Thai oil producer ? ประเทศไทยผลิตปิโตรเลียมมากอันดับต้นๆ?

Thai oil producer ? ประเทศไทยผลิตปิโตรเลียมมากอันดับต้นๆ (จริงหรือไม่) – ถามกันมาโดยผู้ไม่รู้จริงๆ และ แกล้งไม่รู้อยู่เรื่อยๆ

ไปฟังข้อมูลจริงๆกันดีกว่าครับ … ข้อมูลอาจจะเก่าไปหน่อย แต่ข้อเท็จจริง ข้อสรุป ยังเหมือนเดิมครับ

6. ประเทศไทยผลิตปิโตรเลียมได้มากเป็นอันดับต้นๆ ของโลกจริงหรือไม่

Thai oil producer

ปี พ.ศ. 2554 ประเทศไทยผลิตก๊าซธรรมชาติวันละประมาณ 2.8 พันล้านลูกบาศก์ฟุต หรือ ร้อยละ 0.9 ของอัตราการผลิตทั่วโลก

สำหรับอัตราการผลิตน้ำมันดิบผลิตวันละประมาณ 2 แสนบาร์เรล คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.3 ของอัตราการผลิตทั่วโลก แต่การวิเคราะห์อัตราการผลิตเพียงอย่างเดียวอาจทำให้เข้าใจผิดได้ การวิเคราะห์การใช้ปิโตรเลียมควรคิดเป็นภาพรวมพลังงานทั้งหมด

ประเทศไทยมีการใช้พลังงานในเชิงพาณิชย์ขั้นต้น 1.86 ล้านบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน คือ มีการใช้ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซธรรมชาติเหลว น้ำมันดิบ ถ่านหิน พลังงานน้ำ และพลังงานทดแทน โดยคิดรวมตั้งแต่การผลิต และ การบริโภคโดยคำนึงถึงจำนวนประชากร มูลค่าสินค้าที่ผลิตได้จากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และ ปัจจัยอื่นๆ ทางเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย

เป็นประเทศขนาดใหญ่ที่มีประชากรมาก และ มีอุตสาหกรรมต่างๆมากมาย อีกตัวอย่าง คือ ประเทศกาตาร์ที่ผลิตก๊าซธรรมชาติได้ 14.2 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันน้อยกว่าประเทศอเมริกาถึง 4 เท่า แต่สามารถเป็นผู้นำการส่งออกก๊าซธรรมชาติของโลก เพราะความต้องการใช้ในประเทศมีเพียง 2.3 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน

ย้อนกลับมาที่ประเทศไทยที่ผลิตก๊าซธรรมชาติวันละประมาณ 2.8 พันล้านลูกบาศก์ฟุต หรือ ร้อยละ 0.9 ของอัตราการผลิตทั่วโลก แต่บริโภค 4.5 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน หรือร้อยละ 1.4 ของอัตราการบริโภคของโลก สำหรับอัตราการผลิตน้ำมันดิบผลิตวันละประมาณ 2 แสนบาร์เรล คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.3 ของอัตราการผลิตทั่วโลก แต่บริโภค 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือ ร้อยละ 1 ของอัตราการบริโภคของโลก

เบื้องต้นจากอัตราการบริโภคน้ำมันดิบ และ ก๊าซธรรมชาติแสดงให้เห็นได้ว่าประเทศไทยบริโภคปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับทั่วโลกแต่ก็บริโภคมากกว่าที่ผลิตได้

นอกจากจะดูที่ปริมาณการผลิตหรือการบริโภคแล้วยังต้องปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจว่าการใช้ปิโตรเลียมของประเทศคุ้มค่าหรือไม่ เช่น จำนวนประชากร(ประเทศไทยมีประชากรประมาณ 66 ล้านคน หรือ 1% ของประชากรโลก) มูลค่าของผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมโดยตรง เช่น ถุงพลาสติก เครื่องสำอาง ปุ๋ยเคมี ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมที่สำคัญคือไฟฟ้า

ไฟฟ้าที่ใช้ส่วนใหญ่ในประเทศไทย มาจากโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง การวิเคราะห์การใช้ปิโตรเลียมควรคิดเป็นภาพรวมพลังงานทั้งหมด คือ คิดร่วมกันการใช้ถ่านหินพลังงานน้ำ และ พลังงานทดแทน โดยคิดรวมตั้งแต่การผลิตและการบริโภคโดยคำนึงถึงจำนวนประชากร มูลค่าสินค้าที่ผลิตได้จากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และ ปัจจัยอื่นๆ ทางเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม ควบคู่กันไปด้วย

ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าประเทศไทยไม่ได้ผลิตปิโตรเลียมได้มากเป็นอันดับต้นๆของโลก ตามที่มีการกล่าวอ้าง โดยผลิตปิโตรเลียมได้เพียงร้อยละ 44 ของการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นต้นที่เหลืออีกร้อยละ 56 ยังต้องมีการนำเข้าปิโตรเลียมจากต่างประเทศ

ที่มา https://dmf.go.th/public/

รวมการค้นหา ถาม – ตอบ กรมเชื้อเพลิงประเด็นน่าสนใจอื่นๆ

อ่านเพิ่มเติม … https://web.facebook.com/dmffanpage/posts/2831337186889007/?_rdc=1&_rdr

มารู้จักปริมาณสำรองปิโตรเลียม

ปริมาณสำรองปิโตรเลียม หรือ Petroleum Reserves คือ ปริมาณปิโตรเลียมที่สามารถจะผลิตขึ้นมาได้อย่างคุ้มค่าต่อการลงทุนจากแหล่งปิโตรเลียม ภายใต้เงื่อนไขทางเศรษฐศาสตร์ ณ ขณะนั้น โดยแบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ 1.ปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว 2.ปริมาณสำรองที่คาดว่าจะพบ และ 3.ปริมาณสำรองที่น่าจะพบ วันนี้ DMFFanpage จะพาไปรู้จักกับ ปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว หรือ Proved Reserves

ปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว หรือ Proved Reserves เป็นปริมาณปิโตรเลียมที่วิเคราะห์จากข้อมูลทางด้านธรณีวิทยา และด้านวิศวกรรม สามารถผลิตได้จากแหล่งกักเก็บที่สำรวจค้นพบแล้ว ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันอย่างคุ้มค่าเชิงพาณิชย์ โดยมีแผนการผลิตปิโตรเลียมที่ชัดเจน และได้รับอนุญาตจากภาครัฐแล้ว ซึ่งหากประเมินปริมาณสำรองโดยใช้วิธีด้านความแน่นอน (Deterministic) จะถือว่าเป็นปริมาณที่มีความมั่นใจสูง ว่าจะสามารถผลิตปิโตรเลียมในปริมาณดังกล่าวขึ้นมาได้ หรือหากใช้วิธีทางสถิติ (Probabilistic) จะมีความน่าจะเป็นอย่างน้อยร้อยละ 90 ที่จะผลิตปิโตรเลียมได้เท่ากับหรือมากกว่าปริมาณปิโตรเลียมดังกล่าว ทั้งนี้ ปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว เรียกสั้น ๆ ได้อีกอย่างว่า P1 นั่นเอง

เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับปริมาณสำรองปิโตรเลียม

คำว่า “ปริมาณสำรองปิโตรเลียม” นั้นจากที่ได้ติดตามความเข้าใจของประชาชนทั่วๆ ไป ยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนและยังคงมีความสับสนค่อนข้างมาก จึงมีความจำเป็นต้องอธิบายเพื่อให้ประชาชนทุกคนได้เข้าใจคำว่า “ปริมาณสำรองปิโตรเลียม” อย่างถูกต้องเพื่อจะได้สื่อสารกันระหว่างหน่วยงานราชการหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมกับภาคประชาชนด้วยความเข้าใจที่ตรงกัน

ตัวอย่างความเข้าใจผิดของปริมาณสำรองปิโตรเลียมเช่น “ปริมาณสำรอง คือ ปริมาณปิโตรเลียมใต้ดินทั้งหมด” หรือ “ปริมาณปิโตรเลียมใต้ดินที่มีการขุดพบเห็นแล้ว” หรือ “ปริมาณสำรองของไทยเป็นประเทศเดียวในโลกที่ว่าเป็นปริมาณสำรองที่ต้องทำสัญญาซื้อ-ขายระหว่างผู้ขายกับผู้ขุดเจาะไม่ใช่ปริมาณพลังงานที่เห็นทั้งหมด” หรือ “รัฐบอกว่ามีปริมาณสำรองเหลืออยู่ 10 ปี แต่ตอนนี้ผ่านมา 10 ปีแล้วก็ยังไม่หมดแสดงว่ารัฐโกหกประชาชน” เป็นต้น ผมได้มีโอกาสเห็นความเข้าใจผิดแบบนี้กระจายออกไปเป็นวงกว้างจึงอดเป็นห่วงไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องมาปรับความเข้าใจให้ถูกต้องกันใหม่ ว่าคำว่าปริมาณสำรองปิโตรเลียมที่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคธุรกิจ นักลงทุน ในวงการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมที่เขากล่าวถึงกันนั้นหมายความว่าอย่างไร … อ่านต่อ … https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/595888

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *