Under the ground EP15 จากใต้พื้นพิภพ ตอนที่ 15 ถึงจะแยกไป แต่ …

Under the ground EP15 จากใต้พื้นพิภพ ตอนที่ 15 ถึงจะแยกไป แต่ … ก็มิได้ทอดทิ้ง – เมื่อเจ้าน้ำมันดิบได้ตัดช่องน้อยแต่พอตัว แยกทางออกไปแล้ว

เราลองมาย้อนคิดถึงเพื่อนรักทั้งสองของน้ำมันดิบ (ซึ่งก็คือ ก๊าซและน้ำไงครับ) ที่จูงมือกันออกเดินทางมาตั้งแต่ต้นเลยซิว่า …

Under the ground EP15

จากใต้พื้นพิภพ ตอนที่ 15

เมื่อเจ้าน้ำมันดิบได้ตัดช่องน้อยแต่พอตัว แยกทางออกไปแล้ว เราลองมาย้อนคิดถึงเพื่อนรักทั้งสองของน้ำมันดิบ (ซึ่งก็คือ ก๊าซและน้ำไงครับ) ที่จูงมือกันออกเดินทางมาตั้งแต่ต้นเลยซิว่า สหายทั้งสองนี้จะมีวิถีชีวิตของมันอย่างไรบ้างหลังจากแยกทางกับน้ำมันดิบแล้ว โดยเราจะเริ่มพูดถึงวิถีชีวิตของ “ก๊าซ” กันซะก่อนนะครับ

ในตอนที่ 12 เราได้เกริ่นไว้แล้วว่า ก๊าซที่ผลิตขึ้นมาได้พร้อมน้ำมันดิบนั้นมีประโยชน์ใช้สอยมามกมายซึ่งจะเล่าให้ฟังดังต่อไปนี้

ประมาณร้อยล่ะ 10 ของก๊าซที่ผลิตได้ทั้งหมด เราจะนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ในสถานีผลิต และ ในโรงแยกก๊าซแอลพีจี (อันมีชื่อว่าโรงแยกก๊าซพลังเพชร) ซึ่งช่วยให้เราประหยัดเงินค่าไฟฟ้าไปเยอะทีเดียว

ก๊าซประมาณร้อยละ 30 เราเอามาใช้ในกระบวนการทำ Gas Lift ซึ่งช่วยในการผลิตน้ำมันดิบให้เราได้กว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณการผลิตน้ำมันทั้งหมดในปัจจุบันเลยทีเดียว

อันที่จริงก๊าซส่วนนี้ก็วนเวียนไปมาอยู่ในระบบของเรานี่เองแหละครับ ยังไงหรือ ก็คือเราส่งมันลงไปในหลุมช่วยดันน้ำมันขึ้นมา แล้วมันก็วิ่งกลับขึ้นมาร่วมกับน้ำมัน ถูกแยกออกที่สถานีผลิต แล้วก็ส่งมันกลับลงไปช่วยการผลิตอีกเป็นวัฏจักรเช่นนี้แหละครับ

ก๊าซส่วนใหญ่ คือประมาณร้อยล่ะ 60 ของก๊าซที่ผลิตได้นั้น สมัยก่อนตั้งแต่เราเริ่มผลิตน้ำมันใหม่ๆ เราเคยส่งขายโดยตรงให้กับสถานีไฟฟ้าลานกระบือของกฝผ.เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า

ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2533 เราก็ได้หาวิธีเพิ่มมูลค่าของก๊าซ โดยเรานำเอาก๊าซส่วนนี้มาผลิตเป็นแอลพีจี หรือ ก๊าซหุงต้มซะก่อน และ ส่วนที่เหลือจากนั้นเราจึงส่งขายให้โรงไฟฟ้า อีกส่วนหนึ่งเราก็แบ่งขายไปให้กับโรงงาน NGV ของ ปตท.ครับ

ก๊าซที่เราผลิตขึ้นมาพร้อมน้ำมันดิบนั้น จะต่างจากก๊าซธรรมชาติที่เราผลิตจากแหล่งก๊าซในอ่าวไทยพอสมควร

นั่นคือจะมีส่วนประกอบเป็นโมเลกุลของไฮโดรคาร์บอนขนาดต่างๆกันมากกว่าก๊าซในอ่าวไทย โมเลกุลที่มีขนาดเล็กที่สุดมีชื่อว่า มีเทน (Metane หรือ C1 แปลว่ามีอะตอมของคาร์บอนอยู่ 1 อะตอม ในโมเลกุนี้) ถัดมาก็จะมี อีเทน (Ethane – C2) โพรเทน หรือ บางทีก็เขียนว่า โปรเพน (Propane – C3) บิวเทน (Butane – C4) เพนเทน (Pentane – C5) และ ก็มีโมเลกุลที่ใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆครับ

ก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยส่วนใหญ่จะมีแค่ มีเทน กับ อีเทน เท่านั้น แต่ก๊าซที่ผลิตมาพร้อมกับน้ำมันจะมีส่วนประกอบของคาร์บอนโมเลกุลใหญ่อยู่ด้วย

กลุ่มของก๊าซที่ประกอบด้วยโมเลกุลที่เล็กที่สุด 2 ชนิด คือ มีทน และ อีเทน นี้ เราเรียกรวมๆว่า Natural Gas

ส่วนก๊าซกลุ่มถัดไปที่มีโมเลกุลใหญ่ขึ้นมาหน่อยนึง คือ โพรเทน และ บิวเทน นั้น มีชื่อว่า Petroleum Gas ก๊าซทั้งสองกลุ่มนี้จะคงอยู่ในรูปของก๊าซที่ความดันอากาศปกติธรรมดาๆรอบๆตัวเรา

แต่เมื่อไรก็ตามที่ได้รับความดันสูงขึ้น มันก็จะแปลงกลายเป็นของเหลว และ ชื่อของมันก็จะเปลี่ยนไปด้วย ซึ่งก็คือ Natural Gas จะเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Liquefied Natural Gas หรือ LNG ส่วน Petroleum Gas ก็เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Liquefied Petroleum Gas หรือ ที่เราคุ้นเคยว่า LPG เอาไว้ทำครัวนั่นเอง

ส่วนพวกก๊าซที่มีโมเลกุลที่มีจำนวนคาร์บอนเยอะๆและหนักๆตั้งแต่เพนเทนขึ้นไปนั้น ในความดันอากาศปกติรอบๆตัวเราเนี่ย จะอยู่ในรูปของเหลว จึงมีชื่อว่า Natural Gas Liquid หรือ NGL นั่นเองครับ

Basic oil well drilling animation แอนิเมชั่นแรกของวงการ ฉบับปฐม ก.กา

Basic oil well drilling animation แอนิเมชั่นแรกของวงการ ฉบับปฐม ก.กา

รู้จัก NGV

NGV หรือ Natural Gas Vehicles คือ ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ เกิดขึ้นจากการนำก๊าซธรรมชาติ (ส่วนใหญ่เป็นก๊าซมีเทน) มาอัดจนมีความดันสูง ประมาณ 3,000 ปอนด์/ตารางนิ้ว (เป็นแรงดันที่ค่อนข้างสูงมากเท่ากับ 240 เท่าของความดันบรรยากาศ) แล้วนำไปเก็บไว้ในถัง ที่มีความแข็งแรงทนทานสูงเป็นพิเศษ เช่น เหล็กกล้า เพื่อนำมาเป็นเชื้อเพลิงใช้ทดแทนน้ำมันเบนซิลหรือดีเซลในรถยนต์ประเภทต่างๆ ซึ่งสากลเรียกว่า Compressed Natural Gas (CNG) หรือ ก๊าซธรรมชาติอัด

จุดกำเนิด NGV

ยานยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติได้มีการพัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2403 โดยชาวฝรั่งเศสชื่อ Jean Etienne Lenoir แต่ช่วงนั้นยังไม่ได้รับความนิยม

จนกระทั่งมาถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 และช่วงเกิดวิกฤตการณ์น้ำมันใน ปี ค.ศ. 1973 ซึ่งราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นสูงส่งผลให้มีการนำก๊าซธรรมชาติมาใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนน้ำมันในรถยนต์มากขึ้น

นานาประเทศก็มุ่งไปสู่การลดปัญหา โดยส่งเสริมและสนับสนุน ให้มีการใช้ยานยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง โดยประเทศที่มีการใช้ยานยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอยู่แล้ว ก็มีแนวโน้มที่จะขยายการใช้มากขึ้น ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย เกาหลี เป็นต้น

ส่วนประเทศที่ยังไม่เริ่มใช้ รัฐบาลก็กำลังส่งเสริมให้มีการใช้ในอนาคต ได้แก่ ฮ่องกง สิงคโปร์ รวมทั้งประเทศไทยของเราด้วยการนำก๊าซธรรมชาติมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์มีมากว่า 80 ปีแล้ว โดยประเทศ อิตาลีเป็นประเทศแรก ซึ่งปัจจุบันมีรถยนต์ใช้ก๊าซกว่า 300,000 คัน และต่อมาความนิยมใช้ก๊าซ NGV ก็มีแพร่หลายมากขึ้นทั้งในทวีปอเมริกาใต้ เช่นประเทศอาร์เจนติน่า จำนวนรถยนต์ที่ใช้ NGV มีทั้งหมด 1,400,000 คัน ซึ่งถือเป็นอันดับที่ 1 ในโลก

ในทวีปอเมริกาเหนือ สหรัฐอเมริกามียานยนต์ให้ก๊าซ NGV กว่า 130,000 คัน, ประเทศแคนาดา จำนวน 20,000 คัน และในทวีปเอเชีย มีในประเทศจีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, ไต้หวัน, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, อินเดีย และปากีสถาน รวมถึงทวีปอัฟริกา เช่น อียิปต์ มียานยนต์ให้ NGV ประมาณ 62,000 คัน ซึ่งในปัจจุบันทั่วโลกมีรถยนต์ใช้ก๊าซธรรมชาติกว่า 4.7 ล้านคัน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *