กรมเชื้อเพลิงฯ เปิดช่อง ทีโออาร์ ให้รายเล็กร่วมประมูลแหล่งเอราวัณ บงกช – ข่าว

กรมเชื้อเพลิงฯ เปิดช่อง ทีโออาร์ ให้รายเล็กร่วมประมูลแหล่งเอราวัณ บงกช … ดีครับๆ ให้โอกาสผู้เล่นรายเล็ก(โดยเฉพาะของคนไทย)เข้าไปร่วมวงไพบูลย์ด้วยเยอะๆเป็นการดีครับ

สรุปว่าตอนนี้ภาครัฐคาดหวังไว้ว่าจะมีเจ้าเก่า 2 ราย กับ พี่ยุ่นมิตซุย พี่แขกอาหรับบูบาดาลา และจะพยายามเอื้อให้พี่ไทยเจ้าเล็กอีก 2 เจ้าคือ บางจาก และ พลังโสภณ (เป็นบ.ลงทุนของคนไทย ในด้านการอุสาหกรรมปิโตรฯต้นน้ำ) ถ้าได้ตามเป้าที่ท่านอธิบดีฯคาดไว้ก็น่าจะมี  6 บ. ที่เข้าร่วมประมูล อยากได้ยินเสียงพี่มังกรจัง ทำไมเงียบๆ อิอิ

ไปอ่านข่าวกันๆ

กรมเชื้อเพลิงฯ เปิดช่อง ทีโออาร์

ที่มา http://energynewscenter.com/index.php/news/detail/957

กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เตรียมหารือ บางจากฯ และพลังโสภณ นำข้อมูลปรับปรุง ทีโออาร์ ประมูล แหล่งปิโตรเลียมเอราวัณ บงกช ให้รายเล็กสามารถเข้าร่วมประมูลได้ โดยคาดว่า จะสรุปร่างทีโออาร์ได้ในเดือน ต.ค. 2560 นี้ ก่อนนำเสนอรัฐมนตรีพลังงานและคณะรัฐมนตรี ต่อไป

นายวีระศักดิ์ พึ่งรัศมี อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิดเผยว่า กรมฯเตรียมเดินสายหารือกับผู้ประกอบการธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของไทย โดยล่าสุดจะไปพบกับบริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ BCP และบริษัท พลังโสภณ จำกัด เพื่อรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอในการเข้าร่วมประมูลแหล่งสัมปทานปิโตรเลียมที่จะหมดอายุ (แหล่งบงกช หมดอายุ 2566 และเอราวัณ หมดอายุปี 2565) และ จะนำมาประกอบกับการจัดทำเอกสารเชิญชวนประมูล (TOR) หลังจากสัปดาห์ที่แล้วได้เดินสายหารือกับผู้ประกอบการปิโตรเลียมในญี่ปุ่นคือบริษัท Mitsui Oil Exploration มาแล้ว

เราก็จะไปหารือว่าเขามีข้อเสนอการเปิดประมูลอะไรบ้าง ทั้งบางจากฯ พลังโสภณ และบริษัทคนไทย เพื่อนำมาเขียนใน TOR ซึ่งเขาประมูลเองคงยาก แต่ถ้าเข้ามาร่วมกับพันธมิตรก็น่าจะได้“นายวีระศักดิ์ กล่าว

อย่างไรก็ตามเชื่อว่า การประมูลแหล่งเอราวัณ และบงกช จะมีผู้ยื่นเสนอมากกว่า 2 ราย นอกเหนือจาก บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) และกลุ่มเชฟรอน ซึ่งเป็นผู้ได้รับสัมปทานแหล่งบงกช และเอราวัณ ตามลำดับในปัจจุบัน

ทั้งนี้หลังจากที่ออกไปเดินสายพบบริษัท Mitsui Oil Exploration จำกัด ของญี่ปุ่น ทางบริษัทมิตซุยให้ความสนใจที่จะยื่นประมูลเช่นกัน ขณะที่ บริษัท มูบาดาลา ปิโตรเลียม ของ ยูเออี ก็มีความสนใจที่จะใช้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านปิโตรเลียมด้วย

ทั้งนี้ในช่วงนี้กรมเชื้อเพลิงจะเดินสายเพื่อหารือกับผู้ประกอบการปิโตรเลียม เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเตรียมการจัดทำ TOR ให้มีความเหมาะสมเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายเล็ก และ รายใหญ่สามารถเข้าร่วมประมูลได้

ซึ่งคาดว่าการจัดทำ TOR ที่ผ่านความเห็นของคณะกรรมการปิโตรเลียม จะแล้วเสร็จในกลางเดือนต.ค. 2560 หลังจากนั้นจะนำเสนอต่อรัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน ก่อนจะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป

การจัดทำ TOR จะดำเนินการขนานกันไปกับการออกประกาศประมูลปิโตรเลียมในรูปแบบของ ระบบแบ่งปันผลผลิต (PSC) ซึ่งเพิ่มเติมจากปัจจุบันที่การประมูลปิโตรเลียมของไทยมีเพียงระบบสัมปทานเพียงอย่างเดียว

โดยรายละเอียดของ PSC อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา หลังจากนั้นจะนำเสนอต่อที่ประชุมครม. และออกในราชกิจจานุเบกษาต่อไป เมื่อกระบวนการทั้ง 2 เสร็จ ก็จะออกประกาศ TOR หลังจากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการคัดเลือก ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 6-7 เดือน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *