Under the ground EP2 กว่าจะสู่อิสรภาพ … จากใต้ธรณีลึกมากๆ

Under the ground EP2 กว่าจะสู่อิสรภาพ … จากใต้ธรณีลึกมากๆ – บัดนี้เจ้าน้ำมันดิบก็พร้อมที่ออกมาสู่โลกภายนอกแล้ว

แต่น้ำมันดิบ(ที่กำลังอึดอัดอยู่)ในแหล่งกักเก็บนั้นจะออกมาสู่โลกภายนอกได้มากน้อยเพียงใด ก็มีเงื่อนไขอยู่ที่ว่า ความดัน(Pressure)ในแหล่งกักเก็บจะมากกว่าความดันในหลุมที่เราเจาะลงไปสักเท่าใด กล่าวคือ …

Under the ground EP2

กว่าจะสู่อิสรภาพ … จากใต้ธรณีลึกมากๆ

บัดนี้เจ้าน้ำมันดิบก็พร้อมที่ออกมาสู่โลกภายนอกแล้ว แต่น้ำมันดิบ(ที่กำลังอึดอัดอยู่)ในแหล่งกักเก็บนั้นจะออกมาสู่โลกภายนอกได้มากน้อยเพียงใด ก็มีเงื่อนไขอยู่ที่ว่า ความดัน(Pressure)ในแหล่งกักเก็บจะมากกว่าความดันในหลุมที่เราเจาะลงไปสักเท่าใด

กล่าวคือ ถ้าความดันในแหล่งกักเก็บสูงกว่าความดันในหลุมมาก ก็ยิ่งมีแรงดันให้น้ำมันดิบออกมาได้มากขึ้นนั่นเอง

ในวงการน้ำมันเขาเรียกความแตกต่างระหว่างความดันในหลุมกับความดันในแหล่งกักเก็บนี้ว่า Pressure Drawdown และ เรียกความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการไหลของน้ำมันออกจากแหล่งกักเก็บกับ Pressure Drawdown นี้ว่า Production Index ซึ่งมักจะเรียกกันย่อๆว่า P.I. และแน่นอนแหล่งกักเก็บที่มีความดันสูงเป็นทุนเดิม เป็นในกับหลุมที่มี P.I. สูงด้วยล่ะก็ น้ำมันไหลคล่องเลยครับ

สถานการณ์หนึ่งที่เราไม่ปรารถนาให้เกิดขึ้นในหลุมผลิตน้ำมันก็คือ เมื่อความดันในหลุมสูงกว่าความดันในแหล่งกักเก็บ เพราะหากเป็นเช่นนั้น แทนที่น้ำมันในแหล่งกักเก็บจะไหลเข้าไปในหลุม อะไรต่อมิอะไรที่อยู่ในหลุมจะกลับไหลเข้าไปในแหล่งกักเก็บซะแทน ซึ่งแปลว่าเราผลิตน้ำมันไม่ได้นั่นเอง

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นสถานการณ์เช่นนี้ก็ใช่ว่าจะไร้ประโยชน์เสียทีเดียว เพราะบางครั้งในกระบวนการผลิตน้ำมันเราอาจต้องพึ่งพาสถานการณ์เช่นนี้บ้างเหมือนกัน ก็ในวิธีการทำ Water Injection หรือ Water Flood ไงครับ

สภาวะแรงดันย้อนทางนี้ เราจะใช้เมื่อยามต้อการดันให้น้ำไหลผ่านหลุมที่เจาะเข้าไปสู่แหล่งกักเก็บ เพื่อให้ไปดันน้ำมันในแหล่งกักเก็บให้ไหลขึ้นมาทางหลุมผลิตอีกหลุมหนึ่งได้มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ตอนนี้เรามาว่ากันเรื่องของหลุมผลิตน้ำมันดีกว่า ขณะนี้เรามาถึงตอนที่น้ำมันจะเริ่มไหลแล้ว หนทางของน้ำมันดิบจากแหล่งกักเก็บเข้ามาสู่ในหลุมนั้น หาได้ราบเรียบเช่นน้ำก๊อกไหลออกจากสายยางไม่

ทั้งนี้ก็เนื่องจากเจ้าฟองน้ำยักษ์ที่อุ้มน้ำมันไว้นั้นมีรูพรุนที่มีขนาดและลักษณะต่างๆกัน ต่อเนื่องกันบ้าง ไม่ต่อเนื่องกันบ้าง น้ำมันนั้นกว่าจะไหลมาถึงหลุมได้ก็ต้องไหลลดเลี้ยวผ่านคอคอดที่เคี้ยวคดและหงิกงอจำนวนมากมายมหาศาลภายในเจ้าหินฟองน้ำยักษ์นี้ออกมาให้ได้

โอย … ง่ายซะเมื่อไรกันล่ะครับ ที่จริงเราย่อมต้องการที่จะผลิตน้ำมันให้ได้มากที่สุด และ เร็วที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ (ใครก็รู้ว่าเงินหนึ่งบาทวันนี้ย่อมมีค่ามากกว่าหนึ่งบสทในปีหน้า) แต่เราก็ต้องรู้จักเพลาๆกันบ้าง

ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่าหากเรารีบดูดน้ำมันขึ้นมาสู่ปากหลุมเร็วเกินไป เราก็จะได้เพียงแค่น้ำมันจากส่วนที่อยู่ใกล้ๆหลุมเท่านั้น เพราะน้ำมันส่วนที่อยู่ไกลจากหลุมนั้นอาจจะไหลเข้ามาทดแทนไม่ทัน

ครั้นเมื่อน้ำมันส่วนหนึ่งไหลออก และ น้ำมันอีกส่วนหนึ่งไหลเข้ามาแทนที่ได้ไม่ทัน รูพรุนของเจ้าฟองน้ำยักษ์ บริเวณใกล้ๆหลุมนั้นก็จะเกิดเป็นช่องว่างขึ้น และเจ้าช่องว่างนี่แหละครับที่อาจเป็นตัวนำมาซึ่งความเสียหายนานาประการเลย เช่น

ประการแรก คุณเชื่อไหมว่าน้ำมันดิบที่เป็นของเหลวๆนี่แหละมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยพยุงโครงสร้างของชั้นหิน เพราะฉะนั้นเมื่อน้ำมันดิบถูกดูดออกไปอย่างรวดเร็วและเกิดช่องว่างในรูพรุนของชั้นหินขึ้น

ชั้นหินพวกนี้ก็อาจจะเกิดการแตกหักพังทลายเป็นเศษกรวดทรายละเอียยดๆ และเจ้ากรวดทราย (ที่ภาษาทางเทคนิคเขาเรียกง่ายๆว่า Sand) นี่แหละจะมาทำให้หลุมอุดตัน ได้เหมือนเศษขยะในท่อระบายน้ำยังไงยังงั้นเลย แถมยังอาจจะทำให้ท่อและอุปกรณ์การผลิตอื่นๆเสียหายได้อีกด้วย

ประการที่สอง คุณน้ำ หรือ คุณ Aquifer (ที่เราเอ่ยถึงในตอนที่แล้ว) ซึ่งมีถิ่นพำนักอยู่เบื้องล่างของคุณน้ำมันดิบ คุณน้ำนี่แหละที่คอยจดจ้องหาทางบุกรุกเข้าไปในบ้านของคุณน้ำมันดิบ

ครั้นพอคุณน้ำมันดิบถูกเราฉุดออกมาจากบ้านโดยไม่มีใครอยู่แทน คุณน้ำก็จะดีใจ รีบเข้าไปอาศัยบ้านคุณน้ำมันดิบทันทีเลย

สภาวะแบบนี้จะทำให้การผลิตน้ำมันดิบของเรามีน้ำปนออกมามากเกินความต้องการ ซึ่งเราเรียกอัตราส่วนระหว่างปริมาตรน้ำต่อปริมาตรของเหลวที่ผลิตออกมาทั้งหมดว่า Water Cut

ถ้าเรานับรวมเอาปริมาตรของกรวดทรายเข้าไปกับน้ำด้วย เจ้า Water Cut นี้จะถูกเปลี่ยนชื่อเป็น Base Sediment & Water หรือ ที่เรียกย่อๆว่า BS&W

ประการที่สาม … อ้าว ที่หมดเสียแล้ว ติดตามต่อคราวหน้าก็แล้วกันนะครับ

recta sapere

สมัยเราเด็กๆ เราจำได้ไหมครับว่า พ่อแม่เราเคยเคยสอนว่า

“เก็บอะไรให้เป็นที่เป็นทาง จัดของที่เก็บให้เป็นระเบียน เวลาหาของจะได้หาง่ายๆ เอาอะไรออกมาใช้แล้วให้เก็บเข้าที่เดิม นานๆทีก็เข้าไปดูซิว่าอะไรไม่ใช่ ก็โล๊ะๆบริจาคไป ทิ้งไปบ้าง ไม่ใช่เก็บเป็นสมบัติบ้า จนไม่มีตู้ ไม่มีห้องจะเก็บ”

คุ้นไหมครับ … เราได้ยินมาจนหูแฉะ แต่เชื่อเถอะ พ่อแม่ก็สอนกันปากเปียกปากแฉะเช่นกัน 555

มันก็เป็นนิสัยที่ดีเนอะ ทำให้เรามีพื้นฐานที่จะจัดระเบียบชีวิตในมิติอื่นๆนอกจากการเก็บของ … จริงไหม เช่น เราจัดระเบียบการทำงาน การเรียน ตารางการใช้ชีวิต จัดลำดับความสำคัญ บริหารจัดการเงิน หรือ ทรัพยากรที่เรามีจำกัด อย่างมีประสิทธิภาพ

เหมือนตู้เก็บของที่เราไม่ได้ซื้อมาเพิ่มบ่อยๆเพื่อเก็บของที่ไม่จำเป็นต้องเก็บ (ตู้ก็หลายตังค์ ที่วางตู้ก็แทบไม่มี)

เมื่อเรามีคอมพิวเตอร์ เราก็จะจัดแฟ้ม จัดฮาร์ดิส (ราคาแพงในสมัยนั้น) แบบที่พ่อแม่เราสอนให้เก็บของต่างๆในวัยเด็ก

เลือกที่จะเก็บ จัดหมวดหมู่ เอาข้อมูลมาใช้ แก้ไข แล้วก็ที่เดิม …

แล้วเราก็มีฮาร์ดดิสสำรองที่เก็บเฉพาะของที่จำเป็นยิ่งยวดเอาไว้อีก 1 หรือ 2 ฮาร์ดดิส …

ไม่ว่าจะ low tech หรือ hi tech หลักการไม่เคยเปลี่ยน

Disruption

ไม่ใช่แต่แค่เรื่องเทคโนโลยี … เราเปลี่ยนนิสัยหลายๆอย่างของเราไปด้วย นิสัยหลายๆอย่างที่โดนเปลี่ยนไปก็เป็นนิสัยดีๆที่พ่อแม่พยายามปลูกฝังเรา

ในวัุนที่เราสามารถเก็บอะไรก็ได้ไว้บนเมฆ โดยไม่แคร์ความเป็นระเบียบ ในวันที่เรามีคนใช้ที่ชื่อว่า smart search machine อยากได้อะไรก็บอกคนใช้ เดี๋ยวคนใช้ก็ไปคุยมาให้

เหมือนกับวันที่เราเอา ถุงเท้า รองเท้า หน้งสือ แจกัน ของเล่น 108 1009 อย่าง สุ่มกองๆไว้ในห้อง พออยากได้อะไรเราก็ตะโกนเรียกแม่ เรียกพ่อ ไปหยิบมาให้ ถ้าพ่อแม่หยิบมาให้ไม่ถูกใจ หยิบมาผิด เราก็บอกพ่อแม่ว่าไม่ใช่นะ แล้วให้ไปหยิบมาใหม่ ครั้งต่อไปพ่อแม่ก็จะหยิบเอามาให้ได้ถูกชิ้น ถูกใจ

เราบอกว่าพ่อแม่ต้องเรียนรู้ … Machine learning คุ้นๆไหมครับ 555 🙂

เจ้า smart search machine นี่แหละ ที่เราต้องคอยสอนมัน ใช้มันบ่อยๆ เดี๋ยวมันก็เรียนรู้ไปเอง

เมฆนั้นกว้างใหญ่ไพศาลยิ่งนัก เก็บข้อมูล เก็บของ ได้ไม่จำกัด (ด้วยราคาไม่เกือบจะฟรี) ก็ไม่จำเป็นที่ต้องมาคิดว่า อะไรควรเก็บ หรือไม่ควรเก็บ ไม่มีความขาดแคลน เศรษฐศาสตร์ ซึ่ง คือ ศาสตร์ ที่บริหารจัดการความขาดแคลน ก็คงหมดความหมายไป

หน่วยความจำในมือถือที่ส่วนใหญ่เอาไว้เก็บรูป มันจึงไม่เคยพอ …

วันนี้ เรา คนเป็นพ่อเป็นแม่ คงไม่สามารถจะไปสั่งสอนลูกแบบเดิมได้แล้ว … (หรือเปล่า)

“เก็บอะไรให้เป็นที่เป็นทาง จัดของที่เก็บให้เป็นระเบียน เวลาหาของจะได้หาง่ายๆ เอาอะไรออกมาใช้แล้วให้เก็บเข้าที่เดิม นานๆทีก็เข้าไปดูซิว่าอะไรไม่ใช่ ก็โล๊ะๆบริจาคไป ทิ้งไปบ้าง ไม่ใช่เก็บเป็นสมบัติบ้า จนไม่มี ตู้ มีห้องจะเก็บ”

เพราะเราเองก็ส่งขยะข้อมูลต่างๆไปสุ่มๆกองๆไว้บนเมฆ และ จ่ายค่าหน่วยความจำ (เพิ่ม) ในมือถือที่ครึ่งหนึ่งเก็บอะไรก็ไม่รู้ และ ไม่รู้ว่าจะได้ใช้มันเมื่อไร (ขอให้ชั้นได้เก็บเถอะ อุ่นใจดี)

Productivity index (PI)

A mathematical means of expressing the ability of a reservoir to deliver fluids to the wellbore. The PI is usually stated as the volume delivered per psi of drawdown at the sandface (bbl/d/psi).

Productivity index (J)

The productivity index is a measure of the well potential or ability to produce and is a commonly measured well property. The symbol J is commonly used to express the productivity index; as well as, being the preferred symbol by the Society of Petroleum Engineers.

The productivity index is the ratio of the total liquid surface flowrate to the pressure drawdown at the midpoint of the producing interval. The units typically are in field units, STB/D/psi as shown below:

Productivity Index = J = Q/(Pe-Pwf)

J = Productivity Index, STB/day/psi
Q = Surface flowrate at standard conditions, STB/D
Pe = External boundary radius pressure, psi
Pwf = Well sand-face mid-perf pressure, psi

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *