Emergency Evacuation Plan – under new global situation

Emergency Evacuation Plan – under new global situation – “เฮ้ย เป็นไง สบายดีนะ มึงโดนจรวดฮามาสสอยไปหรือยัง”

เมื่อเช้าได้ไลน์ทักจากเพื่อนเก่าที่นานๆทักมาที … นานๆนะ เพื่อนทักมาที ก็แช่งนำมาเลยนะมึง

555 เพื่อนเข้าใจว่าผมไปขุดน้ำมันอยู่อิสราเอล

เรื่องปกติมากๆครับ ไม่ค่อยมีใครสนใจว่าผมไปทำงานที่ประเทศอะไรมาตั้งแต่เรียนจบแล้ว เพราะว่าผมเปลี่ยนประเทศที่ทำงานบ่อยมาก จนเพื่อนๆขี้เกียจจำว่าตอนนี้ไอ้นกมันไปอยู่ไหน

ไม่เหมือนงานปกติที่เพื่อนๆที่ไปได้งานต่างประเทศจะอยู่ที่เดียวกัน 5 ปี 7 ปี … อ๋อ ไอ้นั้นอยู่อเมริกา ไอ้นี่อยู่ญี่ปุ่น ส่วนไอ้นกมันไม่เคยอยู่ประเทศไหนเกิน 6 – 9 เดือนเลย (ในสมัยนั้น) เพื่อนเลยช่างมัน กูไม่จำล่ะ 555

Emergency Evacuation Plan

เนื่องจากทำงานต่างประเทศบ่อย ถี่ และ มักไม่ได้อยู่ในที่ๆเจริญหูเจริญตานัก ก็มักจะต้องมีแผนสำรองความปลอดภัย ที่เราเรียกกันคุ้นปากว่า medivac ย่อมาจาก emergency medical evacuation คือ การอพยพทางการแพทย์ฉุกเฉิน

The meaning of medical evacuation in today’s age

ทุก บ.ที่ผมทำงานด้วย ก็มีแผนนี้กันครับ รวมถึง บ. ปัจจุบันด้วย

สถานการณ์โลกก็ไม่ได้สงบมาแต่ไหนแต่ไร … ผมเริ่มทำงานปลายยุคสงครามเย็น (ปีเดียวกับกำแพงเบอร์ลินโดนทุบ -1989) … อ้อ พ.ย. ปีเดียวกันนั้น seacrest ล่มที่อ่าวไทยด้วย

Seacrest ที่สุดตำนานแห่งหายนะในประวัติศาสตร์ขุดเจาะนอกชายฝั่งอ่าวไทย

แต่กระนั้น เราก็ยังไม่มีแผนอพยพอื่นนอกจาก อพยพทางการแพทย์ เพราะสมัยนั้น มีแต่การจารกรรม แทรกซึม ไม่มีผู้ก่อการร้ายมากมาย และ ก่อวินาศกรรมกว้างขวางกันแบบไม่เว้นกระทั้ง โรงพยาบาล โรงเรียน ห้างสรรพสินค้า ชุมชน อย่างทุกวันนี้ อย่างเก่งก็สถานฑูตกับสนามบิน เป็นหลัก

การอพยพหนีการก่อการร้าย จึงเป็น “ตัวแถม” พ่วงไปกับอพยพทางการแพทย์ คือ ใช้แผนการเดินทาง และ ปลายทางเดียวกัน หรือ ปรับแต่งนิดๆหน่อยๆ

สถานการณ์ปัจจุบันเปลี่ยนไป …

การอพยพทางการแพทย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาผู้ป่วย ผู้บาดเจ็บ ตัวเลือกจึงจำกัด ไม่มีปลายทางให้เลือกมาก ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักๆ เช่น ความถี่ของเที่ยวบิน ความพร้อมทางการแพทย์ ชม.บิน ความสามารถส่งต่อไปประเทศบ้านเกิดผู้บาดเจ็บ ฯลฯ

ปัจจุบันปลายทางของการอพยพทางการแพทย์ไม่ได้ตอบโจทย์เรื่องผู้ก่อการร้าย หรือ ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ (geo-political conflict) เสมอไป ถ้าใช้ปลายทางเดียวกันอาจจะเข้าข่าย หนีเสือ ปะจรเข้ เพราะต้องมีปัจจัยเรื่อง สถานฑูต และ ความเสี่ยงท้องถิ่น (เชื้อชาติ) เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

ตัวอย่างง่ายๆ เช่น ประเทศฝรั่งเศษ เรามีสถานฑูต อยู่ใกล้ รพ.พร้อม เที่ยวบินก็มีบ่อย บินไม่นาน แต่สนามบินโดนขู่วางระเบิดหลายสนามบินแบบจับฉลากขู่กันรายสัปดาห์ ฝรั่งเศษอาจจะไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีที่สุด ถ้าต้องหนีภัยแบบพี่น้องไทยในอิสราเอล เมื่อเทียบกับประเทศอาหรับที่ค่อนข้างเป็นกลางหน่อย หรือ ประเทศที่ไม่โปรฯตะวันตก

เราหนีเพื่อหลบภัย ไม่ใช่หนีจากการเป็นเป้าในประเทศหนึ่ง ไปเป็นเป้าในอีกประเทศหนึ่งที่เรียกแขกเป็นเป้าสำรองให้ทัวร์ลง

อพยพหนีภัยก่อนการร้าย อาจจะไม่จำเป็นเรื่อง ชม.บินเท่าไร อาจจะไกลหน่อย อาจจะไม่จำเป็นต้องมีสถานฑูต แต่ควรเป็นประเทศที่เป็นกลางจากความขัดแย้งต่างๆ ฯลฯ

ผมคิดว่าแผนกความปลอดถัย น่าจะมีการทบทวนเรื่องนี้ ปรับแต่งเพื่อให้เหมาะสมกับสภานการณ์โลก วิธีที่ผมคิดได้ไวๆก็ ทำมัน 2 แผนไปเลย แยกแผนหนีภัยก่อการร้ายออกมาต่างหาก

คนแก่แนะนำออกอากาศไปงั้นแหละครับ เผื่อไปเข้าหูผู้มีอำนาจเปลี่ยนแปลงอะไรเรื่องความปลอดภัยได้บ้าง 555

เจาะชีวิตคนบนแท่น ตอนที่ 8 ความปลอดภัย หัวใจคนบนแท่น

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *