Petroleum concession windfall tax สัมประทานปิโตรเลียม

Petroleum concession windfall tax สัมประทานปิโตรเลียม – วันก่อน อ่านเจอข่าวสั้นๆว่า อียู (EU) หมดปัญญาที่จะกำหนดราคาขั้นสูงสุดของพลังงานที่ซื้อหรือได้มาจากรัสเซียได้ จึงมีแนวทางที่จะออกกฏหมายภาษีลาภลอยแก้เกี้ยวขึ้นมาใช้กับบ.น้ำมันต่างๆแทน

ก็เลยนึกได้ว่า ในการทำสัญญาสัมปทานสำรวจและผลิตปิโตรเลรยมของเราก็มีภาษีนี้อยู่ด้วย

แลหลัง ก่อนก้าว (ไปข้าง)หน้า …. Thailand (III) Plus ระบบแบ่งปันผลประโยชน์

ภาษีลาภลอย แปลจาก ภาษาอังกฤษ ว่า windfall tax โดย windfall มันคือ ลาภลอย แปลว่า จู่ๆก็ส้มหล่น โดยไม่มีเหตุทางกฏหมายอะไรรองรับมากพอที่จะเรียกเก็บภาษีในระบบปกติที่มีอยู่เป็นอยู่ในขณะนั้นได้เลย

a tax levied on an unforeseen or unexpectedly large profit, especially one regarded to be excessive or unfairly obtained.

https://www.investopedia.com/terms/w/windfalltax.asp

ยกตัวอย่างง่ายๆ คือ เรามีที่ดิน มีบ้าน อยู่มานานนม โดยที่เราไม่ได้เก็งกำไรอะไร จู่ๆ มีถนนตัดผ่าน มูลค่าที่ดินเพิ่มมหาศาล โดยที่เราไม่ได้ลงทุน ไม่ได้อะไรเลย ภาษากฏหมายเขาเรียกมูลค่าที่เพิ่มขึ้นมาแบบมากมายนั้นว่า ลาภลอย ส่วนจะเก็บภาษีหรือไม่นั่น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ล่ะประเทศก็จะมีแนวคิด ขอบเขต เกี่ยวกับ ลาภลอยนี้แตกต่างกันไป

จะเรียกว่า ภาษีส้มหล่น ก็น่าจะได้ คือ อยู่ดีๆ ลมพัดมา ส้มหล่นลงมาตรงหน้าเราให้ได้เก็บกิน

กลับมาเรื่องสัญญาสัมปะทานของเรา

Petroleum concession windfall tax

ในสัญญาสัมประทานปิโตรเลียมของเรานั้น มี “ส่วนแบ่งเข้ารัฐ” มากมาย สารพัดจะตั้งชื่อกัน ฐานคำนวนจัดเก็บจากหลายๆส่วน แล้วแต่จะตั้งกฏกันไป เช่น จากปริมาณการผลิต จากรายได้จากการขาย จากปริมาณเงินลงทุน จากกำไรส่วนเกินจากที่คาดไว้

ส่วนชื่อ ก็ตั้งกันไป ที่เบสิกๆก็ภาษีโน้น ภาษีนี่ ภาษีสรรพสามิตร ภาษีสิ่งแวดล้อม ภาษีท้องถิ่น ค่าภาคหลวง ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีชุมชน บลาๆ

แต่ที่แปลกสำหรับผม มี 2 อย่าง

ค่าน้ำหมึก เราเรียกเสียโก้เก๋ว่า signature fee มันคือค่าที่รัฐยอมเซ็นต์สัญญาให้กับเอกชนที่ได้รับสัมปะทาน ไม่รู้จะตั้งชื่อเก็บเป็นค่าอะไร ก็เรียกว่าเป็นค่าน้ำหมึกล่ะกัน แต่ก็หยดล่ะหลายล้านเหรียญอยู่นะ (ฮา)

อีกอย่างก็ค่าภาษีลาภลอย ผมก็ไม่เข้าใจว่า ลาภลอยตรงไหน ในความหมายตามตัวอักษรที่หามาได้ เพราะไม่ใช่จู่ๆจะได้มูลค่าที่เพิ่มขึ้นมา เพราะมูลค่า กำไรต่างๆก็ได้จากการคำนวน รายได้ กับ ความเสี่ยง กันอยู่แล้ว ยกเว้นแต่จะเก็บจากกำไรส่วนที่ไม่คาดฝัน อันนั้นโอเค พอรับได้

กำไรที่ไม่คาดฝัน เช่น อะไรได้บ้าง … สมมุติว่า ตอนทำสัญญาสัมประทานกันเหตุการณ์โลกปกติดีทุกอย่าง ประเทศต่างๆก็ทะเลาะกัน ฮึ่มๆกัน เป็นปกติ มีสงครามประปราย ตรงโน้นบ้าง ตรงนี้บ้าง ราคาน้ำมันก็แกว่งๆไปมาตามปัจจัย การเมือง การทหาร และ เศรษฐศาสตร์

แต่วันดีคืนดี แผ่นดินไหว อุกาบาต ชนเปรี้ยงเข้าแหล่งน้ำมันหลักของโลก อุปทานหายวับไป 1/4 หรือ ครึ่งหนึ่งของโลก ทำให้ราคาน้ำมันพรวดขึ้นมา บ.เอกชนผู้รับสัมประทานได้กำไรมหาศาลโดยไม่ได้ลงทุนลงแรง ไม่ได้ใช้ความฉลาดชั้นเชิงธุรกิจอะไรเลย แบบนี้ รัฐควรเก็บภาษีเพิ่มเฉพาะส่วนที่เกินมาจากความฟลุ๊คนั้น เรียกว่า ภาษีลาภลอย

จะเห็นว่า ความหมายมันกว้างมาก ขึ้นกับว่า อะไรแค่ไหน ถึงจะเรียกว่าลาภลอย

เพื่อไม่ให้ตบตีกัน สัญญาสัมประทานส่วนมาก จะระบุไปเลยว่า ถ้าฐานการคำนวนที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้า (กำไร รายได้ หรือ อัตราส่วนทางการเงินอะไรก็ว่าไป) เกิน X ให้ถือว่า ส่วนเกินนั้น เป็นความฟลุ๊ค เป็นส้มหล่น เป็นลาภลอย ให้เก็บภาษีหนักๆเป็นพิเศษเฉพาะส่วนเกิน X นั้น


KEY TAKEAWAYS

  • A windfall tax is a surtax imposed by governments on businesses or economic sectors that have benefited from economic expansion.
  • The purpose is to redistribute excess profits in one area for the greater social good; however, this can be a contentious ideal.
  • Some individual taxes, such as inheritance tax or taxes on lottery or game show winnings, can also be construed as a windfall tax.

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *