Special drill bit, Hybrid, Bi Center , Core และ Underreamer

Special drill bit, Hybrid, Bi Center , Core และ Underreamer – วันนี้จะพามารู้จักหัวเจาะแบบ chic ๆ cool ๆ แถมด้วยการขยายหลุมให้ใหญ่ขึ้น แต่ก่อนอื่น มาทบทวนเรื่องหัวเจาะแบบเบสิกๆกันก่อนที่จะมารู้จักกับหัวเจาะแบบพิเศษ ถ้ายังไม่เคยอ่าน แนะนำให้อ่านก่อนนะครับ จะได้ตามกันทัน

ขุดหาน้ำมันกันอย่างไร? ตอน หัวเจาะ
Roller cone bit
PDC bit
Diamond impregnated bit

ขุดหาน้ำมัน กันอย่างไร ? ตอน หัวเจาะ ก้านเจาะ และ โครงสร้างหลุม

เอาล่ะ ถ้าอ่านและดูจบ ก็มารู้จักกับหัวเจาะแบบพิเศษกันเลย

Special drill bit

Hybrid, Bi Center , Core และ Under reamer

Hybrid bit

รู้จัก roller cone bit ใช่ไหมครับ หน้าตาประมาณๆนี้

รู้จัก PDC bit ใช่ไหมครับ หน้าตาประมาณๆนี้

แต่ล่ะประเภทก็มีข้อดี ข้อจำกัด การใช้งาน ที่แตกต่างกันไป สมัยก่อนผมคิดเล่นๆว่าจะมีคนเอามาผสมพันธุ์กันไหมน้าาา วันหนึ่งก็มีคนคิดแบบผม แต่เขาไม่ได้คิดอย่างเดียว เขาลงมือทำครับ

อึ้งกิมกี่ไปเลยใช่ไหมครับ แพงน่าดูเลยล่ะครับ แต่ถ้าได้ตามที่โฆษณาไว้มันก็คุ้ม

Bi Center bit

ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นหัวเจาะที่มี 2 แกน หัวเจาะปกติ จะมีแกนเดียว คือจุดตรงกลางของหัวเจาะ จับมันหงายหน้าขึ้นมา จิ้มไปตรงกลาง นั่นแหละแกนมัน หัวเจาะจะหมุนรอบๆแกนนี้ ไม่ว่าจะเป็นแบบนี้

หรือแบบนี้ ก็อยู่ตรงกลาง

ขนาดของหลุมที่ขุดได้ก็ขนาดเท่ากับเส้นผ่าศูนย์กลางของหัวเจาะนั่นแหละ แต่ถ้าต้องการให้ขุดแล้วได้หลุมที่ใหญ่กว่าขาดของหัวเจาะล่ะ

แหม … พูดแบบนี้กวนโอ้ยกันป่ะ มันจะเป็นไปได้ไง รูที่ฝาผนังมันก็ต้องใหญ่เท่ากับขนาดของดอกสว่านซิจริงไหม หุหุ … มา มา ดูกัน

นี่ไงครับ มันมีสองแกน แกนนึงสีแดง(ตามรูปข้างบน) ตอนเราหย่อนมันลงในท่อกรุ อีกแกนสีเขียว คือมันหมุนรอบแกนสีเขียวตอนมันขุด

มีหลายแบบ หลายรุ่น หลาย ยี่ห้อ ให้เลือกช็อปปิ้งกันตามอัธยาศัย แค่ดำริจะใช้ เดี๋ยวเซลส์ขายหัวเจาะก็จะโทรฯเข้ามือถือมาขอนัดโชว์ของในบัดดล 🙂

มาดูคลิปสั้นๆกันว่าเวลามันขุดหน้าตามันเป็นอย่างไร

ว่าแต่ทำไมเราต้องการหลุมที่ขนาดใหญ่กว่าหัวเจาะ คือ ใหญ่กว่าท่อกรุตัวบนล่ะ ก็เพราะในบางครั้ง เราต้องการใส่ท่อกรุที่ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่จะใส่ลงไปได้ไงครับ เพราะว่าเงื่อนไขของความดันและชั้นหิน มันบีบเราให้ต้องใช้ท่อกรุหลายๆช่วง อืม … อธิบายไปมันก็จะยาว เอาว่า มันมีที่ใช้ของมันก็แล้วกัน 555 (ตัดบทมันดื้อๆ)

ไปดูของรีวิวของจำลองกันครับ

Core bit

หัวเจาะแบบนี้เอาไว้เก็บตัวอย่างหิน หรือที่เราเรียกว่า core sample

แบบ roller cone ก็มี

ตรงกลางหัวเจาะจะกลวงๆ มโนเอาก็พอเข้าใจได้ว่า พอขุดไปแท่นหินก็จะโด่อยู่ตรงกลาง โดนกลืนเข้าไปกลางหัวเจาะ เข้าไปเรื่อยๆ เข้าไปในส่วนที่เก็บ (เรียกว่า bore barrel) พอได้ความยาวของตัวอย่างหินที่ต้องการ ก็จะมีกลไกในการตัดตัวอย่างหินใน core barrel ให้ขาด

ข้างล่างนี่เป็นคลิปยาวหน่อย 6 นาทีครึ่ง แต่ก็ดีมาก ทำให้เห็นภาพการเก็บตัวอย่างหินโดยใช้ core bit

Underreamer

ไม่รู้จะแปลเป็นภาษาไทยว่าไง มันคืออุปกรณ์ตัวหนึ่งที่ติดไว้เหนือ BHA หุบได้กางได้ คล้ายๆร่ม ตอนหย่อนลงไปในท่อกรุก็หุบปีก พอจะขุดก็กางปีกออก จุดประสงค์คือ เพื่อขยายขนาดของหลุม

มีหลายรุ่น ขนาด ผู้ผลิต เยอะแยะไปหมด

เยอะครับ เอาตัวอย่างมาดูนิดๆหน่อยๆเท่านั้น กลไกในการหุบการกางก็แตกต่างกันออกไป มาดูตัวอย่างการทำงานของยี่ห้อหนึ่งเป็นน้ำจิ้มกัน

Underreamer กับ bi center bit เราเรียกรวมๆว่า hole enlargement tool ครับ

เหนื่อยล่ะ พอแค่นี้ดีกว่า …. 🙂

Underreamer

ที่มา … https://en.wikipedia.org/wiki/Underreamer

An underreamer is a device used to enlarge the borehole below an existing casing or restriction, during a well drilling operation. It can be positioned either above the drill bit or above a pilot assembly run inside the existing borehole.

Numerous designs exist, in sizes varying from a couple of inches to above 40″. It is typically used in hydrocarbon drilling operations, but also geothermal or water wells drilling.

This device is typically composed of a body connected to the drillstring, and of mobile parts (“arms” , “blocks” or “blades”, typically 3 of them) retracted in the body during the descent and extended downhole for the reaming operation. Reaming itself can be conducted either in an existing borehole (“pilot reaming”) or during the drilling operation (“reaming while drilling”).

Underreaming is primarily used to allow a wider clearance for running and cementing the casing correctly, either due to restrictions (swelling shales, tortuosity) or to be able to run a larger casing size. It is commonly used for offshore drilling operations, exploration wells, extended reach drilling or to increase the size of the production liner.

3 primary designs have been developed over the years. In chronological order :
– “Roller-cone” type underreamers, based on roller cone cutters technology, were often plagued by low reliability and limited bottom hole time
– “hinge-and-pin” PDC
– “block-type” PDC, commonly used today, suitable for reaming-while-drilling operations.

Underreamers are also required for directional casing-while-drilling (or “drilling with casing”) services, to allow the directional BHA to be retrieved through the casing, either at the end of drilling, or when a change of equipment is needed.

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *