Barge Engineer/ Master/ Caption ทำอะไรบนแท่นเจาะนอกชายฝั่ง

Barge Engineer/ Master/ Caption ทำอะไรบนแท่นเจาะนอกชายฝั่ง — ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นงานที่มีเฉพาะบนแท่นนอกชายฝั่งทุกประเภทที่ลอยน้ำ เช่น Jack up, Tender barge, Semisub, Drill ship etc ซึ่งรวมไปถึงแท่นที่อยู่บนแพตามปากแม่น้ำ (swamp) พูดง่ายๆว่าแท่นอะไรที่ลอยน้ำได้ ก็ต้องมีงานตำแหน่งราวๆนี้

ที่ผมเขียนรวบรวมไปหมด ก็เพราะตามประสบการณ์ผมเห็นมา มักจะทำงานคล้ายๆกัน ความสามารถ หน้าที่ รับผิดชอบ คล้ายๆกัน ผมเองเป็นคนนอกก็แยกไม่ค่อยออก เคยถามเจ้าตัว ก็ไม่ได้คำตอบชัดเจนนัก บางทีชื่อตำแหน่งก็ขึ้นอยู่กับโครงสร้างการบริหารจัดการของบ.แท่นขุดเจาะฯนั้นๆด้วย

เอาเป็นว่าในที่นี้ผมขออธิบายแบบเหมาเข่งไปเลยก็แล้วกัน

Barge Engineer/ Master/ Caption

ทำอะไรบนแท่นเจาะนอกชายฝั่ง

งานนี้เป็นงานวิศวกรรมที่ไม่เกี่ยวกับการขุดเจาะบนแท่นฯ แต่จะดูแลเรื่องตัวเรือ หรือ แพ (Vessel) เป็นหลัก คำนวนความเสถียรของเรือ/แพในขั้นตอนต่างๆ เช่น ตอนเคลื่อนย้าย ตอนเจาะ ตอน ยกเรือขึ้น หรือ เอาเรือลง (กรณีแท่นแบบ jack up) ย้ายของบนเรือให้สมดุลกับการทำงานต่างๆ อะไรหนักแค่ไหน ปริมาณแค่ไหน ควรวางไว้ไหน ที่เก็บของเหลว (น้ำกินน้ำใช้ น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำโคลน น้ำเสีย ฯลฯ) แต่ล่ะอย่างควรมีระดับแค่ไหนอย่างไร เครื่องมืออุปกรณ์ที่เอาขึ้นมาจากเรือ ส่งกลับไปบนเรือ จะวางที่ไหน

นอกจากนั้นก็จะต้องดูเรื่องฮ.ขึ้นลง ดูแลซ่อมบำรุงตัวเรือ ไม่ให้รั่ว ไม่ให้ผุพัง การเก็บของสารเคมีมีพิษ ดูแลอนุญาติความปลอดภัยของเรือที่จะเอาคนหรือของมาขึ้นลง บางแท่นผมเห็น barge engineer รับผิดชอบดูแลการสื่อสารของห้องวิทยุ และ ควบบางส่วนของงาน safety cooordinator ไปในตัว

ถ้ามีการเคลื่อนย้ายแท่นเจาะ สายงานบังคับบัญชาสั่งการ (และแน่นอนว่าความรับผิดชอบก็ถ่ายโอนมาด้วย) จะมาอยู่ที่ตำแหน่งนี้ โดยเฉพาะถ้าช่วงหน้ามรสุม คนนี้แทบไม่ได้นอนกันทีเดียว

ถ้าจะสรุปสั้นๆก็คือ ไม้จิ้มฟันยันเรือไททานิคที่เกี่ยวกับ “Vessel” นั่นแหละครับ

ข้างล่างนี้ก๊อปมาจาก rigzone ครับ เป็นแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้แหล่งหนึ่งของวงการ

Barge Engineer Jobs (www.rigzone.com)

Responsible for the marine crew on an offshore drilling rig and reports to the OIM. Responsibilities include, but are not limited to, maintaining vessel stability, overseeing maintenance operations, helicopter operations, loading and offloading fluids and bulk material.

เวลาทำงาน

ในอ่าวของเราที่ผมเห็นนะ ทำงาน 0600-1800 ถ้ามีงานกลางคืนก็ตื่นขึ้นมาทำ หรือ อาจจะมีผู้ช่วยอีกคนในกรณีที่งานยาวๆ เช่น งานของขึ้นลงเรือเยอะๆ ผลัดล่ะ 28/28 หรือ 21/21 แล้วแต่บ.

แต่คุยกับเพื่อนที่อยู่แท่นน้ำลึก ทราบว่าทำงานเป็นกะเหมือนคนงานแท่นฯอื่นๆ เนื่องจากมีงานเยอะตลอดเวลา แต่กะกลางวันจะอาวุโสหน่อย ซึ่งก็สมเหตุผล เพราะงานส่วนมากจะอยู่ตอนกลางวัน

รายได้

เด็กๆหน่อยก็น่าจะ 50000 – 70000 บาท ต่อเดือน ถ้าระดับอาวุโส ผมเชื่อว่า แสนต้นๆไปถึง  2 แสน ถ้าอยู่แท่นน้ำลึก (ซึ่งในอ่าวฯเราไม่มีแท่นแบบนั้น) ประมาณเอาว่ารวมทุกอย่างแล้วนะครับ ส่วนสวัสดิการต่างหาก ก็ว่ากันไป บ.ใครบ.มัน

วุฒิการศึกษา

ป.ตรี วิศวกรรมศาสตร์ สาขาอะไรนี่ผมก็ไม่แน่ใจ เดี๋ยวนี้วิศวกรรมศาสตร์มีหลากหลายสาขามากที่เกี่ยวกับทะเล หรือ อาจจะเครื่องกล ไฟฟ้า อะไรทำนองนี้ แล้วคงไปเอาไปอบรมกันต่อก่อนทำงาน และที่แน่ๆก็เคยเห็นมาจากพานิชนาวี หรือ มาจากทหารเรือ ก็หลายคน

ความก้าวหน้า

โดยมากก็อาจจะไปเป็น Barge Caption / Master หรือ เข้าฝั่ง เป็นผู้บริหารดูแลภาพใหญ่ในด้าน Marine ของบ.แท่นฯ

ข้างล่างนี้ก็ตลกๆขำๆประชดประชัน จิกกัด กันพอหอมปากหอมคอครับ

Started up the ladder by watching the fish traps as a Crane Operator and was assigned as a Barge Engineer so he could watch his Soaps and stay in the cool air. Claims to continuously keep the Toolpusher out of trouble but actually doesn’t know diddly. Wants to be Toolpusher but doesn’t have the grunt to go through drilling to get Pusher job. Sometimes doubles as the Safety Coordinator.

One comment

  1. ค่าจ้างที่ได้ของ barge master เริ่มที่ 220000 สุดที่ 390000 ครับ ราคาปัจจุบันในเมืองไทย และราคาของคนไทยด้วยครับ ส่วน assistant barge master นั้นเริ่มตั่งแต่ 70000-360000 ครับ (ค่าตอบแทนที่แจ้งเป็นของ jack up และ Tender assisted ครับ )

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *