What are in BOP ? มีอะไรอยู่ใน Blow Out Preventer

What are in BOP ? มีอะไรอยู่ใน Blow Out Preventer – จำภาพยนต์เรื่อง DeepWater Horizon ได้ไหมครับ

หนึ่งในจำเลยเบอร์แรกๆ (ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่จำเลยที่หนึ่งก็ตาม) ก็คือ BOP Blow Out Preventer นี่แหละครับ

BOP ของ Deepwater Horizon

Blow Out Preventer แปลเป็นภาษาไทยได้จั๊กจี้พองามว่า อุปกรณ์ป้องกันการพลุ่ง แต่เพื่อความสะดวก ผมขอทับศัพท์ว่า BOP ไปก็แล้วกันนะครับ

BOP คือ อะไร …

อธิบายแบบง่ายๆ บ้านๆที่สุดเลย BOP คือ ชุดของวาว์ลหลายตัวที่ติดตั้งซ้อนๆกันอยู่บนปากหลุม

ใน Blow Out Preventer ประกอบไปด้วยวาว์ล ใบมีด ตัด ครอบ ปิด ชนิดต่างๆ ชุดควบคุม ลูกสูบขับไฮดรอลิกส์ อุปกรณ์วัดค่าความดันต่างๆมากมาย

ซึ่งผมจะไม่อธิบายหมดหรอก เพราะพวกเราไม่ได้จะไปสอบเอา certificate ในการควบคุมหลุม (Well Control Certificate)

วันนี้เรามารู้จัก “Ram” ต่างๆกัน

ผมจะแปล ram ว่าอะไรดี ที่ใกล้เคียงความหมายในที่นี้ …

  • [n. vt.] แกะ ตัวผู้
  • [n. vt.] เครื่องกระทุ้ง = rammer, เครื่องชน, เครื่องตอก เช่น สามเกลอ
  • [n. vt.] กระทุ้ง (ดินปืน), จ้ำจี้จ้ำไช, ตอก (เข็ม, ดิน), ตะบัน (ข้อความลงในหัวสมอง), ยัด (เสื้อผ้าลงในหีบ)
  • [n. vt.] กระแทก, ชน
  • [n. vt.] สูบน้ำ

เอาล่ะ คิดไม่ออก ทับศัพท์ไปล่ะกันว่า ram ออกเสียงว่า “แรม” ออกเสียงเหมือนกับ RAM ของคอมพิวเตอร์นั่นแหละ

เราจะมาทำความรู้จักกับ ram เหล่านี้กัน (ใครที่รู้จักแล้วบ้าง ก็คลิ๊กที่ชื่อหัวข้อที่สนใจได้เลย จะได้กระโดดไปอ่านที่ยังไม่ทราบ)

What are in BOP ?

มีอะไรอยู่ใน Blow Out Preventer

แรกสุดเลย เรามาดูก่อนว่า โครงสร้างทั่วๆไปของ BOP มันเป็นอย่างไร

โครงสร้าง BOP อย่างง่ายๆ

มันก็คือท่อเหล็กขนาดมหึมา หนาโคตรๆ ดีๆนี่เอง มีแขนต่ออกไปสองข้าง มีกลไกขับก้านเหล็กที่อยู่ในแขน (สีเหลืองๆในรูป)

กลไกที่ว่าก็มี 2 แบบใหญ่ๆ คือ มือคนหมุนเกลียว (แบบพวงมาลัยรถยนต์น่ะครับ) กับ ลูกสูบไฮดรอลิกส์

ที่ปลายก้านด้านที่อยู่ในท่อ ก็จะต่อกับ “บล๊อก” (ram block) หน้าตาของเจ้าบล๊อกนี่แหละ ที่จะบอกว่า ram นี้จะเป็น ram ชนิดไหน

Blind ram

แบบเบสิกเคย คือ ปิดปากหลุมธรรมดาๆ เรียกว่า blind ram ปากหลุมต้องไม่มีอะไรไปขวางอยู่นะ

Blind ram

Pipe ram

แต่ถ้าที่ปากหลุมมี ก้านเจาะ หรือ มีท่อกรุ คาอยู่ล่ะ เราก็ใช้ blind ram ไม่ได้ เราต้องใช้ pipe ram

Pipe ram

Shear ram

ถ้า pipe ram เอาไม่อยู่ล่ะ จะทำไง ปิด pipe ram ไปแล้ว ยังรั่ว ฟี่ๆฟุดๆ ออกมารอบๆก้านเจาะ ก็ต้องนี่เลยครับ ปราการด้านสุดท้าย

Shear ram

ปัญหาหนึ่งของ shear ram มันเอาไว้ใช้ตัดทุกอย่างที่ขวางทาง แต่ตัดแล้ว มันไม่ปิดปากหลุมเหมือน blind ran พูดง่ายๆคือ ของไหล ไม่ว่า น้ำโคลน น้ำมัน ก๊าซ ก็ยังสามารถพุ่งพรวดๆผ่าน shear ram มาได้ราวกับก๊อกน้ำรั่ว

เราจึงมักเอา shear ram ไว้ข้างใต้ blind ram ตัดอะไรก็ตามที่คาปากหลุมด้วย shear ram แล้ว ค่อยปิดปากลุมให้สนิทด้วย blind ram อีกที

มันก็นะ ชักช้า เวลาเป็นเงินเป็นทอง เสียเวลาการควบคุมหลุม

Blind Shear ram

จึงมีคนออกแบบ บล๊อก ที่เป็น 2 in 1 คือ เฉือนตัดได้ เสร็จแล้วก็ปิดปากหลุมไปด้วยเลย

Blind Shear ram

ชุด Blow Out Preventer สมัยใหม่ มักไม่ค่อยเห็น shear ram อย่างเดียวโดดๆแล้วครับ มักจะมาเป็นแบบนี้กันหมดแล้ว

แต่อย่างที่เคยบอกไปแล้ว หลายๆครั้ง เราก็เลือกไม่ได้ว่าเราจะได้แท่นขุดเจาะที่มี Blow Out Preventer แบบไหนติดมาด้วย

ในฐานะวิศวกร เราก็ต้องสามารถที่จะรู้จัก และ ใช้งานอุปกรณ์ ได้หลากหลายๆไว้ก่อน (จะได้ไม่ตกงาน 555)

Variable ram

ย้อนกลับไปดู pipe ram นิสนุงก่อนจากกัน

ขนาดของ block จะตายตัว

ขนาดบล๊อกที่ใช้ มันใช้ได้แค่กับ ก้านเจาะ หรือ ท่อกรุ เดียวเท่านั้น แต่เวลาเราเจาะหลุมๆหนึ่งเนี้ย เราใช้ก้านเจาะ และ ท่อกรุหลายขนาด

สมันก่อนโน้น ตอนผมทำงานใหม่ๆ จำได้ว่า พอเปลี่ยนขนาดก้านเจาะ หรือ ท่อกรุแต่ล่ะที ก็ต้องถอดเอา บล๊อก ออกมาเปลี่ยนที ถอดเปลี่ยนก็เสียเวลามากพออยู่แล้ว เปลี่ยนเสร็จ ก็ต้องมาทดสอบความดัน โน้นนี่อีก

นอกจากเสียเวลาแล้ว เรื่องความปลอดภัยก็สำคัญ เพราะกระบวกการ ถอดประกอบ และ ทดสอบ มันอันตราย ทั้งเรื่องของหนักๆ และ ความดันที่ใช้ทดสอบ บลาๆ

จึงมีคนที่คิดออกแบบ บล๊อก ที่สามารถใช้ได้กับ ท่อ หลายๆขนาด

variable ram

คราวนี้ก็ไม่ต้องถอดเข้าถอดออกบ่อยๆล่ะ

แน่นอนว่า ที่ผมเอารูปตัวอย่างมาให้ดูทั้งหมดนั้น เป็นแค่แนวคิด ให้เข้าใจเท่านั้น ความจริง มีหลากหลายยี่ห้อ และ แบบย่อยๆ อีกมากมายนะครับ

Stack configuration

เวลาใช้งาน เราก็เอา ram เหล่านี้มาเรียงๆซ้อนๆกันบนปากหลุม

ส่วนจะเอาอะไรไว้ก่อนหลังนั้น เป็นเรื่องที่ต้องคิดคำนวนกันล่วงหน้า ว่าจริงๆแล้ว เราต้องการอะไรกันแน่

อะไรคืดเหตุการณ์ที่น่าจะเกิดได้มากที่สุด เราจะเอาอะไร ขึ้นลงจากหลุมบ้าง บลาๆ

บางครั้ง เราอาจจะต้องมี ram ชนิดเดียวกัน มากกว่า 1 ram เผื่อเจ๊ง เพราะมันสำคัญกับงานมาก

ลองกูเกิลดูเล่นๆนะ ก็เห็นว่ามีหลากหลายไปหมด

BOP stack configuration

แน่นอนว่า ยิ่งเยอะ ยิ่งยุ่ง ยิ่งเสี่ยงอุบัติเหตุในการติดตั้ง และ ยุ่งยาก ลำบาก ตอนใช้งาน และ แพง 555 🙂

ส่งท้าย

Blow Out Preventer เป็นเรื่องหนึ่งที่สำคัญ ที่เรามักมองข้าม เพราะโดยมากเรามักโบ้ยไปให้เป็นเรื่องของแท่นขุดฯที่เราเช่ามา

ซึ่งก็จริงที่โดยมากเรามักทำอะไรได้ไม่มาก

แต่อย่าลืมว่า ในงานวิศวกรรมเรา ทำได้ 2 แบบ คือ

  1. เลือกอุปกรณ์ตามงานที่จะทำ
  2. หรือ … ออกแบบงานตามอุปกรณ์ที่มี

ในกรณี Blow Out Preventer นี่ เป็นแบบแรกในกรณีที่เรากำหนดสเป็คแท่นขุดเจาะฯที่ต้องการประมูลเอามาใช้งาน แต่จะเป็นหลัง ในกรณีที่เช่าแท่นขุดเจาะฯมาแล้ว

สรุปว่า ยังไงๆก็หนีไม่พ้นความรับผิดชอบของวิศวกรขุดเจาะฯอยู่ดี … 555 🙂

One comment

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *