Proximity log ย้อนเวลาหาอดีต Time machine to Resistivity log EP3

Proximity log ย้อนเวลาหาอดีต Time machine to Resistivity log EP3 – เท้าความนิด ปัญหาเดิมที่เราทิ้งค้างไว้ตอนภาคจบของ microlaterolog นั้นคือ ความหนาของ mud cake ถ้ามันหนามากๆ ผิวพนังหลุมมันขรุขระมากๆ และ ความต้านทานไฟฟ้าของ invaded zone สูงกว่าของ mud cake มากๆ (Rxo >>> Rmc)

กระแสไฟฟ้าที่ส่งออกไปจาก A0 ไม่สามารถเข้าไปลึกได้ขนาดนั้น เพราะ

  1. กระแสไฟฟ้าจะไหลเบี่ยงผ่าน mud cake หมด (Rxo >>> Rmc)
  2. ยิ่งถ้าผนังหลุมขรุขระด้วยแล้ว ยิ่งไปกันใหญ้ กระแสจาก A0 แทบไปไม่ถึง  invaded zone เลย
  3. แถมอีกเด้ง mud cake หนาอีกล่ะ กระแสจาก A0 แทบไปไม่ถึง  invaded zone เลยเหมือนกัน

ถ้าสามปัจจัยข้างต้นประกอบกัน ยิ่งไปกันใหญ่

ไปดูภาพจำลองของ microlaterolog กันหน่อยว่า เป็นอย่างไร ก่อนจะไปดูว่าแก้ปัญหาชีวิตนี้ได้อย่างไร

เห็นป่ะ ขั้วไฟฟ้าเยอะเกิ้น แถมกระแสที่ใช้ผลัก (bucking current) ที่ออกมาจาก A1 ก็เล็กนิดเดียว (ก็เพราะขั้ว A1 มันนิดเดียว เป็นโลหะวงแหวนเล็กๆบางเฉียบ) แถมช่องว่างระหว่าง A0 กับ A1 ก็เยอะ เพราะมีขั้ว M1 กับ M2 แทรกอยู่ กระแส A1 ก็ผลัก กระแส A0 ได้ไม่เต็มเหนี่ยวนัก

ก่อนไปกันต่อ เตือนกันนิดนุงว่า ในครอบครัว microresistivity เรามาถึงน้องคนที่ 3 แล้วนะครับ

Microresistivity

  1. Microlog
  2. Microlaterolog
  3. Proximity log
  4. Microspherericle log
  5. Microcylendricle log

Proximity log

ย้อนเวลาหาอดีต Time machine to Resistivity log EP3

https://www.glossary.oilfield.slb.com/en/Terms/p/proximity_log.aspx

วิธีแก้เราก็ง่ายนิดเดียวครับ

  1. เรายุบ M1 ไปรวมไว้กับ A0 ซะ เท่านี้เราก็ลดช่องว่างระหว่า A0 กับ A1 ได้แล้ว จริงป่ะ
  2. อยากให้กระแส A1 เยอะๆ เราก็ทำขั้ว A1 ให้มันใหญ่ๆดิ จริงป่ะ

หน้าตาวงจรจำลองๆก็จะออกมาประมาณนี้

เห็นป่ะ ผมจงใจทำขนาดขั้ว A1 ให้ใหญ่เชียว กระแส A1 ออกมาเพียบ 5555

และ เมื่อเรารักษา Vm1 ให้เท่ากับ Va0  นั่นแปลว่ากระแส I1 กับ I0 จะไม่มีทางมาชนกัน ก็หลักการเดียวกับ microlaterolog นั่นแหละครับ เพียงแค่เราเอาขั่ว m อกไปขั่วหนึ่ง เอามาใช้ร่วมกันกับ A0 แทน ก็เพื่อกระชับพื้นที่ไง

หน้าตาจริงๆของ pad ก็จะออกมาประมาณนี้ A0 (รูปบนใช้คำว่า current electrode) ขั้วเบ้อเร่อเลย แถม A1 (รูปบนใช้คำว่า guard electrode) แทนที่จะเป็นเส้นๆแบบ microlaterolag ก็เป็นแผ่นๆเลย หนาสะใจ

ขั้ว M ก็เหลือขั้วเดียว A0 กับ A1 ก็สามารถเอามาใกล้ชิดกันมากขึ้น

มาๆ เทียบวิวัฒนาการกันให้ชัดๆ ตามรูปนี้

ถ้าเปรียบเทียบนะ microlaterolog มันจะประมาณเอารถเก๋ง 2 คัน ประกบให้รถตรงกลางวิ่งไปในทางที่ต้องการ

ช่องว่างมันเยอะ รถคันตรงกลางมันก็มีอิสระที่จะส่ายไปมา แถมคันที่มาประกบก็คันพอๆกัน ขนาดสูสีๆ การประกบและนำรถคันสีเหลืองไปข้างหน้า ย่อมไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

แต่ถ้าผมเปลี่ยนให้เป็นรถคันใหญ่ขึ้น เอาเทรเลอร์มาประกบเลย แถมกระชับพื้นที่ ประกบแบบบี้ๆเบียดๆ

คราวนี้แหละ ไปไหนไม่รอด 555 🙂

Proximity log มันก็ประมาณรูปล่างนี่แหละครับ เอากระแส A1 ใหญ่ๆหน่อย และ ประกบแบบชิดๆ มันก็บังคับกระแสหลักให้พุ่งตรงเข้าไป invaded zone ได้ถนัดถนี่กว่า

Proximity log จึงสามารถวัดเข้าไปห่างจากเครื่องมือ (ลึกเข้าไปในผนังหลุม) 1 – 1.5 ฟุต ทีเดียว (เมื่อเทียบกับ microlaterolog ที่ไม่กี่นิ้ว)

มีข้อดี มันก็ต้องมีข้อด้อย

ถ้าช่วงไหนของหลุมที่ mud cake ไม่หนานัก ผนังหลุมเรียบๆ แถม invaded zone เกิดแคบๆ ไม่กว้างมาก กระแส A0 มันก็จะทะลุพรวดเข้าไปใน uninvaded zone แทนที่จะอ่านค่า Rxo กลับอ่านได้ค่า Rt … หุหุ

ชีวิตมันก็แบบนี้ครับ ได้อย่างเสียอย่าง เราก็ต้องประเมินก่อนล่ะว่าหลุมเราส่วนใหญ่นั้น คุณภาพ mud cake เป็นไง ชั้นหินเราเป็นหินอะไร หลุมก่อนหน้า ที่ขุดใกล้ๆกัน ใช้เครื่องมืออะไร ผลงานอ่านค่าออกมาเป็นไง ใช้น้ำโคลนอะไร บลาๆ เรียกว่าต้องทำการบ้านมาพอสมควรล่ะ (ภาษาทางเทคนิคคือ offset well analysis)

ปัญหาของ proximity tool คือ

1. ประสิทธิภาพของกระแสที่ใช้ผลัก (bucking current) ที่ออกมาจากขั้ว A1 คือ พอผลักเสร็จแล้วมันไปไหนต่อก็ไม่รู้ ตะเลิดเข้าไปในชั้นหิน หรือ น้ำโคลน บลาๆ

2. ตอนวัดความต่างศักย์ (V) แล้วเอาไปหารกระแส (I0) เพื่อให้ได้ความต้านทาน R นั้น เราวัดจาก Va0 – VM1 นั่นแปลว่าอะไรครับ แปลว่า เราเหมาวัดค่า Rmc ไปด้วย 2 รอบ

… ดูรูปข้างล่างประกอบครับ

ถ้า Rmc <<< Rxo มากๆมันก็พอหยวนๆ จริงไหมครับ แต่ถ้ามันไม่น้อยกว่ากันมากขนาดที่ลืมๆไปซะได้ล่ะ ค่าที่เราอ่านได้จาก proximity tool มันก็จะไม่ใช่ค่า Rxo ที่แท้จริง … แม่นบ่

เท่าที่ผ่านมา microlog, microlaterolog, proximity log เราวัดแบบนี้ตลอด คือ วัดพ่วง Rmc ติดมาด้วยทุกครั้ง แล้วเราก็ตั้งสมมติฐานว่า Rmc <<< Rxo นะ ดังนั้น เราก็หยวนๆ ซึ่งเราก็รู้อยู่เต็มอกตู้มๆของเราว่า ไม่จริงเสมอไป

ทำไงเราถึงจะสามารถวัด Rxo ให้ได้แบบเจ๋งๆเต็มไม้เต็มมือ โดยไม่ต้องวัด Rmc พ่วงมาด้วย

… โปรดติดตาม 🙂


recta sapere

พ่อเจ้าวัดองค์หนึ่งขอให้พ่อแม่บอกลูกให้เขียนจดหมายมาหาพ่อบ้าง เด็กผู้หญิงคนหนึ่งเขียนมาเล่าว่า

… เรียนคุณพ่อ ชีวิตหนูไม่มีความสุขเลย กลับบ้านช้ำก็ถูกพ่อแม่บ่นว่าทุกที ความสุขมิได้หมายความว่ามีห้องนอน มีโรงเรียนดีๆ ความสุข คือ การที่หนูแต่งตัวออกไปเที่ยวได้ มีเงินใช้จ่ายเยอะๆ … ลงชื่อ เด็กอายุ 15

พ่อนำจดหมายนี้ลงสารวัด อาทิตย์ต่อมามีจดหมายฉบับหนึ่งเขียนว่า

… เรียนคุณพ่อหนูว่าคนที่มีความสุขคือคนที่พูดได้ มองเห็นได้ยิน และ เดินได้ อ่านจดหมายเด็กอายุ 15 ทำให้ไม่มีความสุขเธอมีครบทั้งสี่ข้อหนูพูดได้ มองเห็นและได้ยินแต่เดินไม่ได้ นอนอยู่บนเตียงคะหนูยังมีความสุขที่พูดได้มองเห็นและได้ยิน … ลงชื่อเด็กอายุ 13

ความสุขของเราคืออะไรครับ ทุกคนมีความสุขได้กับสิ่งที่มีไม่ว่าจะสวยหรือไม่สวย จะเตี้ยหรือสูง จะตัวดำหรือขาว จะรวยหรือไม่รวยพิการหรือไม่พิการ ความสุขอยู่ที่เรามองเห็นความสุขหรือไม่ต่างหากครับ

(จาก facebook บาทหลวง สุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *