Autonomous Robotics For Offshore Operations PTIC – 3

Autonomous Robotics For Offshore Operations PTIC – 3 – วันนี้จะมาชมอะไรที่ล้ำๆขึ้นมาอีกนิด … PTTEP only ครับ

PTTEP Technology and  Innovation Center (PTIC) วังจันทร์ ระยอง

ตอนนี้จะมาคุยถึงพื้นที่โดยรอบของ PTIC ว่า อยู่ตรงไหนในวังจันทร์วัลเลย์ ล้อมรอบไปด้วยใครบ้าง

และ จะไปดูเรื่อง Green Power Technology ก่อน จะไปดูการทำงานของหุ่นยนต์ในการซ่อมแซมแก้ไขงานบนแท่นผลิต

นี่ไงครับ PTIC อยู่ตรงนี้

PTIC มีเพื่อนบ้านข้างๆเป็น EDUCATION ZONE ซึ่งประกอบไปด้วย Kamnoetvidya Science Academy (KVIS) และ Vidyasirimedhi Institute of Science and Technology (VISTEC)

ส่วนถัดออกไปก็จะเป็น Wangchan Forest Project (โครงการป่าวังจันทร์)

ข้างล่างนี่เป็นโมเดลของตึกโครงการ PTIC เมื่อสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว

Green Power Technology Playground

สนามทดลองเทคโนโลยีนวัตกรรมพลังงานสะอาด (Green Power Technology Playground) เป็นโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ในด้านการ “สำรวจการเปลี่ยนผ่านพลังงานในอนาคต” เพื่อ “เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจใหม่” และ “ลดความผันผวนในธุรกิจหลัก”

โดยโครงการนี้ใช้แนวคิดของสนามเด็กเล่น โดยให้นักวิจัย นักประดิษฐ์ และ ผู้ที่มีความสนใจในเทคโนโลยีพลังงานสะอาดสามารถเข้ามาร่วมเรียนรู้ ทำการทดลอง ทดสอบ และ พัฒนาอุปกรณ์ต้นแบบ

รวมถึงสร้างแบบจำลองนำร่องของเทคโนโลยีพลังงานแห่งอนาคตเพื่อก้าวข้ามขอบเขต และ ขีดจำกัดทางความคิด สู่การต่อยอดและพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานแห่งอนาคตเพื่อความยั่งยืนทางพลังงานของประเทศ

ข้อมูลงานวิจัย

Fact Sheet

เอาล่ะ ได้เวลาไปดูหุ่นยนต์กันแล้ว

แท่นหลุมผลิตจำลอง

อุ้ย … เจอตัวอะไรเนี้ย ไม่รู้จกเลย นอนขวางทางอยู่ ถ่ายรูปเก็บๆไว้ก่อน 555

AR (AI Robotics) เป็น บ. ลูกของ ปตท.สผ. ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อ พัฒนา วิจัย ผลิต และ ทำการตลาดงานด้าน หุ่นยนต์ และ ปัญญาประดิษฐ์ โดยเฉพาะ

บ. ลูก ปตท สผ.

Autonomous Robotics For Offshore Operations

แท่นหลุมผลิตจำลอง

หุ่นยนต์สุนัขสำหรับสำรวจและตรวจสอบ

Quadrupedal Inspection Robot

หุ่นยนต์สุนัขสำหรับสำรวจและตรวจสอบ (Quadrupedal Inspection Robot) เป็นการนำหุ่นยนต์ที่รูปร่าง และ การเคลื่อนไหวคล้ายสุนัข มาทำการติดตั้งกล้องสำหรับใช้ในการสำรวจ และ ตรวจสอบส่วนต่าง ๆ บริเวณโครงการก่อสร้าง แท่นขุดเจาะน้ำมัน และ
โครงสร้างส่วนล่างของรถไฟฟ้า แทนการใช้มนุษย์เข้าไปสำรวจ ช่วยลดความเสี่ยงจากอันตรายที่จะเกิดขึ้นได้ โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ และ การเรียนรู้ในการอ่านข้อมูล และประมวลผล

ข้อมูลงานวิจัย

Fact Sheet

หุ่นยนต์ปฏิบัติการบนแท่นขุดเจาะปิโตรเลียมนอกชายฝั่ง

Wellhead Platform Robotics Operator

หุ่นยนต์ปฏิบัติการบนแท่นขุดเจาะปิโตรเลียมนอกชายฝั่ง (Wellhead Platform Robotics Operator) เป็นหุ่นยนต์ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือผู้ปฏิบัติการนอกชายฝั่งในอุตสาหกรรมปีโตรเลียม

โดยสามารถควบคุม และ ใช้งานหุ่นยนต์จากระยะไกล ให้ปฏิบัติงานในส่วนของการตรวจสอบ หรือการทำงาน
ต่าง ๆ เช่น การหมุนวาล์ว

โดยตัวหุ่นยนต์จะมีระบบเคลื่อนที่แบบอัตโนมัติ ระบบการควบคุมแขน ระบบปัญญาประดิษฐ์ และ ซอฟต์แวร์ โปรแกรมประยุกต์บนเว็บสำหรับใช้ควบคุมหุ่นยนต์

เนื่องจากหุ่นยนต์นั้นสร้างขึ้นเพื่อใช้งานบนแท่นขุดเจาะปโตรเลียมจึงถูกออกแบบให้รองรับความสามารถที่จะ
ป้องกันไม่ให้สภาพแวดล้อมเกิดการระเบิดได้

ข้อมูลงานวิจัย

Fact Sheet

คลิป 2 นาที 55 วินาที แสดงให้เห็นการทำงานจำลอง ว่าเจ้าตัวสีดำเดินขึ้นไปบนแท่นผลิตได้อย่างไร และ สั่งเจ้าตัวสีส้มๆ ให้ออกมาแก้ไข (ในที่นี้คือการปิดวาว์ล) อย่างไร

ก็ต้องขอโทษอีก มือสมัครเล่นอย่างผม ดันไปตะแคงกล้อง ตอนกลางๆคลิป กะว่าตั้งใจให้เห็นชัดๆ กลายเป็นภาพตะแคงไป 555

ยังไม่หมดนะครับ ยังมีอีกหลายเทคโนโลยีเลยที่น่าสนใจ

โปรดติดตาม …

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *