Petroleum concession period สัมปทานปิโตรเลียมมีอายุกี่ปี

Petroleum concession period สัมปทานปิโตรเลียมมีอายุกี่ปี – หลากหลายมากครับ ที่มีใช้กันในโลก

ในที่นี้จะเอาบทความของกรมเชื้อเพลิงที่เคยตอบเอาไว้มาให้ศึกษากัน

14. สัมปทานปิโตรเลียมมีอายุกี่ปี

Petroleum concession period

ตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการให้สัมปทานปิโตรเลียมในส่วนของ Thailand I และ Thailand II ระหว่างปีพ.ศ. 2514-2531

โดยสัมปทานปิโตรเลียมมีกำหนดระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียม 9 ปี นับแต่วันให้สัมปทาน

แบ่งเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงผูกพันช่วงที่ 1 มี ระยะเวลา 5 ปี และ ช่วงผูกพันช่วงที่ 2 มีระยะเวลา 4 ปี และ ถ้าหากผู้รับสัมปทานได้ปฏิบัติตามสัมปทานทุกประการ จะมีสิทธิได้รับการต่อระยะเวลาสำรวจช่วงที่สามได้อีกไม่เกิน 3 ปี รวมระยะเวลาในการสำรวจทั้งสิ้นไม่เกิน 12 ปี

ในระหว่างช่วงการสำรวจ ผู้รับสัมปทานสามารถขอเปลี่ยนแปลงข้อผูกพัน หรือ โอนข้อผูกพัน ระหว่างแปลงสำรวจได้ เนื่องจากข้อผูกพันเดิมอาจไม่เหมาะสมกับสภาพทางธรณีวิทยาของพื้นที่สัมปทาน หรือ ในกรณีที่มีเทคโนโลยีการสำรวจปิโตรเลียมที่ทันสมัยขึ้น

สัมปทานผลิตปิโตรเลียมในส่วนของ Thailand I และ Thailand II

มีกำหนดระยะเวลาผลิตปิโตรเลียม ไม่เกิน 30 ปี นับแต่วันถัดจากวันสิ้นระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียม แม้จะมีการผลิตปิโตรเลียมในระหว่างระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมก็ตาม และ ถ้าหากผู้รับสัมปทานได้ปฏิบัติตามสัมปทานทุกประการ จะมีสิทธิได้รับการต่อระยะเวลาผลิตปิโตรเลียม ได้ไม่เกิน 10 ปี

สัมปทานผลิตปิโตรเลียมในส่วนของ Thailand III ระหว่างปีพ.ศ. 2532 – ปัจจุบัน

สัมปทานปิโตรเลียมมีกำหนดระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียม ไม่เกิน 6 ปีนับแต่วันให้สัมปทาน แบ่งเป็นสองช่วง คือ ช่วงข้อผูกพันช่วงที่หนึ่ง มีระยะเวลา 3 ปี และ ช่วงข้อผูกพันช่วงที่สอง มีระยะเวลา 3 ปี เช่นกัน

ผู้รับสัมปทานจะต้องปฏิบัติงานให้ครบถ้วนตามข้อผูกพันที่กำหนดในสัมปทานทั้งด้านปริมาณงาน และ ปริมาณเงิน และ ถ้าหากผู้รับสัมปทานได้ปฏิบัติตามสัมปทานทุกประการ จะมีสิทธิได้รับการต่อระยะเวลาสำรวจช่วงที่สามได้อีกไม่เกิน 3 ปี รวมระยะเวลาในการสำรวจทั้งสิ้นไม่เกิน 9 ปี

ในระหว่างช่วงการสำรวจ ผู้รับสัมปทานสามารถขอเปลี่ยนแปลงข้อผูกพัน หรือโอนข้อผูกพัน ระหว่างแปลงสำรวจได้ เนื่องจากข้อผูกพันเดิมอาจไม่เหมาะสมกับสภาพทางธรณีวิทยาของพื้นที่สัมปทานหรือในกรณีที่มีเทคโนโลยีการสำรวจปิโตรเลียมที่ทันสมัยขึ้น

สัมปทานปิโตรเลียม มีกำหนดระยะเวลาผลิตปิโตรเลียม ไม่เกิน 20 ปี นับแต่วันถัดจากวันสิ้นระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียม แม้จะมีการผลิตปิโตรเลียมในระหว่างระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมก็ตาม และถ้าหากผู้รับสัมปทานได้ปฏิบัติตามสัมปทานทุกประการ จะมีสิทธิได้รับการต่อระยะเวลาผลิตปิโตรเลียม ได้ไม่เกิน 10 ปี

กล่าวโดยสรุป อายุของสัมปทานปิโตรเลียมแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงระยะเวลาสำรวจ ผู้รับสัมปทานจะเป็นผู้ลงทุนสำรวจและรับความเสี่ยงแต่ฝ่ายเดียว เมื่อทำการสำรวจตามปริมาณงานและปริมาณเงินลงทุนที่ได้ระบุในข้อผูกพันแล้วไม่พบปิโตรเลียมในเชิงพาณิชย์ ก็จะคืนแปลงสำรวจนั้นกลับมาให้รัฐ ในกรณีที่สำรวจพบปิโตรเลียมเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาสำรวจจะเข้าสู่ ช่วงระยะเวลาผลิต

สัมปทานที่อยู่ภายใต้ระบบ Thailand I จะมีระยะเวลาสำรวจไม่เกิน 12 ปี (5+4+3) และ มีระยะเวลาผลิตไม่เกิน 40 ปี (30+10)

สัมปทานที่อยู่ภายใต้ระบบ Thailand III จะมีระยะเวลาสำรวจไม่เกิน 9 ปี (3+3+3) และมีระยะเวลาผลิตไม่เกิน 30 ปี (20+10)

ที่มา http://www.dmf.go.th

หมายเหตุ – ถ้าเปิดประมูลตอนนี้เราอยู่ สัมปทานที่อยู่ภายใต้ระบบ Thailand III

อ่านเพิ่มเติม …

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1

ปิโตรเลียม (ละตินpetroleum, petra (หิน) + oleum (น้ำมัน) [1] รวมหมายถึง “น้ำมันที่ได้จากหิน“) หรือ น้ำมันดิบ เป็นของเหลวไวไฟที่เกิดจากมนุษย์ ประกอบด้วยสารผสมซับซ้อนระหว่างไฮโดรคาร์บอนที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่างกัน กับสารประกอบอินทรีย์ที่เป็นของเหลวอื่น ๆ ซึ่งพบในชั้นธรณีวิทยาใต้ผิวโลก เป็นเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ เกิดได้จากซากสิ่งมีชีวิต (มักเป็นแพลงก์ตอนสัตว์และสาหร่าย) จำนวนมากทับถมกันใต้หินตะกอนและได้รับความร้อนและความดันน้อยมากจนไม่สามารถมองเห็นได้เลย

การขุดเจาะน้ำมันเป็นวิธีการส่วนใหญ่ในการได้มาซึ่งปิโตรเลียม ซึ่งเป็นขั้นตอนหลังการศึกษาโครงสร้างธรณีวิทยา การวิเคราะห์แอ่งตะกอน และลักษณะหินกักเก็บปิโตรเลียม[2][3] หลังขุดเจาะขึ้นมาแล้ว ปิโตรเลียมจะถูกกลั่นและแยกเป็นผลิตภัณฑ์บริโภคหลายชนิด ตั้งแต่แก๊สโซลีนและน้ำมันก๊าด ไปจนถึงยางมะตอยและตัวทำปฏิกิริยาเคมีซึ่งใช้ในการทำพลาสติกและเภสัชภัณฑ์[4] นอกจากนี้ ปิโตรเลียมยังใช้ในการผลิตวัสดุอีกหลายชนิด

ปิโตรเลียมมีธาตุองค์ประกอบหลัก 2 ชนิด คือ คาร์บอนและไฮโดรเจน และอาจมีธาตุอโลหะชนิดอื่นปนอยู่ด้วย เช่น กำมะถัน ออกซิเจน และไนโตรเจน ทั้งนี้ปิโตรเลียมเป็นได้ทั้ง 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ รวมถึงความร้อนและความดันของสภาพแวดล้อมในการเกิดและการกักเก็บปิโตรเลียม แบ่งตามสถานะได้เป็นสองชนิดหลัก คือ น้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติ โดยแก๊สธรรมชาตินั้น ประกอบด้วยคาร์บอนตั้งแต่ 1-4 จูลภาพ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *