PTTEP Technology and  Innovation Center (PTIC) วังจันทร์ ระยอง

PTTEP Technology and  Innovation Center (PTIC) วังจันทร์ ระยอง – ก่อนปิดปีใหม่ ได้มีโอกาสไปเที่ยวเยี่ยมชม PTTEP Technology and  Innovation Center (PTIC) ที่ อ.วังจันทร์ จ. ระยอง

ได้รูปสวยๆ ความรู้ใหม่ๆดีมาฝากกันครับ

โปรแกรมก็สบายๆ ออกจากกทม.สายๆ ทานมื้อเที่ยงที่วังจันทร์ ชมศูนยฯแล้วบ่ายๆก็เดินทางกลับกทม. … ชิวๆ …

ไปกันเลยครับ … เริ่มที่การเดินทาง ถ้าให้ผมบอกทาง ก็มี 2 วิธี

วิธีแรก ง่ายๆครับ หยิบมือถือขึ้นมา พิมพ์คำว่า PTIC กด direction กด start 555 🙂 ง่ายไหม

วิธีที่สอง บอกทางแบบดั่งเดิมๆ

ขับไปทางมอเตอร์เวย์สาย 7 เหมือนไปพัทยาน่ะครับ แต่ออกแยก บ้านบึง เข้าสาย 344 แล้วขับไปเรื่อยๆไปทางระยอง สัก 67 กม. ก็ถึง ครับ

ขาไปก็ต้องขับเลยไปหน่อย สัก 1.5 กม. มัง แล้วกลับรถ (เพราะ PTIC อยู่ทางขวามือ)

ออกจากมอเตอร์เวย์ ที่แยกบ้านบึง ขับเข้า สาย 344

PTTEP Technology and Innovation Center (PTIC)

ก่อนจะถึง PTIC เราก็ต้องกินกันก่อน กองทัพเดินได้ด้วยท้อง อิอิ

เราแวะกันที่ร้านอาหารชาวไร่ ที่ชาววังจันทร์บอกว่า ห้ามพลาด เพราะอร่อยที่ซูดดดดด

วิวหน้าร้านร้านก็หน้าตาประมาณนี้ครับ

แอบไปถ่ายมุมหลังร้านมา ก็ตกแต่งได้สวยงามดีครับ

แถมมีคำคนเตือนใจ แปะไว้ตามโถฉี่ และ ทางเดินอีกด้วย

อะ อะ นอกเรื่อง พอหอมปากหอมคอ พาไปรู้จักมักจี่กับ PTIC กันเลยดีกว่าครับ

PTTEP Technology and  Innovation

ความเป็นมา และ รายละเอียดโครงการ PTIC

ศูนย์วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ปตท.สผ. ก่อตั้งขึ้นบนพื้นที่กว่า 44 ไร่ ณ วังจันทร์วัลเลย์ ใน เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of Innovation หรือ EECi) อ. วังจันทร์ จ. ระยอง … หรือ ที่เราเรียกย่อๆกันในสื่อว่า EEC (ไม่มี i)

PTIC’s Pilot Area Building

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อดำเนินกิจกรรมด้านการวิจัยและพัฒนาทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อใช้ประโยชน์จริงในเชิงพาณิชย์ ทั้งในอุตสาหกรรมพลังงาน และ อุตสาหกรรมอื่นๆ
  2. การพัฒนาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านทคโนโลยี และ
  3. การส่งเสริมความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย และ หน่วยงานในระบบนิเวศนวัตกรรม EECi อาทิ บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส (เออาร์วี) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ ปตท.สผ. ปตท. สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เพื่อร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยี และ นวัตกรรมที่จะช่วยยกระดับขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรม และ ศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศในยุค 4.0

อ่านเพิ่มเติมได้จากลิงค์ข้างล่างนี้ครับ …

PTIC drives research to meet industry demands and strengthen Thailand’s competitiveness

Quadrupedal Inspection Robot (LAIKA) capable of navigating complex terrains with multiple levels of stairs and Autonomous Mobile Manipulator Robot capable of both teleoperation and autonomous missions aboard offshore wellhead platform

(หุ่นยนต์บังคับอัตโนมัติทางไกล เพื่อทำงานบนแท่นผลิต)

ภายในศูนย์วิจัยฯ ยังประกอบไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์ที่ทันสมัย เพื่อให้นักวิจัยสามารถประเมินประสิทธิภาพ ปรับปรุงแก้ไขผลงาน ก่อนนำไปใช้งานจริง อาทิ

  • อาคารทดสอบต้นแบบ (Pilot Area Building)
  • สนามทดสอบอากาศยานไร้คนขับ (UAV Test Field)
  • ลานจอดเฮลิคอปเตอร์
  • ศูนย์วิจัย และ พัฒนาเทคโนโลยการสำรวจและผลิตปีโตรเลียม (Exploration and Production Research Facility)
  • ศูนย์ฝึกอบรม ตลอดจนพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการ
  • ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีอุปกรณ์ และ เมืองอัจฉริยะ (Smart Facility/City Technology Research Facility)
  • ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Technology Research Facility)
  • ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีพลังงานทางเลือก (Future Energy Technology Research Center) และ
  • ศูนย์ความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม (Joint Industry Collaboration Center)

ที่พร้อมสนับสนุนการวิจัย และ พัฒนาร่วมกับองค์กรภาครัฐ เอกชน เอสเอ็มอี และสตาร์ทอัพ และ ส่งเสริมให้พันธมิตรสามารถใช้ประโยชน์จาก PTIC เพื่อร่วมผลักดันนวัตกรรมแห่งอนาคตไปด้วยกัน

Drill cuttings from petroleum exploration and production activities are turned to materials for road and sidewalk pavement

(เอาเศษหิที่ได้จากการขุดเจาะมาปรับสภาพใช้งานปูพื้นถนน และ ทางเดิน)

Drill cuttings disposal เรากำจัดเศษหินจากหลุมอย่างไรได้บ้าง

Unmanned Aerial Vehicle Test Field

(พื้นที่สำหรับทดสอบยานบินไร้คนขับส่วนตัว)

ภายในอาคารศูนย์วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ปตท.สผ. มีการจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับนวัตกรรม และ เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ ปตท.สผ. และ เออาร์วี ได้คิดค้นและพัฒนาขึ้น รวมทั้ง โครงการวิจัยต่าง ๆ ที่ดำเนินการร่วมกับพันธมิตร เช่น

  • เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสำรวจ พัฒนา และ ผลิตปีโตรเลียม
  • โครงการวิจัยในการนำก๊ซคาร์บอนไดออกไซด์มาใช้ประโยชน์
  • โครงการวิจัยพัฒนาของเสียเพื่อใช้ประโยชน์
  • เทคโนโลยีด้านพลังงานแห่งอนาคต
  • เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์
  • เทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม
  • รวมทั้งเทคโนโลยีด้านการแพทย์ และ การเกษตร
(หุ่นยนตร์บังคับทางไกลเพื่อตรวจสอบความผิดปกติบนแท่นผลิตแทนมนุษย์)

รูปข้างล่างนี้ คือ ท่อคาร์บอนนาโน หรือ ที่เรียกกันว่า carbon nanotubes เป็นนวัตกรรมล่าสุดทางวัสดุศาสตร์ที่กำลังเป็นที่กล่าวถึงในระดับโลก

Multi-Walled Carbon Nanotube

วันนี้เอาคร่าวๆ เป็นน้ำจิ้มๆประมาณนี้ไปก่อนนะครับ

ตอนหน้าเราจะมาเจาะลึกสุดๆในแต่ล่ะภาคส่วนงานวิจัยพัฒนาของพี่ใหญ่เราแบบฮาร์ดคอร์ๆ ให้เราได้ภูมิใจกันวันนี้ว่า ประเทศไทยเราก็ทำได้ โดยคนไทย วิศวกร นักวิจัยไทย

… โปรดติดตาม

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *