Benefits to country ประเทศได้ประโยชน์อย่างไรจากการให้สัมปทานฯ

Benefits to country ประเทศได้ประโยชน์อย่างไรจากการให้สัมปทานฯ – เป็นส่วนหนึ่งใน ถาม – ตอบ ที่เอามาจากเว็บฯของกรมเชื้อเพลิงฯ (DMF)

ตอบเอาไว้แบบ พูดอีกก็ถูกอีก … อย่างไรก็ตาม ก่อนจะไปวิพากษ์ ก็ต้องฟังก่อนว่า เขาว่ากันไว้ว่าอย่างไร

จะว่าไป ก็ไม่มีหรอกที่จะไม่มีข้อเสีย แต่เมื่อเทียบกับส่วนที่เราจะได้ มันน้อยกว่า ก็เท่านั้นเอง จริงไหม เพราะถ้าเสียมากกว่าได้ โครงการต่างๆมันก็คงไม่เกิด

โดยเฉพาะเรื่องความเสี่ยง ที่เรา(ประเทศ)ไม่ต้องลงทุนเอง แต่ก็นะ อะไรที่เสี่ยงมากผลตอบแทนก็มักจะมากตามไปด้วย ไม่งั้นใครจะมาลงทุนจริงไหม

นั่นคือ ในการให้สัมปทาน ประเทศเอาความเสี่ยงที่ลดลง แลกเป็นรายได้ที่ลดลง (ให้บ.ผู้รับสัมปทาน) หรือ พูดในทางกลับกัน บ.ผู้มารับสัมปทานมารับความเสี่ยงไปเพื่อแลกกับรายได้ ที่ยอมรับได้

นั่นแสดงว่า ทั้งรายได้ และ ความเสี่ยง โดยรวมของระบบ มันก็ยังเท่าเดิม แค่เอามาหารๆแบ่งๆกันไป ระหว่าง เจ้าของทรัพยากร(ประเทศ)และบ.ที่เข้ารับสัมปทาน

คราวนี้ก็เหมือนกับเก้าอี้ รมต. เอ๊ย คราวนี้ก็เหมือนกับสูตรการแบ่งผลประโยชน์ และ เงื่อนไขทางกฏหมายทั่วๆไปล่ะ ว่าจะแบ่งรายได้ จะทอนความเสี่ยง กันอย่างไร อีแบบไหน

ครั้งประเทศจะงกมากๆ จะเอาท่าเดียว ก็คงไม่มีบ.ที่ไหนจะมาร่วมหอลงโรงด้วย จะอวยอ้าซ่า ก็เกรงใจประชาชนหน่อยด้วย ก็ต้องแฟร์ๆกันหน่อย

อันนี้ก็ขึ้นกับปริมาณทรัพยากกรของประเทศด้วยว่าจะสวยเลือกได้แค่ไหน ไม่ใช่ว่ามีอยู่กระจิ๋มนึง แล้วกร่าง จะเอาโน้นเอานี่ คงจะมีใครเขามาลงทุนสำรวจหรอก

จะว่าไปมันก็เหมือนเกไพ่เหมือนกัน ว่าจะบลั๊ฟกันแค่ไหน เปิดหมด ก็รู้กันไปว่าแค่ไหน แต่ถ้าเปิดๆปิดๆ ก็พอให้ได้มีลุ้น ก็สามารถดึงราคาประมูลขึ้นไปได้ ให้แอบมโนว่า มีของมีไร พอได้คุ้ม ของมันอยู่ใต้ดินนี่เนอะ ใครจะไปรู้แน่ๆชัวร์ล่ะ

เอาว่าไปอ่านที่กรมฯทั่นตอบไว้ดีกว่า ตัวเลขต่างๆอาจจะเก่าไปบ้าง แต่ก็กลมๆก็ประมาณนี้แหละ คูณไปสักปีล่ะ 5% ก็น่าจะพอได้ตัวเลขของวันนี้แบบคร่าวๆ

18. ประเทศไทยได้รับประโยชน์อย่างไรจากการให้สัมปทานปิโตรเลียม

Benefits to country

การให้สัมปทานปิโตรเลียม เป็นการเปิดโอกาสให้บริษัทน้ำมันทั้งในประเทศ และ ต่างประเทศได้นำเทคโนโลยี และ เงินลงทุน เข้ามาสำรวจหาปิโตรเลียมทำให้ประเทศได้รับข้อมูลจากการสำรวจปิโตรเลียมในพื้นที่ต่างๆ มากมาย เช่น ข้อมูลทางธรณีวิทยา ธรณีฟิสิกส์ ข้อมูลหลุมเจาะ และเป็นการพิสูจน์ทราบว่าที่ใดบริเวณใดมีศักยภาพปิโตรเลียม โดยที่รัฐบาลไม่ต้องเสียเงินลงทุน และ ยังได้นำข้อมูลมาใช้เพื่อการประเมินศักยภาพปิโตรเลียมของประเทศอีกด้วย

ภายหลังการสำรวจพบปิโตรเลียมในเชิงพาณิชย์ ทรัพยากรปิโตรเลียมที่อยู่ใต้พื้นดิน ซึ่งเป็นของรัฐจะถูกผลิตขึ้นมา ทำให้ประเทศได้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรปิโตรเลียมโดยตรง ในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า และเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ก่อให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องอีกมากมาย

นับตั้งแต่เปิดให้สัมปทานในปี พ.ศ. 2524 จนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2554 ประเทศได้รับประโยชน์จากการให้สัมปทานพื้นที่บนบก อ่าวไทย และพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย ประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการให้สัมปทานปิโตรเลียมที่สำคัญสรุปได้ดังนี้

1) ในปี พ.ศ. 2554 ประเทศสามารถจัดหาปิโตรเลียมเพื่อใช้ในประเทศเฉลี่ย 801,200 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน แบ่งออกเป็นก๊าซธรรมชาติ 3,300 ล้าน ลบ.ฟุตต่อวัน น้ำมันดิบ 138,900 บาร์เรลต่อวัน และก๊าซธรรมชาติเหลว (คอนเดนเสท) 92,200 บาร์เรลต่อวัน หรือคิดเป็นร้อยละ 44 ของความต้องการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นต้นของประเทศ

2) กิจการสำรวจ และ ผลิตปิโตรเลียมสามารถสร้างรายได้ในแต่ละปีคิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า1 ล้านล้านบาท จะเห็นได้จากมูลค่ารวมของปิโตรเลียมสะสม (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 – 2554) ที่ผลิตได้ในประเทศเท่ากับ 3.32 ล้านล้านบาท (ไม่รวมรายได้จากองค์กรร่วม ไทย-มาเลเซีย)

โดยรัฐได้รับรายได้ในรูปค่าภาคหลวงปิโตรเลียม ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม และ เงินผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ รวมกันเท่ากับ 1.04 ล้านล้านบาท และ เมื่อหักเงินลงทุนของบริษัทผู้ผลิตน้ำมัน จำนวน 1.42 ล้านล้านบาทแล้ว ผลประโยชน์ที่บริษัทเอกชนได้รับเท่ากับ 0.86 ล้านล้านบาท โดยมีสัดส่วนการแบ่งผลประโยชน์จากกำไรหลังหักค่าใช้จ่ายระหว่างรัฐกับเอกชนเท่ากับ ร้อยละ 55 ต่อ 45

3) ส่งเสริมการจ้างงานในประเทศ โดยในแต่ละปีมีการว่าจ้างงานโดยตรงกว่า 20,000 คน และ ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องอีกไม่น้อยกว่า 150,000 คน

4) ประเทศสามารถได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมให้แก่คนไทย

5) ลดการนำเข้าปิโตรเลียม โดยจะเห็นได้จากปัจจุบันนำเข้าพลังงานคิดเป็นมูลค่าปีละกว่า 1.13 ล้านล้านบาท ผลจากการผลิตในประเทศทำให้ลดการนำเข้าพลังงานลงปีละ 3.75

ที่มา http://www.dmf.go.th/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *