TRS Tubular Running Service Technician อีกงานหนึ่งที่น่าสนใจ

TRS Tubular Running Service ในงานของพวกเรา Tubular แปลว่า ท่อ ซึ่งหมายถึง ท่อกรุ และ ท่อผลิต ที่เรามักเรียกรวมๆกันไปว่า OCTG (Oil Country Tubular Goods) ไม่ต้องถามผมนะครับว่าทำไมเขาเรียกัน ย่อกัน แบบนี้ เพราะผมเองก็ไม่รู้ เคยถามผู้(น่าจะ)รู้หลายคนก็ไม่ได้คำตอบที่ชัดเจน เอาว่า OCTG ก็ OCTG ไปก็แล้วกัน

คำว่า Tubular หรือ OCTG ไม่รวมท่อขุด หรือ ที่เรียกว่า Drill Pipe หรือ ก้านเจาะ นะครับ

Running casing (เอาท่อกรุลงหลุม)

งานเจาะหลุมของเรา เมื่อเจาะถึงความลึกที่เราวางแผนไว้ในแต่ล่ะช่วง จะต้องมีการเอาท่อกรุ ใส่ลงไปในหลุม กันชั้นหินถล่มลงมาปิดหลุม

อารมณ์เดียวกับที่จุดบ่อบาดาลที่ใช้ถังหย่อนลงไปตักน่ะครับ ที่พอขุดเสร็จก็ต้องเอาปูนซีเมนต์ที่่ทำสำเร็จเป็นรูปวงแหวน วางลงไปที่ก้นหลุมแล้วต่อๆกันขึ้นมาถึงปากหลุม กันดินหินมันถล่มมากลบหลุมที่อุตส่าห์เจาะ

ในสมัยโบราณไม่มีปูนซีเมนต์ก็ใช้หินเป็นก้อนๆมาเรียงอัดๆไว้ที่ผนังหลุม เห็นได้ตามบ่อนน้ำบาดาลเก่าๆตามสถานที่ประวัติศาสตร์

นอกเรื่องไปโน้นกลับมาเรื่องท่อกรุ

ในการเอาท่อกรุลงไปในหลุม เราใช้ศัพท์เฉพาะว่า running casing คือการเอาท่อกรุยาวประมาณ 9 – 12 เมตร ที่ด้านหนึ่งเป็นตัวผู้ต่อกับอีกด้านที่เป็นตัวเมียขันให้ติดกันด้วยเครื่องหมุน ที่เราเรียกว่า tong ให้ได้แรงบิด และ รอบตาม spec ของท่อกรุซึ่งแต่ต่างกันไปตามขนาด ความหนา วัสดุ ชนิดของเกลียว ฯลฯ

เจ้า tong ที่ว่านี้ ผมเคยเห็นทั้งแบบใช้ลม ไฟฟ้า และ ไฮดรอลิกส์ แล้วแต่ว่าบ.ไหนจะใช้อะไร

มาดูคลิปกันดีกว่าว่าเขาทำไงกัน

จะเห็นว่ามีคน 2 – 3 คนที่ทำการเอาท่อกรุลงหลุม คนขับเครน(คนของบ.แท่น) ยกท่อกรุมาที่ rig floor แล้วก็เอาสลิงยกฝั่งตัวเมียขึ้นไป ห้อยเอาฝั่งตัวผู้หย่อนลงมาเสียบกับฝั่งตัวเมียของท่อนก่อนหน้าที่รออยู่ที่ rig floor อีกคนก็เอา tong งับเข้าไปแล้วกดปุ่ม มันก็จะหมุนๆตัวผู้ที่หย่อนลงมาจนได้ค่ารอบและแรงบิดที่กำหนด

TRS Tubular Running Service

โดยมากบ.น้ำมันจะจ้างบ.service มา run casing แต่ก็มีบ้างที่บ.แท่นเป็นผู้จัดหาบริการส่วนนี้ ไม่ว่าจะบริการด้วยเครื่องมือและคนของบ.แท่นเอง หรือ จ้างๆ บ.service มาทำให้ แต่ไม่ว่าบ.แท่นจะทำแบบไหน ก็เอาไปบวกเป็นค่าเช่าแท่นอยู่ดี

ในอ่าวฯของเรานี้เป็นแบบแรกครับ คือ บ.น้ำมันจ้างบ.service มาทำให้ ส่วนบ.service ที่ให้บริการงานนี้เท่าที่ผมทราบก็มี BJ (ที่ตอนนี้เป็น Baker ไปแล้ว) กับ Weatherford

คนงานที่ทำงานนี้โดยมากระดับปวส.ครับ หัวหน้าทีมก็ปวส.เช่นกัน

ตัวเนื้องานนอกจากที่เห็นตามคลิปแล้ว ยังรวมไปถึงการทำความสะอาด ทั้งภายนอกภายใน ทั้งตัวท่อและเกลียว ตรวจนับ จัดเรียงลำดับ ตรวจสอบสภาพท่อกรุ วัดขนาดภายนอกภายในและความยาวทุกท่อน เอาสีทาไว้ว่าท่อไหนลงก่อนลงหลัง เรียงให้เป็นระเบียบ เตรียมจารบีให้ถูกกับสเป๊คของเกลียวที่ใช้

Power spinner

คนๆนี้ต้องรับผิดชอบเครื่องมือหากิน นั่นคือเจ้า tong ต้องมีอะไหล่พร้อมเปลี่ยน ต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็น ซ่อมแซม tong ได้ เพราะถ้าเสีย งานหยุด แปลว่าทั้งแท่นหยุดงาน ค่าโสหุ้ยแท่นเจาะเท่าไร มหาศาล นับกันเป็นชม.ถ้าต้องหยุดงาน เราเรีบกว่า NPT (Non Productive Time แปลกันง่ายๆ คือ หยุดงานนั่นแหละ)

พองานเสร็จ ก็ต้องดาวโหลดข้อมูลจาก tong ออกมาว่าแต่ล่ะท่อแต่ล่ะท่อน แต่ล่ะเกลียวนั้น ใช้แรงบิดขันไปเท่าไร เพราะอะไร เพราะว่า ถ้ามีปัญหาเกินในอนาคต เช่น ทดสอบแรงดันท่อกรุไม่ผ่าน ก็จะได้เอาข้อมูลนี้มาดูประกอบการเดาว่า เกลียวไหนมันหลวม หรือ ไม่แน่น หรือ ถ้าก้านเจาะ หรือ เครื่องมือหยั่งธรณี (logging tools) หย่อนไม่ลง ไปคาค้างเติ่งอยู่กลางท่อกรุ ก็อาจจะเป็นไปได้ที่ใช้แรงบิดขันมากไปจนเกลียวตัวผู้ที่อยู่ด้านในบานเฉิ่มออกมา

ปัญหาเหล่านี้ ไม่ควรจะเกิดขึ้น ถ้าผู้ทำงานดูค่าแรงบิดที่ขันแต่ล่ะท่อให้ดีๆ

แต่ก็นะ คนทำงานมันก็มีวันพลาด เพราะขันกันเป็นร้อยๆท่อน ทำงานกันหลายๆชม. ก็เบลอก็เพี้ยนกัน เดี๋ยวนี้ tong ต่างๆก็ฉลาดขึ้น มีการตั้งค่าไว้ได้ ว่า ไม่ให้น้อยกว่าเท่าไร หรือ มากกว่าเท่าไร โอกาสพลาดก็น้อยลง

รายได้ ถือว่าดีเลย สำหรับงานที่ไม่ซับซ้อนมาก แถมมีค่าออกมาหน้างานด้วย แต่ถ้าแท่นบกก็อาจจะไม่มากเท่าแท่นนอกชายฝั่ง

ความก้าวหน้า ก็ขึ้นกับความขยัน และ หมั่นเรียนรู้ เพราะโดยตัวงานมันก็ไม่มีอะไรมากอย่างที่เล่ามา

เอาว่าผมเล่าตามที่เห็นมาก็แล้วกันว่า Tubular runner ไปทำอะไรกันบ้าง เป็นช่างซ่อม tong ใน workshop เป็น coordinator ในฐานปฏิบัติการ ดูแลการซ่อมบำรุง โลจิสติก มีคนนึงที่มีวุฒิป.ตรี และ ตีกอล์ฟเก่ง เลยมาเป็น account representative ดูแลลูกค้า

ตัวงานนั้นไม่มีอะไร แต่บ.ที่ให้บริการด้านนี้ มีสินค้า และ การให้บริการอย่างอื่นมากมาย คนที่ go extra miles ก็ผันตัวไปทำด้านอื่นที่มทางก้าวหน้ามากกว่ามายมาย เช่น ไปเป็น cementing helper หรือ wireline operator เป็นต้น

———————————

What exactly is OCTG??

OCTG (oil country tubular goods) refers to a collection of rolled metal products, more commonly known as pipes, and the various accessories included in their manufacture and processes. This can include drill, casing or tubing pipes, thread protectors, stabbing guides, bumper rings and pipe chocks. For the purpose of this educational tidbit, we will be discussing pipes, as they are far an away the most crucial part of OCTG as a whole. The piping products qualify as OCTG due to the specifications of each pipe in regards to their acceptable loading conditions, and/or what they can transfer, how strong they are, and their composition.

อ่านต่อ …

What exactly is OCTG??

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *