เจาะชีวิตคนบนแท่น ตอนที่ 2 แหล่งก๊าซบงกช แหล่งพลังงานเพื่อคนไทย – ข่าว

เจาะชีวิตคนบนแท่น ตอนที่ 2 : “แหล่งก๊าซบงกช แหล่งพลังงานเพื่อคนไทย” – ข่าว

https://www.youtube.com/watch?v=oqKCi4PyxAw

ตอนที่ 2 แล้วครับ มาดูกันว่า ผมพอจะมีอะไรแบ่งปันเพิ่มเติมเกร็ดเล็กเกล็ดน้อยได้บ้าง

เจาะชีวิตคนบนแท่น ตอนที่ 2 : “แหล่งก๊าซบงกช แหล่งพลังงานเพื่อคนไทย”

อย่างแรกเลย ขอฝอยหน่อย เราขึ้นฮ.ไปทำงานเชียวนะ ไม่ต้องกังวลเรื่องรถติด ขั้นตอนเช็คอินก็ไม่นาน โน้นนี่นั่นก็ราวๆ ชม.นึง ถ้าใครเพิ่งเคยขึ้นฮ.เป็นครั้งแรก อาจจะครั้งแรกในชีวิต หรือ ครั้งแรกที่อ่าวไทย หรือ ครั้งแรกกับเครื่องแบบนี้ เขาก็จะมีสติ๊กเกอร์ติดไว้ที่หัวไหล่ แล้วให้นั่งตรงจุดที่กำหนด และ แจ้งนักบินให้ทราบ เพื่อความปลอดภัย

การตรวจแอลกอฮอล์ เข้มกว่ากม.จราจรไทยบนบกแน่ๆ พูดง่ายๆ ในทางปฏิบัตินี่ แทบจะดื่มอะไรไม่ได้เลยคืนก่อนขึ้นบิน และ เขาเอาจริงมากกับเรื่องนี้ ตำแหน่งไหนยังไง เขาไม่แคร์ทั้งสิ้น เรียกว่าเป็นจุดแข็งจุดหนึ่งเลยสำหรับการเดินทางโดยฮ.

การดูวีดีโอ safety สำคัญมาก ยอมรับว่าตอนแรกๆก็ดูอย่างตั้งใจ จำได้หมดทุกฉาก พอหลังๆก็ง่วงบ้างไรบ้าง แต่การได้ดูทุกครั้งก่อนขึ้นบิน มันเหมือนการกระตุ้นภาพขึ้นมาในสมอง ถ้าฉุกเฉินจำเป็นต้องใช้ความรู้ที่เรียนที่ฝึกมา ก็น่าจะทำได้ง่ายขึ้นและเร็วขึ้น คล้ายๆกับการสะกดจิตอะไรงั้น

แอบมีโฆษณาฮ.ด้วยเล็กๆ เห็นน้าาาา

ระยะทางจากสงขลาไปแท่นผลิตบงกชใต้ 224 กม. ใครนึกไม่ออกก็ดูแผนที่ประกอบข้างล่างนี้ก็แล้วกันว่า 200 กม. จากกรุงเทพ เราไปได้แค่ไหน (ผมกะๆวงกลมเอาตาสเกลของแผนที่กูเกิล)

ชาวไทยเราเป็นคนพุทธห้องพระอยู่ทุกที่ที่เราไปทำงาน ดีใจที่ทีมงานถ่ายทำไม่ละเลยเรื่องเล็กๆน้อยๆแต่สำคัญมากสำหรับสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ และผมเข้าใจว่าแท่นฯได้จัดให้มีห้องปฏิบัติศาสนากิจของพี่น้องไทยมุสลิมด้วย

ในคลิปพูดถึงแทบแม่เหล็ก จริงๆแล้วมันคือป้ายชื่อเรา ในนั้นจะมีชื่อ เลขห้อง เตียง เบอร์ และ ตำแหน่งเรือชูชีพ สมัยก่อนเป็นการ์ดพลาสติก ที่จุดรวมพลก็จะมีช่องเสียบ สมัยนี้พัฒนาเป็นแม่เหล็ก สะดวกดี แต่จุดประสงค์เดิม คือ เพื่อเช็คยอด ที่จุดรวมพล ดูว่าใครไม่มา ใครขาด ไม่ต้องตะโกนขานชื่อกันให้แสบคอ

การ์ดนี้ปกติจะอยู่กับตัวพนักงาน เวลาเกิดเหตุฉุกเฉิน เราก็ไปที่รวมผล เอาการ์ด์นี้เสียบหรือแปะไว้ในตำแหน่งชื่อของเรา หัวหน้าทีมอพยพก็จะรู้ทันที่ว่าใครขาดไป จะได้ส่งทีมค้นหา

แท่นผลิตบงกชใต้ออกแบบมาให้แยกส่วนโรงงาน กับ ส่วนพักอาศัยออกจากกัน ไม่เหมือนกับแท่น Zawtika ที่ผมนำเสนอไปก่อนหน้าที่ส่วนโรงงานกับส่วนที่พักอาศัยอยู่ติดกันบนแท่นเดียวกัน ผมเชื่อว่าต้องมีเหตุผลทางวิศวกรรมหรือความเหมาะสมบางอย่างที่ทีมงานออกแบบก่อสร้างตัดสินใจเลือกแบบนี้

อารมณ์ไปทำงานก็เหมือนเดินจากตึกที่พักอาศัยไปอีกตึกนึง แต่แทนที่จะเดินบนถนนก็เดินบนสะพานข้ามน้ำไป เท่ห์ซะไม่มี

และที่เห็นเป็นแท่นเล็กๆเชื่อมต่อกับส่วนโรงงานด้วยสะพาน นั่นคือ WellHead Platform (WP) ครับ เป็นแท่นที่ไม่มีคนอยู่ เป็นที่รวมปากหลุมหลายๆเข้าไว้ด้วยก่อน รวมปิโตรเลียมที่ได้ลงท่อขนาดใหญ่เพื่อส่งเข้ามาที่โรงงาน

ผมชอบคำพูดหนึ่งของผู้จัดการแท่นผลิต ที่พูดว่า “มันไม่ใช่ช่วงเวลาที่น่าสนุกนัก” (ในช่วงที่ต้องเรียนรู้รับงานจาก TOTAL ที่เป็นผู้ปฏิบัติการในตอนนั้น) แต่ผมก็เชื่อว่า ผลที่ได้นั้นคุ้มค่ากับ “ช่วงเวลาที่ไม่สนุก” นักในตอนนั้น

No pain No Gain ครับ …

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *