Under the ground EP5 จากใต้พื้นพิภพ ตอนที่ 5 พลังขับดัน

Under the ground EP5 จากใต้พื้นพิภพ ตอนที่ 5 พลังขับดัน – ในชีวิตประจำวันของเรานั้น จะต้องเข้าไปยุ่งกับเรื่องของความดัน (Pressure) ไม่มากก็น้อย

ไม่ว่าจะเป็น กระป๋องสเปรย์ทั้งหลาย (ฉีดผม ฉีดยุง ฉีดโน่น ฉีดนี่ ฯลฯ) ล้วนบรรจุก๊าซอัดความดันทั้งนั้น …

Under the ground EP5

จากใต้พื้นพิภพ ตอนที่ 5 พลังขับดัน

ในชีวิตประจำวันของเรานั้น จะต้องเข้าไปยุ่งกับเรื่องของความดัน (Pressure) ไม่มากก็น้อย ไม่ว่าจะเป็น กระป๋องสเปรย์ทั้งหลาย (ฉีดผม ฉีดยุง ฉีดโน่น ฉีดนี่ ฯลฯ) ล้วนบรรจุก๊าซอัดความดันทั้งนั้น

ถังแก๊สที่ใช้ทำกับข้าวก็เป็นถึงอัดความดันเช่นกัน (มากซะด้วยซิครับ) และ สำหรับคนที่ไม่ได้อาบน้ำในตอนเช้าเนื่องจากน้ำไม่ไหล เพราะไร้ความดันในท่อก็คงจะต้องหงุดหงิดไปทั้งวัน

ความดันของน้ำในท่อประปาตามบ้านของเรานั้นมีน้อยมากเมื่อเทียบกับความดันที่ใช้ “ดัน” หรือ “ยก” น้ำมันและก๊าสจากก้นหลุมให้ขึ้นมาสู่ปากหลุม

คุณเชื่อไหมว่าถ้าความดันในท่อน้ำธรรมดาๆมีมากพอกับความดันในหลุมผลิตน้ำมันแล้ว คุณสามารถที่จะสนุกสนานกับการอาบน้ำฝักบัวบนยอดตึกสูงเกิน 120 ชั้นได้โดยไม่ต้องใช้ปั๊มน้ำเลย (แรงขนาดนั้นเลยครับ)

อันที่จริงแล้ว เจ้าความดันที่ช่วยดันน้ำมันจากก้นหลุมขึ้นมาสู่ปากหลุมนี้ก็คือความดันเดียวกันกับที่ทำให้น้ำมันไหลจากแหล่งกักเก็บเข้ามาสู่ก้นหลุมในตอนแรกนั่นเอง

น้ำมันที่ถูกดูดเข้าไปในหลุมนี้จะมีปริมาณมากน้อยแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับควมแตกต่างระหว่างความดันในแหล่งกักเก็บกับความดันในหลุมไงครับ จำได้ไหมครับ ที่เราเคยพูดถึงเรื่อง Drawdown กัน

ถ้าให้พูดอีกอย่างหนึ่งก็จะได้ความว่า “ความดัน” ที่อยู่ก้นหลุมนั้นกำลังทำหน้าที่ 2 อย่างในเวลาเดียวกัน อย่างแรกก็คือ “ดึง” น้ำมันจากแหล่งกักเก็บ หรือ เจ้าฟองน้ำยักษ์นั้นเข้ามาในหลุม และ อย่างที่ 2 ก็คือ”ดัน” น้ำมันที่ดึงเข้ามานั้นให้ขึ้นมาสู่ปากหลุมให้จงได้ “ดึงออกมาแล้วก็ดันขึ้นไป” ฟังดูง่ายๆไม่มีอะไรซับซ้อยเลยใช่ไหมครับ

ตราบใดที่ปริมาณของน้ำมันที่ถูกดึงเข้ามาในหลุมมีเท่าๆกับปริมาณน้ำมันที่ถูกดันสู่ปากหลุมแล้ว สิ่งง่ายๆที่ว่านั้นก็จะดำเนินไปเรื่อยๆ และ ในกรณีที่แหล่งกักเก็บยังมีความดันสูงอยู่ ธรรมชาติก็ยังสามารถจัดการให้ ดึง-ดัน ที่ว่านี้เป็นไปอย่างสมดุลได้ตลอดเวลา

แต่เมื่อไรก็ตามที่ความดันในแหล่งกักเก็บอ่อนแรงลง ก็จะเริ่มมีปัญหา คือความดันจากก้นหลุมมีแรงไม่มากพอที่จะดึงน้ำมันออกมาจากแหล่งกักเก็บ ถ้าปล่อยให้เป็นอย่างนั้นอีกไม่นาน หลุมผลิตของเราก็จะถึงกาลอวสานไปโดยปริยาย

แต่ … เดี๋ยวก่อน เราช่วยได้ครับ การช่วยชีวิตหลุมผลิตน้ำมันนี้เราเรียกว่า Artificial Lift (คงจะแปลเป็นภาษาไทยว่า “ช่วยยก” หรือ “ช่วยขน” ซึ่งน่าจะฟังดูดีกว่า “ยกเทียม” เป็นแน่แท้) ซึ่งการทำ Artificial Lift นี้มีอยู่ด้วยกันหลักๆ 3 วิธี

วิธีแรกเรียกว่า Gas Lift ซึ่งเป็นวิธียอดฮิตของเราชาวปตท.สผ.โครงการเอส1 นี่แหละครับ เพราะลงทุนน้อยแต่ได้ผลดี วิธีการก็คือเราจะอัดก๊าซเข้าไปผสมในน้ำมันที่อยู่ก้นหลุมเพื่อให้น้ำมันนั้นรู้สึกเบาตัวขึ้น และ สามารถไต่ขึ้นมาจนถึงปากหลุมได้

วิธีที่สอง เป็นการเพิ่มแรงดันให้น้ำมันขึ้นสู่ปากหลุมโดยการติดตั้งปั๊มชนิดต่างๆลงไปยังก้นหลุม เพื่อช่วยเพิ่มความดันให้น้ำมันไหลขึ้นมาเหมือนปั๊มน้ำที่ใช้ในบ้านเราๆท่านๆ

วิธีที่สาม ก็คือการใช้วิธีการทำงานแบบเดียวกับการทำงานของเครื่องสูบน้ำ แบบโยกขึ้นโยกลงตามบ่อบาดาลไงครับ ตัวอย่างหนึ่งที่รู็จักกันดีก็คือเจ้า “ลาผงกหัว” หรือ “Nodding Donkey” ซึ่งเห็นคุ้นตาจนกลายเป็นสัญลักษณ์ของแหล่งผลิตน้ำมันไปแล้วนั่นเอง

Artificial lift

From Wikipedia, the free encyclopedia

Artificial lift refers to the use of artificial means to increase the flow of liquids, such as crude oil or water, from a production well.

Generally this is achieved by the use of a mechanical device inside the well (known as pump or velocity string) or by decreasing the weight of the hydrostatic column by injecting gas into the liquid some distance down the well.

A newer method called Continuous Belt Transportation (CBT) uses an oil absorbing belt to extract from marginal and idle wells.

Artificial lift is needed in wells when there is insufficient pressure in the reservoir to lift the produced fluids to the surface, but often used in naturally flowing wells (which do not technically need it) to increase the flow rate above what would flow naturally. The produced fluid can be oil, water or a mix of oil and water, typically mixed with some amount of gas.

อ่านต่อ https://en.wikipedia.org/wiki/Artificial_lift

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *