Why concession ทำไมต้องสัมปทาน … ทำเองไม่ได้หรือไง

Why concession … คำถามคลาสิกเลยครับ จะตอบแบบไหนดีล่ะ

ตอบแบบเทคโนเคร็ต ต้องปีนบันไดฟัง ต้องเปิดดิกชันนารี่แปลอังกฤษเป็นไทย แล้วเปิดพจนานุกรมให้กูเกิล แปลไทยเป็นไทยอีกที ยังไม่พอ ต้องเดือนร้อนเฮียวิกี้พีเดียอีกรอบ

ไม่เอาดีกว่า …. จับเข่าคุบแบบบ้านๆ ภาษายายแม้นตามี ดีกว่า

Why concession

มาจะกล่าวบทไป …. สัมประทานเนี้ย ที่มามันเกิดมาจากการที่คนมารวมกัน ทำสัญญาร่วมกันว่า เราจะอยู่ด้วยกันนะจ๊ะ ไม่ใช่จะอยู่กันแบบถ้ำใครถ้ำมัน กระโจมใครกระโจมมัน พอคนมาอยู่รวมกันแล้ว ก็เกิดสิ่งที่เรียกว่า “สมบัติส่วนกลาง” ของทุกคนขึ้นมา

สมบัติส่วนกลางนั่นหน้าตาเป็นไง โห เยอะแยะ จะยกตัวอย่าง เอาแบบที่จับต้องได้ ก็เช่น แร่ธาตุ น้ำในแม่น้ำ ป่าเขา ปลาในทะเล สัตว์ในป่า

หรือ เป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ สิทธิต่างๆ เช่น สิทธิการเดินเรือในแม่น้ำ เส้นทางเดินเรือในทะเล เส้นทางบนบก หรือ แม้กระทั่งพลังงาน เช่น กระแสลม คลื่นในทะเล ไปจนถึง ความถี่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านี่แค่ตัวอย่างน่ะ ยังมีอีกเยอะแยะตะเป๊ะไก๋

อ้าว … มันจะไปยากอะไร ก็ให้ชุมชนตั้ง “ตัวแทนหมู่บ้าน” ขึ้นมาจัดการ ดูแล หาผลประโยชน์ซิ จะเอามาหาผลประโยชน์ให้ชุมชนตัวเอง หรือ ไปค้าขายแลกเปลี่ยนกับชุมชนข้างเคียง ได้ประโยชน์มาเป็นเงินเป็นทองก็เอามาสร้างถนน สร้างสะพาน โรงพยาบาล โรงเรียน ฯลฯ ก็ว่ากันไป ไม่เห็นจะยาก ไม่เห็นจะต้องยกเอา “สมบัติส่วนกลาง” นี่ไปให้ใครทำมาหากิน แค่ค่อยมาขอส่วนแบ่งเลยนี่นา

แลหลัง ก่อนก้าว (ไปข้าง)หน้า …. Thailand (III) Plus ระบบแบ่งปันผลประโยชน์

อ้อ … “ตัวแทน” ที่ว่านั่นภาษาหรูๆ ที่ซับซ้อนๆ ฟังแล้วคันหูเนี้ย ชาวกรีกโบราณเขาเรียกกันว่า “รัฐบาล” คุณปู่พลาโตเป็นคนคิดคำนี้ขึ้นมาเมื่อหลายพันปีก่อนนู้นนนนนน

(from the Greek verb κυβερνάω [kubernáo] (meaning to steer, the metaphorical sense first being attested in Plato).

กลับมาเรื่องของเรา

อืม … จริงๆ เห็นด้วยๆ

จะอ้างว่า โอ้ยยยย ชุมชนเราไม่มีความเชี่ยวชาญ ไม่มีเทคโนโลยี ไม่มีเงินลงทุน พูดง่ายๆว่า ทำไม่เป็น ไม่มีทุน ว่างั้น กว่าจะทำเป็นเสียเวลาหัดกันนาน ไม่มีเงินทุนเยอะขนาดน้านนนน กว่าจะสะสมทุนมาทำได้ ทั้งหมู่บ้านอดตายกันพอดี … จะอ้างกันแบบนั้นมันก็พอฟังขึ้น (แต่ก็พอเถียงได้ 555)

งั้นเอางี้ ลุงๆป้าๆ พี่ๆน้องๆ มามองกันใหม่

หมู่บ้านเรามีลำดับความสำคัญที่จะต้องกิน ต้องใช้ ต้องทำ ต้องสร้าง เช่น โรงเรียน ทำถนน โรงพยาบาล ต่อเกวียน ขุดคลอง ฯลฯ เยอะแยะ กำลังคนและความสามารถของคนในหมู่บ้านเราก็จำกัด ไอ้โน้นก็จะทำเอง ไอ้นี่ก็จะทำเอง จะทำเองไปหมด มันก็ทำไม่ไหว ทั้งหมู่บ้านมีคนแค่ 1000 คน

งั้นเรามาจัดลำดับความสำคัญกันหน่อยดีไหมว่า อะไรจะให้ “ตัวแทนหมู่บ้าน” ทำเอง อะไรจะให้สมาชิกในหมู่บ้านเรา (หรือสมาชิกจากหมู่บ้านอื่น) มารับทำไป แล้วค่อยมาแบ่งผลประโยชน์กัน

นี่แหละครับ ที่มาของการให้สัปทาน …

คำนี้ฟังดูขลังเนอะ แต่จริงๆมันก็คือ “สัญญา” ดีๆนี่เอง เป็นสัญญาที่ให้ “ใคร” ทำ “อะไร” กับ “อะไร” แล้วแบ่ง “อะไร” กัน “ยังไง” …. (โอ้ย … หรือผมยิ่งขยายความยิ่งจะงง 555)

มันไม่มีกฏตายตัวหรอกครับว่า “สมบัติส่วนกลาง” อะไรที่ ตัวแทนหมู่บ้านทำเอง หรือ จะให้สมาชิกในหมู่บ้านเรา (หรือสมาชิกจากหมู่บ้านอื่น) มารับทำไป ขึ้นกับความถนัด ความสามารถ กำลังทุน กำลังสติปัญญา เทคโนโลยี วัฒนธรรม ค่านิยม ประวัติศาสตร์ ความเชื่อทางศาสนา ฯลฯ ของหมู่บ้านนั้นๆ และ องค์ประกอบที่สำคัญ คือ ปริมาณ และ คุณภาพ ของ  “สมบัติส่วนกลาง” ที่หมู่บ้านนั้นๆมีด้วย

การจะไปชะโงกหน้าดูหมู่บ้านข้างๆแล้วบอกว่า นั่นไง หมู่บ้านโน้นทำอันนี้เอง แต่ให้สัปทานอันนั้น มันก็เปรียบเทียบกันได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็ต้องดูปัจจัยอื่นๆดังที่กล่าวมาแล้วด้วยว่าหมู่บ้านเรากับหมู่บ้านเขานั้นเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะ คุณภาพ และ ปริมาณ ของสมบัติส่วนกลางที่ว่า

การที่จะดูแค่มิติเดียว แล้วออกมา ปะ ฉะ ดะ กันนั้น ภาษาสุภาพที่ผมนิยามคนแบบนี้ คือ ตื้นเขินทางความคิด แต่ถ้าผมไม่เกรงใจ ผมจะบอกว่า โง่แล้วอวดฉลาด

เอาแค่หลักการง่ายๆ แค่นี้ก็ต่างกันแล้วว่าสมบัติส่วนกลางชิ้นไหนควรทำเอง ชิ้นไหนควรให้สัมปทาน

ถ้าคุยกันลงลึกไปถึงวิธีการ ประเภท การแบ่งปันผลประโยชน์ของการให้สัปทานนี่ โอ้ยยยยย ยุ่งขิงทิงนองนอย ปวดกระเบนเหน็บเจ็บไข่ดันกันล่ะท่านผู้โชมมมม

ดังนั้น จบมันง่ายๆแบบนี้ดีกว่า …

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *