Surface vs Subsea BOP while removing influx มันต่างกันไง

Surface vs Subsea BOP while removing influx มันต่างกันไง – BOP บนแท่นเจาะที่อยู่บนบก หรือ แท่นเจาะนอกชายฝั่งที่ยึดติดกับตัวแท่นนั้นจะไม่มีประเด็นเรื่องนี้เท่าไร

What are in BOP ? มีอะไรอยู่ใน Blow Out Preventer

เหตุผลก็เพราะว่า จุดที่วัดความดันตอนปิดหลุม (shut in) มันอยู่ระดับเดียวกับปากหลุม

surface BOP stack

ถ้าวาดเป็นรูปการ์ตูนๆ จะประมาณนี้

surface BOP schematic

จะเห็นว่า มาตรวัดความดัน (pressure gauge) มี 2 ตัว

ตัวหนึ่งอยู่ที่ ก้านเจาะ เราเรียก drill pipe pressure ถ้าโดนปิดหลุม เราจะเรียกค่าที่อ่านได้ว่า Shut In Drill Pipe Pressure (SIDP)

อีกตัวหนึ่งอยู่ที่ท่อกรุ อ่านความดันที่ช่องว่างระหว่าง ก้านเจาะ กับ ท่อกรุ (annulas) เราเรียก casing pressure ถ้าโดนปิดหลุม เราจะเรียกค่าที่อ่านได้ว่า Shut In Casing Pressure (SICP)

Surface vs Subsea BOP while removing influx

มันต่างกันไง

แต่ถ้าเป็นการขุดในทะเลลึกๆ ที่ BOP มันอยู่ที่พื้นทะเล แบบ deepwater horizon ล่ะ

BOP อยู่ข้างล่าง แท่นอยู่ข้างบน ท่อสายโน้นนี่ระโยงระยางขึ้นมาบนแท่นเจาะ

subsea BOP stack

BOP กับ แท่นเจาะ อยู่ห่างกันเป็นร้อยเมตร ต้องต่อท่ออะไรวุ่นวายลงไปควบคุม BOP

แต่ในคลิปนี้ มี 2 สาย ที่ต้องสนใจ ดูใน รูปแบบการ์ตูนๆ นะครับ มันชื่อว่า choke line กับ kill line

Choke line กับ Kill line

ดังนั้น จะเป็นว่า ปากหลุม อยู่พื้นทะเล แต่จุดที่วัดความดันตอนปิดหลุม มันดันไปอยู่บนแท่น

เห็นไหมครับ ต่างกันไง

ในรูปข้างบน surface BOP ไม่มี kill line มีแต่ choke line เป็นปกติครับ

(ส่วน kill line คืออะไร ช่างมันไว้ก่อน ไม่เกี่ยวกับตอนนี้เท่าไร)

ในกรณี surface BOP เราอ่านค่าความดันจาก choke line ได้เท่าไร มันก็เท่านั้น จริงไหมครับ เพราะจุดวัดความดันมันอยู่ปากหลุม

แต่กรณี subsea BOP มันไม่งั้นดิ …

SICP มันไม่ได้อ่านที่ปากหลุมที่อยู่ที่พื้นทะเล มันอ่านที่บนแท่นเจาะ โดยมี choke line ยาวเป็นรอยเมตรเชื่อมต่ออยู่

อ้อ … choke line มีเอาไว้ ผ่องเอา influx ออกจากหลุม ในปฏิบัติการ well control ครับ เพราะเราต้องปิดหลุมรอบก้านเจาะ ใช่ไหมล่ะ เราต้องมีรูให้ influx ออก ใช่ป่ะ

เราให้มันออกทาง choke line นี่แหละ แล้วเราก็ใช้ choke line ในการวัดความดันที่ปากหลุมตอนเราเอา BOP ปิดหลุม (รอบก้านเจาะ)

คลิปที่ผมเอามาฝากข้างล่าง จะพูดถึงการคำนวนต่างๆ เมื่อเราต้องคิดผลของแรงเสียดทานที่เกิดจากการไหลใน choke line ต่อ ความดันที่อ่านค่าได้จากบนแท่นเจาะ ซึ่งมี 2 สถานะ static (น้ำโคลนอยู่นิ่งๆ)กับ dynamic (น้ำโคลนกำลังไหลผ่าน)

นอกจากนี้ ยังสอนคำนวนแรงเสียดทานใน choke line ด้วย (choke line friction loss)

ในกรณี surface BOP แรงเสียดทานเนื่องจากสาย choke line นี้ น้อยมากๆ ถือว่าไม่มี เพราะสายสั้นจิ๊ดเดียว และ ถือว่าอยู่ในแนวระนาบเดียวกับปากหลุม

คลิป 7 นาที 24 วินาที นะครับ

ถ้าไม่เข้าใจก็ไม่ต้องตกใจไปนะครับ โพสต์นี้ถือว่าเป็นขั้นสูง สำหรับพวกเราที่รู้จักและเข้าใจเบสิกมาก่อนแล้ว

วิธีคำนวน choke line friction loss (CFL) สั้นๆครับ 3 นาที่ 53 วินาที

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *