DMF Roles … มีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติไว้ทำไม ไม่มีได้ป่ะ

DMF Roles … มีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติไว้ทำไม ไม่มีได้ป่ะ – ไม่ได้จะมาเชียร์อะไรกันนอกหน้านะครับ ผมแค่อยากจะนำเสนอภาพรวมขององคาพยพของอุตสาหกรรมเราเท่านั้น

อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับทรัพยากรธรรมชาติ (หรือไม่ธรรมชาติ ถ้าเป็นสมบัติส่วนรวม เช่น คลื่นความถี่) มักจะเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องมีหน่วยงานกำกับดูแลของรัฐ ซึ่งจะว่าไปก็สมเหตุสมผลโดยหลักการ เพราะเรากำลังพูดถึงสมบัติของชาติ

ส่วนหน่วยงานกำกับดูแลนั้น ทำหน้าที่ได้ดีแค่ไหนนั้นอีกเรื่องหนึ่ง ไม่กล่าวถึงในที่นี้

เรามาดูกันว่า กรมเชื้อเพลิงธรรมชาตินั้น มีไว้ทำไม ก็ตามที่ผมลอกมาให้อ่านกันจากเว็บไซด์ของกรมฯครับ คัดมาแต่เนื้อๆก็แล้วกัน

อ่านจบก็จะเห็นได้ว่า อืม มันก็ต้องมีหน่วงงานนี้แหละเนอะ เพราะว่า ปิโตรเลียม ไม่เหมื่อสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไปที่เราปล่อยให้มือที่มองไม่เห็น หรือ ระบบตลาดมาจัดการแบบแนวคิดทุนนิยมสุดโต่ง ขืนปล่อยให้ตลาดทำงาน ก็คงเดาได้ใช้ไหมว่าพวกเราเจ้าของประเทศ (และทรัพยากร) จะได้อะไร ก็คงไม่พ้นแกลบ กับ ขายแรงงานอย่างเดียว

DMF Roles

… มีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติไว้ทำไม ไม่มีได้ป่ะ

9. กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติมีบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างไร

กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ (ชธ.) มีบทบาท และ ภารกิจหลักในการกำกับดูแลกิจการปิโตรเลียมของประเทศในด้าน

1.การจัดหาปิโตรเลียมเพื่อสนองความต้องการของประเทศอย่างมั่นคง และ ยั่งยืน

2.จัดเก็บรายได้จากการสำรวจ และ ผลิตปิโตรเลียม

3.นอกจากนี้ ยังมีบทบาทในการกำกับดูแลด้านการสำรวจ และ การผลิตปิโตรเลียมให้ดำเนินไปอย่างเรียบร้อยมีความปลอดภัย และ คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ได้มาตรฐาน และ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน

4.รวมทั้งส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่วมคิด ร่วมดูแล และ ร่วมตัดสินใจในการดำเนินกิจการสำรวจ และ ผลิตปิโตรเลียมของประเทศให้พัฒนาได้อย่างยั่งยืน

5.และช่วยประเทศในการจัดหาพลังงานได้อย่างมั่นคง

การบริหารงานสำรวจ และ พัฒนาปิโตรเลียมในประเทศไทยของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติประกอบด้วยงานด้านสัมปทานปิโตรเลียม การสำรวจ การผลิต การประเมินปริมาณสำรอง และ การจัดเก็บรายได้ค่าภาคหลวงจากการขายปิโตรเลียม

นอกจากนั้น ยังรวมถึงการวางแผนการจัดหาปิโตรเลียมเพื่อสนองต่อความต้องการใช้ปิโตรเลียมในปัจจุบัน และ ในอนาคต โดยการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมที่มีอยู่ในประเทศ หาแหล่งใหม่เพิ่มขึ้น รวมถึงการพัฒนาปิโตรเลียมในเขตพื้นที่ที่ทับซ้อนกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งปัจจุบันได้แก่พื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย และ ได้มีการเจรจาเพื่อหาแนวทางในการพัฒนา และ แก้ไขปัญหาปิโตรเลียมในพื้นที่ทับซ้อนกับประเทศกัมพูชามาโดยลำดับ

ในปัจจุบันการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาพื้นที่ไหล่ทวีปทับซ้อนไทย-กัมพูชาอยู่ในขั้นตอนของการเจรจาระหว่างรัฐบาลไทย และ รัฐบาลกัมพูชา ทั้งนี้ หากรัฐบาลทั้งสองสามารถเจรจาตกลงกันได้อย่างรวดเร็วคาดว่าต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย 10 ปี ในการดำเนินการยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การจัดตั้งองค์กรร่วมรวมทั้งสำรวจ และ พัฒนาปิโตรเลียม นอกจากนี้ ชธ. ยังมีบทบาทในการประสานงานเพื่อให้เกิดการพัฒนาปิโตรเลียมในพื้นที่ทับซ้อน 3 ฝ่าย ได้แก่ ไทย – มาเลเซีย – เวียดนาม

ภารกิจหลักของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ

กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ มีภารกิจเกี่ยวกับ

  1. การส่งเสริม สนับสนุน และ เร่งรัดการจัดหาพลังงาน โดย …
    1. การส่งเสริม และ เร่งรัดการสำรวจและพัฒนาแหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติในประเทศ
    2. จัดทำแผนการจัดหาเชื้อเพลิงธรรมชาติเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ
    3. บริหารจัดการก๊าซธรรมชาติที่ถูกทำให้เหลว (Liquefied Natural Gas) ส่งเสริม และ
  2. สนับสนุนการใช้เชื้อเพลิงธรรมชาติทางเลือก
  3. ส่งเสริม และ สนับสนุนการใช้ถ่านหินที่นำเข้ามาเพื่อใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้าให้ได้ตามมาตรฐานสากล และ ส่งเสริมความร่วมมือด้านการสำรวจ และ พัฒนาแหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติกับประเทศเพื่อนบ้าน และ ประเทศอื่น

ประวัติกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ

กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ จัดตั้งขึ้นตามนโยบายการปฏิรูประบบราชการของรัฐบาลตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฏีกา เล่มที่ 119 ตอนที่ 99 ก ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2545 โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2545

ส่งผลให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ สังกัดกระทรวงพลังงาน มีฐานะเป็นหน่วยงานหลักที่เป็นแกนนำในการส่งเสริม และ เร่งรัดการสำรวจ และ พัฒนาแหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติในประเทศ และ ส่งเสริมความร่วมมือด้านการสำรวจ และ พัฒนาแหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติ กับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อสร้าง และ รักษาความมั่นคงทางพลังงานของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ และ ยั่งยืน ก่อนที่จะมีการปฏิรูประบบราชการเมื่อปี พ.ศ. 2545

กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เป็นหน่วยงานระดับกรม มีหน้าที่หลักในภารกิจสำคัญ ด้านพลังงานของกระทรวงพลังงาน

ตลอดระยะเวลาแห่งการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2545 ได้ส่งเสริม สนับสนุน และ เร่งรัดการจัดหาพลังงานด้วยการสำรวจ และ พัฒนาแหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติในประเทศพร้อมทั้งแสวงหาความร่วมมือด้านพลังงานกับประเทศเพื่อนบ้านด้วยความมุ่งมั่น

ที่มา http://www.dmf.go.th/

Losin หมุดชี้ชะตา MTJDA เธอ คือ เกาะ หรือ แค่กองหิน ?

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *