เจาะชีวิตคนบนแท่น ตอนที่ 3 สุดยอดทีมผลิตฯบงกช – ข่าว

เจาะชีวิตคนบนแท่น ตอนที่ 3 สุดยอดทีมผลิตฯบงกช – ข่าว

มีเกร็ดเล็กน้อยมาฝากตามเคยครับ

เรื่องแรก ว่าด้วยเรื่อง ชื่อ Platform

CPP ย่อมาจาก Central Production Platform มันคือโรงแยกก๊าซดีๆนี่เองครับ แทนที่อยู่บนบก มันก็ไปปักขาตั้งอยู่ในทะเล

LQP ย่อมาจาก Living Quarter Platform มันก็คือแคมป์คนงานดีๆนี่เอง แต่ทำเป็นตึก ไปวางบนขาตั้ง แล้วเอาไปวางกลางทะเล

WP ย่อมาจาก WellHead Platform เอาไว้รวมปากหลุมหลายๆหลุมเข้าด้วยกัน

WPS ย่อมาจาก WellHead Platform South ที่เติม S ก็เพราะว่า WP เฉยๆนั้นเราใช้ไปกับแหล่งบงกชเหนือไปแล้ว ถ้าจะกวนโอ้ย ถามต่อว่า ทำไมไม่บงกชเหนือไม่เรียก WPN (WellHead Platform North) บ้างล่ะ จะได้ยุติธรรม

เจาะชีวิตคนบนแท่น ตอนที่ 3 สุดยอดทีมผลิตฯบงกช

คืองี้ครับ ตอนเราค้นพบแหล่งบงกช เราไม่คิดว่าเราจะมีอีกแหล่งหนึ่งที่อยู่ทางใต้ เราจึงไม่ได้ตั้งชื่อเผื่อเอาไว้ ผมเชื่อแน่ว่าถ้าวันโน้นนนน เรารู้ว่าอีก 20+ ปี ถัดมา เราจะพบอีกแหล่งทางใต้ เราคงตั้งชื่อ WPN ไปแล้วครับ

อ้าว … งั้นเราไปเปลี่ยนชื่อในระบบของบงกชเหนือจาก WP เป็น WPN ตอนนี้ไม่ได้หรือไง คือ ไอ้ได้นะได้ แต่ต้องไปเปลี่ยนเอกสารเป็นล้านๆเอกสาร แค่คิดจะทำก็โดนระดมโยนรองเท้ามาประเคนแล้ว

ทำนองเดียวกับแหล่งอาทิตย์ เราตั้งชื่อว่า AWP (Arthit WellHead Platform) เพื่อไม่ให้ไปซ้ำกับ WP ที่บงกชเขาเป็นเจ้าแรกตีทะเบียนจองไว้ก่อนแล้ว และถ้าเกิดจะมีแหล่งอาทิตย์ใต้ขึ้นมาก็เชื่อขนมกินได้ว่า ต้องตั้งชื่อว่า AWPS (Arthit WellHead Platform South)

เรื่องต่อมาคือ การขึ้นๆลงๆ Platform

สงสัยไหมครับว่าทำไมตอนลงจาก CPP เอากระเช้าหย่อนลงมาให้ แต่พอจะขึ้นจากเรือไป WP ให้โหนเชือก ไม่เอากระเช้าห้อยลงมารับ คำตอบแบบกำปั้นทุบดิน ก็คือไม่มีคนขับเครนบน WP ครับ บน WP ไม่มีคนอยู่นี่ครับ จะเอาแมวที่ไหนมาขับเครน 555 🙂

จะเอาสะพานวางพาดจากท้ายเรือไป WP แบบเรือท่องเที่ยว ก็ได้ แต่ไม่น่าสะดวกเพราะคลื่นลมแรง ไม่ปลอดภัย ดังนั้น พวกเราจึงต้องสวมวิญญาญทาร์ซานกันทุกวันที่ไปทำงานบน WP

ตัวผมเองทำงานบนแท่นขุด ไม่ค่อยได้มีโอกาสได้โหนกันประจำบ่อยๆ แต่ก็มีโอกาสบ้างในบางครั้งที่ต้องลงเรือไป WP เพื่อทำการสำรวจความพร้อมของ WP ก่อนจะเอาแท่นขุดเข้าไปเจาะ ที่เราเรียกว่า WP survey ก่อนเอาแท่นขุดเข้าไปเจาะนั่นเอง

โครงสร้างทางธรณีของแหล่งก๊าซ

เรื่องนี้แหมมมมมๆๆๆๆๆ ปตท.สผ.เน้นย้ำหนักหนาเลยว่า โครงสร้างทางธรณ๊ของแหล่งเรานนี้มันเล็กนะจ๊ะ แถมยังกระจายตัวกันอีกต่างหาก ชอบที่เปรียบเทียบให้เห็นชัดว่าเหมือนพวงองุ่น ไม่เหมือนผลแตงโมแบบของเพื่อนบ้านเรา

ดังนั้น เวลาท่านผู้รู้จริงบ้างไม่จริงบ้าง(แต่มีสื่อในมือหรือสื่อชอบจิ้มไมค์ไปรองคางสัมภาษณ์) ให้ข้อมูล เหล่าสาธุชนผู้อุดมปัญญษกรุณาใช้สมองฟัง อย่าใช้แต่แก้วหูฝังอย่างเดียว

ขั้นตอนการสำรวจและผลิต

ปตท.สผ.ภูมิใจนำเสนอมากในเรื่องระยะเวลาและเงินทองที่ทุ่มกันลงไป อันนี้ผมในฐานะที่หากินอยู่กับหม้อข้าวใบนี้มาทั่วโลกตั้งแต่หนุ่มๆ(จนตอนนี้แก่ 555) ขอยืนยันครับ มันใช้เวลาและเงินจริงๆ อัตราส่วนเจาะเจอแบบถ้วนๆที่เรารู้กันในอุตสาหกรรมคือ 10 ต่อ 1 คือ จิ้มลงไป 10 หลุม เจอที่คุ้มจะผลิตได้ 1 หลุม อาจจะมีผู้รู้(บ้างไม่รู้บ้าง) ชูจั๊กกะแร้เถียงว่า ก็เทคโนโลยีสมัยนี้ก้าวหน้ากว่าเยอะ น่าจะมีโอกาสเจาะเจอมากกว่าแต่ก่อน

อือ … มันก็จริง แต่อย่าลืมว่า แหล่งง่ายๆที่เจอแล้วมันก็ถูกกันออกไปไง เหลือพื้นที่ที่ยังไม่ได้สำรวจก็พวกในป่าลึก น้ำลึก ขั่วโลก อะไรเงี้ย เทคโลโยยีดีขึ้นจริง แต่แหล่งมันก็ถูกสำรวจไปแล้วเยอะด้วยเหมือนกัน มันก็เลยเจ๊ากันไป อัตราส่วนเจาะเจอก็ไม่หนีนี้ไปมากนักหรอกครับ

แต่ก็นะ ขนาดหากันยากๆ แต่พอเจอทีก็เก็บกินกันคุ้มล่ะ ก็แบบนี้แหละครับ ธุรกิจความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนก็ต้องสูงตาม ไม่งั้นจะมีแมวที่ไหนมาทำล่ะครับ จริงไหม

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *