเล่าว่าถ้าจะหยั่งธรณีด้วยสายเคเบิ้ล หรือ ที่เรียกว่า wireline logging สัก 1 เครื่องมือ เช่น ความต้านทานไฟฟ้าจำเพาะ (resistivity) ต้องควักกระเป๋าจ่ายอะไรบ้าง

wireline logging charge

rig up/ rig down – อย่างแรกนี่เลย พูดง่ายๆว่า จะหยั่งธรณี 1 เครื่องมือ (tool) หรือ กี่เครื่องมือก็ตาม ต้องจ่ายเหมาค่า rig up / rig down

ภาษาทั่วไปก็ set up cost นั่นแหละ จะทำงานมากทำงานน้อย เรียกช่างมาถึงบ้าน จะซ่อมมากซ่อมน้อย ก็ต้องจ่ายค่าเดินทางค่าเสียเวลา นั่นแหละ

wireline pressure control equipment – ในบางหลุม ถ้าต้องใช้ ก็ต้องจ่าย เช่น หลุมที่มีความเสี่ยงที่จะมี influx เข้ามา แล้วจำเป็นต้องปิดหลุมทั้งๆที่มีสายเคเบิ้ลและเครื่องมือคาอยู่ในหลุม หรือ หลุมที่ต้องหยั่งธรณีที่ต้องใช้ความดันช่วย เช่น PLT, CBL เป็นต้น

https://petrowiki.spe.org/Cement_bond_logs

ไม่รู้คืออะไรช่างมันไปก่อน เอาว่า มีก็แล้วกันที่เราอัดความดันลงหลุมแล้วต้องรูดสายเคเบิ้ลขึ้นเพื่อบันทึกข้อมูลในขณะเดียวกัน เราต้องการเครื่องมือพิเศษเพื่อควบควมความดันที่ปากหลุม

รายการนี้จ่าย 2 เด้ง

  1. ค่าติดตั้ง (rig up / rig down) ตามขนาดของอุปกรณ์ เช่น 5Kpsi 10Kpsi 15Kpsi 20Kpsi เช่น 5Kpsi ค่าติดตั้ง 1000 เหรียญ ก็ set up cost แหละ
  2. ค่าความดันสูงสุดที่เครื่องมือสัมผัสในระหว่างการใช้งาน เช่น psi ล่ะ 1 เหรียญ ระหว่างการใช้งาน ความดันสูงสุดที่เครื่องมือสัมผัส 500 psi ก็ โดนฟันไปอีก 500 เหรียญ

Depth – ความลึกสูงสุดที่เครื่องมือลงไปถึง คล้ายๆแท็กซี่มิเตอร์ เช่น 1000 ม. แรกเท่าไร ม. ต่อไป ม. ล่ะ เท่าไร

Interval – ระยะทางที่บันทึกข้อมูล คล้ายๆแท็กซี่มิเตอร์เหมือนกัน เช่น 100 ม. แรกเท่าไร ม. ต่อไป ม. ล่ะ เท่าไร

Temperature – ทุกเครื่องมือมีอุณหภูมิมาตราฐานที่ทนได้ แต่ถ้าใช้งานเกินอุณหภูมิมาตราฐาน ก็ต้องเก็บตังค์กัน เพราะอายุการใช้งานเครื่องมือจะสั้นกว่าที่ควรจะใช้เอามาทำมาหากินได้ เช่น ถ้าเกินเท่านั้นเท่านี้องศา จ่ายองศาล่ะเท่าไร หรือ อาจจะจ่ายเป็นช่วงๆ ขั้นบันได ก็ว่ากันไป

Inclination – นี่ก็คล้ายๆอุณหภูมิ บางเครื่องมือ เอียงมากเครื่องมือจะเสียดสี ครูดไปตามผนังหลุม สั่นสะเทือน (vibration) มาก อายุเครื่องมือวัดสั้น ก็ต้องเก็บตังค์เพิ่มชดเชยกัน

Wireline Logging Order ลำดับการหยั่งธรณี ทำไมต้องเรียงแบบนี้

Optional reading – แต่ล่ะเครื่องมือจะให้ค่าที่อ่าน (reading หรือ curve) มาตราฐานจำนวนหนึ่ง เช่น resistivity tool จะให้ 3 ค่า LLS LLM LLD ช่างมัน ถ้าไม่รู้จัก แต่ถ้าอยากได้ค่าอื่น คล้ายๆ options แหละ ก็ต้องจ่ายเพิ่ม ถึงแม้ว่า ลูกค้าจะจ่ายไม่จ่าย ค่า (reading) เหล่านั้นก็ถูกอ่าน และ ถูกบันทึกอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่จ่าย ก็ไม่ให้ (ฮา)

Quick look – ปกติที่หน้างานจะให้ข้อมูลดิบ แต่ถ้าจะเอาการประมวลผลเบื้องต้นเพื่อประกอบการตัดสินใจหน้างาน ก็ต้องจ่ายเพิ่ม

สมัยนี้ ไม่ค่อยได้แอ้ม บ.น้ำมันเท่าไร เพราะการสื่อสารดี หน้างานได้ข้อมูลดิบสดๆมาก็ส่งเข้าฝั่งเข้าเมือง บ.น้ำมันมีซอฟแวร์ มีคนประมวลผล และ ตัดสินใจให้ หน้างานมีหน้าที่รับคำสั่งอย่างเดียว

แต่สมัยก่อน การสื่อสารส่งข้อมูลไม่ได้ดีขนาดนี้ นักธรณีสนามของ บ.น้ำมันที่อยู่หน้างาน ไม่มีเครื่อง และ ซอฟแวร์

ได้แต่เส้นยึกยือบนกระดาษ มันก็พอได้ข้อมูลประมาณหนึ่ง แต่การประมวลผล ยังโบราณ ต้องสุ่มอ่านค่าข้อมูลดิบ กดเครื่องคิดเลขคำนวนกันเป็นจุดๆ แต่ถ้าจะคำนวนกันทั้งเส้นนั้นยังต้องพึ่งเครื่องของ บ.service ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ บ.service จะเพิ่มรายได้ 🙂

วิศวกร บ. wireline logging ก็ต้องมีความรู้ความสามารถเบื้องต้นที่จะทำการแปลความหมาย และ ใช้ซอฟแวร์ในการแปลข้อมูลดิบนั้นให้นักธรณี บ.น้ำมันหน้างานหลังจากเสร็จงาน

LIH – ย่อมาจาก Lost In Hole คือ ถ้าซวย ต้องตัดสายเคเบิ้ล ทิ้งเครื่องมือไว้ในหลุม ต้องจ่ายเครื่องมือล่ะเท่าไร

Rush print in 1989 งานที่ต้องส่งหลัง rig down wireline logging

ทั้งหมดที่ว่ามานั่น เหมือนคิดราคาแบบขายปลีก ในความเป็นจริง ตอนทำสัญญากัน เรารู้ “สภาพการใช้งาน” ประมาณหนึ่ง เช่น ใช้กี่เครื่องมือวัด ต่อพ่วงลงหลุมกี่ชุด (กี่ run) ความลึกเท่าไร บันทักข้เอมูลกี่เมตร อุณหภูมิ ความเอียงของหลุม บลาๆ

เราก็มักจะใช้วิธีเหมา คิดตังค์กันง่ายๆ ถ้า “สภาพการใช้งาน” ไม่เกินนั้นเกินนี้ กี่เหรียญ ถ้าเกิน ก็ค่อยมาคิดราคาปลีกเฉพาะรายการที่เกิน

สรุป

เรื่องนี้ไกลตัวพวกเราส่วนใหญ่ไปหน่อย แต่รู้ไว้ก็ดี เป็นความรู้รอบตัว

Production Logging Tool (PLT) คืออะไร ทำงานอย่างไร ใช้เมื่อไร

Special drill bit, Hybrid, Bi Center , Core และ Underreamer

Directional Driller DD คือ ใคร เขาทำอะไรบนแท่นขุดเจาะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *