จีนทุบสถิติ เจาะสำรวจ น้ำแข็งติดไฟ แหล่งพลังงานใหม่แห่งอนาคต ข่าว

จีนทุบสถิติ เจาะสำรวจ น้ำแข็งติดไฟ แหล่งพลังงานใหม่แห่งอนาคต – ไม่ใช่เรื่องใหม่ครับ ผมเคยชวนคุยไปแล้วตั้งแต่ปีนู้นนน ปี 2017 นั่นแน่ะ

เหมืองน้ำแข็งไฟ น่านน้ำทะเลจีนใต้ (ข่าว) น้ำแข็งไฟvsน้ำมันvsก๊าซธรรมชาติ

เหมืองน้ำแข็งไฟ น่านน้ำทะเลจีนใต้ (ข่าว) น้ำแข็งไฟvsน้ำมันvsก๊าซธรรมชาติ

คุยไปแล้วแหละว่า ที่มาที่ไปคืออะไร ความท้าทายในการนำมาใช้คืออะไร คลิ๊กกลับไปอ่านได้ที่ลิงค์ข้างบนนั่น

ข่าวของปีนี้คือ ค้นพบอีก แหล่งใหญ่ขึ้น และ อัตราการสกัด(ผลิต)มากขึ้น กว่าเมื่อปี 2017

จีนทุบสถิติ เจาะสำรวจ น้ำแข็งติดไฟ แหล่งพลังงานใหม่แห่งอนาคต

ที่มา – https://www.xinhuathai.com/china/%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88-%E0%B8%99_20200327?fbclid=IwAR029JI0SfKmMJPzvzwwJbWvZWagVT96F0LVe5_gSGnbJE2A-YDFhd0ilts

ปักกิ่ง, 26 มี,ค. (ซินหัว)- เมื่อวันพฤหัสบดี (26 มีค.)

จีนประกาศความก้าวหน้าหลายประการในการสำรวจทดลองก๊าชไฮเดรต (Gas Hydrate) หรือมีเทนไฮเดรต (Methane Hydrate) หรือที่รู้จักกันในชื่อ “น้ำแข็งติดไฟ” ในน่านน้ำทะเลจีนใต้

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติของจีนระบุว่าจีนได้สกัดก๊ซไฮเดรต 861,400 ลูกบาศก็เมตรในอาณาเขตทางทะเลเสินหูที่ความลึก 1,225 เมตร โดยมีอัตราการสกัดเฉลี่ย 28,700 ลูกบาศก็เมตรต่อวัน นับเป็นการสร้างสถิติใหม่ของโลกถึงสองสถิติ

แหล่งข้อมูลของกระทรวงฯ ระบุว่าสำนักสำรวจทางธรณีวิทยา สังกัดกระทรวงฯ พร้อมด้วยหน่วยงานต่างๆ กว่า 70 แห่ง อาทิ บริษัทปิโตรเสียมแห่งชาติจีน (CNPC) และมหาวิทยาลัยปักกึ่ง เริ่มการสำรวจกตลองน้ำแข็งติดไฟเป็นครั้งที่ 2 ของจีน เมื่อเดือนตุลาคม 2019
แหล่งข้อมูลระบุว่าปฏิบัติการขุดเจาะเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 17 ก.พ. ที่ผ่านมา และหน่วยงานขุดเจาะได้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ในวันที่ 18 มี.ค.

นอกจากจะมีการทุบสถิติการผลิตก๊าซ ซึ่งคิดเป็น 28 เท่าของการผลิตก๊ซทั้งหมดในการสำรวจปื 2017 ซึ่งใช้ระยะเวลานาน 60 วันแล้ว มื่อช่วงเดือนที่ผ่านมา จีนยังประสบความสำเร็จในการคิดดันวิธีการสกัด การพิทักษ์สิ่งแวดล้อม และอื่นๆ อีกด้วย

ระหว่างการสำรวจ จีนพัฒนาความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีสำคัญ นั่นคือการขุดเจาะแนวราบ (horizontal drilling) ตลอดจนพัฒนาชุดอุปกรณ์หลักสำหรับการค้นหาและการสำรวจน้ำแข็งติดไฟเชิงอุตสาหกรรม โดยวางรากฐานทาง เทศนิคที่แข็งแกร่งเพื่อการขุดเจาะเชิงพาณิชย์ นอกจากนี้ยังมีการติดตั้งระบบรักษาและตรวจสอบค้นสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วถึงความเป็นไปได้ในการพัฒนาเพื่อสิ่งแวดล้อมสำหรับแหล่งพลังงานนี้

แหล่งข้อมูลของกระทรวงฯ ระบุว่ในการขุดเจาะนั้นไม่มีมลพิษทางสิ่งแวดล้อมหรือภัยทางธรณีวิทยา อีกทั้งการขุดเจาะยังไม่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่

น้ำแข็งติดไฟซึ่งเป็นก๊าชไฮเดรตรรรมชติมักปรากฎในพื้นที่กันทะเลหรือพื้นที่ทุนดรา (เขตภูมิอากาศหนาวเย็นที่มีหิมะปกคลุมตลอดปี) ซึ่งมีแรงดันสูงและอุณหภูมิต่ำอันเป็นปัจจัยสำคัญต่อการคงอยู่ สสารชนิดนี้สมารถติดไฟได้ลักษณะเตียวกับเอทานอลแข็ง

เมื่อเทียบแล้วน้ำแข็งติดไฟ 1 ลูกบาศก์มตร จะให้พลังงานเท่กับก๊ซธรรมชาติปกติ 164 ลูกบาศก์เมตร บรรดานักวิทยาศาสตร์จึงคาดการณ์ว่าก๊าชไฮเดรตรรรมชาติจะสามารถนำมาใช้ทดแทนน้ำมันและก๊าซธรรมชาติได้ดีที่สุด ข้อมูลของกระทรวงฯ ระบุว่าการสำวจทดลองอย่างต่อเนื่องยังคงเป็นขั้นตอนที่สำคัญสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำแข็งติดไฟของจีน

มีเทนคลาเทรต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%95

มีเทนคลาเทรต(Methane Clathrate) หรืออีกชื่อหนึ่งคือ มีเทนไฮเดรต (Methane Hydrate) เป็นสารที่ประกอบด้วยมีเทนในรูปผลึกโครงสร้างคล้ายน้ำแข็งแห้ง บางทีเราจะเรียกว่า น้ำแข็งไฟ ครั้งแรกถูกพบเกิดอยู่ภายนอกระบบสุริยะ ต่อมามีการค้นพบมีเทนคลาเทรต สะสมกับตะกอนที่อยู่ที่พื้นมหาสมุทรลึก

มีเทนคลาเทรต พบทั้งในตะกอนทะเลลึกหรือพบทั้งเป็นหินโผล่ขนาดใหญ่ที่พื้นทะเล เกิดจากการสะสมตัวของแก๊สที่ขึ้นมาจากบริเวณแนวรอยเลื่อนมีพลัง และจะตกผลึกเมื่อสัมผัสกับกระแสน้ำเย็น นอกจากนี้ยังพบมีเทนคลาเทรตในบริเวณแกนน้ำแข็งของขั้วโลกใต้อีกด้วย เราได้ศึกษาอายุและสรุปได้ว่าเมื่อแปดแสนปีก่อนในชั้นบรรยากาศของโลกเต็มไปด้วยมีเทนคลาเทรต

มีเทนคลาเทรตจะเสถียรที่อุณหภูมิประมาณ 0องศาเซลเซียสและมีความดันสูงมาก อย่างไรก็ตามบางครั้งก็พบเสถียรได้ถึง 18องศาเซลเซียส ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของมีเทนในโครงผลึกน้ำนั้น โดยทั่วไปแล้วจะพบมีเทนคลาเทรตอยู่ 1 mole ในน้ำ 5.75 moles และปริมาณ 1ลิตรของมีเทนคลาเทรตจะมีปริมาณมีเทนในรูปแก๊สอยู่ถึง 168 ลิตร

ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

อย่างที่ทราบว่ามีเทนคลาเทรตมีปริมาณสำรองมากกว่าแก๊สธรรมชาติตั้งแต่ 2-10 เท่า ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงจากไฮโดรคาร์บอนอย่างหนึ่ง

อย่างไรก็ตามในหลายๆที่นั้นการสกัดแยกมีเทนคลาเทรตออกมาใช้มีค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไป ปัญหาอีกอย่างคือผลประโยชน์ทางธุรกิจและการบุกรุกแย่งชิงพื้นที่กักเก็บ

จนถึงทุกวันนี้มีแหล่งมีเทนคลาเทรตเพียงแหล่งเดียวที่มีศักยภาพคุ้มทุนและเปิดเพื่อการค้าคือ แหล่งแก๊สเมสโสยัคคา (Messoyakha Gas Field) ในเขตนอริสค์ (Norilsk) ของรัสเซีย ส่วนในประเทศญี่ปุ่นมีการตั้งเป้าว่าจะประสบความสำเร็จในการพัฒนามีเทนคลาเทรตและนำมาใช้ได้ในปี 2016

ส่วนในจีนก็มีการวางโครงการทุ่มเงินกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อพัฒนาโครงการแก๊สมีเทนคลาเทรต ส่วนในอเมริกาก็มีการพัฒนาวิธีการนำมีเทนคลาเทรตเพราะมีแหล่งแก๊สอยู่มากโดยเฉพาะในอ่าวเม็กซิโก วิธีการคือ ฉีด CO2 เข้าไปเพื่อให้เกิดปฏิกิริยาย้อนกลับ เพื่อแยกเอาแก๊สมีเทนออกมาใช้นั่นเอง

มีเทนคลาเทรตในกระบวนการผลิตแก๊สธรรมชาติ

มีเทนคลาเทรตมักจะพบอยู่ในกระบวนการผลิตแก๊สธรรมชาติ เป็นที่รู้กันว่าสารประกอบมีเทนเป็นโมเลกุลที่เล็กที่สุดในการเกิดไฮโดรคาร์บอนและสามารถเปลี่ยนเป็นโมเลกุลที่ใหญ่ขึ้นได้เช่น บิวเทน โปรเพน อย่างไรก็ตามยิ่งสายของโซ่ไฮโดรคาร์บอนยาวเท่าใดมันก็จะใหญ่เกินกว่าจะสามารถแทรกฝังอยู่ตามช่องว่างของน้ำได้

เมื่อนั้นมันจะไม่เสถียรและจะลดรูปกลับมาเป็นมีเทนเช่นเดิม ในบางครั้งสายการผลิตก็อาจมีปัญหาจากคุณสมบัตินี้ได้ เราแก้ได้โดยปรับลดความดัน เพิ่มความร้อน รวมถึงการใส่สารเคมีลงไปเช่น เอทีลีน ไกลคอล, เมทานอล ทั้งนี้การควบคุมปริมาณมีเทนต้องมีการทำอย่างเข้มงวด มิฉะนั้นอาจจะพบกับปัญหาเรื่องมวลของมีเทนที่เพิ่มขึ้นมากจะไปอุดตันในอุปกรณ์ท่อส่งต่างๆและความเสี่ยงจากความดันที่เพิ่มจากการชนกันก็เป็นได้

ปัจจุบันมีวิธีใหม่คือการผลิตตัวเหนี่ยวนำสารประกอบมีเทนคลาเทรต ซึ่งมีหน้าที่ป้องกันไม่ให้มีเทนคลาเรตจับตัวกันเป็นก้อนและไปอุดตันในท่อแก๊สได้

จีนมีแหล่งน้ำแข็งติดไฟ 3 แห่งกระจายตัวอยู่ในทะเลจีนใต้ และทะเลตะวันออกของประเทศ และมีแผนดำเนินการขุดเจาะน้ำแข็งติดไฟระหว่างปี 2010-2015 และจะดำเนินการขุดเจาะเชิงพาณิชย์ในปี 2020

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *