Irrelevant Alternative and Transitivity … Is it true?

Irrelevant Alternative and Transitivity – วันนี้จะชวนคุยเรื่องความมีเหตุผลแบบสั้นๆตลกๆกันหน่อย

“มันมีความไม่รู้ประเภทที่เรารู้ หมายความว่าเรารู้ว่ามีบางอย่างที่เราไม่รู้ แต่ก็ยังมีความไม่รู้บางประเภทที่เราไม่รู้ หมายถึงสิ่งที่เราไม่รู้ว่าเราไม่รู้.

โดนัลด์ รัมเฟลด์ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ 2002)

Quote ข้างบนนี้ ไม่เกี่ยวกับเรื่องที่เราจะคุย แต่เห็นว่า ฟังดูแล้วน่าคิดดีว่า ตกลงเรารู้ หรือ ไม่รู้อะไรบ้าง(กันแน่)

Irrelevant Alternative … แปลง่ายๆว่า ทางเลือกที่ไม่เกี่ยวข้องกัน

สมมติว่าคุณไปออกเดทกับพ่อหนุ่มคนหนึ่งที่ร้านกาแฟ พนักงานเดินเข้ามาเอา พายเบอรี่ กับ ชีสเค้ก มาให้เลือก แล้วนางก็เลือก ชีสเค้ก

สักพัก พนักงานก็เอา พายเบอรี่ กับ ชีสเค้ก กับ โดนัทหน้าครีม มาให้นางเลือก คราวนี้ นางบอกว่า นางเลือก พายเบอรี่

ผมเห็นด้วยกับกฏข้อนี้ ถ้าเลือก A มากกว่า B ต่อ ให้มีตัวเลือก C มา ก็ควรจะเลือก A เหมือนเดิม

ในที่นี้ โดนัทหน้าครีม เป็น Irrelevant Alternative (แต่ถ้าเปลี่ยนมาเลือก โดนัทหน้าครีม แบบนี้ โอเค โดนัทหน้าครีม ไม่ใช่ Irrelevant Alternative)

ถ้าเป็นผม ผมไม่เลือกคนนี้มาอยู่ด้วยหรอก เพราะผมจะงงๆกับวิธีคิดของนาง อยูุ่กับผมไปทะเลาะกันแน่ 555

Transitivity … การถ่ายทอด … อืม ผมไม่เห็นด้วยกับกฏข้อนี้เท่าไร

กฏข้อนี้บอกว่า ถ้า ชอบ A มากกว่าB และ ชอบ B มากกว่า C แล้ว คนมีเหตุผลจะต้องชอบ A มากกว่า C

คล้ายๆกับประพจน์ตรรกศาสตร์ที่เราเคยเรียนที่ว่า ถ้า A > B และ B > C แล้ว A > C

ลองดูตัวอย่างนี้นะครับ ถ้าผมเป็นคนไม่เคารพกฏข้อนี้ จะเกิดอะไรขึ้น

สมมติว่า ผมชอบรถโตโยต้ามากกว่านิสสัน และ ชอบฮอนด้ามากกว่าโตโยต้า

ตอนนี้ผมมีนิสสัน คุณเอาโตโยต้ามาให้เสนอขายให้ผม 5 แสน โดนเอานิสสันที่ผมมีมาแลก ผมก็ยอมแลก จริงไหม เพราะผมชอบโตโยต้ามากกว่านิสสัน

ผมเสีย 5 แสน ผมได้โตโยต้าสมใจ คุณก็ได้นิสสันไป

แต่ผมชอบฮอนด้ามากกว่า วันหนึ่ง คุณก็เอา ฮอนด้ามาเสนอขายผม โดยให้เอาโตโยต้าที่มีมาแลก + เงิน 5 แสน ผมก็เอาซิ จริงไหม ดังนั้น ตอนนี้ผมจึงมีฮอนด้า (และเสียเงินไปแล้วล้านนึง)

ทีนี้คุณอยากได้เงินจากผมอีก 5 แสน คุณก็เอานิสสันมาเสนอ แลกกับฮอนด้า + เงิน 5 แสน

ถ้าผมเป็นคนไม่เคารพกฏนี้ คือ ไม่มีเหตุผล ผมก็จะแลก เลยกลายเป็นว่า ตอนจบ ผมได้ นิสสันคันเดิมมา แต่เสียเงินไป ล้านห้าแสน

เราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า Money pump เป็นการทดลองทางความคิดของนักคณิตสาตร์ชื่อ Frank Ramsey (1903 – 1930) … อ่านเพิ่มเติม … https://en.wikipedia.org/wiki/Money_pump

อย่าขำนะครับ เชื่อไหม มีคนแบบนี้อยู่จริงๆ โดยเฉพาะถ้า มีถ่ายถ่ายทอดหลายๆต่อ A B C D E สุดท้ายแล้ว เสียเงินไม่รู้กี่ทอด แต่ได้ A มาเหมือนเดิม แถมเสียเงินไปหลายบาท 555 (ดูง่ายๆ แมงเม่าในตลาดหุ้นนั่นแหละ ชัดเจน)

ทีนี้เอาใหม่ๆ ผมยกตัวอย่างใหม่ เอาให้ยากกว่าเดิม แต่ใกล้เคียงชีวิตจริงมากขึ้น

ผมจีบสาว 3 คน ญาญ่า ลิซ่า และ เบลล่า (บังเอิญชื่อพ้องกับดารา แต่ไม่ใช่คนเดียวกันนะ 555)

  • ผมชอบ ญาญ่า มากกว่า ลิซ่า
  • ผมชอบ ลิซ่า มากกว่า เบลล่า

ถามว่า ผมจำเป็นต้องชอบ ญาญ่า มากกว่า เบลล่าไหม …

คำตอบ คือ ผมไม่ยอมเคารพกฏนี้แน่ๆ 🙂 … ไม่ยอมๆ แฮ่ๆ

ลองมาสมมุติต่อให้จับต้องได้ จะเห็นได้ความขัดแย้ง(ในอารมณ์)ชัดขึ้น

ผมชอบ ญาญ่า มากกว่า ลิซ่า – ทั้งคู่อ้อนให้ผมพาไปเที่ยวญี่ปุ่น ผมมีงบพาไปได้แค่คนเดียว ผมเลือกพาญาญ่าไป … ก็สมเหตุผล

ผมชอบ ลิซ่า มากกว่า เบลล่า – ทั้งคู่อ้อนให้ผมพาไปเที่ยวญี่ปุ่น ผมมีงบพาไปได้แค่คนเดียว ผมเลือกพาลิซ่าไป … ก็สมเหตุผลอีก

ถ้าญาญ่า กับ เบลล่า อ้อนผมให้พาไปเที่ยวญี่ปุ่น … ก็ไม่แน่นะว่า ผมจะพาญาญ่าไป จริงไหมครับ อิอิ

นี่แหละ มนุษย์ … 555


Possibility of 2 bombs on the plane

— The END

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *