Inner Cementing or Stinger cement job – Why ?

Inner Cementing or Stinger cement job – Why ? – ปกติแล้วเวลาทำซีเมนต์ท่อกรุ เราปั๊มซีเมนต์, spacer (เคมีล้างซีเมนต์) และ displacement fluid (น้ำโคลนไล่ซีเมนต์) และ ซีเมนต์ปลั๊ก (cement plug – ลูกยาง) ลงในท่อกรุโดยตรงเลย

เทคนิคการปั๊มซีเมนต์ ให้ไปอยู่หลังท่อกรุ เราทำกันอย่างไร

ทีนี้ถ้าท่อกรุมันใหญ่แบบบักเอ้บ เช่น 24 นิ้ว หรือ 30 นิ้วล่ะ มันจะมีปัญหาบางอย่างตามมา เช่น

  1. ปริมาตรที่ต้องปั๊มน้ำโคลนเพื่อไล่ซีเมนต์ หรือ displacement fluid จะมากมาย
  2. ใช้เวลาปั๊มนาน (เสี่ยงต่อการที่ซีเมนต์จะแข็งตัวเร็วกว่าที่คำนวนไว้)
  3. cement plug (ผมแปลเองให้เห็นภาพว่า “ลูกยาง” ซึ่งไม่กลมนะ มันจะออกแนวทรงกระบอกที่มีปีกทำด้วยยางสังเคราะห์) จะขนาดใหญ่ และ เวลาปั๊มไล่ลงไป มีโอกาสมากที่จะเอียงแล้วติดกลางทาง นั่นแปลว่า ซีเมนต์ค้างในท่อกรุบานเลย

แล้วจะทำไงดีล่ะ

Inner Cementing or Stinger cement job – Why ?

วิธีง่ายๆ คือ ดัดแปลง float shoe ที่ปกติจะเป็นวาวล์ทางเดียว (one way value) ที่อาจจะมีทั้งแบบ ลูกบอลติดสปริง แบบรูปตัวอย่างข้างล่าง หรือ แบบปีกผีเสื้อ

ดัดแปลงให้มีรูตัวเมียเอาไว้รองรับท่อตัวผู้ให้ลงมาเสียบ

เราเรียกรูตัวเมียว่า sealing sleeve และ เรียก ปลายท่อตัวผู้ว่า sealing adapter

เจ้า sealing adapter นี่เราต่อไว้ที่ปลายก้านเจาะ หรือ ท่อผลิต แล้วเราเรียก ก้านเจาะ หรือ ท่อผลิต ที่เราใช้ในงานแบบนี้ว่า cement stinger

stinger ที่แปลว่าเหล็กในผึ้งนั่นแหละครับ คำเดียวกัน

ถึงแม้ปริมาตรซีเมนต์ และ spacer (ถ้าใช้นะ บางทีเราก็ไม่ใช้) ที่ต้องปั๊มจะเท่าเดิม แต่ทีนี้ปริมาตร displacement fluid ก็น้อยลง เพราะเราปั๊มไล่ซีเมนต์ผ่านก้านเจาะ หรือ ท่อผลิต ที่เล็กกว่าท่อกรุมาก ดังนั้นเวลาปั๊มก็น้อยลง งานเสร็จเร็วขึ้น เสี่ยงซีเมนต์แข็งก่อนกำหนดน้อยลง

แล้วข้อดีอีกอย่างคือ ไม่ต้องใช้ cement plug ก็ไม่ต้องมาลุ้นว่า จะปั๊มมันลงไปถึงก้นท่อกรุไหม

เนื่องจากท่อมันเล็ก การมีของเหลวจะปนกัน (contamination เพราะไม่ใช้ cement plug ขั้นระหว่างของเหลว 2 ชนิด) ตอนปั๊มไล่ๆกันลงไป มันก็น้อย ก็พอรับได้แหละ

อีกอย่าง ท่อกรุขนาดใหญ่ๆโดยมากมันก็อยู่ชั้นบนๆ (surface casing) จุดประสงค์หลักของซีเมนต์ท่อกรุชั้นบนๆ คือ ยึดกับชั้นหินให้แข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักของ BOP และ แข็งแรงพอแขวนท่อกรุตัวถัดๆลงไป

ส่วนเรื่องการกั้นของไหล (formation fluid seal) ไม่เน้นเท่าไร เพราะของไหลที่ต้องกั้นในชั้นบนๆนี้ คือ กันการปนเปื้อนน้ำบาดาล น้ำกินน้ำใช้ แหล่งน้ำธรรมชาติ

ซึ่งน้ำพวกนี้ก็ความดันต่ำ อุณหภมิไม่สูงเลย ซีเมนต์อะไรก็กั้นอยู่ hydraulic seal เลยไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตาย

ก็น่าจะย่อๆประมาณนี้แหละครับ 🙂

ปิดท้ายด้วยโจ๊กขำๆหน่อยล่ะกัน


ถ้าอยากรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำซีเมนต์แบบต่างๆแบบย่อๆ ลองเข้าไปดูในเว็บไซต์นี้ได้ครับ

https://www.drillingcourse.com/2015/12/cementing-job-types.html

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *