Well Services คือ อะไร เพื่อนๆมาแบ่งปันความหมายกันครับ

Well Services คือ อะไร เพื่อนๆมาแบ่งปันความหมายกันครับ – มีน้องๆ 3 คนอุตส่าห์สละเวลาแบ่งปันตอบคำถามเพื่อนๆเอาไว้ในบล๊อกหลายปีมาแล้ว

ผมเห็นว่าน่าจะแบ่งปันต่อในวงกว้าง เลยเอามาเก็บไว้ที่นี่ด้วย

จะว่าไปถ้าแปลกันแบบขำๆ แบบคนไม่รู้เรื่องอะไร well services จะแปลว่า การบริการที่ดี หรือ แปลแบบ 2 แง่ 2 ง่าม ก็จะแปลว่า บริการดี หรือ งานดี นั่นเอง 🙂

แน่นอนว่าในที่นี้ well แปลว่าหลุมฯปิโตรเลียม ไม่ได้แปลว่า ดี

Well Services คืออะไร

เพื่อนๆมาแบ่งปันความหมายกันครับ

งาน Well Services มีทั้งส่วนที่เป็น Oil Company และ Services Company และงานมีความหลากหลายมาก

ตัวอย่างงานหลักๆ ในแผนก Well Services

1. Slickline คือการเอา tools ต่างๆ ผูกติดกับเส้นลวด (ขนาดลวดเท่าๆ ลวดราวตากผ้า) ลงไป do something กับหลุม ใช้หลักการ mechanical movement

2. Wireline คล้ายๆ slickline แต่เส้นลวดจะใหญ่กว่า และสามารถส่งกระแสไฟฟ้าผ่านลวดไปได้ เพื่อลงไป activate tools งานหลักๆ ของ Wireline คือ Perforation job และ Pipe recovery

3. Coiled Tubing ให้ลองจินตนาการถึงท่อสายยางฉีดน้ำรดต้นไม้ แต่ท่อนั้นเป็นท่อสเตนเลส สามารถปั้มของเหลวผ่านลงไปในท่อนั้นได้ ส่วนใหญ่ทำ Sand Clean out คือปั้มน้ำเกลือลงไปเป่าทรายที่ทับถมอยู่ก้นหลุมให้ฟุ้ง แล้วทำให้ทรายเหล่านั้นลอยขึ้นมาบนปากหลุม

4. Snubbing Unit คือ แท่นชนิดหนึ่ง ขนาดสูงประมาณตึกสามชั้น, แต่แท่นที่พวกเราเคยเห็นจะมีระบบ Hoisting (ไม่รู้แปลเป็นไทยว่าอะไรดี ขอแปลว่าระบบยกขึ้น-หย่อนลง) โดยใช้ลวดสลิงทำเป็นรอก เพื่อดึง-ถอนก้าน สำหรับ Snubbing แล้ว การยกขึ้น-หย่อนลง ใช้ระบบ Hydraulic ต่อกับ slip (ตัวจับก้าน) งานหลักๆ คือ เอาไว้ ดึงก้าน-หย่อนลง ของท่อผลิด (Completion and Re-Completion)

5. Workover Rig คือ มีลักษณะคล้ายแท่นที่เราเห็นกันในทีวีนั้นแหละ แต่ขนาดจะเล็กกว่าครึ่งนึง เอาไว้ดึงก้าน-หย่อนลง เหมือน Snubbing unit แต่ไอ้เจ้า workover rig จะมีกำลังการดึงเยอะกว่า Snubbing unit มาก

6. Completion คือการออกแบบท่อผลิต ส่วนใหญ่ Completion Eng. เป็นคนออกแบบ แล้วส่งต่อมาให้ workshop เอา พวก completion assembly มาต่อ (make-up) ใน workshop แล้วส่งต่อไปที่ rig เพื่อให้ rig หย่อนท่อผลิตทั้งหมดลงไปในหลุม

7. Well Head Maintenance คือ การซ่อมบำรุงหัวบ่อ ให้สามารถใช้งานได้ ไม่ให้ความดันในหลุมรั่วออกมา ดูแลอุปกรณ์ป้องกันความดันให้ใช้งานได้ (barrier)

8. Well Testing คือ หลุมที่พึ่งเจาะเสร็จใหม่ๆ เราต้องทดสอบคุณภาพของหลุม เช่น ความดันใต้หลุม (Reservoir pressure), อัตราการไหลของน้ำมัน (Flow rate), แก๊สที่ขึ้นมาพร้อมน้ำมัน (Associated gas), คุณภาพของน้ำมัน (API)

9. Hydraulic fracturing คือ การปั้มของเหลวที่เป็นเจล (มันหนืดๆ คล้ายๆ แป้งเปียกแต่เป็นสีใส) แล้วเอาเม็ดทรายกลมมน (Colorado sand or proppant) คลุกลงไปในเจลด้วย แล้วจะได้ของเหลวคล้าย เจลเล่ ไลท์ ในเซเว่น ปั้มอัดลงไปในหลุม ด้วยปั้มตัวเท่าช้าง ใช้ปั้ม 4 ตัว ลงไปทำให้ชั้นหินกักเก็บมีรอยร้าว แล้วน้ำมันจะไหลมาทางรอยร้าวนั้น

10. Rigless workover คือ งานดึงก้านของม้าโยก (sucker rod) ดึงออกมาเพื่อ maintenance ใช้รถเครน 50 ตันดึงขึ้นมา

ถ้าขาดตกบกร่องไป พี่นกช่วยเสริมด้วยนะครับ
โดย: xxxx IP: 171.6.221.19 วันที่: 24 พฤษภาคม 2557 เวลา:11:47:00 น.

=====================

ไม่มีอะไรจะเสริมครับ เพราะ ไม่มีความรู้ด้านนี้เท่าไร เป็นแต่ขุดหลุม 555

แต่ก็นะ มันเยอะมากจริงๆ มากกว่าที่น้องเขาอธิบายไว้มาก เอาแค่บรรทัดเดียว coil tubing มันก็ทำอะไรได้มากมายมหาศาลเลยครับ รู้แค่บรรทัดเดียวของที่น้องคนนี้ว่ามาก็หากินได้ตลอดชีวิต – พี่นก

=====================

มาเสริมให้หน่อยนึงครับว่ามัน ยังมี Stimulation แล้วก็มี sand control อีกครับ แต่ว่า สองอย่างนี้สามารถรวมอยู่ใน fracturing ได้ครับเพราะเครื่องไม่เครื่องมือเหมือนกันต่างกันแค่ concept ในการทำเท่านั้นเอง

ปล.1 sand control นั้นจะมีในแค่บางพื้นที่เท่านั้นครับ ไม่ค่อยแพร่หลายเท่าไหร่

ปล.2 จำนวนปั้มในงาน fracturing นั้นขึ้นอยู่กับ frac pressure ของชั้นหินครับ ความลึกก็มีส่วน และอีกหลายปัจจัย งานในบ้านเราอาจจะไม่ต้องใช้เยอะมาก แต่ในบางประเทศ เช่น อเมริกา ที่มีชั้นหินเป็น Shale นี่ใช้กันเป็น 10 ปั้มขึ้นไปเลยทีเดียว ปั้ม เจเล่ไลท์กันกระจุยกระจายเลยคับ

โดย: FreeFood IP: 192.99.14.34 วันที่: 1 กรกฎาคม 2557 เวลา:14:47:00 น.

=====================

ขอเสริมครับ Wireline เป็นแผนกหนึ่งครับ แบ่งออกได้เป็น

1. Electricline Services (Braided-line with conductor) หรือเรียกว่า E-Line

2. Slickline Services (Solid-line or Braided-line) หรือเรียกว่า slick line

โดย: Mkung IP: 125.25.243.178 วันที่: 8 กรกฎาคม 2557 เวลา:20:44:13 น.

=====================

เปรียบเทียบง่ายๆ drilling ก็เหมือนงานสร้างบ้านน่ะครับ ขุดหลุม ติดตั้งโน้นนี่ให้พร้อมใช้งาน (ผลิต) เสร็จแล้ว ก็ย้ายข้าวของไปหน้างานออกไป ขุดกันต่อหลุมต่อไป

เมื่อมีบ้าน(หลุม)ขึ้นมาแล้ว กิจกรรมต่างๆ ไม่ว่า ซ่อมแซม ต่อเติม จัดสวน ติดไฟเพิ่ม ท่อน้ำรั่ว ฯลฯ ก็จะมี คนอีกกลุ่มนึงเข้ามาดูแลจัดการ อาจจะเรียกว่า house service แต่ในที่นี้เป็นหลุม เลยเรียกว่า well service ซึ่ง หลุมที่ขุด ติดตั้งพร้อมผลิตแล้ว ก็มีกิจกรรมต่างๆที่ที่เข้าไปทำโน้นนี่ซ่อมแซม ติดตั้ง แก้ไข เพิ่มเติม อยู่จนกว่าจะหมดอายุการใช้งาน

ในแง่ช่างเทคนิค หรือ วิศวกร ก็สามารถสลับสับเปรียนกันได้ เพราะทำงานคล้ายๆกัน คนหนึ่งสร้าง คนหนึ่งซ่อมแซม ตกแต่งต่อเติม อาจจะเริ่มวิชาชีพจาก drilling แล้วย้ายไป well services หรือ กลับกัน ก็ไม่ได้แปลกอะไร

บางบ.รวมไว้ในแผนกเดียวกัน บางบริษัท แยกเป็นสองแผนก ขึ้นกับขนาดองค์กร ขนาดของแปลงสัมปทาน ขนาดธุรกิจในมือ และ อื่นๆ

…. พี่นก

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *