Deepwater Horizon ความจริงที่มากกว่าในภาพยนตร์

Deepwater Horizon ความจริงที่มากกว่าในภาพยนตร์ – ได้บทความนี้มา ก็เลยอยากจะเอามาเผยแพร่ต่อครับ

เป็นอีกมุมมองหนึ่งของ อ. ด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมของจุฬาฯ อ.เริ่มบทความด้วยลำดับเหตุการณ์แบบคร่าวๆมากๆ แล้วอ.ก็ชวนคิด ชวนคุย เกี่ยวกับ ผลกระทบสิ่งแวดล้อม การเยียวยา แก้ไข ในเชิงวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

… อารัมภบทพอแล้ว ไปอ่านบทความของ อ.เลยดีกว่า


Deepwater Horizon

ความจริงที่มากกว่าในภาพยนตร์

โดย รศ. ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล และ ดร.ณัฐวิญญ์ ชวเลิศพรศิยา ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ คุณตรัง สุวรรณศิลป์ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)

An ordinary day ended as the biggest
man-made ecological disaster in history.
……………………………………………………………………..
– Deepwater Horizon (2016) –

หนึ่งในคำโปรยที่หลายท่านอาจได้ผ่านตามาบ้างของภาพยนตร์เรื่อง Deepwater Horizon ที่เข้าฉายในช่วงปลายเดือนกันยายน 2559 นี้ ซึ่งเล่าถึงเหตุการณ์จริงของอุบัติเหตุแท่นขุดเจาะน้ำมันระเบิดที่สร้างความเสียหายมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ โดยบางท่านอาจรู้จัก เหตุการณ์ดังกล่าวในชื่อของ Gulf of Mexico oil spill หรือ BP oil spill เพื่อให้ทุกท่านทราบรายละเอียดเพิ่มเติม เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เขียนซึ่งมีประสบการณ์ทำ งานวิจัยเกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำเสียปนเปื้อนน้ำมัน และ การรับมือเหตุการณ์น้ำมันรั่วจึงได้เขียนบทความนี้ขึ้น โดยเป็นการสรุปรายละเอียด และ ลำดับเหตุการณ์ รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วครั้งใหญ่ในครั้งนี้ซึ่งน่าจะช่วยเพิ่มอรรถรสของทุกท่านในการชมภาพยนตร์ดังกล่าวได้

แท่นขุดเจาะนี้เป็นแท่นขุดเจาะน้ำมันแบบทุ่น ลอยน้ำ (Semi-submersible rig) ที่ถูกออกแบบสำหรับการขุดเจาะน้ำมันในทะเลที่ความลึกประมาณ 8,000 – 10,000 ฟุต และ มีความลึกในการทำงานสูงสุด 30,000 ฟุต

โดยแท่นขุดเจาะนี้สร้างแล้วเสร็จในปี 2544 และ เริ่มใช้งานในการขุดเจาะน้ำมันในแหล่ง Macondo บริเวณอ่าวเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา ห่างจากชายฝั่งเวนิส รัฐลุยเซียนา ประมาณ 84 กิโลเมตร

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ที่ความลึกประมาณ 5,000 ฟุต (1,525 เมตร) ภายใต้การดูแลของบริษัท BP แต่เมื่อวันที่ 20 เมษายน ในปีเดียวกันได้เกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น เมื่อแท่นขุดเจาะน้ำมันนี้เกิดระเบิดขึ้น เป็นผลให้เกิดความเสียหาย และ ผลกระทบเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสิ่งแวดล้อม และ ระบบนิเวศทางทะเลโดยรอบ ซึ่งสามารถสรุปลำดับเหตุการณ์ที่น่าจะสอดคล้องกับกับการต่อสู้เพื่อเอาชีวิตรอด
ของกลุ่มคนงานบนแท่นขุดและความกล้าหาญของเหล่าทีมกู้ภัยผ่านนการแสดงของเหลาส นักแสดงชั้นนำในภาพยนตร์ ผ่าวิบัติเพลิงนรก ดังนี้

ลำดับโดยย่อของเหตุการณ์

20 เมษายน เกิดเหตุระเบิดของแท่นฯ เมื่อเวลาประมาณ 21.45 ตามเวลาท้องถิ่น จากความผิดปกติของระบบควบคุมความดันในแท่นขุดเจาะ

น้ำทะเลปริมาณมากพุ่งเข้าสู่ท่อลำเลียงน้ำมันและก๊าซจากหลุมเข้าสู่แท่นจนเกิดการระเบิดของน้ำโคลนที่มีส่วนประกอบของน้ำโคลนเจาะ (Drilling mud) ก๊าซมีเทน และน้ำ ก๊าซที่ระเบิดออกมาเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นก๊าซอย่างรวดเร็วนำไปสู่การปะทุต่อเนื่องจนเกิดไฟไหม้ ลุกลามบนแท่นขุดเจาะ

ในขั้นต้น การปฏิบัติตามมาตรการรับมือเหตุการณ์ฉุกเฉินไม่เป็นผล ทั้งการใช้งาน Blowout preventer หรือ การปิดหลุมผลิต ทำให้ไม่สามารถระงับเพลิงที่ลุกไหม้บนแท่นขุดเจาะได้ จึงต้องอพยพคนงานกว่า 100 คน อุบัติเหตุในครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิต 11 คน และบาดเจ็บ 17 คน

22 เมษายน 36 ชั่วโมงหลังเกิดเพลิงไหม้อย่างต่อเนื่องแท่นฯ ได้จมตัวลงสู่ก้นทะเล ทำให้เกิดการรั่วไหลของน้ำมันปริมาณมากจากหลุมผลิต (Wellhead)

29 เมษายน หน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ (US Coast Guard) ดำเนินการเผาคราบน้ำมันที่ลอยตัวอยู่บนผิวน้ำเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำมันดังกล่าวเคลื่อนที่เข้าสู่พื้นที่เปราะบางบริเวณชายฝั่ง

แต่น้ำมันที่รั่วไหลก็เข้าถึงชายฝั่งรัฐลุยเซียนาในวันถัดมา ทำให้เกิดการปนเปื้อนอย่างรุนแรงในพื้นที่ชุ่มน้ำบริเวณชายฝั่ง (Coastal wetland)

4 มิถุนายน BP ประสบความสำเร็จในการจัดการน้ำมันรั่วชั่วคราวโดยใช้อุปกรณ์ปิดหลุมผลิตทำให้สามารถสูบน้ำมัน และ ก๊าซธรรมชาติที่ออกมาจากหลุมขึ้นบนเรือจึงสามารถลดปริมาณน้ำมันที่รั่วไหลออกมาจากหลุมผลิตได้

8 มิถุนายน ทางการสหรัฐฯ ประกาศว่าต้องใช้เวลาหลายปีเพื่อทำความสะอาดการปนเปื้อนทั้งหมดจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วครั้งนี้ และระบุว่ามีการเคลื่อนที่ของน้ำมันใต้น้ำเป็นระยะทางกว่า 64 กิโลเมตรจากหลุมที่เกิดการรั่วไหล

อ่านต่อได้ที่นี่เลยครับ –> DeepwaterHorizon Environmental Impact (ไฟล์ PDF 382 KB)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *